
กฎที่ไม่มีกฎ ของ Netflix เป็นเรื่องราวขององค์กรยุคใหม่ที่รวบรวมคนเก่ง และขับเคลื่อนด้วยคนเก่ง ที่นำองค์กรประสบความสำเร็จได้ เรื่องราวของเรื่องนี้ มาจากหนังสือ No Rules Rules – Netflix and the culture of reinvention

ในยุคที่ร้านเช่าหนังแทบจะกลายเป็นเพียงความทรงจำสุดคลาสสิค แผ่นดีวีดีกลายเป็นอุปกรณ์ไล่แมลงวันตามร้านอาหาร Netflix ก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจแอบพลิเคชันที่ทำให้คุณได้ดูหนัง รายการวาไรตี้ ซีรีย์ และอีกมากมายที่มีอาณาเขตครอบคลุมมากกว่า 190 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ Netflix ยังสามารถทำรายได้ในปี 2018 ถึง 4.8 แสนล้านบาทอีกด้วย ปัจจัยอะไรที่ทำให้ Netflix ประสบความสำเร็จมากมายขนาดนี้?
เรามาหาคำตอบกันกับหนังสือเล่มนี้ กฎที่ไม่มีกฎ ของ Netflix จะพาทุกคนเข้าสู่โลกวัฒนธรรมการทำงานแบบ Netflix ที่สร้างสรรค์ และฉีกกฎการทำงานของธุรกิจในยุคนี้ไปอย่างสิ้นเชิง ปรัชญาที่พวกเขาเชื่อและวัฒนธรรมองค์ที่พวกเขาใช้คือส่วนผสมที่ทำให้เกิดความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ และเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมองค์กรของพวกเขาถึงมีแต่คนเก่งๆ
“หาเงินจากความโง่เขลาของลูกค้า”
Blockbuster เคยเป็นบริษัทให้เช่าภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1990 บริษัทนี้ได้ทำเงินจากให้เช่าภาพยนตร์เป็นหลัก และก็มีค่าปรับเล็กๆ น้อยๆ เมื่อลูกค้าของพวกเขาไม่สามารถมาคืนเทปภาพยนตร์ได้ตามเวลาที่กำหนด ในตอนนั้นเอง Reed Hastings เขาไม่ได้รู้สึกสบายใจนักกับโครงสร้างธุรกิจแบบนี้ เขาจึงเริ่มคิดหาวิธีที่จะสร้างธุรกิจที่มีรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากแบบเดิมๆ
“จงเปิดรับเส้นทางใหม่ในธุรกิจ และอาชีพของคุณอยู่เสมอ”
Hastings และ Marc Randolph คู่หูของเขา ได้ร่วมกันสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาสำหรับลูกค้าที่ต้องการเช่าหนังไปดูและพวกเขาจะส่งหนังที่ลูกค้าต้องการไปให้ทางไปรษณีย์ แต่เมื่อธุรกิจเริ่มดำเนินการไปสักระยะนึง ผลลัพธ์ก็ไม่ได้ดีอย่างที่พวกเขาต้องการ พวกเขาจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงระบบการเช่าผ่านทางเว็บไซต์ให้เป็นระบบการลงทะเบียนเป็นสมาชิกและเสียค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนแทน จากนั้นบริษัทของพวกเขาเติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วงเวลานั้น จนกลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
“ในองค์กร จะพนักงานที่มีคุณภาพ 2 แบบเสมอ”
ในองค์กรมีพนักงานที่มีคุณภาพอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทแรกพนักงานมีความสามารถเหมาะสมกับงานที่ทำ ประเภทที่สองพนักงานมีความสามารถโดดเด่น พนักงานที่มีความสามารถพอดีพวกเขาจะทำงานเสร็จ แต่พนักงานที่มีความสามารถโดดเด่น พวกเขาจะมองหาทางเลือกในการทำงาน ที่จะทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาความสามารถของตัวเองต่อไปได้ องค์กรยังคงต้องมีพนักงานที่สามารถทำงานให้เสร็จได้ แต่แค่พวกเขามีความสามารถทำงานให้เสร็จ จะทำให้ความโดดเด่นขององค์กรลดลง
“รักษาระดับศักยภาพขององค์กรเอาไว้ ด้วยการจ้างและรักษาพนักงานที่มีความสามารถโดดเด่นเอาไว้”
Hastings เรียนรู้หลักการนี้ ในช่วงเวลานึงในชีวิตการทำงานในอดีต จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเขา เรื่องศักยภาพของคนเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ เขาเล่าว่าในอดีตบริษัทของเขามีพนักงาน 120 คน ด้วยเหตุผลที่เขาจำเป็นต้องทำให้ Netflix เติบโตอย่างก้าวกระโดด เขาจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานที่ทำผลงานได้แค่ “พอดี” ของ Netflix ออกไปถึง 1 ใน 3 ของบริษัท เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากที่พนักงาน 80 คนที่เหลืออยู่กับองค์กร สามารถทำงานได้ดีกว่าตอนที่เรามีพนักงาน 120 คนเสียอีก นี่เป็นตัวอย่างแนวคิดและแนวปฏิบัตของ Netflix ที่พวกเขายังคงยึดถือเป็นหลักในการบริหารคนจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าตอนนี้พวกเขาจะมีพนักงานกว่า 7,000 คนแล้ว ก็ตาม
“คุณไม่สามารถขอให้ทุกอย่างออกมาดีเพียงเพราะว่าคุณเป็นคนดีได้หรอก”
การทำงานกับคนที่ใจดี มึความเห็นอกเห็นใจกัน จะทำให้สามารถสร้างงานที่มีคุณภาพได้มากกว่า ดังนั้นผู้บริหารควรต้องสร้างธุรกิจที่ทำให้พนักงานใด้อยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อพนักงานในทางที่ดี เพื่อให้พวกเขาสามารถดึงศักยภาพสูงสุดของตัวเองออกมาใช้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะเป็นคนดีอย่างไร หรือ แบบไหน? ถ้าหากพนักงานไม่ได้มีความสามารถและคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานของคุณ ก็อย่าลังเลใจที่จะหาตัวเลือกที่ดี หรือ ตรงตามมาตรฐานมากกว่ามาทดแทนพวกเขา เพราะความใจดี ไม่ใช่สิ่งที่สะสมแล้วจะชิงโชคแล้วขอความสำเร็จได้
“ความสามารถที่โดดเด่น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพนักงานได้รับอิสระในการทำงานและมีความเชื่อที่มากพอ”
บริษัทสตาร์ทอัพสามารถดึงดูดผู้คนมีความสามารถได้ดีกว่าบริษัทใหญ่ๆ ในกรณีที่เงินเดือนเท่ากัน เพราะ บริษัทสตาร์ทอัพเป็นบริษัทกลุ่มเล็กๆ ที่มีความสามารถเฉพาะทางที่สูง และมีการควบคุมที่ต่ำ (หมายถึง ไม่ได้มีจำนวนกฎและกติการมากมายมาบังคับใช้กับพนักงานเหมือนองค์กรใหญ่ๆ) ยกตัวอย่างเช่น ในบริษัทสตาร์ทอัพ พนักงานจะมีเสรีภาพในการใช้เงินของบริษัทในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนไปก่อน แล้วค่อยมาเขียนรายงานเพื่อเคลียร์ค่าใช้จ่ายตามทีหลัง ซึ่งในกรณีแบบนี้ หากพนักงานคนเดียวกันนี้ทำงานอยู่บริษัทใหญ่ ก็อาจจะโดนสอบสวนเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ได้
“ให้อิสระในการทำงานแก่พนักงาน แต่ก็ต้องวางระบบความรับผิดชอบให้พนักงานเข้าใจด้วย”
Netflix เขาอนุญาตให้พนักงานมีอิสระในการตัดสินใจในการใช้เงินของบริษัทในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการและการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยพนักงานจะมีเสรีภาพในการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยไม่ต้องได้รับการอนุญาตจากหัวหน้างาน ซึ่งเรื่องนี้ถือนี่เป็นอิสระขั้นสูงที่เราไม่สามารถจินตนาการได้เลยจากการทำงานที่อื่นๆ พวกเขาคาดหวังว่าพนักงานจะทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท นั่นหมายความว่า พนักงานอาจจะมีปัญหาใหญ่ตามมาได้ หากพวกเขามีรายการค่าใช้จ่ายอันไม่พึงประสงค์ หรือเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เลยต่อบริษัทเลย ถ้าถามถึงเรื่องของการโกง แน่นอนว่าย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว แต่ด้วยโครงสร้างและการดำเนินการที่รัดกุม ทำให้นโยบายนี้ก่อให้เกิดกำไรให้กับบริษัท มากกว่าขาดทุนเสียอีก
“Rockstar คือ พนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ ที่สามารถผลิตผลงานออกมาได้เป็นสิบหรือได้มากกว่านั้น”
พนักงานบางคน มีมูลค่าการตลาดที่สูงกว่าเพื่อนร่วมงานของเขา ทั้งๆ ที่มีประสบการณ์หรืออายุงานที่เท่ากัน ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ต้องการมากในตลาดงาน พนักงานประเภท Rockstar คือ พนักงานที่มีมูลค่าสูงแบบทวีคูณมากกว่าคนอื่นๆ เพราะมีศักยภาพที่โดดเด่นที่เห็นได้อย่างชัดเจน พวกเขาสามารถเข้ามาช่วยยกระดับศักยภาพองค์กรได้ บางครั้งบริษัทหรือองค์กร ก็อาจจะต้องเลิกจ้างพนักงานบางคน เพื่อที่จะได้สามารถจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานที่เป็น Rockstar ได้เท่ากับมูลค่าที่พวกเขามี และแน่นอนว่าบริษัทหรือองค์กร ก็จะได้รับการตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อหรือ อาจจะดีกว่าแน่นอนจากพนักงานที่เป็น Rockstar เหล่านั้น
“การให้โบนัสกับพนักงาน ไม่ได้การันตีว่าคุณจะได้ผลงานที่มีคุณภาพ”
แม้การแจกจ่ายโบนัสก้อนโตจะถือเป็นกลยุทธ์ในการกระตุ้นพนักงานให้พยายามสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม แต่ที่ Netflix เขากลับไม่ได้คิดแบบนั้น การผูกโบนัสเอาไว้กับตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นการตั้งเป้าหมายที่ผิดให้แก่พนักงาน ทำให้พวกเขาจะโฟกัสเพียงแค่การไล่ล่าโบนัสเท่านั้น ซึ่งมันเป็นเหมือนการตัดความสามารถในเรื่องของความยืดหยุ่นออกไปจากการทำงาน และถือเป็นการตีกรอบความคิดสร้างสรรค์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจ่ายเงินแบบปกติ และให้รางวัลสำหรับการทำงานหนัก จะทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์กว่า
“ธุรกิจครอบครัว เป็นแนวคิดที่นำมาสู่ความล้มเหลวทางธุรกิจ”
ธุรกิจมักถูกขับเคลื่อนและส่งต่อกันโดยสมาชิกครอบครัวที่เกี่ยวข้องกันทางสายเลือด มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง หรือมีพันธะที่เกี่ยวข้องกัน เป็นการมัดมือชกให้ทำงานร่วมกันในองค์กรโดยไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพหรือความสามารถในการทำงาน นับครั้งไม่ถ้วนที่พนักงานอาจจะต้องทนกับการต้องนั่งฟังคำอธิบายเกี่ยวกับวัฒนธรรมการสืบทอดตำแหน่งทางครอบครัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำธุรกิจไปสู่ความล้มเหลวอย่างแน่นอน
“องค์กร ก็เป็นเหมือน ทีมนักกีฬาหนึ่งทีม”
อันที่จริงแล้วองค์กร ก็เปรียบเสมือนทีมนักกีฬาทีมนึง ที่มีเป้าหมายเป็นการได้รับชัยชนะเหมือนกัน โค้ชทุกคนจะให้ความสนใจกับชัยชนะเสมอ เขาจะไม่ต้องคิดซ้ำเลยเมื่อต้องการจะแทนสมาชิกในทีมที่มีความสามารถแค่ “พอดี” ด้วยสมาชิกใหม่ที่มีความสามารถ “โดดเด่น” ไม่มีเหตุผลเลยที่จะต้องเก็บพนักงานเอาไว้ เมื่อได้พิสูจน์แล้วว่าพวกเขาไม่เหมาะสมกับตำแหน่งนั้น นี่ต่างหาก คือ หนทางที่ธุรกิจยุคนี้ควรใช้ในการขับเคลื่อนองค์กรต่อไป
บทสรุป
ปรัชญาและวัฒนธรรมองค์กรที่ Netflix ใช้นั้น เป็นเหมือนรอยเท้าที่ย้ำไปตามพื้นที่มีหิมะปกคลุม รอยเท้าพวกเขาเห็นชัดขึ้นตามน้ำหนักของความสำเร็จที่พวกเขาทำได้
Tony Robbins นักพูดสร้างแรงบันดาลใจในอเมริกา มักพูดเสมอว่า “ความสำเร็จนั้นเป็นเบาะแส” คุณสามารถเรียนรู้ได้ จากการเดินตามร่องรอยของพวกเขาโดยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์เข้าไป และคุณจะประสบความสำเร็จในผลลัพธ์เดียวกันกับเขา หรือ อาจจะดีกว่าเขาด้วยซ้ำ การเดินทางของเขา (คนที่สำเร็จ) เป็นเส้นทางให้ที่เปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้
หากองค์กรใด หรือ บริษัทใดก็ตาม อยากประสบความสำเร็จ ผู้บริหารก็จะต้องให้ความสำคัญกับ ความเข้มข้นในเรื่องของความสามารถของพนักงาน อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน ต้องกล้ามอบอิสระให้พวกเขา กำจัดการระบบ ระเบียบ การควบคุมในเรื่องที่ไม่จำเป็น ผู้บริหารต้องแสดงให้เห็นว่าเชื่อมั่นในความรับผิดชอบของพนักงานทุกคน พร้อมที่จะจ่ายอย่างเต็มที่ให้กับพนักงานที่เป็น Rockstar ที่ช่วยผลักดันธุรกิจให้ไปถึงจุดสูงสุดได้ ต้องรู้จักหาและรักษาพวกเขาไว้เอาให้ดี และอีกประการที่สำคัญก็คือ การให้โบนัสไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาและสนับสนุนพวกเขา และ แนวคิดธุรกิจครอบครัว จะทำให้องค์กรล้มเหลวเอาได้ง่ายๆ
“งานทุกงานเป็นแค่สิ่งชั่วคราว เราจึงควรเปิดรับการสำรวจเส้นทางใหม่ในธุรกิจและอาชีพของเราอยู่เสมอ”