Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»กายภาพบำบัด ภารกิจสำคัญในการฟื้นคืนร่างกายของเรา
    People Stories

    กายภาพบำบัด ภารกิจสำคัญในการฟื้นคืนร่างกายของเรา

    ทีมงาน The PracticalBy ทีมงาน The Practicalธันวาคม 14, 2021ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    กายภาพบำบัด ถือเป็นอีกหนึ่งการดูแลรักษาที่สำคัญโดยเฉพาะในยุคนี้ ที่คนทำงานเองก็มีปัญหาในเรื่องสุขภาพ เช่น อาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ กันเยอะ

    จากในตอนที่ผ่านมา แอดมินได้พาทุกคนไปดูในแทบทุกส่วนของการทำงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 แล้ว ไม่ว่าจะเบื้องหน้า เบื้องหลัง ด่านหน้าที่สุด จนถึงด่านหลังสุดที่ไม่เคยเห็น หรือแม้แต่ทีมที่ต้องลงพื้นที่ไปทำงานก่อนอย่างงาน IC หรือ งานควบคุมโรคติดเชื้อ สิ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยจากการดูการทำงานหลายฝ่าย คือทุกฝ่ายทำงานตรงนี้เพื่อทุกคนอย่างเต็มใจ ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่สุด

    จากตอนที่แล้วที่เราได้เห็นสเต็ปแรกของการก้าวเข้าสู่วิกฤตการณ์โควิด-19 ไปแล้ว วันนี้เราจะก้าวยาวๆไปถึงสเต็ปการรักษาขั้นสุดท้ายก่อนได้กลับบ้านอย่าง ศูนย์กายภาพบำบัด จาก กภ.สุพรรณี เฉยรอด หัวหน้างานภายภาพบำบัด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    “ที่นี่ เราไม่ได้ดูแลเฉพาะคนไข้อัมพฤกษ์ อัมพาตเท่านั้น”

    คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าศูนย์กายภาพบำบัด ดูแลเฉพาะคนไข้ที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตเท่านั้น แต่จริงๆแล้วนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของงานทั้งหมดเท่านั้น เพราะศูนย์กายภาพบำบัดยังมีงานอีกหลายส่วนไม่ว่าจะเป็น กระดูก กล้ามเนื้อ ประสาท เด็ก และโรคอื่นๆอีก ซึ่งคนไข้จะมีตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุเลย

    “อาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ อาการยอดฮิต”

    คนไข้ส่วนใหญ่จะเข้ามารับการรักษาในส่วนของกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นประเภทปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่คนเป็นกันเยอะมาก โดยเฉพาะอาการปวดคอ อาจจะเพราะกระดูกคอเสื่อม กระดูกคอเคลื่อน หมอนรองกระดูกเคลื่อน ในปัจจุบันคนไข้ประเภทนี้เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งเกิดจากอุบัติเหตุและจากการมีพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ เดิมๆ หรือค้างไว้ท่าเดียวเป็นเวลานาน

    “งานของเราหลากหลายกว่าแค่การ กายภาพบำบัด ที่หลายคนเข้าใจ”

    ในการรักษาที่ศูนย์กายภาพบำบัด ยังรวมถึงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทอีกด้วย เช่น อาการบาดเจ็บเส้นประสาท เกิดการอ่อนแรงของแขนและขา เส้นเลือดตีบหรือเส้นเลือดแตก ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้งานโดยส่วนใหญ่จะมีความหลากหลายมาก อย่างเช่นงานที่เกี่ยวกับเด็ก จะมีตั้งแต่เด็กเกิดมาแล้วแขนอ่อนแรงข้างหนึ่ง ยกแขนไม่ขึ้น ทางศูนย์ก็จะส่งไปด้านกล้ามเนื้ออ่อนแรงของเด็ก หากมีพัฒนาการล่าช้า ก็จะส่งไปด้านกระตุ้นพัฒนาการ หรือกลุ่มเรื่องการเดินเซ เดินช้า เดินกะเผลก ก็จะถูกส่งไปเรื่องการทรงตัว เป็นต้น

    “พวกเรามีบทบาท กับหลังการรักษาโควิดค่อนข้างเยอะ”

    ในวิกฤตการณ์โควิด-19 อีกหนึ่งบทบาทของศูนย์กายภาพบำบัดที่เพิ่มขึ้นมาก็คือ การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากได้รับการรักษาแล้วมีอาการที่ต้องอาศัยการ กายภาพบำบัด เช่น ได้รับยาแล้วหายใจอ่อนแรง การนอนนานเกินทำให้แขนและขาอ่อนแรงหรือไม่สามารถขยับได้อย่างใจเหมือนเดิม รวมถึงการเยียวยาสุขภาพให้กลับมาใช้งานได้ปกติอีกด้วย

    “โจทย์ของเราคือ ทำอย่างไรให้คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมหลังติดโควิด-19”

    งานของกายภาพจะเกิดขึ้นเมื่อหมอตรวจพบว่าคนไข้มีปัญหา เช่น ปอดแฟบ ปอดขยายตัวไม่ดี ร่างกายอ่อนแรง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการนอนนานเกิน เมื่อได้รับการวินิจฉัยเช่นนั้นจึงส่งมายังศูนย์กายภาพบำบัดแล้วนักกายภาพจะประเมินหาวิธีรักษาต่อไป เช่น การต้องเข้าไปทำในเรื่องการขยายตัวของปอด การฝึกให้คนไข้ออกกำลังกาย ฝึกกล้ามเนื้อแขนขา หาวิธีทำอย่างไรให้ปอดกลับมาเหมือนเดิมเพื่อช่วยให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม

    “ทุกคนกังวล และก็กลัว แต่มันคือหน้าที่ของเรา”

    คนไข้ก็มีความกลัวและกังวล บุคลากรของเราก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นความกลัวของบุคลากรต่อโควิด-19 ก็มีเหมือนกับทุกคนทั่วไป กลัวกันหมด ไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล เบื้องหน้า เบื้องหลัง แต่เพราะตรงนี้คืองาน คือหน้าที่เราต้องทำ ทุกคนรู้ว่าเราต้องมีความรู้เพื่อป้องกันตัวเอง และยังมี IC หรืองานควบคุมโรคติดเชื้อ เข้ามาช่วยให้ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่น การใส่หมวก ใส่เสื้อคลุม ใส่ถุงมือ ล้างมือก่อนและหลังทำทุกเคส เป็นต้น

    “ป้องกันทั้งเขาและเรา ต่างคนต่างต้องมีมาตรการในการป้องกันและดูแลตนเอง”

    การป้องกันตัวเองมันต้องเกิดจากคนทั้งสองฝ่าย กระบวนการของ IC ที่ได้เข้ามาให้ความรู้บุคลากรมีตั้งแต่การสอนให้บุคลากรป้องกันตัวเองในการให้การรักษาคนไข้ ตลอดจนวิธีการปฏิบัติตัวของคนไข้ที่เข้ารับการรักษา เพื่อให้บุคลากรทุกคนมีความรู้ไม่ใช่แค่ป้องกันตัวเองอย่างถูกวิธี แต่ต้องสามารถบอกให้คนไข้ทุกคนป้องกันตัวเองได้อย่างถูกวิธีด้วยเช่นกัน ต่างฝ่ายต่างต้องมีมาตรการในการดูแลรักษาตนเองในสถานการณ์แบบนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้เหลือน้อยที่สุด

    “เราลดปริมาณการรับคนไข้เข้ามารักษาลง ในขณะที่ยอดคนไข้จากอาการออฟฟิศซินโดรมกลับพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ”

    ในช่วงโควิด-19 ทางศูนย์กายภาพบำบัดจำเป็นต้องลดจำนวนคนไข้ลงเหลือเพียงแค่ 25% เท่านั้น และตอนนี้มีการรับเพิ่มเป็น 50% แต่ยังไม่สามารถเปิดรับคนไข้เต็มรูปแบบได้ เพราะนอกจากจะลดความแออัดในการเข้ารับการกายภาพบำบัดแล้ว บุคลากรส่วนหนึ่งของศูนย์กายภาพบำบัดต้องไปช่วยฉีดวัคซีนด้วย ในสถานการณ์ที่ทางศูนย์รับคนไข้ได้น้อยแบบนี้ กลับมียอดคนไข้จากอากาศออฟฟิศซินโดรมพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างน่าตกใจ และบางคนก็เป็นหนักมาถึงขั้นต้องได้รับการบำบัดเสียด้วย

    “ออฟฟิศซินโดรม อาการที่มากับการ Work from home”

    ในวิกฤตการณ์โควิด-19 เช่นนี้ การ Work from home ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในทางออกของการหยุดเชื้อเพื่อชาติ และจำนวนคนที่ประสบปัญหาอาการออฟฟิศซินโดรมที่มากขึ้นก็เป็นสิ่งที่ตาม คนไข้ส่วนใหญ่เป็นเพราะเกิดจากการทำงานซ้ำๆในท่าเดิมเป็นเวลานาน จริงๆแล้วการทำงานไม่ควรนั่งท่าเดิมนานเกินไป 3 ชั่วโมง เพราะหากนานเกินไป กล้ามเนื้อที่ปกติต้องหดคลาย จะกลายเป็นค้างเอาไว้ แล้วกล้ามเนื้อมันจะหดเข้าหากันแทน สิ่งนี้จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่นอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ เป็นต้น

    “น้องนั่งรถเข็นมา ขยับตัวก็ปวด นั่งก็ปวด เดินก็ปวด นอนก็ปวด เหยียดแขน เหยียดขาไม่ได้”

    กภ.สุพรรณีเล่าให้ฟังว่ามีน้องคนหนึ่งมารับการบำบัด น้องช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย เป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อน เกิดจากการที่น้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์นานเพราะทำธีสิส จนกระทั่งเข้ารับการรักษาครั้งที่สามน้องถึงเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้ เดินจากชั้นบนลงมาชั้นหนึ่งได้

    “เป็นความภูมิใจที่ได้ช่วยให้เขากลับมายิ้มแย้มแจ่มใสขึ้น”

    การที่น้องคนนั้นกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เป็นความภูมิใจของศูนย์กายภาพบำบัดอย่างมาก และมันยังเป็นกำลังใจให้กับทางศูนย์ได้พยายามต่อไปอีกด้วย ในตอนแรกคุณพ่อคุณแม่ของน้องกลัวการต้องให้น้องผ่าตัด น้องเสียโอกาสหลายอย่าง เพราะเพิ่งเรียนจบ แต่ไปสัมภาษณ์งานก็ไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองก็ไม่ได้ การมีส่วนร่วมในการทำให้เด็กคนหนึ่งได้กลับไปมีชีวิตปกติและสามารถมีอนาคตที่สดใสได้อย่างที่เขาต้องการมันเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมาก

    “น้องๆทุกคน มาทำงานด้วยใจ”

    ศูนย์กายภาพบำบัดไม่เคยปิดเลย แม้แต่ช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 รุนแรงจนถึงจุดพีคที่สุด มีเพียงแค่การลดจำนวนคนไข้ในแต่ละวันเท่านั้น ในส่วนของ IC ยังคงช่วยเหลือด้านป้องกันความเสี่ยงอย่างเต็มที่ ทุกคนที่มาทำงาน ทุกคนเต็มใจและเต็มที่ส่วนของตัวเองมาก ในศูนย์จะมีการคุยกันตลอดว่ากลัวไหม กลัวได้ แต่ต้องเรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองให้ได้ เรียนรู้ที่จะต้องอยู่ทำงานในสถานการณ์แบบนี้ให้ได้ ถ้าเชื้อโรคมันยังอยู่กับเราแบบนี้ สุดท้ายเราก็ต้องเรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด และผ่านมันไปด้วยกัน

    บทสรุป

    ในสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่แค่เพียงความน่ากลัวของการแพร่ระบาดโควิด-19 เท่านั้น แต่การ Work from home ก็ทำให้เกิดการระบาดของออฟฟิศซินโดรมอย่างเงียบๆเช่นกัน มันไม่ใช่โรคติดต่อแต่คนกลับเป็นกันมากมาย มีทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งมันสามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่าแค่ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ หากเรายังมีพฤติกรรมในรูปแบบเดิม ศูนย์กายภาพบำบัดสามารถช่วยคุณได้ก็จริง แต่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดก็คือคุณต้องรู้สึกความพอดีในการทำงาน ขยับตัว ลุกขึ้นเดิน หรือออกไปสูดอากาศข้างนอกบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้มีอิริยาบถอื่นๆ จะได้ไม่ต้องเดินทางไปถึงศูนย์กายภาพบำบัด

    “ไม่ใช่แค่รอดจากออฟฟิศซินโดรมเท่านั้น เราต้องรอดจากโควิด-19 ไปด้วยกันด้วย”

    ติดตามรับชมเรื่องราว เบื้องหลังวิกฤติและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด ได้กับรายการ Unmask Story เรื่องเล่าหลังแมสก์ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    ภารกิจฟื้น..คืนร่าง ภารกิจ..กายภาพบำบัด | โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    หรือ จะเลือกรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบของ Podcast:

    ….

    บทความ แนะนำ :

    ควบคุมโรคติดเชื้อ ด่านแรก…ของด่านหน้า รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    ติดตามชมรายการ UNMASK STORY
    กับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
    ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20:00 น.
    ทาง Facebook เพจ @มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
    และ ช่องทาง Social Media ของ The Practical

    UNMASK STORY
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleอย่าถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัว เพราะมันจะทำให้เราไม่มีความสุข
    Next Article 10 mindful minutes – มีสติ อยู่กับตัวเองเพียงแค่ 10 นาที ชีวิตเปลี่ยน
    ทีมงาน The Practical

      Related Posts

      วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

      พฤษภาคม 25, 2024

      เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

      พฤษภาคม 23, 2024

      The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

      พฤศจิกายน 2, 2023

      คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

      กรกฎาคม 17, 2023

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?