Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»InMind»การขอโทษ หรือ การยอมรับว่าตัวเองผิด ทำไมถึงเป็นเรื่องสำคัญ?
    InMind

    การขอโทษ หรือ การยอมรับว่าตัวเองผิด ทำไมถึงเป็นเรื่องสำคัญ?

    mypilottest01By mypilottest01กรกฎาคม 18, 2023ไม่มีความเห็น1 Min Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    การขอโทษ หรือ การยอมรับว่าตัวเองผิด ทำไมถึงเป็นเรื่องสำคัญ?
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    การขอโทษ หรือ การยอมรับว่าตัวเองผิด ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งดูเป็นเรื่องยากเหลือเกิน เพราะมันอาจจะเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับใครหลายๆ คนที่จะกล้าที่จะเริ่มต้นด้วย การขอโทษ หรือ การยอมรับว่าตัวเองผิด ถึงแม้ว่าตัวพวกเขาเองจะเป็นคนผิดก็ตาม

    คำว่า “ขอโทษ” กลายเป็นคำที่มีอิทธิพลมาก เมื่อมันสามารถแสดงว่าผู้พูดกำลังยอมรับความผิดหรือ ผู้พูดกำลังบอกว่าผู้ฟังเป็นคนผิด เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะคำว่าขอโทษประกอบไปด้วย การรับผิดชอบ การยอมรับความผิด การแสดงความเห็นอกเห็นใจและความเต็มใจที่จะทำให้ถูก ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะถูกเติมเต็มก็ต่อเมื่อผู้พูดต้องการเช่นนั้น เพราะการขอโทษ อีกรูปแบบหนึ่งคือ การแสดงออกที่ไร้ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็เปรียบเสมือนการพูดว่าขอโทษเพียงแค่ให้มันจบๆ ไป โดยไม่ได้รู้สึก หรือ ต้องการขอโทษจากใจจริง

    “คำขอโทษ มักจะติดคอเราหรือ มักออกมาผิดทาง”

    การขอโทษนั้นยาก มันชอบกลายเป็นคำก้อนใหญ่ติดอยู่ที่คอจนพูดไม่ออก หรือบางทีก็ออกมาผิดทางจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกิดขึ้น แม้แต่คำขอโทษที่มีเจตนาดีเป็นองค์ประกอบก็ไม่ได้หมายความว่าจะจบ Happy Ending เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ทีมฟุตบอลของคุณพ่ายแพ้ในการแข่งขัน คุณพูดกับเพื่อนร่วมทีมว่า “ฉันขอโทษที่แย่งลูกบอลไป ฉันพลาดเอง ทำให้ทีมของเราเลยต้องแพ้” กับ “ฉันขอโทษที่แย่งลูกบอลไป แต่คุณเองก็เล่นไม่ได้เรื่องเองนี่นา” สองประโยคนี้กำหนดได้เลยว่าคนอื่นจะปฏิบัติต่อนักฟุตบอลคนนี้อย่างไร? และบอกได้เลยว่านักฟุตบอลคนนี้เป็นคนเช่นไร?

    “อย่าทำลายคำขอโทษด้วยข้อแก้ตัว”

    เมื่อพูดถึงการขอโทษ คำอธิบายและการให้เหตุผลไม่น่าสงเสริมการแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง แม้แต่สังคมไทยเองก็มีสุภาษิตที่บอกว่า คนดีชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตัว อาจจะฟังดูแรงไปสักนิด แต่ก็เป็นสิทธิ์ของคุณว่าคุณจะเลือกเป็นคนไหนในการกระทำความผิดของคุณ บางครั้งการปล่อยให้ทุกอย่างจบด้วยการขอโทษ อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีกว่าการที่คุณพยายามอธิบายว่าคุณทำผิดไปเพราะอะไร ไม่ใช่ทุกคนที่จะพยายามคิดจากมุมมองของคุณ เมื่อความผิดของคุณส่งผลถึงคนอื่น และมันนำมาซึ่งความเดือดร้อนให้กับคนอื่น พวกเขาจะโฟกัสที่ความเดือดร้อนที่คุณสร้างให้เขา ไม่ได้โฟกัสที่เหตุผลว่าอะไรที่ทำให้คุณผิดพลาด

    ปัจจัยที่ทำให้คำขอโทษได้ผล

    แม้ว่าการขอโทษ จะไม่มีสูตรสำเร็จหรือหลักสูตรสอนตามโรงเรียนประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา แต่มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คำขอโทษนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดตามความสามารถของมัน โดยคุณสามารถเรียนรู้มันได้ ดังต่อไปนี้

    1. การใช้คำว่า “ฉันขอโทษ”
    2. พูดแค่สิ่งที่คุณเสียใจหรือรู้สึกผิด
    3. รับผิดชอบและยอมรับความผิด
    4. เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    5. ถ่ายทอดอารมณ์ไปให้ถึงผู้ฟัง เช่น เสียใจหรือสำนึกผิด เป็นต้น
    6. แสดงความปรารถนาและความเต็มใจที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง

    สิ่งสำคัญที่สุดจากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นคือ ความจริงใจในการขอโทษของคุณ แม้ว่าคำพูดจะฟังดูไม่สมบูรณ์แบบแต่ถ้าพูดจากใจจริงด้วยเจตนาที่ดี คำขอโทษนั้นจะแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณห่วงใยพวกเขาและพร้อมแก้ไขความผิดดังกล่าวมากแค่ไหน

    “ไม่ขอโทษ”

    โดยปกติแล้วคนเรามีแรงจูงใจสูงมากที่จะรักษาภาพลักษณ์ของตัวเองในเชิงบวก การขอโทษจำเป็นต้องยอมรับว่าตัวเองทำความผิด เพราะฉะนั้นการแก้ตัวเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของตัวเองจึงง่ายกว่าการยอมรับว่าตัวเองนั้นผิด นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมคนเราถึงเลือกแก้ตัวมากกว่าขอโทษ นอกจากนี้อุปสรรคอีกหนึ่งอย่างของการพูดคำว่า “ขอโทษ” คือการที่เราประเมินความเสียหายของการพูดแก้ไขอดีตสูงไป และประเมินผลกระทบเชิงบวกของการยอมรับผิดที่จะกำหนดอนาคตของคุณต่ำไป กล่าวคือเราคิดว่าการแก้ตัวเรื่องราวในอดีตจะส่งผลเชิงบวก ซึ่งความจริงแล้วมันกลับส่งผลกระทบเชิงลบต่ออนาคตของคุณมากกว่า

    “แม้คำว่าขอโทษไม่ได้มาง่ายๆ แต่สำหรับบางคนก็มาง่ายเกินไป”

    สำหรับบางคนแล้วเมื่อโดนเหยียบเท้า เขาจะเป็นคนแรกที่พูดคำว่า “ฉันขอโทษ” ทันทีเลย บางคนขอโทษสภาพอากาศ การจราจรที่เลวร้าย คิวที่ยาวเหยียดในโรงอาหารหรือสถานการณ์ไม่พึงประสงค์อื่นๆ ทั้งหมดระหว่างวัน เราเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็น Sorry Syndrome ซึ่งอาการนี้ส่วนใหญ่ที่เป็นในเรื่องนี้มักเป็นผู้หญิง พวกเธอมักใส่คำว่าขอโทษลงในประโยคขอร้องเสมอยกตัวอย่างเช่น “ขอโทษนะคะ ขอน้ำสักแก้วได้ไหม” หรือ “ขอโทษค่ะ ขอทางหน่อยได้ไหมคะ” คำว่าขอโทษ ถูกใช้เป็นไม้ค้ำเพื่อทำให้การขออะไรบางอย่างเป็นไปได้โดยสุภาพและดูนุ่มนวล

    เหตุใดเราจึงยืนกรานที่จะขอโทษโดยไม่มีเหตุผล?

    จากการศึกษาของ Harvard Business School พบว่า คำขอโทษที่ไม่จำเป็น (หมายถึงการขอโทษโดยไม่ได้สร้างความผิดหรือปัญหาใดๆ เลย) สามารถช่วยสร้างความไว้วางใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การขอโทษก่อนขอยืมสิ่งของบางอย่าง หรือ การขอโทษก่อนขอความช่วยเหลือ จะมีแนวโน้มได้รับความช่วยเหลือมากกว่าเดิม ดังนั้นคำขอโทษจึงกลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและใช้งานง่ายสำหรับการเพิ่มอิทธิพลทางสังคมและเพิ่มความไว้วางใจ

    “ลองเปลี่ยนคำว่า “ขอโทษ” เป็น “ขอบคุณ”

    การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่าการขอโทษทุกสิ่งทุกอย่างจะช่วยคุณได้ในทุกเรื่อง หากคุณต้องการลดจำนวนคำขอโทษที่ฟุ่มเฟือยที่หลุดปากออกไป ให้ลองเปลี่ยนคำว่า “ขอโทษ” เป็นคำว่า “ขอบคุณ” ดู

    ยกตัวอย่างเช่น “ขอโทษที่ทำห้องรก” เป็น “ขอบคุณที่จัดห้องให้” เป็นต้น นอกจากนี้หลายครั้งที่การขอโทษเป็นเหมือนการปฏิเสธท่าทางดีๆของคนอื่นซึ่งดูแปลกและไม่นุ่มนวลอย่างที่ควรจะเป็น แต่คำว่าขอบคุณเป็นเหมือนการรับรู้และยอมรับน้ำใจจากคนอื่นซึ่งดูนุ่มนวลและมีมารยาทมากกว่า

    บทสรุป

    “ขอโทษ” เป็นเพียงคำหนึ่งคำที่ออกเสียงไม่ยากและไม่ได้มีตัวสะกดอะไรที่ลำบากต่อการขยับลิ้น ริมฝีปาก หรือฟันซี่ไหน แต่คนกลับพูดมันออกมายากเย็นเมื่อตัวเองทำผิด สิ่งที่ทำให้มันยากไม่ใช่การเปล่งเสียงออกมา แต่เป็นการยอมรับว่าตัวเองนั้นผิด เมื่อคนเราให้ความสนใจในภาพลักษณ์ที่ต้องสมบูรณ์แบบไร้ที่ติด คำว่าขอโทษจึงกลายเป็นเหมือนการบอกว่าตัวเองมีร่องรอยขีดข่วนที่ไม่น่าพึงพอใจเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ทุกคนลืมไปคือไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และเหนือกว่าการรักษาภาพลักษณ์ให้ดูสวยหรูคือการรักษาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นต่างหาก

    นักเขียนการ์ตูน ลินน์ จอห์นสตัน อธิบายว่า “ขอโทษ” เป็นเหมือนกาวที่เหนือกว่าชีวิต เพราะมันสามารถซ่อมแซมได้เกือบทุกอย่าง แม้ว่าคำขอโทษจะไม่สามารถแก้ไขความผิดได้ แต่มันสามารถทำให้กระบวนการเยียวยาจิตใจเริ่มต้นทำงานได้ เพราะฉะนั้นคุณต้องลองชั่งใจดู ระหว่างการพูดจาแก้ไขอดีตที่ผ่านไปแล้วเพื่อลบตำหนิที่เกิดขึ้นกับการขอโทษเพื่อรักษาความสัมพันธ์อนาคตที่ดีเอาไว้

    “คำขอโทษที่ดีก็เหมือนยาปฏิชีวนะ คำขอโทษที่ไม่ดีก็เหมือนกับการเอาเกลือถูแผล”

    Reference:

    Substitute for Apology: Manipulation of Cognitions to Reduce Negative Attitude toward Self

    How to Apologize and Why It Matters

    บทความแนะนำ:

    Procrastination Hack- จัดการผัดวันประกันพรุ่งด้วย 7 วิธีการง่ายๆ แต่ได้ผลลัพธ์

    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleพนักงานที่เป็น Top Talent ลาออกบ่อย เราจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร?
    Next Article วิธีค้นหาความหมายในงานของคุณ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้ชอบหรือรักในงานนี้ก็ตาม
    mypilottest01

      Related Posts

      Imposter Syndrome: วิธีจัดการและสร้างความมั่นใจด้วย Self-Coaching

      มกราคม 5, 2025

      นอนหลับเพียงพอ เพื่อความเป็นผู้นำที่ดี เคล็ดลับเพื่อประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

      มิถุนายน 17, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?