
การนอนหลับ ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดต่อร่างกายของเรา แต่มีคนจำนวนมากกำลังประสบปัญหาในเรื่องการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นนอนไม่พอ การนอนหลับไม่มีคุณภาพ หรือ อื่นๆ ดังนั้นในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันให้ลึกเข้าไปอีกว่า การนอนหลับ นั้นสำคัญอย่างไร? และ เราต้องปรับการนอนของตัวเองแบบไหน?
หลายคนบอกว่างานหลักที่ใฝ่ฝันก็คือ การนอนอยู่บ้านเฉยๆ แล้วมีเงินไหลมาเทมาเป็นรายได้เข้าบัญชี แต่สิ่งที่ต้องการกับความเป็นจริงช่างสวนทางกันเหลือเกิน เพราะหากอยากมีเงินใช้เพียงพอต่อการตอบสนองกับความต้องการในชีวิต หลายคนถึงขั้นแทบขายวิญญาณทั้งชีวิตให้กับงานด้วยซ้ำ ต้องมาอดหลับอดนอนเพื่อแลกกับเงิน เรื่องของการนอนจึงกลายเป็นความปรารถนาที่ทำก็ต่อเมื่อร่างกายมันไม่ไหวแล้วจริงๆ ทั้งๆ ที่การนอนเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราได้มากพอๆ กับอาหารที่เราทานเข้าไปทุกมื้อเลยด้วยซ้ำ
ลองนึกถึงเด็กมัธยมหรือมหาวิทยาลัยหลายคนที่บอกว่าตัวเองต้องอ่านหนังสือสอบ แล้วต้องอดหลับอดนอน การทำแบบนี้ดูขยันมากเลยใช่ไหม? หรือ พนักงานที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ พวกเขาดูน่ายกย่องมากเลยใช่ไหม ที่ทุ่มเทการทำงานให้กับบริษัท แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็ได้ทุ่มทิ้งสุขภาพตัวเองอย่างไม่ใยดี

Why we sleep เป็นหนังสือที่จะมาบอกทุกคนให้นอนซะ นอนอย่างไรให้หลับ และหลับอย่างมีคุณภาพด้วย Matthew Walker ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา และผู้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการด้านการนอนหลับ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อทำให้ผู้อ่านทุกคนได้ตระหนักว่าการนอนหลับสำคัญมากแค่ไหน? และทำไมการดำดิ่งเข้าสู่โลกแห่งความฝันถึงได้สำคัญกับสมองเรามาก
“การนอนหลับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดสุขภาพร่างกายของคุณ”
ในตอนที่คุณอ่านหัวข้อนี้ คุณอาจจะทำหน้าเซ็งๆ แล้วบอกว่าคุณก็รู้อยู่แล้วว่ามันสำคัญกับสุขภาพขนาดไหน? แต่ถ้าถามว่าครั้งสุดท้ายที่คุณนอนหลับสบายอย่างเต็มอิ่มแล้วตื่นขึ้นมาด้วยความสดใส คงต้องใช้เวลานึกกันนานหน่อยว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไร? การนอนหลับ 8 ชั่วโมง ดูเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะผู้ใหญ่จำนวนมากนอนไม่หลับจนกระทั่งตี 3 หรือตี 4 แม้ว่าพวกเขาจะต้องตื่นไปทำงานตอน 7 โมงเช้าก็ตาม ปัญหาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นอย่างลุกลามในประชากรทั่วโลก จนกลายเป็นสาเหตุให้พวกเขาเหนื่อย อ่อนแอ และป่วยง่าย
“สังคมยุคใหม่มักผลักไสการนอนเพื่อ สิ่งที่สำคัญกว่า”
หากคุณอยู่ในช่วงวัยกลางคน คงมีสิ่งต่างๆ รอบตัวที่สำคัญกับคุณมากมายที่พร้อมจะให้คุณเลือกสิ่งเหล่านั้นแทนการนอน แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อร่างกายของคุณเริ่มเข้าสู่กราฟขาลง คุณจะรู้เลยว่าอาหารอันโอชะที่คุณต้องการมากที่สุดคือการนอน ตอนนี้คุณอาจจะไม่เข้าใจหรอกว่าการนอนสำคัญอย่างไร จนกระทั่งร่างกายมันฟ้องทุกอย่างในวันที่สายเกินไป และคุณก็จะทำได้เพียงเสียดายที่พลาดโอกาสในการนอนในวันนี้
“อุบัติเหตุมากมายเป็นผลมาจากคนขับรถที่เมื่อยล้าที่ต้องอยู่หน้าพวงมาลัย แม้แต่กรณีของโรคอัลไซเมอร์ก็มีสาเหตุมาจากปัญหาของการนอนหลับของแต่ละคน”
แม้โลกจะดำเนินไปตามเวลา 24 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก แต่สมองของเราทุกคนกลับมีนาฬิกาที่ตั้งเวลาเพื่อการนอนหลับ ซึ่งสร้างจังหวะชีวิตที่เหมาะสมให้กับเรา กลุ่มเซลล์ประสาทนี้ตั้งอยู่บนดวงตาและถ่ายทอดแสงจากดวงอาทิตย์ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและแสงที่มืดลงเมื่อพระอาทิตย์ตก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อไม่มีแสงแดดกระตุ้นสมอง มนุษย์จะทำงานโดยใช้จังหวะชีวิตที่ห่างจาก 24 ชั่วโมงเล็กน้อย โดยแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ดังต่อไปนี้
- Morning Larks: คนที่ตื่นแต่เช้า เพื่อเข้านอนเร็วและตื่นเช้าอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น พวกเขาคิดเป็น 40% ของประชากร
- Night Owls: คนที่นอนหลับยากในตอนกลางคืน และตื่นสายในเช้าวันรุ่งขึ้น
- The In-Between: ผู้ที่สามารถแกว่งการนอนหลับของตัวเองได้ ขึ้นอยู่สถานการณ์
การนอนหลับมีระดับที่แตกต่างกันไป โดยจะมีสมองที่คอยทำหน้าที่สำคัญอย่างการบันทึกความทรงจำและความฝันของคุณเอาไว้ การนอนหลับเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับด้วยกันคือ
- ระดับ NREM (Non-Rapid Eye Movement Sleep) การนอนหลับที่มีคลื่นสมองยาว ช้า และคงที่ และมีลักษณะเป็นสภาวะที่ไม่มีสติ มีการเคลื่อนไหวของดวงตาที่ไม่เร็ว
- ระดับ REM (Rapid Eye Movement Sleep) สภาวะที่มีสติสัมปชัญญะแต่ยังไม่ตื่น ซึ่งมีลักษณะเป็นคลื่นสมองที่แหลมคมและไม่แน่นอน มีการเคลื่อนไหวดวงตาที่รวดเร็ว
“หากคุณนอนหลับไม่สนิท การจัดการความคิดและอารมณ์ระหว่างงานในแต่ละวันจะเป็นเรื่องยาก”
เพื่อให้คุณนอนหลับ สมองของคุณเริ่มต้นด้วยการส่งคลื่น NREM ที่ช้าและลึกในร่างกายของคุณซึ่งทำให้คุณอยู่ในสภาวะถูกสะกดจิตและคุณไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากการนอนหลับ หลังจากนั้น มันจะส่งคลื่น REM ที่เร็วและคมชัดกว่ามาก ซึ่งทำให้คุณอยู่ในสถานะตื่นที่เรียกว่าฝัน ความฝันจะครอบคลุมประสบการณ์มากมายที่อาจเป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริงและไม่ใช่ทุกคนที่จะฝัน แต่อาจเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจหากมันเกิดขึ้นกับคุณ
“เมื่อเราโตขึ้น รูปแบบการนอนหลับของเราก็จะเปลี่ยนไป”
รูปแบบการนอนของเราเปลี่ยนแปลงไปตามอายุขัยของเรา ตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา เมื่อคนๆ หนึ่งเป็นทารกในครรภ์ พวกเขาใช้เวลา 24 ชั่วโมงในการนอนหลับลึก REM อันเนื่องมาจากงานที่สำคัญมากที่เรียกว่าการสร้างเสริมประสาท ซึ่งเป็นการหมายถึงการสร้างและพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมที่มีความจำเป็นสำหรับทารกเมื่อคลอดออกมา อย่างไรก็ตาม เมื่อโตขึ้นเป็นเด็กเล็ก รูปแบบการนอนหลับจะเปลี่ยนไปและกลายเป็นการต่อสู้ที่ไม่แน่นอนระหว่าง REM ลึกและการตื่นขึ้น ซึ่งหมายความว่าเด็กจะตื่นหลายครั้งในตอนกลางคืน เนื่องจากการเชื่อมต่อของสมองยังไม่คงที่
“ปัจจัยภายนอกหลายอย่างป้องกันไม่ให้คุณนอนหลับอย่างเพียงพอ คุณจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีควบคุมปัจจัยเหล่านั้น”
เมื่อเข้าสู่วัยรุ่ย REM จะลดลง กลายเป็น NREM ที่เพิ่มขึ้นแทน หรืออาจกล่าวได้ว่าพวกเขาจะนอนหลับได้นานขึ้นมากจนถึงช่วงสุดท้ายของวัยรุ่นที่ REM จะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จะนอนหลับยากขึ้นมาก หนึ่งในสาเหตุคือกระเพาะปัสสาวะที่อ่อนแอลงส่งผลให้คุณตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้น เมื่อโตขึ้น หลายสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับตัวคุณจะเริ่มเปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณที่จะเลือกทิศทางการเปลี่ยนแปลงให้ตัวดีมีสุขภาพดีขึ้นหรือแย่ลงไปตามกาลเวลา
“เวลานอนคือเวลาที่ร่างกายใช้พักและรักษาตัวเอง”
การนอนหลับนั้นดีต่อสมองของคุณอย่างมาก ความจริงแล้วสมองเป็นผู้รับประโยชน์หลักของการนอนหลับเลยด้วยซ้ำ อย่างแรกเลยมันช่วยให้สมองปลดปล่อยตัวเองจากข้อมูลที่ไม่ต้องการระหว่างวัน เราจะกำจัดข้อมูลส่วนเกินหลายอย่างออกจากสมองโดยที่เราไม่รู้ตัว และประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือการนอนหลับจะช่วยเสริมสร้างและเชื่อมโยงเส้นทางระบบประสาทให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการเรียนรู้อย่างมาก มันจะช่วยพัฒนาความชำนาญจากทักษะที่ได้รับ และยังเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย
“ความฝันเป็นผลจากสมองของคุณที่เล่นกับความคิด จินตนาการ และความทรงจำของคุณเพื่อสร้างเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าอัศจรรย์”
ความฝันคือการแสดงความคิดและข้อมูลทางประสาทสัมผัสอันน่าอัศจรรย์ของเรา เป็นผลมาจากการนอนหลับลึกของคนที่มีจิตใจแจ่มใส Sigmund Freud ตั้งทฤษฎีว่าความฝันคือความพยายามในการเติมเต็มความปรารถนา ความฝันเป็นส่วนผสมของกระบวนการคิดแบบมีเหตุมีผลและไร้เหตุผลผสมผสานกับประสบการณ์ในแต่ละวัน สัปดาห์ หรือสามทศวรรษสุดท้ายของชีวิตเรา
“คุณภาพชีวิตที่ลดลงอย่างรอบด้านเป็นผลมาจากการอดนอน”
กลุ่มที่มีการนอนหลับ REM มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มที่มีการนอนหลับแบบ NREM พวกเขากระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหามากกว่า และพวกเขาทำงานโดยมีความเครียดเพียงเล็กน้อย ในขณะเดียวกันกลุ่ม NREM กลับมีความคิดในการทำงานที่ค่อนข้างแบน ขาดมิติในการทำงาน และไม่มีแรงบันดาลใจมากพอจะสร้างสรรค์งานใหม่ๆออกมาได้
“ความดันโลหิตสูง ความวิตกกังวล ภาวะหัวใจล้มเหลว และความเครียดมาก เป็นสิ่งที่ตามมาเมื่อคุณสูญเสียการนอนหลับที่ดีไป”
หากโรคข้างต้น อาจจะดูน่ากลัวก็จริง การนอนหลับยังทำได้มากกว่านั้นเมื่อคุณมีการนอนหลับที่ไม่เพียงพอและไม่มีคุณภาพ คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคลมหลับ (โรคลมหลับ หรือ Narcolepsy เป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่สามารถฝืนให้ตื่นได้ แม้ว่านอนหลับอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม) เป็นโรคที่พบได้น้อยประมาณร้อยละ 0.05 ของประชากรทั้งหมดเป็นภาวการณ์แยกตัวออกจากสังคมโดยสิ้นเชิงและไม่สนใจอะไรอีกต่อไปนอกจากการนอนหลับ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้คุณกลายเป็นอัมพาตได้ หรือ โรคนอนไม่หลับมรณะ หรือ Fatal Familial Insomnia ความผิดปกติของการนอนหลับทางพันธุกรรม มันทำให้ประสาทของเราตื่นอยู่เสมอและผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถนอนหลับได้แม้จะอยากจะหลับมากแค่ไหนก็ตาม
บทสรุป
การนอนหลับ มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เช่นเดียวกับออกซิเจน ประโยชน์ของมันนั้นมากมายและลึกซึ้งเกินกว่าจะโยนทิ้งแล้วเห็นว่าสิ่งอื่นสำคัญกว่า เมื่อเราดำเนินชีวิตตามวันเวลาของเรา เราพบเหตุผลมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าทำไมการนอนหลับจึงไม่สำคัญหรือไม่สามารถเข้าถึงได้ คุณต้องปลูกฝังนิสัยการนอนที่ถูกต้อง มันสามารถช่วยชีวิตคุณได้อย่างแท้จริง
เทคโนโลยี หลอดไฟ LED การนอนหลับโดยพึ่งยา คาเฟอีน แอลกอฮอล์ การตั้งนาฬิกาปลุก และตารางการทำงาน ปัจจัยภายนอกมายมายที่สนับสนุนให้คุณไม่นอนและทำลายการนอนของตัวเอง คุณต้องเริ่มคิดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อคุณยังใช้ชีวิตไปโดยเลือกปัจจัยภายนอกเหล่านั้น พยายามอยู่ให้ห่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเวลานอน แม้จะเห็นการแจ้งเตือน กำหนดเวลานอนอย่างเคร่งครัด ทานอาหารเพื่อสุขภาพ หากรู้สึกไม่สบายควรไปพบแพทย์ทันที หากคุณยังใช้ชีวิตต่อไปโดยไม่ได้นอนอย่างเพียงพอ สมองของคุณจะค่อยๆ เสื่อมลง และร่างกายของคุณก็เช่นกัน
“ถ้าคุณนอนไม่พอ คุณก็ไม่สามารถเป็นพ่อแม่ คู่สมรส หรือลูกจ้างที่ดีได้”