Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»Life»Finance and Investment»การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นทักษะที่สำคัญมาก แต่โรงเรียนกลับไม่ได้สอน
    Finance and Investment

    การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นทักษะที่สำคัญมาก แต่โรงเรียนกลับไม่ได้สอน

    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลBy รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลพฤศจิกายน 19, 2020ไม่มีความเห็น3 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นความรู้ที่ถูกมองข้าม เพราะความรู้เหล่านี้ไม่ได้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ในวัยเด็ก ผลที่ตามมาก็คือ ปัญหาและพฤติกรรม รวมไปถึงวินัยการบริหารเงินแบบผิดๆ ที่ส่งผลทำให้คนทำงานหลายคน มีหนี้มีสินมากมาย และไม่มีเงินเพียงพอเอาไว้ใช้ในยามเกษียณ

    มีคนบอกว่า เรื่องเงินทองต้องรู้ แต่จะรู้แค่ว่ามีเงินมีทองเท่าไร ก็คงไม่พอ เพราะเรื่องการบริหารเงิน นั้นมีอะไรที่เราต้องรู้และเข้าใจมากกว่านั้นอีก

    ปัญหาส่วนใหญ่ ที่เรามักจะได้ยิน หรือ ได้เจอในสังคมทำงาน ที่เกี่ยวกับเรื่องการเงิน เช่น

    “เงินเดือนออกมาไม่ทันไร ก็หมดไปกับการชำระหนี้บัตรเครดิตซะหมดแล้ว”

    “ทำงานมาเกือบสิบปีแล้ว ไม่มีเงินเก็บเลย”

    “จะเอาเงินที่ไหนมาลงทุน แค่ให้พอใช้ในแต่ละเดือนก็แทบแย่เแล้ว”

    “ไม่สบาย ป่วยหนักแค่ครั้งเดียว เงินที่เก็บมาหลายปี แทบจะหมดเกลี้ยง”

    นี่คือปัญหาในเชิงพฤติกรรม ที่เกิดจากการขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องการเงิน

    ในบริษัทยังจำเป็นต้องมีนักบัญชีและต้องมีนักการเงินคอยดูแลและรับผิดชอบเรื่องการเงินเลย ตัวเราเองก็เช่นกัน เราต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการเงินของเราเองด้วย เพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของการสร้างพฤติกรรม สร้างวินัยการเงินที่ดีให้กับเราในอนาคต

    เริ่มต้นด้วยการให้ความสำคัญกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล

    “ไม่มีเป้าหมายใดในชีวิต ที่ไม่มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกเป้าหมายล้วนมีเรื่องเงินเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น”

    เพราะอะไรเราถึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องการบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance)?

    ก็จะได้ให้เราสามารถเข้าใจวงจรการเงินของตัวเราเอง รู้จักการประมาณตน สร้างพฤติกรรมและวินัยที่ดีให้เห็นถึงความสำคัญในการใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผล และสามารถวางแผนการเงินของตนเองควบคู่กับเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นเรื่องการวางแผนการเงิน จึงต้องวางแผนไปพร้อมๆ กันกับแผนอื่นๆ ในชีวิตของเราเสมอ

    เพราะการบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) จะช่วยให้เราเข้าใจการบริหารจัดการเงินที่เราได้มา และ สามารถบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง ตามเป้าหมายทางการเงินที่ได้วางเอาไว้

    ในเรื่องของ การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) ประกอบไปด้วย 5 ด้าน ดังต่อไปนี้

    การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นทักษะที่สำคัญมาก แต่โรงเรียนกลับไม่ได้สอน
    รูปที่ 1 : วงจรของ การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance)
    Income : หรือ รายได้

    ในที่นี้หมายถึง เงิน หรือ รายได้ ที่เราได้รับ ไม่ว่าจะจากช่องทางใดก็ตาม เช่น พนักงานประจำ ก็จะมีรายได้ หรือ เงินเดือนจากนายจ้าง หรือ หากเป็น Freelance รายได้ก็มาจากผู้ว่าจ้างเป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงรายได้ที่มาจากช่องทางอื่นๆ เช่น จากโบนัสประจำปี จากค่าเช่า (ค่าเช่าบ้าน หรือ ให้เช่าทรัพย์สิน) หรือ จากดอกเบี้ยที่ได้จากการปล่อยกู้ หรือ เงินปันผล ที่ได้จากการลงทุนเป็นต้น

    สำหรับคนทำงาน ส่วนมากจะมีรายได้หลักมาจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน หากต้องตกงาน หรือ ซึ่งหากบริหารจัดการในเรื่องการใช้จ่ายไม่ดี ก็จะมีแนวโน้มสูงมากที่จะเงินไม่พอใช้ หรือ ไม่มีเงินเก็บเอาไว้ลงทุน หรือ เตรียมเอาไว้ยามเกษียณได้

    Spending : หรือ รายจ่าย

    ในที่นี้หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัว หรือ ส่วนของครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอย ซื้อของกินของใช้ หรือ อื่นๆ อาทิเช่น อาหาร เดินทาง เที่ยว ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ภาษี เป็นต้น

    รายจ่าย มีทั้งในรูปแบบที่เป็นเงินสด และ เป็นแบบเครดิต โดยเฉพาะแบบหลังนี่แหละที่ทำให้คนทำงานหลายคนใช้เงินเกินตัว เอาเงินอนาคตมาใช้ กลายเป็นสร้างหนี้สินมากมาย ผลที่ตามมาก็คือ ไม่มีเงินเก็บ แถมมีหนี้สินพะรุงพะรัง ต้นบวกดอกเบี้ยมหาศาล ทำให้เงินที่ได้มาต้องเอาไปจ่ายหนี้ซะหมด กว่าจะลืมตาอ้าปากได้ ก็เสียเวลาไปอีกหลายปี

    Saving : หรือ เงินออม

    ในที่นี้หมายถึง เงินที่เหลือ หรือ รายได้ที่เหลือ หลังจากหักรายจ่ายทั้งหมดออกไปแล้ว หลักการง่ายๆ คือ รายได้ – รายจ่าย = เงินเหลือ หรือ เงินออม หลักการดูเหมือนง่าย แต่ส่วนใหญ่ทำกันไม่ค่อยได้ ด้วยเหตุเพราะพฤติกรรมการสร้างภาระค่าใช้จ่ายมันมีมากกว่า เข้าทำนองของมันต้องมี ซื้อก่อน ผ่อนทีหลัง จึงทำให้ไม่มีเงินเหลือ หรือ แย่กว่านั้นคือ ติดลบ ก็คือ เป็นหนี้นั่นเอง

    เงินออม จำเป็นต้องมี ประการแรก เพื่อเก็บสำรองเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน แล้วเราควรมีเงินสำรองเอาไว้ในส่วนนี้เท่าไร?

    4-6 เดือน ของเงินเดือน เขาว่ากันอย่างนั้น เช่น เงินเดือน 30,000 บาท ก็ออมไปเรื่อยๆ ให้ได้สำรองเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน อย่างน้อย 120,000 บาท หากดูแล้วโหดเกินไป มาลองอีกแนวนึง

    4-6 เดือน ของเงินค่าใช้จ่ายประจำ ค่าใช้จ่ายประจำเช่น เงินที่ต้องผ่อนบ้าน รถ หรือ อื่นๆ เงินเดือนของพ่อแม่ หรือ ลูก เป็นต้น เช่น เงินเดือน 30,000 บาท มีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายประจำอยู่รวมทั้งสิ้น 15,000 บาท ก็ต้องมีเงินสำรองเอาไว้ใช้ยามฉุกเฉิน อย่างน้อย 60,000 บาท

    ทำไมต้องสำรองเผื่อเอาไว้ 4-6 เดือน?

    ก็เพราะอะไรก็ไม่แน่นอน งานที่เคยทำอาจจะไม่มีอีกต่อไปก็ได้ ดูอย่างการมาของโควิด คนตกงานก็เยอะ หรือ ถูกลดเงินเดือนก็มากมาย หากเราไม่มีเงินสำรองเอาไว้เลย เราก็จะขาดสภาพคล่อง ทำให้เราต้องไปกู้หนี้ยืมสินอีก

    ส่วนมากเงินออม ที่อยู่ในรูปแบบของเงินฉุกเฉิน ไม่ควรเก็บเป็นรูปแบบเงินสด เพราะเดี๋ยวจะหมดได้ง่าย ส่วนมากก็จะเอาไปฝากธนาคารในรูปแบบของการฝากประจำ อย่างน้อยก็ปลอดภัย และได้ดอกเบี้ยบ้าง แต่ไม่ควรเอาไปเก็บในหุ้น หรือ สินทรัพย์ที่มีความไม่แน่นอนสูง เพราะหากวันนึงเราต้องใช้เงินจริงๆ แต่หุ้นกลับตกหนัก เราขายออกมาก็ไม่คุ้ม หรือ ขายออกมาก็ขาดทุน ดังนั้น ควรเก็บเอาไว้ในที่ที่สามารถไถ่ถอนได้ไม่ยากในยามที่ต้องใช้เร่งด่วน

    อีกประการนึง เมื่อเรามีเงินออมเพียงพอที่ระดับนึงแล้ว เราก็สามารถนำเงินออมที่เหลือไปต่อยอดลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ได้

    การบริหารการเงินส่วนบุคคล เป็นทักษะที่สำคัญมาก แต่โรงเรียนกลับไม่ได้สอน
    รูปที่ 2 : หลักการง่ายๆ ของ การบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance)
    Investing : หรือ ลงทุน

    ในที่นี้หมายถึง การลงทุนที่มีการคาดหวังผลตอบแทน ซึ่งแน่นอนในทุกๆ การลงทุนก็ย่อมมีความผันผวนเช่นกัน เช่น การลงทุนในหุ้น กองทุนรวม อสังหาฯ ลงทุนในธุรกิจ หรือ อื่นๆ

    “High Risk, High Return”

    เพราะการลงทุน มีความเสี่ยง แต่หากมีเงินเหลือแล้วไม่ลงทุน แต่เก็บเงินเอาไว้เฉยๆ ยิ่งเสี่ยงมากกว่า เพราะเงินที่เราถืออยู่ มันด้อยค่าได้ มูลค่าของเงินลดลง แบบมีนัยยะ ตามเวลาที่ผ่านไป เช่น 10 ปีที่แล้ว ซื้อข้าวมันไก่พิเศษ ราคาราวๆ 30 บาท แต่ตอนนี้ ต้อง 60 บาท หรือ มากกว่าเป็นต้น ทางเลือกก็คือ จำเป็นต้องลงทุน ถึงแม้ว่าจะมีโอากาสขาดทุนบ้างก็ตาม

    ยุคนี้มี option การลงทุนมากมายสำหรับคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นใน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการลดหย่อนภาษี (SSF และ RMF) หรือ อื่นๆ สามารถดูเพิ่มเติมในเรื่องนี้ได้

    Personal Protection : หรือ การป้องกัน

    ในที่นี้หมายถึง ประกันนั่นเอง อะไรก็ไม่แน่นอน โดยเฉพาะหากเราเป็นคนหารายได้เป็นหลัก และ มีรายได้ทางเดียวจากเงินเดือนที่ได้จากบริษัท วันนึงหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน รายได้ที่เคยมีหายไป สมาชิกครอบครัวที่เหลือจะเป็นอย่างไร?

    ประกันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกนึงและเป็นหนึ่งในวิธีการในการวางแผนการเงินและอนาคตสำหรับคนทำงาน โดยรูปแบบของประกัน ก็มีตั้งแต่ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันทรัพย์สิน เช่นบ้าน หรือ รถ เป็นต้น

    โดยส่วนมากหลักการทำประกันสำหรับประกันชีวิต ก็ดูจากภาระหนี้สินที่เรามี บวกกับที่เราต้องรับผิดชอบในอนาคต เช่น มีหนี้บ้าน และ มีค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาของลูก เราก็เอาหนี้สองก้อนนี้บวกกัน ก็จะสามารถกำหนดเป็นทุนประกันที่เราต้องมีได้ เช่น หนี้บวกค่าใช้จ่าย คือ 1 ล้านบาท เราก็สามารถเลือกซื้อประกันชีวิตที่มีทุนประกัน 1 ล้านบาทได้

    ตัวอย่างเช่น ทุนประกัน 1 ล้านบาท เบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายราวๆ 4-9 พันบาทต่อปี ราคาเบี้ยประกันแปรผันตามอายุ และ เพศ กล่าวคือ ทำประกันตอนอายุเยอะจะแพงกว่ามาก เพราะยิ่งอายุเยอะ และ ยิ่งเป็นเพศชาย ประกันเขามองว่ามีความเสี่ยงสูง เขาจึงคิดเบี้ยต่อปีสูงมาก และ สูงกว่าผู้หญิง

    การบริหารการเงินส่วนบุคคล คือ จุดเริ่มต้นของภูมิคุ้มกันทางการเงิน

    เพราะปัญหาเรื่องเงิน คือ เรื่องใหญ่ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันมาใส่ใจในเรื่อง การบริหารการเงินส่วนบุคคล ความรู้เรื่องนี้ ไม่ต้องรอให้ใครสอน เราสามารถเริ่มต้นเรียนรู้ด้วยตัวเอง และ พร้อมๆ ไปกับสมาชิกในครอบครัวได้

    รูปที่ 3 : พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

    วางแผนไปพร้อมกันกับสมาชิกในครอบครัว สร้างเป้าหมายชีวิตและการเงินไปด้วยกัน ให้อยู่ในสมการของ พอเพียง พอประมาณ และ มีความโลภน้อย เราและครอบครัวก็จะพบกับความสุขได้ ในแบบพอแล้วดี

    financial planning personal finance
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleSingapore Airlines Academy ทางเลือก เพื่อทางรอด ของ Singapore Airlines สู้ภัยโควิด
    Next Article 5G Food Truck Delivery ของ KFC ในจีน ไม่ต้องใช้คน ไม่ต้องกังวลกับเรื่องโควิด
    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล

      Related Posts

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      พฤษภาคม 19, 2025

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Plan – Execute – Grow : คู่มือการเงินฉบับสมบูรณ์สำหรับมนุษย์เงินเดือน 2024

      สิงหาคม 4, 2024

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?