Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ด้วยวิธีการสอนที่ถูกต้องและถูกจริตกับเขา
    People Stories

    การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ ด้วยวิธีการสอนที่ถูกต้องและถูกจริตกับเขา

    willskillBy willskillกุมภาพันธ์ 9, 2021ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นคำกล่าวที่ถูกต้องจริงๆ ก็ตามโดยเฉพาะกับการใช้ชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคนี้

    ในบทความนี้เราจะมาพูดคุยและทำความเข้าใจกันมากขึ้น ในเรื่องของความสำคัญที่ว่า การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นอย่างไร? จากมุมมองของ คุณโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์

    เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ อย่างไม่มีข้อจำกัด

    จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ คุณโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ต้องดูแลลูกที่อยู่ในภาวะที่มีความต้องการพิเศษ เธอจึงเห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้รับกำลังใจ และการแบ่งปันประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นอย่างมีพัฒนาการที่น่าพอใจ

    ด้วยเหตุนี้เอง เธอจึงร่วมมือกับเพื่อนๆ ก่อตั้งมูลนิธิ The rainbow room ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างความตระหนักในเชิงบวกเกี่ยวกับเด็กที่มีภาวะความต้องการพิเศษ โดยตลอดระยะเวลาการทำงานกว่า 10 ปีที่ผ่านมา คุณโรสซาลีน่า และเพื่อนๆ ในมูลนิธิ ก็ยังคงมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อพ่อแม่และเด็กๆ อยู่เสมอ โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กๆ ได้อย่างเป็นระบบ ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการสังเกต สังเคราะห์ วิเคราะห์เด็กๆ แต่ละคนเพื่อให้เห็นความแตกต่างและจัดสรรวิธีการดูแลพวกเขาแต่ละคนให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างเต็มศักยภาพและออกไปใช้ชีวิตร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืนต่อไปในอนาคต

    ลงมือสร้างกำลังใจให้กับผู้อื่น

    มูลนิธิ The rainbow room เป็นชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานสร้างความตระหนักเชิงบวกเกี่ยวกับเด็กที่อยู่ในภาวะความต้องการพิเศษในสังคมไทย โดยมี คุณโรสซาลีน่า และเพื่อนๆ ร่วมกันเป็นผู้ก่อตั้ง

    คุณโรสซาลีน่า เล่าให้เราฟังว่า “จริงๆ แล้วงาน Full-Time คือการเป็นแม่ค่ะ งานอดิเรกก็คือทำมูลนิธิแต่ก็ทำเกือบทั้งวันนะ” คุณโรสซาลีน่า บอกว่าจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าวมาจากการที่กเบรียล ลูกสาวคนเล็กของเธอได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีอาการดาวน์ซินโดรมหลังจากที่เพิ่งลืมตาดูโลกได้ไม่กี่วัน ในฐานะแม่เธอบอกว่าคำถามแรกที่เกิดขึ้นในความคิดก็คือ เธอจะต้องไปหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลลูกได้ที่ไหน  โชคดีที่ตอนนั้น เธอและครอบครัวอาศัยอยู่ที่อเมริกา ที่มีแหล่งข้อมูลและมีเอเจนซี ที่มีนักบำบัดที่คอยช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษโดยเฉพาะ  เธอจึงมีโอกาสได้เรียนรู้ ดูแลลูกสาวของเธออย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและด้วยความเข้าใจ  

    แต่เมื่อเธอและครอบครัวกลับมาใช้ชีวิตที่เมืองไทย เธอกลับพบว่า แหล่งข้อมูลและเครือข่ายความช่วยเหลือต่าง ๆ สำหรับเด็กความภาวะต้องการพิเศษ มีไม่เพียงพอและยังมีครอบครัวที่มีลูกหลานที่เป็นเด็กภาวะความต้องการพิเศษอีกมาก ที่ไม่รู้จะหาข้อมูลที่ไหน และจะพึ่งพาใครดี  มูลนิธิ The rainbow room จึงได้รับการก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้น

    ปัจจุบันนี้มูลนิธิ The rainbow room มีอายุกว่า 10 ปีแล้ว นอกจากเวลาที่ผ่านมาจะได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือพ่อแม่จำนวนมากแล้วยังได้ทำให้โรสซาลีน่าเข้าใจในความหมายของการใช้ชีวิตอย่างลึกซึ้งและเรียนรู้หัวใจสำคัญของการดูแลเด็กภาวะความต้องการพิเศษมากขึ้นด้วย

    “สิ่งที่เราได้เรียนรู้อย่างแรกเลยก็คือเด็กก็คือเด็ก ไม่ว่าเขาจะมีภาวะความต้องการพิเศษหรือไม่ก็ตามเขาก็เป็นเด็ก พื้นฐานของเขาคือต้องการความรัก ความเข้าใจ และต้องการผู้ใหญ่ที่จะช่วยให้เขาได้เติบโตเต็มศักยภาพ เราก็จะเห็นเด็กที่เข้ามาที่นี่มีการพัฒนาเติบโตด้วยความเข้าใจของคุณพ่อคุณแม่” คุณโรสซาลีน่า บอกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ “เราได้เรียนรู้ว่ากำลังใจเป็นเรื่องสำคัญมาก ในวันที่เราอยู่ในความไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร แล้วต่อไปในชีวิตจะเป็นอย่างไร ในวันนั้นที่เรามองไม่เห็นทาง การที่มีการแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ มันจะช่วยให้เรามีกำลังใจที่จะเดินต่อไปได้ การที่เรารู้ว่าไม่ได้เดินบนเส้นทางนี้คนเดียว การที่ทราบว่ามีเพื่อน มีคนอื่นๆ ที่อยู่ในประสบการณ์คล้ายกัน มันทำให้เราไม่โดดเดี่ยว แล้วก็มีกำลังใจในการก้าวเดินต่อไป”

    เรียนรู้ในความต้องการของเด็กๆ

    ในฐานะที่เป็นแม่ของลูกที่มีภาวะความต้องการพิเศษทำให้ คุณโรสซาลีน่า ทราบเป็นอย่างดีว่าพ่อแม่ของเด็กๆ คนอื่นต้องการข้อมูลเพื่อนำไปใช้เลี้ยงลูกมากเพียงใด เธอจึงให้ความสำคัญต่องการค้นคว้าหาข้อมูลใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงดูเด็กๆ ได้อย่างลุ่มลึกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันเธอตระหนักเป็นอย่างดีว่าถึงแม้ข้อมูลจะเป็นส่วนสำคัญมากเพียงใด แต่เด็กทุกคนมีความต้องการแตกต่างกัน ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องมีทั้งความรู้และดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตความต้องการของลูกของตนเอง

    “เราทำงานด้านข้อมูล เราเรียนรู้ว่าการมีข้อมูลที่รอบด้านและใหม่สดเสมอจะทำให้ความเข้าใจของเราต่อลูกๆ ของเรามีความลุ่มลึกขึ้นเรื่อยๆ การแสวงหาความรู้และเทคนิคต่างๆ ในการดูแลเด็กๆ เป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะเขาไม่สามารถมีพัฒนาการโดยธรรมชาติเหมือนเด็กทั่วไป เขาต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ของเขา แต่ถ้าผู้ใหญ่ไม่ทราบว่าเรามีวิธีอะไรที่จะช่วยเขาได้เราก็ไม่สามารถช่วยเขาได้ถูกทาง”

    “ในขณะเดียวกันประสบการณ์ก็เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญ เพราะเราทุกคนเป็นปัจเจก ไม่มีใครเหมือนใคร พ่อแม่ทุกคนจะสามารถดูแลลูกให้ดีได้ เขาก็ต้องดูว่าลูกของเขาเป็นอย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ทำอะไรได้ดี เพราะฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจแล้วก็จะสามารถจับทางได้และสามารถดูแลลูกไปได้”

    คุณโรสซาลีน่า บอกว่าการทำความเข้าใจเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญของการเลี้ยงดูเด็กภาวะความต้องการพิเศษ เพราะเมื่อพ่อแม่เข้าใจความต้องการของลูกก็จะสามารถตอบสนองให้เขาเติบโตได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันหากสังคมทำความเข้าใจถึงความแตกต่างก็จะทำให้พวกเขาสามารถปรับตัวจนอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นธรรมชาติ

    “ไม่ใช่เพียงแต่ครอบครัวเท่านั้นที่มีความสำคัญสำหรับเด็กๆ แต่ยังรวมถึงสังคมภายนอกด้วย ทุกอย่างมีความเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด เพราะถ้าคุณพ่อคุณแม่ดูแลเด็กคนหนึ่งได้ดีเขาก็จะเกิดความมั่นใจ เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง รวมถึงสังคมภายนอกที่เข้าใจความแตกต่าง เข้าใจว่าคนทุกคนไม่มีใครเหมือนกัน มันก็จะทำให้เรามีความรู้ตัวมากขึ้น รู้จักใจเรา เราก็จะรู้จักใจเขา พอเรามีความเข้าใจตนเองเข้าใจคนอื่นแล้วเราก็สามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน”

    ปรับแนวความคิดเพื่อเปลี่ยนกระบวนการ

    จากประสบการณ์ตรงและการหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอทำให้คุณโรสซาลีน่า รู้ว่าเด็กภาวะความต้องการพิเศษต้องการวิธีการสอนที่แตกต่าง มูลนิธิ The rainbow room จึงทำหน้าที่สร้างความเข้าใจในพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กๆ ในกลุ่มภาวะออทิสซึม ดาวน์ซินโดรม ที่มีภาวะความแตกต่างทางการเรียนรู้หรือมีสมาธิจำกัด

    “เราจะแบ่งปันประสบการณ์ ข้อมูล กำลังใจ แล้วก็พลังเสริม แบบพ่อแม่สู่พ่อแม่ ในขณะเดียวกันเราก็ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาให้ความรู้ความเข้าใจในทางวิชาการเพื่อสนับสนุน ประสบการณ์และข้อมูลต่างๆ ด้วย” คุณโรสซาลีน่า เล่าว่าด้วยประสบการณ์ของเธอที่เคยอาศัยอยู่ที่ต่างประเทศมาก่อนทำให้ได้เห็นแนวทางการดูแลเด็กภาวะความต้องการพิเศษที่เป็นประโยชน์และได้นำเอามาปรับใช้ในเมืองไทย

    “ที่อเมริกามาเราได้เห็นวิธีการที่นักบำบัดทำงานกับเด็กๆ เราเห็นว่าเขาใส่ความสนุกลงไปในการเรียนรู้แทบจะทุกขั้นตอน ทุกคลาสคือการเล่น เฮฮา สนุก หัวเราะ ยิ้ม เพราะฉะนั้นเราจึงกลับมาดูว่าถ้าอย่างนั้นวิธีการพัฒนาการทางสังคมน่าจะเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กมีบรรยากาศในการเรียนรู้ได้อบอุ่น มั่นใจ เชื่อมั่น และเป็นไปในเชิงบวก”

    รวมไปถึงการที่ได้พบเห็นแคมเปญรณรงค์ ‘Stop the R-Word’ ในต่างประเทศที่ทำให้เธอเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแนวคิดต่อเด็กภาวะความต้องการพิเศษเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สังคมมีต่อพวกเขาอย่างถาวร

    “ในช่วงปี 2006 เราได้เห็นแคมเปญของ Stop the R-word โดยคำว่า R คือ Retard ถ้าแปลเป็นไทยก็คือคำว่าปัญญาอ่อน เราเห็นแล้วรู้สึกโดนมาก เพราะโดยส่วนตัวแล้วเราไม่ชอบคำนี้เลย เพราะรู้สึกว่ามันเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น เรารู้สึกว่าการที่เราไปแปะป้ายใครบางคนด้วยคำบางคำ มันทำให้เกิดความจำกัด แรกเริ่มเลยคือจำกัดทัศนคติของพ่อแม่

    “เพราะเมื่อเราได้ยินคำวินิจฉัยว่าลูกเรามีภาวะเช่นนี้แล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพ่อแม่คือการรู้สึกว่าลูกฉันคงเรียนอะไรไม่ได้เลย ลูกฉันคงไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ พ่อแม่ก็จะปล่อยเขาไว้เฉยๆ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วเขาจะรู้ว่าคำนี้ไม่สามารถใช้กับลูกเขาได้ อันที่จริงคือใช้กับใครไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะเมื่อเขามีสภาวะอย่างนี้ การให้ข้อมูล การสอน และการเรียนรู้ต่างหากที่จะเป็นกุญแจช่วยให้คนหนึ่งคนสามารถก้าวเดินต่อไปได้ในอนาคต” เธอกล่าวถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนแนวคิด

    “เพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ คำพูดที่บอกว่าการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุดจนกระทั่งเราหมดลมหายใจนั้นเป็นความจริงค่ะ” คุณแม่ที่ผ่านการสร้างการเรียนรู้ให้กับลูกที่มีภาวะความต้องการพิเศษมาแล้ว รวมถึงมีส่วนในการเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กๆ อีกจำนวนมากกล่าวยืนยัน

    แม้กระทั่งเด็กที่มีความล่าช้าทางเชาว์ปัญญาเขาก็สามารถเรียนรู้ได้ถ้าเราใช้วิธีการสอนที่ถูกต้องและถูกจริตกับเขา เราต้องหาว่าเขาเป็นคนเรียนรู้ได้แบบไหน ถ้าเขาเรียนรู้จากภาพ เราก็ให้ดูอะไรที่เป็นภาพ ถ้าเขาเรียนรู้ได้จากเสียง เราก็ใช้เสียง ถ้าเขาชอบเรียนรู้จากการสัมผัส เขาก็ต้องมีประสบการณ์นั้น เพราะฉะนั้นเราต้องดูให้เห็นว่าเขาเรียนรู้อย่างไรแล้วเราเองเป็นคนช่วยให้เขาเรียนรู้แบบนั้น เพราะฉะนั้นการไปแปะป้ายเขามันไม่ได้ช่วยอะไรใครเลยจริงๆ มันยิ่งทำให้การที่จะก้าวไปข้างหน้าของครอบครัว ของเจ้าตัวเขาเอง หรือคนรอบข้างเขามันแน่นิ่งอยู่ตรงนั้น”

    คุณโรสซาลีน่า จึงเห็นว่าทุกคนในสังคมต้องร่วมมือกันสร้างทัศนคติใหม่ต่อเด็กๆ และเชื่อมั่นในศักยภาพของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ให้กำลังใจพวกเขาในการก้าวเดินไปข้างหน้า ทำให้ศักยภาพของพวกเขาได้รับการเติมเต็ม และทำให้ความฝันของพวกเขาเป็นจริงโดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ

    เรื่องราวทั้งหมดนี้ จากคุณโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์ ก็เป็นการยืนยันที่ว่า การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นคำกล่าวที่ถูกต้องจริงๆ

    เรื่องราวอ้างอิงบทสัมภาษณ์ของ คุณโรสซาลีน่า อเล็กซานเดอร์ แม็คเคย์

    จากโครงการ พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) 

    สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ โครงการ พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

    โจน จันใด ประสบการณ์ที่เลวร้าย ก็ถือเป็นครูอีกคนนึง ที่ให้บทเรียนที่ยากที่สุดให้แก่เรา

    ครูไอซ์ – ดำเกิง มุ่งธัญญา Mindset ที่ดี สามารถช่วยให้เรา ก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ ในชีวิตได้

    พี่ต่อ-ธนญชัย ศรศรีวิชัย ชีวิตคือการตั้งคำถาม เพื่อให้เรากล้าที่จะท้าทายตนเอง ให้กล้าออกจากจุดเดิมๆ

    Transformative Learning
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleExit Interview มีเอาไว้เพื่ออะไร? และ หากทำไปแล้ว ไม่เอาไปใช้ประโยชน์ก็เท่านั้น
    Next Article Jiro Dreams of Sushi – บทเรียนล้ำค่า จากผู้ที่ทำอาชีพนี้ อาชีพเดียว มายาวนานกว่า 70 ปี
    willskill
    • Website

    Related Posts

    วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

    พฤษภาคม 25, 2024

    เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

    พฤษภาคม 23, 2024

    The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

    พฤศจิกายน 2, 2023

    คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

    กรกฎาคม 17, 2023

    Comments are closed.

    Our Picks

    ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

    มิถุนายน 22, 2024

    ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

    สิงหาคม 18, 2023

    แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

    มิถุนายน 6, 2023

    7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

    พฤษภาคม 30, 2023
    • Facebook
    • Pinterest
    • Instagram
    • YouTube
    Don't Miss

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    By willskillพฤษภาคม 19, 20250

    ประกันสุขภาพ หร…

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025

    จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

    กุมภาพันธ์ 3, 2025

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

    About Us
    About Us

    Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

    We're accepting new partnerships right now.

    Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

    Our Picks

    ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

    มิถุนายน 22, 2024

    ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

    สิงหาคม 18, 2023

    แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

    มิถุนายน 6, 2023
    New Comments
      Facebook YouTube Spotify Pinterest
      • Home
      • Work
      • Life
      • Balance
      • Sustainability
      • People Stories
      • InMind
      • Podcast
      © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

      Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

      Sign In or Register

      Welcome Back!

      Login to your account below.

      Lost password?