Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»การเรียนรู้ ว่าเราไม่รู้ ด้วยการให้โอกาสตนเองได้ลองทำ
    People Stories

    การเรียนรู้ ว่าเราไม่รู้ ด้วยการให้โอกาสตนเองได้ลองทำ

    Janin WathanapridaBy Janin Wathanapridaตุลาคม 6, 2020ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    คนที่เคยไม่เอาไหน
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    การเรียนรู้ มีได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอ่าน ฟัง หรือ ดู จากสื่อต่างๆ แต่หลายๆ ครั้ง การเรียนรู้ในแบบที่กล่าวมานั้น ก็ทำให้เราพบว่า สิ่งที่เราคิดว่าเรารู้แล้ว (อาจจะเกิดจากการอ่าน หรือ ฟังเขาเล่ามา หรือ ดูเขาทำมา) ก็อาจจะเป็นแค่เพียงความเข้าใจ หรือ บางครั้งก็ทำให้เราอาจจะตึในเรื่องนั้นผิดก็เป็นได้ ดังนั้น การเรียนรู้ ที่ดีที่สุด คือ ผ่านการลองทำ หรือ ลงมือทำ

    สำหรับบทความในตอนนี้ เราจะมาเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ของ คุณสิงห์-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล กันว่า คุณสิงห์-วรรณสิงห์ เริ่มต้นค้นพบการเรียนรู้ในแบบฉบับของเขาได้อย่างไร เขารู้ได้อย่างไร ว่าตนเองชอบหรือถนัดในงานเรื่องอะไร? และ การเรียนรู้แบบนี้ช่วยค้นหาเป้าหมายของชีวิตได้จริงไหม?

    หากพูดกันถึงชีวิตส่วนตัว เราคงรู้จักประวัติของชายหนุ่มคนนี้กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว หรือผลงานต่างๆ

    แต่สิ่งที่น่าสนใจมากยิ่งไปกว่านั้น คือ คุณสิงห์-วรรณสิงห์ ได้วิเคราะห์ตัวตนของเขาเองว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง และสิ่งเหล่านั้นได้ส่งผลต่อความคิดและการทำงานของเขาอย่างไรในวันนี้

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
    กระตุ้นการเรียนรู้

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ เติบโตมาในครอบครัวที่มีทัศนคติเปิดกว้าง การไม่จำกัดความคิด ทำให้ในวัยเด็ก เขารู้จักกับการตั้งคำถามและค้นหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ บนโลกใบนี้ด้วยตัวเอง เขาบอกว่าบรรยากาศเหล่านี้ในครอบครัวเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งทำให้เขาสนุกในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

    “ความสุขของบ้านเรา คือ เวลาที่ใครไปเจอเรื่องที่น่าตื่นเต้นหรือได้พบเจออะไรใหม่ๆ ก็จะมาแชร์กันบนโต๊ะอาหาร”

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ เล่าให้ฟังว่า โดยรวมแล้วเราไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการปลูกฝัง เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดจากการบอกหรือกำหนดให้ทำ แต่เกิดจากการกระตุ้นให้เราอยากรู้ตั้งแต่เด็กๆ อย่างหนึ่ง คือ อยากรู้ว่าตัวเองเชื่อมโยงกับโลกยังไง และทำให้เกิดความรู้สึกว่าตัวเราเองสามารถมีส่วนกับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

    ด้วยพื้นฐานของพ่อแม่ของเขาที่เคยมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมมาก่อน ทำให้เขาคุ้นชินกับความรู้สึกว่าสามารถมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

    “สิ่งเหล่านี้ทำให้เวลาที่ผมเลือกทำงานต่างๆ ในเวลาต่อมา มันจึงมาจากสองส่วนหลักๆ คือ ความอยากรู้อยากเห็นอยากเข้าใจ และสองคือทำอะไรแล้ว มันจะเกิดผลให้สังคมได้สูงสุด”

    ค้นหาตัวตน

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ เริ่มทำงานตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม งานแรกๆ ของเขาส่วนใหญ่เป็นงานพิธีกร นักแสดง เมื่อโตขึ้นเขาจึงเริ่มสื่อสารด้วยการเป็นนักเขียน การทำงานทั้งหมดทำให้เขาเรียนรู้การสื่อสารความคิดของตนเองต่อสังคมมาโดยตลอด

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ เล่าให้ฟังว่า “ช่วง 3-4 ปีแรกของการทำงาน ผมได้เริ่มทำงานเขียนบ้าง ทำงานพิธีกรบ้าง ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ผมตื่นเต้นกับการมีตัวตนครับ มีบางช่วงที่อีโก้บวมจนใหญ่คับฟ้า เต็มไปด้วยความคิดเห็น อัตตาและการแสดงอัตลักษณ์ของตัวเอง”

    เมื่อเติบโตขึ้นและมีประสบการณ์มากขึ้น คุณสิงห์-วรรณสิงห์ จึงได้พัฒนาตนเองไปอีกรูปแบบหนึ่ง เขาทดลองทำงานในสายงานที่แตกต่างออกไป เพื่อค้นหา “จุด” ที่ลงตัวกับตัวเขามากที่สุด

    ช่วงเรียนจบมหาวิทยาลัย คุณสิงห์-วรรณสิงห์ได้ลองเริ่มทำงานที่หลากหลายมากขึ้น อาทิเช่น เป็นนักดนตรี ไปทำงานเอ็นจีโอ ไปทำอะไรอีกหลายอย่างมาก โดยทั้งหมดเป็นการทำงานเพื่อค้นหาตัวตน แต่ก็ไม่พบจุดที่ตัวเองต้องการ

    “จุดที่เราอยากเป็น จุดที่เราได้เป็น และ จุดที่เรามีประโยชน์”

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ บอกกับเราว่า เขาอยากทำงานที่ตอบสนองตนเองได้สามอย่าง คือ “จุดที่เราอยากเป็น จุดที่เราได้เป็น และ จุดที่เรามีประโยชน์” จนกระทั่ง ผมอายุได้ 25 ปี ผมได้ทำงานสารคดีรายการแรก ชื่อ “พื้นที่ชีวิต” เป็นรายการที่พาผู้ชมเดินทางไปทั่วโลก

    ซึ่งทำให้ผมค้นพบ “งาน” ที่จุดสามจุดนั้นมาเจอกัน เพราะเป็นงานที่ผมถนัด ผมอยากเป็น เป็นงานที่ผมได้เป็น และเป็นงานที่มีประโยชน์ ทำให้ผมรู้ตัวว่าต่อไปผมจะทำงานอะไร นั่นก็คือ การทำงานสื่อที่มีผลกระทบต่อสังคม” วรรณสิงห์ เล่าถึงการค้นพบงานในแบบที่เขาต้องการ

    เรียนรู้ว่าไม่รู้

    ในเวลาต่อมาคุณสิงห์-วรรณสิงห์ ได้ทำสารคดีในรูปแบบของเขาเอง คือ รายการ “เถื่อน Travel” เป็นรายการที่เขาเลือกเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ทั่วโลก เช่น พื้นที่ที่มีความขัดแย้ง พื้นที่ที่มีสงคราม เพื่อทำความเข้าใจโลกในอีกมุมหนึ่ง การได้ออกเดินทางไปยังสถานที่เหล่านั้น ทำให้เขาได้เรียนรู้และเข้าใจความเป็นไปของมนุษย์และสิ่งต่างๆ ในแบบที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อน

    “การเดินทางของผม เป็นการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ไม่ได้เรียนรู้ด้วยตัวอักษร แต่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่อยู่ตรงหน้าจริงๆ และมันทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราไปพบเห็น มันเป็นแค่ส่วนเล็กๆ เท่านั้น“

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ บอกกับเราว่า “การเดินทางของผม เป็น การเรียนรู้ อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ไม่ได้เรียนรู้ด้วยตัวอักษร แต่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่อยู่ตรงหน้าจริงๆ และมันทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราไปพบเห็น มันเป็นแค่ส่วนเล็กๆ เท่านั้นและมันยังมีส่วนที่เราไม่เห็นอีกมากมาย ผมจึงได้เข้าใจอะไรมากกว่าเดิมเยอะด้วยการสัมผัสโลก เข้าใจว่าเรายังไม่รู้อะไร ซึ่งมันเป็นกระบวนการที่ดีมาก ต่อการเติบโตของคนคนหนึ่ง”

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ บอกว่าทุกครั้งที่เขาออกเดินทาง ไม่ว่าเขาจะเตรียมตัวทำการบ้านดีแค่ไหน และวาดภาพสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วเมื่อไปถึงที่นั้นๆ ภาพความจริงที่เขาเห็นตรงหน้า ไม่เคยเป็นไปอย่างที่เขาคิดเอาไว้เลย

    “เขต war zone ที่ผมไปในช่วงหลังๆ ผมเดินทางไปโดยที่ไม่ได้พกความคิดไปเลย ว่ามันต้องเป็นยังไง เพราะผมรู้ว่าพอไปถึงมันไม่เป็นอย่างที่เราคิดอยู่แล้ว อย่างอิรักนี่เจริญมาก โอเค มันมีระเบิด แต่มันเป็นแค่ 0.001% ของเมือง ที่เหลือเป็นเมืองใหญ่ แทบจะใหญ่กว่ากรุงเทพฯ ด้วยซ้ำ และเป้าหมายหนึ่งในการทำสื่อของผมก็คือเอากล้องไปจ่อในส่วนอีก 99% ที่เหลือ เพื่อที่จะได้ให้ทุกคนเห็นภาพชีวิตใน war zone ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น”

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ ยกตัวอย่างส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาได้สัมผัสด้วยตนเองตอนไปอิรัก

    สร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลก

    ด้วยความคิดที่ว่า ทุกคนสามารถร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะระดับส่วนบุคคล หรือในระดับโลก สิ่งที่ คุณสิงห์-วรรณสิงห์ คิดจะทำต่อไป จึงเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม

    “สิ่งที่ผมสังเกตเห็นมาตลอดในการเดินทางไปทั่วโลก คือ Climate Change หรือภาวะโลกร้อน ผมคิดว่านี่เป็นประเด็นเรื่องความอยู่รอดของมนุษย์ชาติ ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้นนะครับ แต่เกี่ยวกับคนทั้งโลก และไม่ใช่มนุษย์อย่างเดียวด้วย แต่เกี่ยวกับสัตว์และพืชทุกชนิด ตอนแรกผมยังไม่รู้ว่า ผมจะมีบทบาทอะไรได้บ้าง ตอนนี้ผมก็เลยเริ่มหยิบเป้ขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยการพาผู้ชมไปดูของจริงว่า มันกำลังเกิดอะไรขึ้นบนโลกในเรื่องนี้”

    คุณสิงห์-วรรณสิงห์ บอกว่า เถื่อน Travel ในเวอร์ชั่นสิ่งแวดล้อม ไม่ได้มีเป้าหมายพาไปสำรวจเรื่องราวความขัดแย้ง แต่เขาจะพาทุกคนไปดูภูเขาไฟ ใต้น้ำ ในป่าดงดิบ ฯลฯ เพื่อไปดูว่าถ้าเราไม่ร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม อะไรที่กำลังจะหายไปจากโลกบ้าง

    “แต่เท่านั้นยังไม่พอครับ ผมยังอยากทำสื่อแขนงอื่นๆ อีก เช่น สื่อออนไลน์ ที่ทำหน้าที่บอกกับคนดูว่าคุณทำอะไรกับมันได้บ้าง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องส่วนตัวเท่านั้น ในฐานะสื่อ ผมก็อยากกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในระดับบุคคลด้วย ขณะเดียวกันมันอาจจะผลักดันให้องค์กรใหญ่ๆ เปลี่ยนความคิดได้ และถ้าสังคมเริ่มเปลี่ยน ภาครัฐก็คงจะเปลี่ยนบ้าง”

    และนี่ก็คือ เรื่องราวของภารกิจใหม่ ของคุณสิงห์-วรรณสิงห์ ที่เกิดจาก การเรียนรู้ และการลงมือทำงานมาตลอดชีวิต

    “การทำงาน มันทำให้อีโก้ที่เคยมีลดลง เพราะผมได้เห็นอะไรที่ตัวเองไม่รู้อีกมากมาย ทำให้ผมเข้าใจได้ว่า ก่อนหน้านี้ตัวเองโง่ขนาดไหน”

    เรื่องราวของ คุณสิงห์-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ก็คงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเรื่องของ การเรียนรู้ จากการทำงานและการเดินทาง รวมไปถึงการนำประสบการณ์จากการทำงานและการเดินทาง มาค้นหาตัวตนของตนเอง และ ยังสามารถนำมาต่อยอดเพื่อช่วยเหลือสังคมให้ดีขึ้นได้อีกด้วย ได้ทั้งทำงานที่ใช่ และได้ช่วยเหลือผู้คน ถือว่าทุกๆ วินาทีที่ทำงาน คือ ความสุขอย่างแท้จริง

    เรื่องราวอ้างอิงบทสัมภาษณ์ของ คุณสิงห์-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

    จากโครงการ พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

    สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ โครงการ พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

    คุณอ้อย-มนทิรา จูฑะพุทธิ การทำงานและการเดินทาง กับการเรียนรู้

    Transformative Learning
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleหุ้นกู้ ไม่ใช่การกู้เงินมาลงทุน แล้ว หุ้นกู้ จริงๆ แล้วคืออะไร เหมาะกับใคร?
    Next Article Is it still possible to change jobs when you are older?
    Janin Wathanaprida

      Related Posts

      วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

      พฤษภาคม 25, 2024

      เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

      พฤษภาคม 23, 2024

      The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

      พฤศจิกายน 2, 2023

      คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

      กรกฎาคม 17, 2023

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?