Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยความเอาใจใส่ เสริมด้วยโภชนาการ
    People Stories

    กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยความเอาใจใส่ เสริมด้วยโภชนาการ

    ทีมงาน The PracticalBy ทีมงาน The Practicalมีนาคม 2, 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยรัก เสริมด้วย โภชนาการ เสียงร้องของเด็กป่วย เหมือน เสียงของหัวอกพ่อแม่ที่กำลังร้องไห้ การดูแลผู้ป่วยเด็ก จึงต้องใช้ความทุ่มเท เอาใจใส่ ประคับประคอง ให้เด็กผ่านจุดที่ทรมานไปให้ได้ การดูแลเอาใจใส่ แก้ปัญหาด้วยการป้องกัน ทั้งการสร้างสุขภาพที่ดีให้เด็ก และการจัดการด้านโภชนาการที่ดี จะทำให้ ลูกหลานแข็งแรง จะได้ไม่ต้องเป็นเด็กป่วยอีกต่อไป

    จากในตอนที่แล้วแอดมินได้พาทุกคนเข้าสู่โลกแห่งความเร่งด่วน ที่แม้แต่นาทีเดียวก็ช้าไม่ได้เด็ดขาดอย่าง ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเร่งด่วนขนาดไหนแถมพวกเขายังแบ่งออกเป็นทีมเพื่อให้ทำงานเร่งด่วนได้อย่างครบครันและรวดเร็ว ต่อจากนี้เราก็คงไม่สงสัยกันแล้วว่าเวลาไปโรงพยาบาลแล้วเห็นหมอ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกคนวิ่งกันให้วุ่นเนี่ยเขาทำอะไรกัน

    หลังจากที่เราเดินทางมาไกลด้วยเรื่องของคนไข้แบบรวมๆ วันนี้จะถึงคิวของเยาวชนตัวจิ๋วของเรากันบ้าง ที่แอดต้องเจาะจงขนาดนี้ก็เพราะตอนนี้แอดจะพาทุกคนไปรู้จักกับแผนกที่ข้องเกี่ยวกับเด็กโดยเฉพาะอย่างกุมารเวชกรรมและคลินิกโภชนาการ ที่ได้บุคลากรทางการแพทย์ที่รักเด็กอย่าง พว.คณัสนันท์ ผลตัน หัวหน้างานการพยาบาลตรวจโรคกุมารเวชกรรม พว.กนกวัณย์ บัวแช่ม งานพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรมพิเศษ รศ.พญ.ศุกระวรรณ อินทรขาว หัวหน้าสาขากุมารเวชกรรม รศ.พญ.พัชราภา ทวีกุล อาจารย์(แพทย์) สาขากุมารเวชกรรม จุฑามาศ ทองลิ่ม นักวิชาการโภชนา งานโภชนาการ และเรือตรีหญิงวรรณา จันทร์สวัสดิ์ หัวหน้างานพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชกรรมพิเศษโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มาช่วยแนะนำให้เราฟังในวันนี้

    “หมอเด็ก”

    หมอเด็กหรือกุมารแพทย์ นอกจากการรักษาเด็กโดยทั่วไปแล้วในส่วนนี้ยังมีกุมารแพทย์ที่ดูแลโรคของเด็กแบบเฉพาะทาง ที่โดดเด่นเลยของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติคือมีศูนย์ภูมิแพ้ โภชนาการเด็ก มีการรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร โรคหัวใจ และภายในปีหน้าจะมีศูนย์พัฒนาการเด็กและวัยรุ่นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การบริการเด็กทำได้ดีและครอบคลุมมากขึ้น อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กวัยรุ่นได้มากขึ้นอีกด้วย

    กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยความเอาใจใส่ เสริมด้วย โภชนาการ

    “บทบาทของนักโภชนาการ”

    การเป็นนักโภชนาการประจำคลินิกจะเป็นการทำงานในรูปแบบการวางแผนและให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการและโภชนบำบัดให้กับผู้ป่วยโดยต้องวางแผนให้สัมพันธ์กันกับโรคและสภาวะที่ผู้ป่วยเป็น การให้บริการเป็นในแง่ของการให้คำปรึกษาปัญหาด้านโภชนาการ อย่างเช่น คนไข้โรคอ้วนที่ต้องมาลดน้ำหนัก ต้องวางแผนการทานอาหารอย่างไรเพื่อให้ลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย หรือผู้ป่วยเด็กที่มีทั้งโภชนาการขาดและโภชนาการเกิน

    • ทุพโภชนาการขาด คือการขาดสารอาหารหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เป็นเด็กที่กินยาก มีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารตั้งแต่เด็กแล้วส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างผอมเกินไปหรือตัวเตี้ยผิดปกติเป็นต้น
    • ทุพโภชนาการเกิน คือ เด็กอ้วน มาในเรื่องของลดน้ำหนักและปรับอาหารให้เหมาะสมกับวัย

    “โภชนาการแม้ไม่ใช่ตัวตั้งต้นของโรค แต่ก็เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดโรค”

    กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยความเอาใจใส่ เสริมด้วย โภชนาการ

    โภชนาการ เป็นส่วนประกอบของหลายโรค ด้วยตัวของมันเองอาจจะไม่ใช่ตัวตั้งต้นที่ทำให้เกิดโรคแต่ก็เป็นส่วนประกอบหรือส่วนที่ตามมาจากการเป็นโรค ซึ่งโภชนาจะแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกัน

    1. การป้องกัน การป้องกันไม่ให้เด็กเป็นโรคอะไรหรือไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ เช่น คลินิกเด็กสุขภาพดี เด็กเดินทางมาเพื่อฉีดวัคซีน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
    2. การรักษา เด็กบางคนเหมือนไม่ได้ปัญหาอะไรเลยเมื่อเรามองจากภายนอก แต่กลับมีปัญหาในเรื่องการกินจากการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการอ้วนหรือผอมเกินไปขึ้น

    “ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กอ้วนจากการกินเยอะ”

    ตั้งแต่ก่อนช่วงโควิด-19 เข้ามา ปัญหาที่ประเทศไทยประสบเหมือนกับประเทศอื่นๆคือมีจำนวนเด็กอ้วนเยอะขึ้น ในขณะที่เด็กผอมก็ยังมี แต่ดีขึ้นจากปีที่ผ่านๆมาดังนั้นภาวะทุพโภชนาการที่เกิดจากการขาดสารอาหารจึงลดลง ส่วนใหญ่เด็กที่เข้ามารับการรักษาแล้วมีรูปร่างอ้วนจะเป็นการอ้วนที่เกิดการจากกินเยอะแล้วไม่ออกกำลังกาย จะมีส่วนน้อยมากที่อ้วนเพราะสาเหตุอื่น

    “การปรับตั้งแต่ผู้ปกครองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นจะทำให้โภชนาการของทุกคนดีขึ้นได้”

    โภชนาการ เป็นปัจจัย 4 ของมนุษย์ มันคือสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้เพื่อดำรงชีวิตต่อไป จริงๆแล้วมันก็เหมือนยาถ้าไม่อยากป่วยหรือมาโรงพยาบาลบ่อยๆ ก็ต้องปรับโภชนาการให้ดี โภชนาการมันเริ่มตั้งแต่ตอนที่แม่ตั้งครรภ์เลย ส่งผลมาจนถึงวัยเด็ก วัยรุ่น และกลายเป็นผู้ใหญ่ ถ้าเราบอกเด็กให้รักษาโภชนาการให้ดีทั้งที่พ่อแม่เขายังทำไม่ได้ก็คงไม่เกิดผลอะไร เพราะฉะนั้นการปรับจึงควรเริ่มจากผู้ปกครองเลยถึงจะทำให้โภชนาการของทุกคนดีขึ้นได้จริง

    กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยความเอาใจใส่ เสริมด้วยโภชนาการ

    เมื่อโควิด-19 เข้ามา

    การคัดกรองจากอาการเบื้องต้นกลายเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เมื่อก่อนส่วนของ OPD จะไม่มีการแยกส่วนรักษา เด็กทุกคนที่เข้ามารับการรักษาจะรวมกันอยู่ที่นี่เลย แต่พอมีโควิด-19 เข้ามาทำให้ต้องแยกห้องตรวจ มีทั้งตรวจคนไข้ที่อาการเกี่ยวทางเดินหายใจหรือมีไข้ และแบบปกติที่รับตรวจอาการทั่วไป นอกจากนี้ระบบของโรงพยาบาลจะแยกกลุ่มเด็กที่มีประวัติความเสี่ยงของโควิด-19 ที่ชัดเจน จะแยกไปกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อชัดเจนซึ่งเป็นแผนกใหญ่ของโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นในส่วนของ OPD เด็ก คนไข้ที่มีอาการหรือมีความเสี่ยงจะติดเชื้อจะไม่ได้เข้ามาในส่วนนี้ แต่เพื่อความสบายใจของเด็กและพ่อแม่ ภายใน OPD จึงได้มีการแยกห้องตรวจ รักษาระยะห่าง และคัดกรองเด็กที่เข้ามารับการรักษาเพิ่มเติมด้วย

    “เด็กบอกไม่ได้ว่าเขาไม่สบายตรงไหน?”

    สิ่งสำคัญของแผนกกุมารเวชกรรมคือ ต้องยอมรับว่าการแสดงออกของเด็กเป็นธรรมชาติของเด็ก แพทย์ส่วนใหญ่ที่มาดูแลตรงนี้จะมีความยอมรับและเข้าใจธรรมชาติของเด็กและรักเด็กเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากได้เข้าใจพัฒนาการของเด็ก การที่เขาร้องไห้ตอนไม่สบาย การที่เขาหัวเราะตอนมีความสุขและหาวตอนง่วง เราจะสามารถเข้าใจสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อสารแม้ว่าเด็กจะไม่สามารถบอกอาการที่เป็นอยู่ของพวกเขาได้

    “รับมือกับความสงสารเด็ก”

    การเลือกทำงานในแผนกเด็กอย่างน้อยจะต้องมีจิตใจที่รักเด็ก เพราะเมื่อเรารักเด็กแล้วเราจะเข้าใจธรรมชาติของเด็กและมันจะแสดงออกมาเองผ่านการกระทำ สายตา ความเป็นห่วงเป็นใย ในช่วงแรกเด็กจะมีความไม่ยินยอมและไม่ไว้วางใจพยาบาลเกิดขึ้นอยู่แล้ว จึงต้องหาวิธีเล่นกับเด็กอย่างไรให้เด็กไว้ใจ อาจจะมีการเล่านิทาน สื่อสาร เล่นเกม เพื่อให้เขาสบายใจในการอยู่กับเราและยอมรับการรักษาจากเรา

    “พึงระลึกไว้ว่าลูกทุกคนเปรียบเสมือนดวงใจของคุณพ่อคุณแม่”

    เวลาที่เข้าไปให้การบริการจะต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าเด็กทุกคนมีพ่อมีแม่ และเปรียบเสมือนดวงใจของพวกท่าน ต้องตั้งใจ ละเอียดรอบคอบ ต้องใช้ทักษะทางการพยาบาลที่สูงมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการพยาบาลผู้ใหญ่ เขาตัวโตก็จะมีอวัยวะที่ใหญ่กว่า ส่วนเด็กเนี่ย เขาจะมีอวัยวะที่เหมือนย่อส่วนจากผู้ใหญ่ลงมา เช่น หลอดเลือดที่เล็กลงทำให้การเจาะเลือดต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้น ใช้ประสบการณ์มากขึ้น

    “ไม่มีใครอยากพาลูกมาโรงพยาบาลในสถานการณ์ช่วงนี้”

    การรับมือกับความกังวลของผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ทำในทุกครั้งอยู่แล้ว ไม่ใช่แค่ช่วงโควิด-19 เท่านั้น การให้ข้อมูลเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด คุณพ่อคุณแม่จะต้องเกิดความมั่นใจในการพาลูกเข้ามารับการรักษา แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทุกคนต้องสามารถให้ข้อมูลเพื่อคลายความกังวลได้ มีคัดกรองความเจ็บป่วยเบื้องต้น ที่สำคัญคือต้องมีความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เหล่านี้ให้แก่ผู้ปกครองเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ปกครองสามารถกลับไปดูแลบุตรได้ด้วยตนเองมากขึ้นด้วย

    กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยความเอาใจใส่ เสริมด้วยโภชนาการ

    บทสรุป

    อย่างที่ได้เห็นบทบาทของ กุมารเวชกรรม และนักโภชนาการกันไป แม้จะบอกว่าในตอนนี้เป็นตอนของเด็กๆ แต่กลับไม่เด็กอย่างที่คิดเลย แม้แต่เรื่องวิธีการแก้ปัญหาการขาดหรือเกินทางโภชนาการของเด็กกลับเริ่มต้นที่ครอบครัว หากมีครอบครัวที่ดูแลอาหารการกินดี เด็กก็จะมีสุขภาพที่ดีไปด้วย เพราะคงนึกไม่ออกเหมือนกันว่าหากผู้ปกครองไม่กินผัก ผู้ปกครองจะบอกลูกเกี่ยวกับรสชาติผักได้อย่างไร นอกจากนี้ยังรวมถึงการรับการรักษาทั่วไปของเด็ก ซึ่งแพทย์และพยาบาลต้องดูแลครอบคลุมไปถึงจิตใจของผู้ปกครองด้วย เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยใช่ไหม พวกเขาตั้งใจมอบการดูแลที่ดีที่สุดเพราะเขาทำมาจากใจจริงๆ สิ่งเหล่านี้มันแสดงออกมาอย่างเด่นชัดอยู่แล้ว เพียงคำขอบคุณเล็กๆที่เจื้อยแจ้วมาจากเด็กหรือคำขอบคุณอย่างจริงใจจากผู้ปกครองก็คงช่วยเพิ่มพลังให้วันนั้นของพวกเขาสดใสขึ้นมากเลย

    “มีความสุขเวลาเห็นเด็กหายป่วย พวกเขาจะมีความสดใส กลับมาเล่นได้ตามปกติ”

    กุมารเวชกรรม ดูแลด้วยรัก เสริมด้วยโภชนาการ | โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    หรือ จะเลือกรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบของ Podcast:

    บทความ แนะนำ :

    ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน … ทุกวินาที คือ โอกาสของการมีชีวิต

    ติดตามชมรายการ UNMASK STORY
    กับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
    ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20:00 น.
    ทาง Facebook เพจ @มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
    และ ช่องทาง Social Media ของ The Practical

    UNMASK STORY
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleDesigning Your Work Life – ออกแบบชีวิตการทำงานได้ในแบบของเราเอง
    Next Article IKIGAI – แนวคิดการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขที่ยั่งยืนสไตล์ญี่ปุ่น
    ทีมงาน The Practical

      Related Posts

      วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

      พฤษภาคม 25, 2024

      เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

      พฤษภาคม 23, 2024

      The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

      พฤศจิกายน 2, 2023

      คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

      กรกฎาคม 17, 2023

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?