
คุณชาคริต บุญประกอบศักดิ์ จากมนุษย์เงินเดือนที่เริ่มต้นจากการเป็นโบรคเกอร์ เข้าสู่ธุรกิจที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาก่อนเลยอย่างการเป็นเจ้าของร้านแว่นตา อะไรคือจุดเปลี่ยน? และ ทำไมต้องเป็นธุรกิจร้านแว่นตา?
การเริ่มต้นกิจการร้านแว่นที่ทุกคนเคยเข้าใจเป็นอย่างไร ส่วนใหญ่ก็คงสืบทอดกิจการต่อจากครอบครัว หรือลองสมัครงานไปแล้วเขารับเข้าทำงาน อย่างร้านแว่นตาชั้นนำที่เราเห็นกันบ่อยๆตามท้องตลาดก็มักจะเปิดมาอย่างต่ำก็หลัก 10 ปีกันทั้งนั้น ถ้าเรียกธุรกิจเกี่ยวกับสายตานี้ว่าวงการ งั้นหน้าใหม่ที่อยากจะเข้าวงการนี้เขาต้องทำกันอย่างไรบ้าง? เพราะดันไม่มีแมวมองมาดึงเข้าวงการเสียด้วย
ในตอนนี้แอดมินจะพาทุกคนไปรู้จักกับหน้าใหม่ในวงการแว่นตา หากพูดว่าจะทำอะไรต้องเริ่มตั้งแต่ 0 สำหรับ คุณชาคริต บุญประกอบศักดิ์ เจ้าของร้านแว่น G-G Glasses คงเป็นเรื่องราวที่เห็นภาพได้ชัดมากที่สุด ที่เริ่มจากการเป็นโบรคเกอร์ ติดตามกราฟหุ้น สู่การเป็นเจ้าของร้านแว่นตาที่คอยติดตามสุขภาพดวงตาของลูกค้าทุกคนแทน
จุดเริ่มต้นร้านแว่น
คุณชาคริตเล่าว่าความสนใจแรกเริ่มเลยคือการเงินและการตลาด เพราะต้องการจะประกอบอาชีพในด้านหุ้น อย่างโบรคเกอร์หรือคนคอยวิเคราะห์กราฟหุ้น จึงทำให้คุณชาคริตตัดสินใจเรียนจบในด้านเศรษฐศาสตร์โดยหลังจากที่เรียนจบก็ได้ลองทำหลากหลายบทบาทอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น ออแกไนซ์เซอร์ ออกบูธขายสินค้า รับจัดงานอีเว้นท์ตามห้างสรรพสินค้า หรือทำงานในร้าน iStudio

“เข้ามาแบบทำเต็มตัวยากและออกง่าย”
ในช่วงที่ยังหาเส้นทางของตัวเอง หนึ่งในสิ่งที่คุณชาคริตได้ทำก็คือการขายของตามงานอีเว้นท์อย่าง เสื้อผ้า เครื่องประดับ และของแฟชั่นต่างๆ จนมาถึง แว่นตา การนำแว่นตามาขายมาจากการที่คุณชาคริตใส่แว่นเองอยู่แล้วด้วย พอได้ลองนำกรอบแว่นมาขายจึงพบว่าขายดีมาก ด้วยปัจจัยทั้งในเรื่องราคา การบริการ และทำเลที่ตั้ง พอเริ่มมองเห็นช่องทางตลาดของแว่นตาทำให้พบว่าธุรกิจนี้สามารถเข้าไปทำเต็มตัวได้ยากหากอยากทำเกี่ยวกับแว่นตาอย่างครบวงจร แต่หากได้เข้าไปทำแล้วจะสามารถทำระบบไว้แล้วจะสามารถเอาตัวเองออกมาเพื่อบริหารงานได้ สิ่งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของคุณชาคริตกับร้านแว่นตา
“เราคิดเสมอว่าเราเริ่มจาก 0 ด้วยตัวเอง”
เมื่อมองเห็นมูลค่าของธุรกิจที่เกี่ยวกับแว่นตา จากการขายกรอบแว่นเฉยๆ เริ่มขยับมามีการขายแว่นตาผ่านช่องทางออนไลน์ แต่เมื่อเป็นการขายออนไลน์โดยไม่มีหน้าร้านทำให้การตัดแว่นตาที่ถูกใจลูกค้า 100% เป็นไปได้ยากมาก คุณชาคริตจึงเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเปิดร้านแว่น ทั้งเรียนเพิ่มเติม อบรม หรือลงคอร์สต่างๆ จากที่เป็นหน้าใหม่ยังไม่รู้รายละเอียดขององค์ประกอบแว่นตาครบทุกส่วน เริ่มปะติดปะต่อจนในที่สุดก็สามารถเปิดร้านของตัวเองและจ้างบุคลากรเข้ามาเพื่อเติมเต็มร้านให้สมบูรณ์ได้สำเร็จ
“โตแบบยั่งยืน”
คุณชาคริตเล่าว่าหลังจากที่เข้าวงการมาได้สักระยะทำให้ค้นพบว่าธุรกิจแว่นตาส่วนใหญ่เป็นลักษณะรุ่นสู่รุ่น พอถามใครก็จะบอกว่าสืบทอดต่อมาจากที่บ้าน แต่น้อยคนมากที่จะเริ่มต้นธุรกิจนี้แล้วเข้าวงการมาได้ด้วยตัวเอง แต่สิ่งที่ชัดเจนมากในวงการแว่นตาคือแว่นตาเป็นสินค้าที่ไม่มีวันล่มสลาย ไม่ว่าจะผ่านมากี่ช่วงอายุก็ตาม เมื่อลองเทียบกับธุรกิจตัวอื่นๆของคนรอบตัวที่รายได้พุ่งขึ้นเร็วมาก แต่ขึ้นได้ไม่นานก็หมดไปเร็วเช่นกัน แต่ธุรกิจแว่นตาเป็นโมเดลธุรกิจที่สามารถสร้างได้อย่างยั่งยืน ถ้าเราสามารถทำระบบแล้วเอาตัวเองออกมาบริหารงานได้
“มีประสบการณ์การวัด ตัด ประกอบแว่นตา หมอสายตา และพนักงานหน้าร้าน 3 จุดที่ต้องผ่านไปให้ได้”
จากการเรียนเพิ่มเติม การอบรม การลงคอร์สต่างๆหรือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเมื่อคุณชาคริตค้นพบความสนใจและช่องทางการตลาดที่สามารถนำพาความสนใจไปสู่ความยั่งยืนทางอาชีพได้แล้ว นอกจากการเรียนรู้ทางทฤษฎีแล้ว การเปิดร้านแว่นตาสำหรับคุณชาคริตแล้วมี 3 จุดที่ต้องผ่านมันไปให้ได้ ซึ่งก็คือการหาประสบการณ์จริงจากการวัด ตัด ประกอบแว่นตา การหาความรู้ที่หมอสายตาต้องรู้ อาจจะไม่ต้องถึงกับไปเรียนหมอใหม่ แต่เป็นการรู้เบื้องต้น รู้จากประสบการณ์จริง และสุดท้ายคือการเป็นพนักงานหน้าร้านที่คอยบริการลูกค้า ถ้าสามารถทำทั้ง 3 จุดนี้ได้ ก็จะสามารถเปิดร้านแว่นได้อย่างมีระบบแล้วเอาตัวเองออกมาบริหารงานได้โดยปล่อยให้ระบบในร้านทำหน้าที่ของตัวเอง

เป้าหมายที่วางไว้
คุณชาคริตเล่าว่าจริงๆแล้วตอนนี้ร้านเพิ่งเข้าสู่ปีที่ 2 แต่ตัวคุณชาคริตเองวางเป้าไว้ว่าในอีก 5-7 ปีอยากมี 7-10 สาขา และเป้าหมายสูงสุดของการทำร้านแว่นตาคืออยากมีร้านแว่นตาอยู่ทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 ร้าน ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการสร้างโมเดลและคอมมูนิตี้ในการทำธุรกิจตรงนี้ขึ้น
อุปสรรคระหว่างทาง
แน่นอนว่าการเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างด้วยตัวเองมักมีอุปสรรคเข้ามาทดสอบเราเสมอ คุณชาคริตเล่าว่าตอนแรกรู้สึกท้อตั้งแต่ที่เริ่มต้นขายแค่กรอบแว่นธรรมดา เพราะรู้สึกว่าไม่หยิบจับเงินก้อนใหญ่เสียที เป็นเพียงการได้เงินมา นำเงินมาซื้อของมาขาย หมุนวนไปแบบนี้ ไม่โตและไม่สามารถร่ำรวยได้
“ท้อด้วยข้อจำกัด”
เมื่อเขยิบจากการขายกรอบเป็นการเปิดร้านแว่น กลับต้องพบอุปสรรคเป็นข้อจำกัดหลายอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถไม่ถึง ช่างแว่นไม่พอ แก้ไขปัญหาให้ลูกค้าไม่ถูกจุด การคัดเลือกร้านแว่นตาของ แบรนด์ต่างๆที่ต้องดูโปรไฟล์ร้านร่วมด้วย ระหว่างทางจึงมีการลองถูกลองผิดเยอะมาก ยิ่งถ้าไม่ขวนขวายทุกอย่างจะยิ่งเป็นเรื่องยากไปหมด
วิธีการเลือกบุคลากร
ด้วยความที่ตัวคุณชาคริตเองถือว่าคนที่ใหม่ในวงการแว่นตา แต่ก็สามารถพาตัวเองมาอยู่ในจุดที่เป็นเจ้าของร้านแว่นได้ เพราะฉะนั้นในการรับพนักงานหรือบุคลากรเข้ามาทำงาน คุณชาคริตเล่าว่าที่ร้านไม่ได้จำกัดวุฒิการศึกษาเลย พนักงานหน้าร้านส่วนใหญ่เป็นหน้าใหม่ที่ไร้ประสบการณ์หมดเลย มีทั้งจบทนายความ ท่องเที่ยว นิเทศศิลป์ หรือสถิติ ทั้งหมดก็มาเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ไปด้วยกันโดยมีระบบเทรนนิ่ง ซึ่งถือเป็นจุดเด่นในการรับพนักงานและฝึกสอนของทางร้านมากๆ
“DNA ของเราคือความสบายใจ”

คุณชาคริตเล่าว่าในการสัมภาษณ์เข้าทำงานที่ร้านจะมองในเรื่องของความสบายใจกันก่อน เมื่อมีความสบายใจแล้วเราจึงจะสามารถตั้งทีมขึ้นมาเทรนนิ่งให้กับทุกคนได้เรียนรู้ไปพร้อมกับร้านได้ มีทั้งส่งไปเรียน อบรม และไปดูงานที่ร้านอื่นเพื่อนำกลับมาพัฒนาร้านให้ดีขึ้นแต่จะไม่มีการลอกเลียนแบบสไตล์หรือแนวทางจากร้านอื่นเพื่อทำให้ร้านเป็นเหมือนกับเขา เพราะสิ่งสำคัญที่คุณชาคริตยึดปฏิบัติในการเปิดร้านแว่นตาก็คือ ต้องเป็นสไตล์ของเรา ยึดในแบบของเรา ไม่ต้องไปตามใคร
ความประทับใจ
ตอนแรกคุณชาคริตทำธุรกิจนี้โดยมีตัวเงินและกำไรเป็นแรงขับเคลื่อนในการทำธุรกิจ แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆจึงค้นพบว่าตัวเองสามารถส่งมอบสายตาและภาพลักษณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ เมื่อลูกค้าเกิดความมั่นใจในร้าน เกิดการบอกต่อ หรือกลับมาใช้บริการซ้ำ สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับผู้ให้บริการมาก ความรู้สึกดีเหล่านี้ทำให้รู้สึกว่ามาถูกทางแล้วและอยากที่ทำตรงนี้ให้ดีและต่อยอดขึ้นไปให้ถึงระดับที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
“เราจะคุยกันเหมือนครอบครัวเลย”
คุณชาคริตมีเล่าถึงเคสหนึ่งซึ่งเป็นเคสที่คุณชาคริตภูมิใจมาก มีคุณแม่ท่านหนึ่งมาตัดแว่นโดยได้รับการแนะนำจากลูกเพราะลูกมาตัดก่อนแล้ว เมื่อคุณแม่มาลองตรวจทางคุณหมอที่ร้านพบว่าคุณแม่ท่านนี้เป็นต้อและควรพบจักษุแพทย์ หลังจากหายไป 2-3 สัปดาห์ คุณแม่กลับมาพร้อมกับซื้อขนมมาฝากเพื่อเป็นการขอบคุณที่บอกให้คุณแม่รู้ตัวและเข้ารับการรักษาได้ทัน ซึ่งตอนนี้คุณแม่รับการผ่าตัดและหายกลับมาเป็นปกติแล้ว การดูแลที่ทางร้านให้กับลูกค้าเป็นเหมือนการดูแลคนในครอบครัว ไม่ใช่พ่อค้า ลูกค้า ซื้อมาขายไปแล้วจบ
ทำไมเลือก Essilor?
คุณชาคริตอธิบายว่า ด้วยความว่าน่าเชื่อถือของ Essilor ทั้งในเรื่องแบรนดิ้งและคุณภาพทำให้ทางร้าน G-G Glasses ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Essilor เกือบ 100% เลย นอกจากนื้ทาง Essilor ยังมีการติดต่อสื่อสารและการสนับสนุนที่ดีทั้งในการเทรนงานให้ ระบบการจัดส่งสินค้า การเช็คสินค้า และการสต็อคสินค้าที่ช่วยทำให้ร้านแว่นตาสบายใจและอุ่นใจที่จะเลือกร่วมงานกับ Essilor

ฝากถึงลูกเพจมนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
ทุกงานมีคุณค่าของตัวเองหมด การที่เรามีความคิดที่แตกต่าง อย่ามัวแต่ลังเลว่าจะทำดีไหมหรือจะทำได้ดีหรือเปล่า ให้ลงมือทำไปก่อน ทำมันให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ สิ่งสำคัญคือไม่ต้องกลัว กล้าที่จะตัดสินใจ กล้าที่จะมาใช้ความคิดของตัวเองในการผลิตผลงานที่ดีในสายอาชีพของแต่ละคน
“แม้ว่าความสำเร็จอาจจะเร็วสู้คนที่มีอยู่แล้วไม่ได้เพราะเริ่มเองจาก 0 แต่วันที่สำเร็จเราก็สามารถพูดได้ว่าเรามีวันนี้ได้ด้วยตัวเราเองอย่างแท้จริง”
G-G Glasses : แว่นตา กรอบแว่น แว่นกรองแสง
ที่อยู่: สาขาบางนา For You Park Bangna ( บางนา กม 1.5 ตรงข้าม ไบเทคบางนา ) และ สาขาแพรกษา ซอยมังกร สมุทรปราการ
โทร: 061-462-5226 (สาขาบางนา) และ 066-152-9426 (สาขาแพรกษา)
ชีวิตชัดชัด อยากก้าวหน้า ต้องกล้าที่จะเหนื่อยและอดทน l Vision Mission
บทความแนะนำ:
คุณวรวุฒิ ลิ้มศิริโสภณ – กล้าที่จะเดินไปข้างหน้า และไม่ลืมคนที่อยู่ข้างหลัง