คุณสุวิทย์ ใช้บางยาง เขาเริ่มต้นจากการเป็นโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์ และมองหารายได้เสริมในโลกออนไลน์ จนมาเจอกับธุรกิจแว่นตา อะไรคือจุดเปลี่ยน? และ ทำไมต้องเป็นธุรกิจร้านแว่นตา?
เมื่อพูดถึงการเข้าร้านแว่น ทุกคนมักจะไปก็ต่อเมื่อรู้สึกว่าการมองเห็นของตัวเองไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ยาว หรือเอียงก็ตาม สิ่งที่เราทำเมื่อไปถึงร้านแว่นก็คือการเข้าไปเลือกกรอบที่ต้องการ ตรวจวัดค่าสายตา ออกมาเลือกเลนส์ แล้วก็กลับบ้าน เพราะฉะนั้นเวลาที่เราใช้ที่ร้านแว่นคงไม่ถึงชั่วโมง เว้นแต่คนในร้านจะเยอะเสียหน่อย
การพูดคุยที่เกี่ยวกับตัดแว่นส่วนใหญ่จะมาในหัวข้อของต้องการกรอบแบบไหน? กลมหรือเหลี่ยม เลนส์หนาหรือบาง เปลี่ยนสีหรือไม่? และมีงบในการตัดแว่นครั้งนี้อยู่ที่ประมาณเท่าไร? เพื่อให้ทางร้านสามารถแนะนำกรอบที่ราคาอยู่ในงบที่ต้องการได้ นี่อาจจะเป็นกระบวนการที่คุณพบเจอจากการเข้าร้านแว่นอื่นๆ แต่ร้าน Siam Glasses ของคุณสุวิทย์ ไม่ใช่แบบนั้น กระบวนการที่นานที่สุดไม่ใช่การตรวจวัดสายตาแต่เป็น….”การพูดคุย”
จุดเริ่มต้นร้านแว่น
คุณสุวิทย์เล่าว่าตัวเขาเองเรียนจบมาในสายของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ตั้งใจว่าจะจบออกมาเป็นโปรแกรมเมอร์ ในช่วงแรกก็ได้ลองทำงานตรงกับที่เรียนมา โดยเป็นโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์อย่างที่ตั้งใจไว้ แต่พอถึงจุดหนึ่งจึงเริ่มรู้สึกว่าอยากมีรายได้เสริม เริ่มมองหาจากสิ่งของใกล้ตัวจึงพบกับแว่นตาเข้า เพราะคุณสุวิทย์เป็นคนที่ใส่แว่นตาอยู่แล้ว
“แว่นตาสวย ราคาจะสูง”
ในยุคนั้นเป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตเข้ามาอย่างแพร่หลาย ทำให้การขายของในโลกอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมมาก คุณสุวิทย์จึงนำกรอบแว่นมาขายในอินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ขายของต่างๆ แต่เมื่อขายไปนานเข้า ก็ทำให้รู้ว่าแว่นตาที่รูปทรงสวยและเป็นที่นิยมส่วนใหญ่มักจะมีราคาที่แพงเกินเอื้อม ลูกค้าบางคนที่อยากได้ก็มีที่กำลังทรัพย์ไม่เพียงพอ จึงเกิดการตั้งคำถามว่าทำอย่างไรแว่นตาถึงจะสวย คุณภาพดี และราคาไม่แพง
“รายได้เสริมกลายเป็นงานประจำ”
คุณสุวิทย์เริ่มต้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ด้วยการมองหาช่องทางการติดต่อโรงงานเพื่อผลิตกรอบแว่นตาด้วยตัวเอง ถ้าสั่งผลิตเองได้ก็จะได้กรอบที่สวยงามเหมือนกับแบรนด์ชั้นนำแต่เราสามารถควบคุมต้นทุนและราคาของกรอบได้ ในช่วงแรกจึงเริ่มสั่งผลิตกรอบมาขายในอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว เมื่อเห็นว่าฟีดแบคกลับมาโอเคและมีงานเยอะขึ้น จึงหยุดงานโปรแกรมเมอร์ไปก่อนและหันมาให้ความสำคัญกับร้านแว่นตาอย่างเต็มตัว
“ลูกค้าอยากลองใส่ แต่ไม่มีหน้าร้าน”
เมื่อการขายกรอบแว่นตาเดินไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาต่อไปที่ทำให้คุณสุวิทย์ต้องหาคำตอบอีกครั้งคือจะทำอย่างไรเมื่อลูกค้าอยากทดลองใส่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ แต่ปรากฏว่าในเวลานั้นยังไม่มีหน้าร้านให้ลูกค้าเข้ามาลอง โปรแกรมเมอร์อย่างคุณสุวิทย์จึงต้องเริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับร้านแว่น หาข้อมูล ไปอบรม เรียนรู้การวัดสายตา หรือเรียนรู้เกี่ยวกับโรคทางสายตาเพื่อให้มีความรู้เพียงพอที่จะเปิดร้านแว่นและจ้างบุคลากรเข้ามาทำงานได้
“เลือกกรอบ วัดสายตา แนะนำเลนส์ ตัดเลนส์ รอรับกลับ”
หากย้อนกลับไปพูดถึงการให้บริการของร้านแว่นเมื่อก่อนเราจะพบว่ามีกระบวนการอยู่ไม่มากนักเมื่อลูกค้าคนหนึ่งเดินเข้ามา เลือกกรอบ วัดสายตา แนะนำเลนส์ ตัดเลนส์ รอรับแว่นกลับไป ตัวคุณสุวิทย์ที่เป็นคนใส่แว่นอยู่แล้วจึงรู้สึกว่ากระบวนการจริงๆ ในร้านแว่นไม่ควรมีแค่นี้ ร้านแว่นก็เหมือนคลินิกหรือโรงพยาบาล แต่ช่างตัดแว่นเองก็เหมือนกับคุณหมอ ที่ควรได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนไข้และรับรู้เรื่องราวของคนไข้มากกว่านั้น
“แว่นตาไม่เหมือนเสื้อผ้า”
ร้านแว่นตาไม่เหมือนร้านเสื้อผ้าที่เราจะเข้ามาเลือกแบบที่ชอบ ลองใส่ แล้วซื้อกลับไปได้เลย การมองเห็นไม่ชัดเจนควรมีการพูดคุยถึงสาเหตุหรือปัญหาที่เกิดขึ้นกันโดยละเอียดมากกว่าการมีกรอบมากมายมาวางเรียงให้เลือก ปัญหาการมองเห็นไม่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเพราะสายตาสั้น ยาว หรือเอียง ควรเริ่มต้นจากการพูดคุยเพื่อมองหาทางแก้ไขในเรื่องเลนส์ก่อน แล้วค่อยไปถึงสเต็ปที่เลือกกรอบแว่นที่ถูกใจ แบบนี้ถึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด
“อยากให้ลูกค้าเข้ามาในร้านที่มีโต๊ะให้พูดคุยมากกว่ามีแว่นวางโชว์ไว้จำนวนมาก”
คุณสุวิทย์เล่าว่าการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับสายตาควรใช้เวลาในการปรึกษา พูดคุย และตรวจวัดอย่างน้อย 30-60 นาที ซึ่งเป็นไปได้ยากมากเพราะร้านแว่นส่วนใหญ่มีห้องสำหรับการตรวจและพูดคุยกันแค่ห้องเดียวเท่านั้น เวลามีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ คนตรวจก็ต้องรีบตรวจเพื่อให้ทันลูกค้าที่รออยู่ด้านนอก ระยะเวลาในการพูดคุย ปรึกษาปัญหา และวัดสายตาถูกตัดให้สั้นลงไปหมด คุณสุวิทย์จึงนำตรงนี้มาปรับและสร้างแนวคิดการให้บริการเสียใหม่ในร้าน Siam Glasses การเข้ามาภายในร้านต้องเริ่มจากการพูดคุยและปรึกษาปัญหากันทั้งหมดก่อนว่ามีอะไรบ้าง แล้วจึงค่อยคุยกันในเรื่องของการตรวจวัดสายตา ซึ่งแนวทางการให้บริการของร้านมีดังนี้
- ห้องตรวจวัดสายตาจะมีห้องตรวจ 2 ห้อง เพื่อรองรับลูกค้าและมีเวลาพูดคุยกับลูกค้าได้นาน
- ทีมงานและบุคลากรที่ตรวจสายตาจะคอยให้คำแนะนำ ปรึกษา และให้ความช่วยเหลือลูกค้า เมื่อทราบปัญหาจึงค่อยไปสู่กระบวนการการเลือกเลนส์และกรอบที่เหมาะสมกับปัญหาของลูกค้า
เป้าหมายที่วางไว้
คุณสุวิทย์เล่าว่าตั้งใจจะทำให้ร้านแว่นเป็นร้านแว่นจริงๆ ด้วยการแก้ปัญหาของลูกค้าด้วยเลนส์สายตามากกว่ากรอบแฟชั่นที่หลากหลาย แม้ในปัจจุบันกรอบแว่นตาจะเป็นไลฟ์สไตล์ แฟชั่น และความชอบที่จำเป็นต้องมีความหลากหลายตามความหลากหลายของลูกค้าแต่การแก้ปัญหาด้านการมองเห็นเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าเพราะไม่ใช่แค่การสร้างผลิตภัณฑ์ตามความไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตให้แก่ลูกค้าด้วย
อุปสรรคระหว่างทาง
อุปสรรคที่คุณสุวิทย์ต้องพบเจอก็คือความยากลำบากในการเลือกทำงานที่ไม่ตรงกับสายที่ตัวเองเรียนจบมา ธุรกิจแว่นตาเป็นการแก้ปัญหาการมองเห็นร่วมกับแฟชั่นกรอบที่หลากหลายตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละคน ดังนั้นการทำร้านแว่นให้ตอบโจทย์และเป็นไปตามร้านแว่นในอุดมคติของตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ต้องลองผิดลองถูกเยอะ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของเลนส์สายตาซึ่งเป็นเทคโนโลยีการมองเห็นที่ถูกพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้ในแต่ละปีทางร้านต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอและพร้อมเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องของเลนส์ ยี่ห้อ และกรอบ
“วางคอนเซ็ปต์ร้านไว้ว่าอยากให้ลูกค้า ได้กรอบแว่นที่สวย เทียบชั้นเท่ากับแบรนด์ในวัสดุดีและราคาถูก”
เนื่องจากทางร้านมีการสั่งผลิตกรอบแว่นตาเอง ทางร้านจึงต้องแบกรับต้นทุนในส่วนนี้มากกว่าร้านอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่เขาจะซื้อมาเพื่อขายต่อ โดยกระบวนการของเขาคือการซื้อมาในราคาที่สูง เมื่อขายให้แก่ลูกค้าก็ต้องขายในราคาที่สูงกว่าเดิมเพราะบวกกำไรเข้าไปด้วย แต่ทาง Siam Glasses เป็นการสั่งผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนต่อชิ้นในราคาที่ต่ำ เพื่อขายให้ลูกค้าได้ในราคาที่สามารถจับต้องได้ ผลก็คือทางร้านต้องแบกรับต้นทุนมากกว่าร้านอื่นๆ บางแบบลูกค้าไม่ชอบ ก็ขายไม่ได้ ต้องคอยติดตามฟีดแบคจากลูกค้าเพื่อปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
ความประทับใจ
ความประทับใจในการทำงานตรงนี้ของคุณสุวิทย์ คือลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาใช้บริการมักบอกว่าทางร้านให้เวลากับลูกค้าเยอะ มีความใส่ใจในรายละเอียดยิบย่อยมาก ซึ่งตรงกับเป้าหมายของทางร้านคือเป็นร้านที่แก้ปัญหาทางสายตาให้แก่ลูกค้าได้ด้วยการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา วิธีนี้ทำให้หาปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าได้และเข้าใจความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่แค่เพียงการมาตัดแว่นแล้วจบ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าเก็บไว้ตลอดด้วย หากจะมีปัญหาอะไรทางร้านจะช่วยคาดการณ์หรือเตือนให้ลูกค้ารู้ตัวก่อนเพื่อให้ลูกค้าระวังตัวได้ทัน
ทำไมเลือก Essilor?
คุณสุวิทย์อธิบายว่า Essilor เป็นพาร์ทเนอร์หรือคู่ค้าในเรื่องเลนส์ที่ดีมาก มีสินค้าให้เลือกหลากร้าน ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี กลุ่มเลนส์เฉพาะทางที่แก้ปัญหาของลูกค้าได้ครบทุกด้าน ยกตัวอย่างเช่น สายตายาวตามวัย เลนส์กรองแสง เลนส์กันแดด เป็นต้น ซึ่งสินค้าของ Essilor สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีมาก
ฝากถึงลูกเพจมนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
นอกจากการทำงานประจำที่มนุษย์เงินเดือนกำลังทำกันอยู่อย่างขะมักเขม้นแล้ว ให้ลองมองหารายได้เสริมจากสิ่งรอบตัวหรือของใกล้ตัวดู งานเสริมเหล่านั้นนอกจากจะสร้างอาชีพและรายได้เพิ่มเติมให้แก่เราแล้ว บางครั้งมันอาจจะกลายเป็นรายได้หลักแทนงานประจำที่เรากำลังทำอยู่ก็ได้ และหากเจอสิ่งที่ชอบหรือสิ่งที่ถนัดแล้วอย่าหยุดไว้เพียงเพราะไม่กล้าเสี่ยง ให้พุ่งเข้าใส่แล้วลุยไปกับมันให้เต็มที่ แล้วคุณจะไม่ต้องมาเสียใจเพราเสียดายที่ไม่ได้ทำทีหลัง
“มองหางานเสริมจากสิ่งของใกล้ตัวหรือสิ่งที่ชอบ บางทีงานเสริมเหล่านั้นอาจทำรายได้ให้มากกว่างานประจำที่ทำอยู่ก็ได้”
ร้านแว่นตา SiamGlasses (ร้านเปิดทุกวัน เวลา 10.00 – 19.00 น.)
ที่อยู่: ร้านแว่นตา Siamglasses สาขา บางแค (ติดสถานี MRT บางแค) โทร : 092-1234-957 และ ร้านแว่นตา Siamglasses สาขา หมู่บ้านบัวทอง (ติดสถานี MRT คลองบางไผ่) โทร : 099-099-0264
ชีวิตชัดชัด เริ่มต้นจากความสนใจ จนนำไปสู่ความเชี่ยวชาญ l Vision Mission
บทความแนะนำ:
คุณชาคริต บุญประกอบศักดิ์ – อยากก้าวหน้า ต้องกล้าที่จะเหนื่อยและอดทน