Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»Life»Labor Law»ติดโควิด ต้องกักตัว 14 วัน ถือว่าเป็นลาป่วย มีสิทธิได้รับค่าจ้าง หรือไม่
    Labor Law

    ติดโควิด ต้องกักตัว 14 วัน ถือว่าเป็นลาป่วย มีสิทธิได้รับค่าจ้าง หรือไม่

    mypilottest01By mypilottest01สิงหาคม 3, 2021ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    ติดโควิด แล้วต้องถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน หรือ มากกว่าให้ถือเป็นลาป่วย และมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามปกติ แต่ถ้าใช้สิทธิ์เกินวันลาป่วยที่มีแล้ว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างได้ แต่จะถือว่าขาดงานไม่ได้

    เพราะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากความน่ากลัวของเชื้อแล้ว ความน่ากลัวอีกอย่างก็คือ สวัสดิภาพทางกฎหมายของพวกเราคนทำงานนี่ล่ะครับ

    สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้มีความกังวล สับสน ในสิทธิประโยชน์ที่มนุษย์เงินเดือนควรได้รับทำให้หน้าโซเชียลมีเดียแทบจะลุกเป็นไฟ

    ทำความเข้าใจ เรื่องลาป่วย

    หลายคนเรียกร้องความชัดเจนจากบริษัท องค์กร ต้นสังกัดให้ออกมาชี้แจง บางส่วนก็ออกมาตั้งคำถาม ว่า สรุปแล้ว กฏกติกาที่บอกว่า “ลาป่วยได้ 30 วันต่อปี” นี่เค้าเริ่มนับวันกันยังไง?

    เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ นี่ต้องนำเข้ามานับรวมด้วยมั้ย?

    และการ “ลาหยุดแค่ไหน จะได้รับเงินเดือน หรือไม่ได้รับเงินเดือน!!!!

    วันนี้ทีมงาน The Practical มีคำตอบมาให้คลายสงสัยกันครับ

    หากเราจะใช้อ้างอิงตามกฏกติกาของระบบแรงงานในประเทศเรา หน่วยที่รับผิดชอบโดยตรง ก็จะเป็น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่น่าจะให้ข้อมูลได้ตรงมากที่สุด

    โดยมีการแถลงข่าวจาก คุณอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ออกมาชี้แจงและให้คำตอบเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า

    การ “ลาป่วย” ของลูกจ้าง ถ้าลาป่วยไม่ถึง 3 วัน ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องแสดงใบรับรองแพทย์ก็ได้

    และ “สิทธิการรับค่าจ้าง” ตามมาตรา 57 วรรคแรก กำหนดให้นายจ้าง

    “ต้องจ่ายค่าจ้าง” ให้แก่ลูกจ้าง “ในวันลาป่วย” เท่ากับ “ค่าจ้างในวันทำงาน” ตลอดระยะเวลาที่ลา และไม่เกิน 30 วัน ใน 1ปี

    หากเราอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะเห็นชัดเจนว่า ถ้าเราป่วย โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่มีคนทำงานในระบบ (และนอกระบบ) หาก ติดโควิด เราสามารถลาป่วยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายนะครับ และเราก็ยังสามารถมีสิทธิ์ในการรับเงินค่าจ้างได้เป็นปกติ

    แต่คำถามที่ถามกันอย่างสงสัยว่า เราจะนับวันลาหยุดกันยังไง?

    โดยเฉพาะในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเจ็บป่วย ต้องเข้ารับการรักษาตัว การกักตัว หรืออาจจะต้องรอเตียงเพื่อเข้ารักษาในระบบ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาการหยุดงานมากกว่า 30 วันนั้น สรุปแล้วเราจะต้องนับวันกันยังไง???

    ทีมงาน The Practical จึงได้ต่อสายสอบถามไปยัง สายด่วนแรงงาน 1546 ของกระทรวงแรงงานก็ได้ความว่า ในสถานการณ์การเจ็บป่วยจากไวรัสโควิด-19 หรือ อาจจะเจ็บป่วยเนื่องจากโรคอะไรก็ตาม ที่ต้องใช้เวลาในการรักษายาวนานกว่าปกตินั้น

    ตามกฏหมาย เราสามารถขอลาป่วยได้ตามจริง ไม่เกิน 30 วันต่อปี ขยายความตัวเลข 30 วันนี้ให้ชัดๆ ก็คือ “จะนับเฉพาะวันลาที่เป็นวันทำงานเท่านั้น” นายจ้างจะไม่สามารถนับรวมเอาวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือ แม้กระทั่งการแอบเนียนเอาวันลาพักร้อนมาสอดไส้กับเราได้

    เนื่องจากวันหยุดดังกล่าวนั้น ถือเป็นวันหยุดโดยปกติ ที่เราได้รับสิทธิ์นั้นคงเดิมอยู่แล้ว “จึงไม่จำเป็นต้องขอลา”

    และนายจ้างก็ไม่มีสิทธิ์ในการนำวันหยุดดังกล่าวมานับรวม ยิ่งในกรณีโควิด-19 ที่อาจจะต้องลากยาวเกิน 30 วันนั้น นายจ้างจะต้องหักส่วนที่เป็นวันหยุดโดยปติ ออกไปก่อน หากรวมแล้ว ไม่เกิน 30 วัน ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามปกติ

    ถ้า “ลูกจ้าง” รักษาตัวต่อเนื่องเกิน 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 31 เป็นต้นไป ลูกจ้างจะมีสิทธิ์ขอรับค่าจ้างต่อได้หรือไม่?

    คำตอบคือ “ไม่ได้!” เพราะกฏหมายได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า หากลูกจ้างต้องรักษาตัว เกินกว่า 30 วัน “นายจ้าง” ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างต่อ และตัว “ลูกจ้าง” เองก็ไม่สามารถขอใช้สิทธิ์ในการรับค่าจ้างได้ โดยจะคงรับค่าจ้างได้ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สูงสุดที่ 30 วัน เท่านั้น โดยจะยกเว้นในกรณีที่เจ็บป่วยอันมีสาเหตุมาจากการทำงานและทาง “นายจ้าง” ตกลงรับผิดชอบดูแลเป็นการเฉพาะ

    และ คำตอบอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ และคนทำงานอย่างเราๆ กังวล สงสัย และรู้สึกห่วงอนาคตการทำงานของตัวเอง ที่จะสั่นคลอน เพราะต้องเข้ารักษาตัวจากโรคโควิด-19 นั้นว่า

    หากเราหยุดงานเกินกว่า 30 วันต่อปีขึ้นมา ตัวเองจะซวย ด้วยการถูกแจ้งให้พ้นสภาพการเป็นพนักงานโดยอัตโนมัติหรือเปล่า?

    ทีมงาน The Practical ก็มีคำตอบที่เข้าใจง่ายๆ มาฝากครับ ทางสายด่วนแรงงาน ระบุว่า กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจในส่วนนี้กับนายจ้าง หรือพูดแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ

    นายจ้างไม่สามารถปลดพนักงานที่มีการเจ็บป่วยจากโรคระบาด หรือ โรคอื่นๆ หลังลาป่วยครบ 30 ได้ นะครับ แต่ในส่วนของการว่าจ้างนั้น จะมีต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพูดคุยเจรจาระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างเป็นกรณีๆไป และนี่คือ สิทธิ์ และ เงื่อนไข ที่น่าสนใจ ในช่วงวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ ที่ทีมงาน The Practical มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่ ได้นำความรู้เล็กๆน้อยๆ มาฝากไว้ให้กับมนุษย์เงินเดือนทุกคนครับ

    Stay Safe สู้ต่อไป…ทาเคชิ

    บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกฏหมายแรงงานสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

    ลาออก จำเป็นไหมต้องบอกล่วงหน้า หากอยากออก จำเป็นไหม ต้องรอถึง 30 วัน?

    กฎหมายแรงงาน
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleไอซียูทีม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เบื้องหลังการทำงานท่ามกลางวิกฤติโควิด
    Next Article David Cheriton อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่มีความมั่งคั่ง มากที่สุดในโลก
    mypilottest01

      Related Posts

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      พฤษภาคม 19, 2025

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Plan – Execute – Grow : คู่มือการเงินฉบับสมบูรณ์สำหรับมนุษย์เงินเดือน 2024

      สิงหาคม 4, 2024

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?