
ทำธุรกิจให้ยั่งยืน เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับองค์กรในยุคนี้ เพราะความยั่งยืนทางธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขัน หรือการมุ่งเน้นทำกำไรของธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว แต่การ ทำธุรกิจให้ยั่งยืน ในยุคนี้ หมายถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดของเสีย ลดต้นทุน และ ลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็น ในขณะเดียวกันองค์กรก็จะต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายด้วย ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน ชุมชน สังคม เป็นต้น
ทำธุรกิจให้ยั่งยืน แบบ X3 กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
“ในการทำธุรกิจให้ยั่งยืน แค่ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างเดียวคงไม่พอ ธุรกิจของเราจะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ด้วย”
ด้วยแนวคิดในการทำธุรกิจแบบนี้เอง ส่งผลทำให้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัล สู่ความเป็นเลิศระดับโลกด้านความยั่งยืน (World Class Sustainability Leader: Dow Jones Sustainability Indices) โดยได้คะแนนสูงสุดเป็นที่ 1 ของโลก ถึง 3 ปีซ้อน ในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ในปี 2020 ที่ผ่านมา

แอดมินได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร. ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ – Chief Innovation & Sustainability Officer บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อไปทำความเข้าใจ ว่าเรื่องของความยั่งยืน มีผลกับองค์กร ธุรกิจ และ คน อย่างไร? และ องค์กรที่มุ่งเน้นในเรื่องความยั่งยืน จะสามารถรับมือกับวิกฤติ ได้ง่ายขึ้นไหม?
ดร. ธีระพล เล่าให้ฟังว่า “เราอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัจจุบันความคาดหวังต่อองค์กรธุรกิจ ไม่ใช่แค่เรื่องผลประกอบอย่างเดียว ต้องมีมิติความยั่งยืน คือ เรื่องการสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่ง innovation จะเป็นทางออกเพื่อช่วยสร้างประโยชน์ที่ Win – Win – Win ทั้งองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม”

นอกจากนี้ ดร. ธีระพล ยังเสริมอีกว่า หากองค์กรจะผลักดันในเรื่องความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังได้ ก็ต้องเกิดจาก Leadership Mindset ที่เริ่มต้นจากผู้บริหารระดับสูงโดยคุณ ศุภชัย เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นประธานกรรมการของทรู ที่เป็นผู้ริเร่ิมและผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องผ่านทางนโยบายและกิจกรรมต่าง จนกลายเป็นวัฒนธรรมภายในองค์กร
ดร. ธีระพล บอกกับเราว่า จุดแข็งทรู คือ ความต่อเนื่อง ทรู คือ Change Agent จากภาคเอกชน ที่พร้อมที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทำให้ ทรู นำเรื่องความยั่งยืน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายธุรกิจ
“ดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) เปรียบเสมือนกับการตรวจสุขภาพในเรื่องความยั่งยืนขององค์กร”
ดัชนี Dow Jones Sustainability Indices เป็นดัชนีหลักทรัพย์ของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ผ่านการประเมินความยั่งยืน ตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ลงทุนสถาบันทั่วโลก สำหรับทรู การเข้าร่วม DJSI ต้องทำรายงานด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นเหมือนกับสมุดตรวจสุขภาพองค์กร ทำให้องค์กรมี Check list ในการตรวจสอบความยั่งยืนขององค์กร ทำให้สามารถมองไปถึงความเสี่ยง และอนาคตได้
สำหรับทรู ซึ่งเป็นธุรกิจโทรคมนาคม ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข้อมูลของลูกค้า รวมไปถึงในเรื่องสเถึยรภาพและประสิทธิภาพของระบบด้วย เช่น ต้องพร้อมเสมอในการให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ไม่มีติดขัด เป็นต้น

ดร. ธีระพล บอกกับเราว่า สำหรับองค์กรและธุรกิจ การจะยั่งยืนได้ ธุรกิจจะต้องเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญ ก็คือ คน องค์กรจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรมีความเชื่อเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องของความยั่งยืน และพร้อมที่จะก้าวไปด้วยกัน
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในวันนี้ เราทำคนเดียวไม่ได้ จึงต้องสร้างการมีส่วนร่วมให้พนักงานทั้งองค์กรมาช่วยกันทำเรื่องความยั่งยืน และหากจะให้สำเร็จแบบเป็นรูปธรรม เราจะทำแค่องค์กรเดียวก็ไม่ได้ ทรู จึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand) หรือ GCNT ซึ่งมีภาคเอกชนมากมายหลายบริษัทมารวมตัวกัน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในระดับที่ใหญ่ขึ้น
ดร. ธีระพล เล่าให้เราฟังว่า ในการบริหารความยั่งยืนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของทรู มี 5 แกนหลัก ดังต่อไปนี้
1. KPI Transparency : คือ การกำหนดกรอบความคิดด้านความยั่งยืนและ ที่ชัดเจนและโปร่งใส โดย ของทรูมี 3 แกน คือ Heart การพัฒนาพนักงาน Corporate Governance ความโปร่งใส Health การดูแลสุขภาพสังคม เน้นการศึกษา Home การดูแลสิ่งแวดล้อมโดยทรูตั้งเป้าหมายยิ่งใหญ่และท้าทายไว้ 2 เป้าหมายภายในปี 2030 คือ Carbon Neutron, Zero Waste

2. การสร้างความตระหนักรู้ของผู้นำ (Leadership Mindset) : คือ ส่งเสริมให้ผู้บริหารรุ่นใหม่มีส่วนร่วมกับโครงการเพื่อสังคม เช่น ร่วมเป็น School partner ในโครงการ Connect ED, เข้าร่วม One Young World เพื่อได้ประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับโลก ทั้งหมดเพื่อให้ได้แนวคิดและเรียนรู้การสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง และเพิ่มความคิดในมิติอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องธุรกิจอย่างเดียว

3. Empowerment : ส่งเสริมสนับสนุนให้อำนาจและทรัพยากรกับพนักงานของทรู เพื่อนำไปสร้างการเปลี่ยนแปลง เช่น การให้ funding พนักงานไปทำโครงการเพื่อสังคม
4. Market Mechanism : สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง
5. Technology : กลุ่มธุรกิจของทรู เป็น Disrupter เราพยายาม Leading the Change ตลอดเวลา ทรู เป็น Agile Organization ส่งเสริมการทำงานข้ามสายงาน เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาร่วมทีม และพร้อมสร้างเรื่องใหม่ๆ อาทิเช่น ตัวอย่างการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วย innovation เช่น Vroom Vlearn Vwork เพื่อการใช้ชีวิตออนไลน์ช่วงโควิด การพัฒนา Robot Tele-Health เพื่อสนับสนุนงานด้านการแพทย์ เป็นต้น
การบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด
สำหรับการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด ดร. ธีระพล บอกกับเราว่า ทรูให้ความสำคัญกับพนักงานก่อน คือ การให้ความมั่นคงกับพนักงาน (ไม่มีการปลดพนักงาน) ให้สวัสดิการเรื่องการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม ดูแลคู่สมรสที่ตกงานในช่วงโควิด นอกจากนี้ ทรู ก็ยังรับเด็กจบใหม่ เข้าทำงานเป็นจำนวนมากในช่วงโควิดอีกด้วย
ประโยชน์ของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
ดร. ธีระพล เชื่อว่า การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน หลายเรื่องเป็นเรื่องของการแก้ไขนโยบาย ซึ่งก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากมาย หรือ เสมอไป อย่างที่หลายๆ คนอาจจะเข้าใจผิด และ การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ยังมีประโยชน์ที่ตามมาอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ในรายได้หรือกำไร ที่มากขึ้น จากการพัฒนาสินค้าและบริการที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่ตอบสนองโจทย์ของผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคยในยุคนี้ ยินดีที่จะให้การสนับสนุนบริษัทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ หรือ ในเรื่องของการลดต้นทุน เช่น การประหยัดพลังงาน ประหยัดน้ำ หรือ ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมีคุณค่า และ สุดท้าย ช่วยลดความเสี่ยงขององค์กรและธุรกิจได้ด้วย
ดังนั้นเรื่องของความยั่งยืน เป็นเรื่องที่สามารถนำไปปรับใช้ได้หลายมิติ ทั้งการใช้ชีวิตของตัวเราเอง องค์กร และประเทศชาติ เราจะยั่งยืนได้ ด้วยการเติบโตไปด้วยกัน อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม นอกจากนี้ เรายังสามารถเอาหลักการของการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ไปปรับปรุง หรือ เปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อ Transform ธุรกิจสู่ New S Curve ก็ได้เช่นกัน