
Categories
- Balance (14)
- Book Reviews (4)
- Life (39)
- Movie Reviews (3)
- People Stories (11)
- Podcast (24)
- Product Reviews (4)
- Sustainability (9)
- Work (39)
- Zoomtopia (22)
- การเงินและการลงทุน (23)
- ประกัน (1)
- อสังหาริมทรัพย์ (9)
Recent Posts
ธุรกิจสายการบิน ทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบหนักมาก จากการมาของโควิด การเดินทางระหว่างเมือง และ ระหว่างประเทศกลายเป็นอัมพาตไปทันที คงไม่มีใครคิดมาก่อนอย่างแน่นอนว่า ธุรกิจการบินจะประสบปัญหาหนักขนาดนี้
ด้วยเพราะปัญหาทางด้านการเงิน รายได้หดหาย แต่รายจ่ายเท่าเดิม คงเป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอดต่อไปได้ บางสายการบินหนักถึงขั้นต้องปิดกิจการ หรือ ต้องยื่นล้มละลาย
“Flybe” สายการบินสัญชาติอังกฤษ ประกาศยื่นล้มละลายและปิดกิจการ เมื่อราวๆ ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
“Trans States Airlines” สายการบินภูมิภาคของสหรัฐ ก็ประกาศปิดกิจการไปในช่วงเดือนเมษายน
“Virgin Australia Airlines” สายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลีย ประกาศล้มละลาย ในช่วงกลางเดือนเมษายน ที่ผ่านมา
“Avianca Airlines” สายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของลาตินอเมริกา ก็ได้ยื่นล้มละลายเช่นกัน และ ล่าสุดของเรา การบินไทย ได้ยื่นศาลละล้มละลาย เพื่อขอเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเช่นกัน
“แควนตัส” สายการบินแห่งชาติออสเตรเลีย ปลดพนักงาน 6,000 คน
“บริติช แอร์เวย์” จ่อปลดพนักงาน 12,000 ตำแหน่ง
“American Airlines” เตรียมปลดพนักงาน 25,000 ตำแหน่ง
“สายการบิน KLM” เตรียมปลดพนักงาน 2,000 คน
“United Airlines” เตรียมปลดพนักงานราว 16,370 คน
“ไทยไลอ้อนแอร์” เลิกจ้างพนักงานอายุงานไม่ถึงปี จำนวน 120 คน
“การบินไทย” จ่อปลดพนักงาน 6,000 คน หลังแผนฟื้นฟูกิจการ
และยังมีอีกหลายสายการบิน ที่กำลังหาทางรอดจากวิกฤติโควิดครั้งนี้
แต่ที่ Thai AirAsia ธุรกิจสายการบิน Low Cost Airline ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดครั้งนี้เหมือนๆ กับสายการบินอื่นๆ ทั่วโลก ถึงแม้ว่าตอนนี้ Thai AirAsia ยังพอจะสามารถบินภายในประเทศได้แล้ว แต่สำหรับ Thai AirAsia X หมดสิทธิ์ เครื่องบินจอดสนิท บินไปไหนไม่ได้มาตั้งเต่เดือนมีนาคม
ถือว่า Thai AirAsia ก็ได้รับผลกระทบหนักมากเช่นกัน แต่ทำไม Thai AirAsia ถึงไม่เลือกทางเลือกเหมือนกับสายการบินอื่นๆ ด้วยการ ปลดพนักงาน? เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือ เพื่อให้องค์กรไปต่อได้?
ที่นี่ Thai AirAsia เกิดอะไรขึ้น?
ด้วยความสงสัย แอดมินจึงต้องไปตามหาคำตอบ
แอดมินได้มีโอกาส ได้พูดคุยกับ คุณทอปัด สุบรรณรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร กลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย เกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของ Thai AirAsia
และนี่ก็คือเรื่องราวของ Thai AirAsia ว่าที่นี่ “เขาทำอย่างไร? ให้พนักงานและองค์กรผ่านวิกฤติไปได้ด้วยกัน”
คุณทอปัด เล่าให้ฟังว่า ก็มีหลายคนถามว่า…อะไรทำให้พนักงานแอร์เอเชียพากันโพสต์ขอบคุณผู้บริหาร รวมทั้งให้กำลังใจกันและกันอย่างหนักหน่วง ทั้งที่ทุกคนได้รับผลกระทบทางรายได้โดยตรง?
“วัฒนธรรมองค์กร” น่าจะเป็น “คำตอบ”
4 ส คือ วัฒนธรรมองค์กรของเราไม่ได้สร้างกันมาชั่วข้ามคืน เป็นเลือด เป็นเนื้อหลอมรวมความเป็นแอร์เอเชียมาตั้งแต่ day 1 จนถังวันนี้
ส.สนุก: ลูกเรือของเราร้องเพลงต้นรำบนเครื่องได้โดยไม่มีใครว่ากล่าวตักเตือน โฆษณาหรือกิจกรรมของแอร์เอเชียแทบจะไม่มีตัวไหนที่ดูแล้วไม่อมยิ้ม ถ้ามีหลุดมาตัวนั้นก็จะแป้กๆ หน่อย
ส.สไตล์: ทุกคนยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน คนหลากหลายอาชีพมาอยู่ด้วยกันในสายการบิน นักบิน ลูกเรือ ช่าง แรมพ์ พนักงานออฟฟิศ ความถนัดในงานต่างกัน
ส.สัมพันธ์: เราอยู่กันเป็นครอบครับ ยิ่งในช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบ COVID จะให้ได้ชัดว่าเราช่วยเหลือกันทุกทางที่ทำได้
ส.สร้างสรรค์ยั่งยืน: เชื่อว่าใครๆ ก็สัมผัสความคิดสร้างสรรค์แบบแอร์เอเชียได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง มาถึงวันนี้ “สร้างสรรค์” อย่างเดียวไม่พอที่จะให้เราโตต่อต้อง “ยั่งยืน” ด้วย ตอนเด็กๆ เรา Do Quick Fix Later เราวิ่งเร็วมาก ระบบครอบคลุมไม่ทันความเร็วที่เราวิ่ง พอโตมาเร่ิมคิดมากขึ้น ใช้เวลามากขึ้น มองไกลขึ้น รอบด้านขึ้น
โดย เรื่อง 4 ส. ได้มาจากขั้นตอนการทำ Internal Brand เมื่อหลายปีก่อน
การมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ไม่ได้สร้างแค่ Success Stories แต่ต้องสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้เรายึดเหนี่ยวกันไว้ ในช่วงเวลาที่เที่ยวบินทั้งฝูงของเรากำลังบินผ่านภาพสภาพอากาศแปรปรวนได้ด้วย
คุณทอปัด ยังได้ ยกตัวอย่างการทำงานแบบ 4 ส ที่จับต้องได้ คือ การทำงานของคณะกรรมการ OTP: On Time Performance ที่ประกอบไปด้วยทุกแผนกที่จะทำให้เที่ยวบินของเราออกเดินทางตรงเวลา ตั้งแต่คนวางแผนเที่ยวบิน การจัดการฝูงบิน Distpatch นักบิน ลูกเรือ พนักงานภาคพื้นถ้าเราไม่มี 4 ส ทีมงานแต่ละแผนกอาจโยนความผิดให้กัน ประชุมเครียด สุดท้ายปัญหาก็แก้ไม่ได้
แต่การเข้าใจ ยอมรับในหน้าที่และความแตกต่าง รับฟังความคิดเห็น และมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ทำให้เราทำงานนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้เราเป็นสายการบินที่ตรงเวลาที่สุดในประเทศ และ เป็นอันดับ10 ของโลกตาม OAG อีกด้วย
หลังจากที่ได้พูดคุยกับ คุณทอปัด ผมยังทราบอีกว่า ในช่วงวิกฤติโควิด ทางผู้บริหารฯ ไม่มีความคิดที่จะปลดพนักงานเลย
เพราะท่านมองว่าพนักงานคือทรัพยากรที่สำคัญ และ เปรียบเสมือนคนในครอบครัว
จึงพยายามผลักดัน มองหาทนทาง และ โอกาสต่างๆ ที่จะช่วยให่พนักงานและองค์กร สามารถต่อสู้กับสถานการณ์โควิดไปได้ด้วยกัน
หลายๆ โครงการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำอาชีพเสริม หรือ หารายได้เสริมได้อีกด้วย เช่นผ่าน Market Place หรือ ล่าสุด ทาง Thai AirAsia, Thai AirAsia X และ Ananda Development PCL ก็ได้จับมือร่วมกัน เพื่อทำโครงการ 2nd Job 2nd Chance ให้กับเหล่าพนักงานของ Thai AirAsia
โดยทาง บริษัท Ananda Development PCL จะมาร่วมพัฒนาให้ความรู้ในเรื่องของการเป็น Property Consultant โดยคาดหวังว่า โครงการนี้จะสามารถเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการมีรายได้เสริมในช่วงวิกฤติของพนักงานของ Thai AirAsia และ Thai AirAsia X ได้
วัฒนธรรมองค์กร ดีจริงหรือไม่ หรือดีแค่ไหน วันที่มีวิกฤติ เราจะเห็นว่าสิ่งที่เราทำมานั้นดีจริงหรือเปล่า
ดังเช่นเรื่องราวของ ธุรกิจสายการบิน อย่าง Thai AirAsia ถือเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นแล้วว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่เข้มแข็งนั้นเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ และ มีผลเป็นอย่างมากต่อความยั่งยืนทั้งขององค์กร และ ของตัวพนักงานเอง
ถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องหันมาใส่ใจกับเรื่องวัฒนธรรมองค์กร และ ความยั่งยืนกันแบบจริงจังเสียที
เพราะนี่คือ ภูมิคุ้มกัน ในยามวิกฤติ
Co-author: คุณทอปัด สุบรรณรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร กลุ่มสายการบินแอร์เอเชีย
ภาพประกอบ: ขอขอบคุณ Thai AirAsia Thai AirAsia และ Ananda Development PCL