เจ็บป่วยทางร่างกายไม่พอ ต้องมาเจ็บป่วยทางด้านการเงินอีก เพราะเวลาที่เราไม่สบายไปหาหมอทีไร กระเป๋าแฟบกลับมาทุกที จะทำยังไงดี ในเมื่อ ประกันสุขภาพของบริษัท ที่เขาให้มามันไม่เพียงพอ
จริงๆ แล้ว คนทำงานอย่างเราก็มีทางเลือก ด้วยการซื้อประกัน OPD เพิ่มเติม เพื่อป้องกันปัญหาในเรื่องนี้ได้
ประกัน OPD คือ อะไร?
“เจ็บป่วย ไม่สบาย ไปรักษา แต่ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล”
ประกัน OPD คือ ประกันสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยนอก (OPD – Out Patient Department) ความหมายของผู้ป่วยนอก ก็คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่สามารถกลับบ้านได้เลย โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในสถานพยาบาลนั่นเอง
ประกัน OPD สำคัญอย่างไร และ ครอบคลุมการรักษาแบบใดบ้าง?
“ไม่สบาย เจ็บป่วย ไม่ต้องกังวล กับเรื่องค่าใช้จ่ายอีกต่อไป”
คนทำงานหลายคนมองข้ามการมี ประกัน OPD ทำให้ยามเจ็บป่วยก็ต้องมาเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเองจากการที่ต้องไปโรงพยาบาล หรือ แม้กระทั่งไปหาซื้อยามารักษาตนเอง ค่าใช้จ่ายในเรื่องการรักษาพยาบาล ทำให้ ปีๆ นึง ทำให้หลายคนต้องหมดเงินไปหลายพันบาท บางคนหมดไปหลายหมื่นบาทก็มี เงินเก็บที่พวกเขาสะสมเอาไว้ก็ต้องมาหมดไปเพราะการเจ็บป่วย หรือ บางคนแย่กว่านั้น ต้องกลายมาเป็นหนี้จากการที่ต้องหาเงินมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ประกัน OPD ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันได้รับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แค่พบแพทย์ วินิจฉัย แล้วจ่ายยา ก็กลับบ้านได้ หรือ กรณีที่มีอาการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เช่น เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย หกล้ม ข้อเท้าแพลง มีดบาด เป็นไข้หวัด ปวดหัว ตัวร้อน เจ็บคอ ไอ แพ้อากาศ หรือ อื่นๆ เป็นต้น
ดังนั้น หากมี ประกัน OPD เวลาไม่สบาย เราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายอีกต่อไป พร้อมไปโรงพยาบาลที่ใกล้ๆ บ้าน เข้ารับการรักษาได้ทันที
มีสวัสดิการของบริษัทอยู่แล้ว ทำไมต้องมี ประกัน OPD อีก?
“ถึงแม้ว่า บริษัทฯ เขามีประกันสุขภาพแบบกลุ่มอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอ”
ประกันสุขภาพของบริษัท ส่วนมากก็เป็น ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม เป็นเป็นประกันที่เราจะได้รับจากทางนายจ้างหรือบริษัทที่เราทำงานอยู่ ข้อดีก็ คือ เราไม่ต้องจ่ายเอง แถมได้ความคุ้มครองครอบคลุมสิ่งที่จำเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว แต่ปัญหาที่เจอก็คือ วงเงินค่ารักษาพยาบาลในกรณีของ OPD นั้นน้อยมาก เช่น บางบริษัทฯ ทำไว้ให้พนักงานคือ วงเงิน OPD ต่อครั้ง คือ 500 บาท หากเป็นหวัด ไปหาหมอที่โรงพยาบาล และต้องมีรับยามากิน คิดว่า 500 บาท จะพอไหม? และ หากไม่สบายในเรื่องอื่นๆ ที่หนักกว่านี้ คนทำงานอย่างเราจะต้องเจอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกเท่าไร?
อย่าลืมว่า ทุกวันนี้คนทำงานทุกคนก็มีความเสี่ยง เพราะโอกาสที่จะไม่สบาย หรือ เจ็บป่วยจากการทำงาน ก็มีสูงอยู่แล้ว ค่าใช้จ่ายในเรื่องการรักษาพยาบาลจึงเป็นเรื่องที่เราต้องวางแผน การมีประกัน OPD เอาไว้ ก็สามารถช่วยรับมือในเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้
หากเรามีประกันสังคม สามารถใช้ร่วมกับ ประกันสุขภาพของบริษัท ได้ไหม?
ได้ แต่ผู้ประกันตน ต้องมี ประกันสังคม ตามมาตรา 33 การทำประกันสังคมก็คล้ายๆ กับการทำประกันสุขภาพ จากบริษัทประกันภัย เนื่องจากผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองต่างๆ เช่น กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และ กรณีว่างงาน
เงื่อนไขก็คือ การจ่ายค่ารักษาพยาบาลสามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพกลุ่มร่วมกับประกันสังคมได้ แต่จะต้องเป็นสถานพยาบาลเดียวกันกับที่ระบุไว้ในสิทธิประกันสังคมเท่านั้น
โดย เราสามารถใช้ได้ทั้งในกรณีการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน และ ผู้ป่วยนอก (OPD) แต่หาก ประกันสุขภาพของบริษัท และประกันสังคมไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ผู้ใช้จ่ายจะต้องโอนยอดส่วนต่างไปที่ประกันสังคม
การใช้สิทธิประกันสุขภาพกลุ่มและประกันสังคมร่วมกัน จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในเรื่องการรักษาพยาบาลได้ก็จริง แต่ก็อาจจะไม่เพียงพอสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ที่รับการเข้ารักษาด้วยการนอนโรงพยาบาล หรือการผ่าตัดร่างกาย อย่างในกรณีของผู้ป่วยใน
หากเลือกได้ คนทำงานอย่างเรา อยากได้ประกัน OPD แบบไหน?
“อยากได้ ประกัน OPD แบบ คุ้ม ครบ จบหายห่วง เหมาะกับชีวิตคนทำงาน”
ปัญหาของประกัน OPD ส่วนใหญ่ที่เจอกันในท้องตลาด ก็คือ มีการกำหนดจำนวนครั้งต่อปี และ มีการกำหนดวงเงินการหาต่อครั้ง เช่น กำหนดวงเงิน 1,000 บาท แค่เราไม่สบายไปหาหมอที่โรงพยาบาลเอกชนแถวบ้าน ก็เกินแล้ว และ หากมีการกำหนดจำนวนครั้งเข้าไปอีก ในบางปี เราป่วยบ่อย ก็อาจจะต้องออกเงินเองอีกทั้งในส่วนที่เกินวงเงิน และ ในส่วนที่เกินจำนวนที่กำหนด
“อยากได้ ประกัน OPD แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง และ อยากได้แบบไม่จำกัดวงเงินต่อครั้ง ในการไปหาหมอ”
จำนวนครั้งอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่วงเงินต่อครั้งนี้สิ สำคัญมาก เพราะการไปหาหมอแต่ละครั้ง มันอาจจะมีค่าใช่จ่ายค่อนข้างเยอะ หากมีประกัน OPD ที่มีการระบุวงเงินต่อปีมาให้เลย แล้วเวลาเราไปหาหมอแต่ละครั้ง ก็คิดค่าใช้จ่ายตามจริงไปเลย เราจะได้ไม่ต้องกังวล เช่น
สมมุติว่า ประกัน OPD ของเรา มีวงเงินต่อปีให้ 12,000 บาท เราไม่สบายไปหาหมอ มีค่าใช้จ่ายครั้งนี้ 3,500 บาท ก็ตัดจากวงเงินต่อปีไปได้เลย เราจะได้ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม วงเงินต่อปีที่เหลือ ก็คือ 8,500 บาท
แต่ถ้าหากเราใช้ ประกัน OPD ทั่วไป ซึ่งแอดมินก็มีใช้อยู่ เขามีจำกัดวงเงินต่อครั้งเอาไว้ที่ 1,000 บาท และ หากมี OPD ของบริษัทอีก 500 บาท (รวมเป็น 1,500 บาท) ก็ยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย 3,500 บาท อยู่ดี ยังไงก็ต้องออกเอง อีก 2,000 บาท
นอกจากนี้ ขออีกเรื่อง เงื่อนไข หรือ ข้อยกเว้นต่างๆ อย่ามีเยอะมากจนทำให้งง หรือ สับสนเวลาจำเป็นต้องใช้ ประกัน เพราะเวลาที่เราไม่สบาย เป็นโน่นเป็นนี่ ก็ไม่อยากมา surpirse ว่า ประกันที่เราทำไว้ไม่คุ้มครอง ทำให้ต้องมาจ่ายเพิ่มอีก ทำแล้วไม่จบ แถมต้องมาจ่ายเพิ่มแบบนี้ ไม่ตอบโจทย์คนทำงานอย่างแน่นอน
บทสรุป
เอาเป็นว่า ถึงตรงนี้หากเราเข้าใจ และรู้สิทธิประโยชน์ว่าประกันสุขภาพกลุ่มของบริษัทของเราให้อะไรเราบ้าง และ หากรวมประกันสังคมแล้ว เราคิดว่าเพียงพอไหม?
หากต้องการซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อป้องกันความเสี่ยง ก็จะรู้ว่าเราควรซื้อประมาณเท่าไร? ซึ่งดีกว่าเราซื้อประกันเพิ่มมากไป หรือ มากจนเกินความจำเป็น อย่างน้อยการคิดพิจารณาแบบนี้ ก็ช่วยให้เราประหยัดเงินทั้งค่ารักษาพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่เราต้องจ่ายในแต่ละปีได้อีกด้วย