Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ – พบเพื่อจากไปอย่างมีความสุข
    People Stories

    ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ – พบเพื่อจากไปอย่างมีความสุข

    willskillBy willskillตุลาคม 6, 2021ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ เปรียบเสมือนบ้าน ที่ให้เราได้อยู่เคียงข้างคนที่เรารักในช่วงเวลาสุดท้ายของเขา และสร้างความทรงจำสุดท้ายที่สวยงามร่วมกัน

    จากตอนที่ผ่านมา แอดได้พาทุกคนไปดูการทำงานของบุคลากรทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังกับการต่อสู้ในวิกฤตการณ์โควิด-19 ไปแล้ว ในตอนนี้แอดมินจะพาไปดูการทำงานที่เบื้องหลัง ที่มีความน่าสนใจยิ่งกว่าตอนไหนที่ผ่านมา การทำงานที่ไม่ได้อาศัยแค่วิชาตามที่หนังสือและหลักสูตรสอน แต่เป็นการทำงานที่ใช้ความเป็นมนุษย์และใช้หัวใจโดยที่หลักสูตรไหนก็สอนไม่ได้

    ศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย “ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์”

    สถานที่ที่ใครหลายคนอาจจะเรียกว่า “สถานที่นอนรอความตาย” หรือบางคนอาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อนเลย วันนี้ พว.กันทิมา ชูฤทธิ์ หัวหน้าศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ จะพาเราไปรู้จักและทำความเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องมีสถานที่นอนรอความตายกัน

    ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์  - พบเพื่อจากไปอย่างมีความสุข
    พว.กันทิมา ชูฤทธิ์ หัวหน้าศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์

    “พบเพื่อจากไปอย่างมีความสุข”

    หลายคนอาจจะเรียกศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายว่าสถานที่รอคอยความตาย ซึ่งหากพูดกันจริงๆแล้วมันไม่ผิดเลย ช่วงเวลาที่รอความตายเหล่านั้น แม้จะมีเวลาเพียงน้อยนิด แต่มันมีค่ามากสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว สถานที่แห่งนี้ ผู้ป่วยสามารถบอกความปรารถนา และใช้เวลาร่วมกับครอบครัวได้อย่างเต็มที่ก่อนถึงเวลาที่จะต้องจากกัน

    “ทำไม ไม่มีที่สักที่ ที่ทำให้เขาได้จับมือกัน กอดกัน เพื่อเป็นการอำลาครั้งสุดท้าย”

    คนไทยส่วนใหญ่ที่มีความคิดที่ว่า ถ้าจะตายก็อยากจะกลับไปตายที่บ้าน แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทำให้คนไข้บางคนไม่สามารถใช้ช่วงเวลาสุดท้ายที่บ้านได้ จึงมีการก่อตั้งศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ ขึ้นมา เพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีอาการไม่สุขสบาย ให้เขาจากไปอย่างสงบและมีโอกาสได้ใช้เวลาร่วมกับครอบครัวอย่างที่เขาปรารถนาในสภาพแวดล้อมที่เหมือนเป็นบ้านอีกหลังของพวกเขา

    “มันมาจากใจจริงๆที่เราอยากจะช่วยคนตรงหน้าให้ดี”

    ภายในศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ มีพยาบาล 8 คน ผู้ช่วยพยาบาล 7 คน และ พนักงานช่วยการพยาบาล 8 คน ทุกคนเข้ามาทำงานตรงนี้ด้วยใจจริง การพยาบาลที่ไม่ใช่การรักษาทางร่างกายเพื่อให้มีชีวิตต่อไป แต่เป็นการพยาบาลเพื่อสร้างภาพความทรงจำที่ดีที่สุดในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต ซึ่งไม่มีสอนในหลักสูตรการพยาบาล แต่ทุกคนใช้ความเป็นมนุษย์ ความเข้าใจ และใช้ใจในการดูแลผู้ป่วยทุกคนอย่างดีที่สุด

    ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์  - พบเพื่อจากไปอย่างมีความสุข

    คุณค่าของงานที่ทำ สิ่งที่เจอ สิ่งที่เห็น”

    การทำงานตรงนี้มันไม่ง่ายเลย ถึงแม้จะเข้าใจสัจธรรมการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ทุกคนใช้ใจดูแล จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่บางครั้งบุคลากรเองก็มีอารมณ์ร่วมไปกับคนไข้เหมือนกัน เพราะเกิดจากความผูกพันที่ดูแลกันมา สิ่งที่สามารถเยียวยาจิตใจบุคลากรได้ นั่นก็คือ การมองให้เห็นถึงคุณค่าในสิ่งที่ทำในแต่ละวัน รอยยิ้ม คราบน้ำตา และความทรงจำที่แสนสวยงามที่ได้รับจากการทำงานตรงนี้

    “เป็นบ้าน เป็นครอบครัว ให้กับทุกคนที่ต้องการที่พึ่ง”

    ที่ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์จะดูแลคนไข้ที่จะเสียชีวิตภายใน 14 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการที่ส่งสัญญาณบอกก่อน จะมีการคุยกับคุณหมอเกี่ยวกับการประคับประคองคนไข้ มีการคุยกับครอบครัวของคนไข้เกี่ยวกับความต้องการของคนไข้และครอบครัว และยังมีการรับดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งบางทีครอบครับอาจจะไม่พร้อมดูแลด้วยปัจจัยต่างๆ

    “เราดูแล ตั้งแต่หัวจรดเท้า”

    สิ่งที่ทางศูนย์ทำทุกวันก็คือ วันนี้หน้าตาเป็นอย่างไร ยิ้มแย้มแจ่มใสไหม ร่างกายมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า มีอาการอะไรไหม มีบาดแผลตรงไหนบ้างหรือเปล่า?

    หากคนไข้ช่วยเหลือตัวเองได้ จะคอยแนะนำ เฝ้าดูและให้การช่วยเหลือในส่วนที่คนไข้ทำเองไม่ได้ แต่ถ้าคนไข้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย พยาบาลจะทำความสะอาดให้ตั้งแต่หัวจรดเท้า และเช็กอาการความเจ็บป่วยต่างๆให้

    “สิ่งที่พวกเราที่ได้รับเสมอก็คือ คำว่า ขอบคุณ”

    ความตั้งใจของการก่อตั้งศูนย์นี้ขึ้นมา ไม่ใช่แค่เพียงเป็นที่พึ่งพาให้กับคนไข้เท่านั้น แต่ครอบครัวและญาติก็ต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจเช่นกัน เพราะการสูญเสียคนที่รักเราไปตลอดกาลเป็นเรื่องที่หนักเกินจะรับไหว การทำงานของบุคลากรทุกคนตรงนี้ จึงรวมไปถึงการมอบความเข้าใจ การเป็นที่พึ่งพา การรับฟัง และการเป็นคนคอยปลอบใจในยามที่ครอบครัวคนไข้อ่อนแออีกด้วย

    “ยังมีทีมหนึ่งทีมตรงนี้ ที่พร้อมเข้าใจ”

    ที่ผ่านมาบางครอบครัวต้องพบเจอปัญหาที่ไม่สามารถเฝ้าคุณพ่อ คุณแม่ หรือลูกได้ในช่วงเวลาที่พวกเขาเข้าใกล้ความเป็นความตาย หลายครั้งที่ครอบครัวคนไข้ทำได้เพียงรอรับโทรศัพท์จากโรงพยาบาลเพื่อบอกว่าอาการของคนไข้เป็นอย่างไร แม้จะอยากอยู่ข้างๆหรืออยู่ใกล้แค่ไหนก็ทำไม่ได้ นั้นเป็นสิ่งที่ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์เล็งเห็น และอยากบอกทุกคนว่าสถานที่แห่งนี้เข้าใจ และพร้อมจะตอบสนองต่อความต้องการตรงนั้นให้กับทุกคน

    ถึงผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว

    ถ้าหากคุณกำลังหาใครสักคนที่เข้าใจ หาสถานที่ที่จะช่วยให้คุณได้ใช้เวลาร่วมกับคนที่คุณรักในช่วงเวลาสุดท้ายของเขา หรืออยากได้ความช่วยเหลือในการมีใครสักคนมาดูแลคนที่คุณรักให้จากไปอย่างสงบ สามารถติดต่อได้ทางเพจศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ หรือโทร. 095-464-9783 ปรึกษาได้โดยตรง

    “เราจะดูแลคุณ ให้จากไปสุขสงบ และจากไปอย่างที่คุณไม่ต้องกังวลจริงๆ”

    บทสรุป

    สำหรับประเทศไทยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหม่มาก เรามีความต้องการที่จะกลับไปนอนตายที่บ้าน แต่เมื่อความต้องการของเราถูกปฏิเสธด้วยปัจจัยไม่ว่าจะเป็นอาการ สถานที่ ความสะดวก หรือความเห็นทางการแพทย์จากคุณหมอก็ตาม เรามักจะต้องยอมรับเสมอ เราต้องยอมสูญเสียคนรักหรือคนรอบตัวไปโดยที่บางครั้งเราก็ไปไม่ทันแม้แต่จะกล่าวคำอำลาหรืออยู่เคียงข้างเขาในเวลาสุดท้าย

    ดังนั้นจากปัญหาทั้งหมดที่นี่ จึงเป็นทางออกที่ตอบโจทย์สำหรับทุกคนที่ต้องพบเจอ หรือคิดว่าจะต้องพบเจอในอนาคต ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์สามารถเป็นบ้านที่ให้เราได้อยู่เคียงข้างคนที่เรารักในช่วงเวลาสุดท้ายของเขาและสร้างความทรงจำที่สวยงามไปด้วยกันได้

    “ทุกคนสมควรมีความทรงจำที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นคนตายหรือคนที่ยังอยู่”

    ติดตามรับชมเรื่องราว เบื้องหลังวิกฤติและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด ได้กับรายการ Unmask Story เรื่องเล่าหลังแมสก์ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    ศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย “ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์” | โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    หรือ จะเลือกรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบของ Podcast:

    https://open.spotify.com/episode/2HipZRPmxrsY2TfL7wv8oP?si=iAb_FJ8cTKWY4yNsAEe8PA&dl_branch=1

    ….

    บทความ แนะนำ :

    เจาะเลือด แล้วไปไหน? เรื่องเล่าการทำงานของทีมปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์

    ติดตามชมรายการ UNMASK STORY
    กับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
    ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20:00 น.
    ทาง Facebook เพจ @มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
    และ ช่องทาง Social Media ของ The Practical

    UNMASK STORY
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleยั่งยืนด้วยนวัตกรรม และความร่วมมือ แบบ GC
    Next Article Redefine Your Limits – ชีวิตไร้ขีดจำกัด ในแบบของ Tanya Streeter
    willskill
    • Website

    Related Posts

    วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

    พฤษภาคม 25, 2024

    เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

    พฤษภาคม 23, 2024

    The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

    พฤศจิกายน 2, 2023

    คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

    กรกฎาคม 17, 2023

    Comments are closed.

    Our Picks

    ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

    มิถุนายน 22, 2024

    ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

    สิงหาคม 18, 2023

    แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

    มิถุนายน 6, 2023

    7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

    พฤษภาคม 30, 2023
    • Facebook
    • Pinterest
    • Instagram
    • YouTube
    Don't Miss

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    By willskillพฤษภาคม 19, 20250

    ประกันสุขภาพ หร…

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025

    จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

    กุมภาพันธ์ 3, 2025

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

    About Us
    About Us

    Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

    We're accepting new partnerships right now.

    Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

    Our Picks

    ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

    มิถุนายน 22, 2024

    ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

    สิงหาคม 18, 2023

    แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

    มิถุนายน 6, 2023
    New Comments
      Facebook YouTube Spotify Pinterest
      • Home
      • Work
      • Life
      • Balance
      • Sustainability
      • People Stories
      • InMind
      • Podcast
      © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

      Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

      Sign In or Register

      Welcome Back!

      Login to your account below.

      Lost password?