
สูติ-นรีเวช เราอาจจะคุ้น หรือ เคยได้ยินว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการฝากครรภ์และการคลอดบุตร แต่อันที่จริงแล้ว สูติ-นรีเวช เป็นแผนกที่คอยดูแลเรื่องของสตรี ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องสุขภาพ แต่ยังรวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุภาพสตรีอีกหลายด้านอีกด้วย ในตอนนี้ แอดมินจะพา พวกเรามาทำความเข้าใจในเรื่องของกระบวนการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงทุกคนโดยตรง และเป็นเรื่องที่ผู้ชายก็ควรจะต้องรู้เอาไว้เช่นกัน
การทำงานของสูติ-นรีเวช ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 เช่นนี้ ทุกคนคงเคยสงสัยเหมือนกันว่าช่วงที่รณรงค์ให้ Social Distancing แบบนี้ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะคลอดลูกอย่างไร? คลอดแล้วจะได้เจอลูกไหม? ถ้าคุณแม่เป็นโควิดลูกในท้องจะเป็นด้วยหรือเปล่า? และคำถามยอดฮิตอย่างคนท้องฉีดวัคซีนได้ไหมนะ?

วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องเหล่านี้ โดย ผศ.พญ กริชา ไม้เรียง สูติ-นรีแพทย์และผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จะเป็นผู้มาตอบทุกคำถามในสิ่งที่เราสงสัยให้เข้าใจกันอย่างชัดเจน
สูติ-นรีเวช คืออะไร?
ภายในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สูติ-นรีเวช คือ แผนกที่คอยดูแลเรื่องของสตรี ตั้งแต่สุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดกับสตรี รวมไปถึงเรื่องของการฝากครรภ์และการคลอดบุตร ที่ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะต้องดูแลชีวิตของคุณแม่แล้ว ยังต้องดูแลรวมไปถึงเด็กทารกในครรภ์ด้วย
การทำงานของสูติ-นรีเวชในวิกฤตโควิด-19
“ห้องคลอดที่เหมือนห้องฉุกเฉิน”
คุณหมอเผยว่าในกระบวนการทำคลอดทุกอย่างถือเป็นเรื่องฉุกเฉินทั้งหมด เพราะถ้าเป็นแผนกอื่นยังมีโอกาสให้กำหนดวันและเตรียมตัวสำหรับการผ่าตัด จึงทำให้สามารถตรวจเชื้อบุคลากรและคนไข้ก่อนถึงการผ่าตัดได้ แต่การคลอดเป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าคุณแม่ท่านไหนจะคลอดเมื่อไร เราต้องคัดกรองคนไข้และบุคลากรตามความเสี่ยงแทน ว่าแต่คนละได้ไปพื้นที่เสี่ยงมาหรือไม่ มีโอกาสใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยงหรือเปล่า
“ถ้าไม่ใช่ก็แล้วไป ถ้าใช่ก็อย่างน้อยเราเซฟบุคลากรเราแล้ว”
เพราะในเวลาฉุกเฉิน จึงรอผลตรวจเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรอหลายชั่วโมงไม่ไหว หากคนไข้มีเกณฑ์ในการใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยงหรือไปพื้นที่เสี่ยงมา จะได้รับกระบวนการคลอดเหมือนเป็นผู้ติดเชื้อทันที บุคลากรทุกคนจะใส่ชุด PPE และคนไข้จำเป็นต้องสวมหน้าเฟสชิลตลอดเวลา
ท้องแล้วติดเชื้อโควิด-19
คุณหมอ เผยว่าทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติมีวิธีการดูแลตามสถานการณ์และปัจจัยที่เกิดขึ้น มีการเช็คอุณหภูมิ การหายใจ หรือเช็คระดับออกซิเจนเหมือนปกติ แต่จะการพูดคุยสอบถามอาการที่มากกว่าปกติ และบุคลากรทุกคนจะสวมชุด PPE ในการเข้าตรวจเช็คร่างกายคุณแม่เสมอ คนท้องจะมีร่างกายที่อ่อนแอและภูมิต้านทานต่ำ ทำให้คนท้องมีโอกาสเกิดภาวะเชื้อลงปอดได้ง่ายกว่าคนปกติที่ติดเชื้อ

“ทารกในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อจากแม่ที่มีเชื้อโควิด-19 ไม่ถึง 3%”
การทำงานตรงนี้ทำให้คุณหมอได้เห็นความเป็นแม่ของคนได้อย่างชัดเจน เพราะคำถามที่คุณแม่ส่วนใหญ่ถามก็คือ “ลูกจะติดด้วยไหม” ในเมื่อคุณแม่ทั้งหลายต้องมาติดเชื้ออย่างช่วยไม่ได้ จึงทำให้รู้สึกผิดและอดห่วงลูกในท้องไม่ได้เช่นกัน แต่จากการศึกษาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงจนถึงตอนนี้ คุณหมอยืนยันว่าการที่ลูกในท้องติดเชื้อโควิด-19 จากแม่ที่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์มีไม่ถึง 3% จากจำนวนเคสทั้งหมดด้วยซ้ำ
“ส่วนใหญ่แล้ว ลูกจะติดจากแม่หลังคลอดเสียมากกว่า”
แม้ว่าอัตราการติดจากแม่สู่ลูกขณะอยู่ในท้องจะต่ำ แต่เมื่อคลอดออกมาแล้วก็เป็นการยากเหลือเกินที่จะป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อจากแม่ได้ ทางโรงพยาบาลจึงเลือกการแยกลูกออกจากคุณแม่ทันทีหลังจากคลอด จนกว่าคุณแม่จะหายดีเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
ปัญหาที่เกิดจากการแยกลูกจากแม่
อาการของคุณแม่เมื่อลูกโดนแยกออกไปทันทีหลังจากคลอด ไม่แม้แต่จะได้กอดหรือให้นมได้ด้วยตัวเอง ทำให้คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องพบกับปัญหาทางด้านร่างกายและทางจิตใจที่แสนสาหัส
ปัญหาทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแผลผ่าคลอดที่อาจจะมีความจำเป็นต้องรักษาที่โรงพยาบาลสนามแทน ห่างไกลจากสามีและญาติที่ปกติจะคอยดูแลและให้กำลังใจได้ มีในเรื่องของการคัดตึงเต้านม ภาวะที่มีการคั่งของน้ำนม เลือด หรือน้ำเหลืองภายในเต้านม เพราะไม่ได้ให้นมบุตร จึงต้องปั๊มน้ำนมทิ้งแทน และหลังจากการคลอด ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเกิดอาการฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งจะส่งต่อจิตใจ
ปัญหาทางจิตใจ คุณส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาทางจิตใจ 2 เรื่องใหญ่ๆ นั่นก็คือเรื่องโควิด-19 เชื้อที่ตนเองมีอยู่นั้น จะหายเมื่อไร จะติดลูกไหม จะตายหรือเปล่า? เป็นต้น อีกเรื่องก็คือการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังจากคลอด เนื่องจากฮอร์โมนผิดปกติและโดนจับแยกกับลูกโดนทันที
“บางที่บอกว่าให้อยู่ด้วยกันได้แต่เว้นระยะ แต่ในทางปฏิบัติ มันทำจริงได้ยาก”
รายงานการศึกษาจากบางที่บอกว่าคุณแม่ที่ติดเชื้อสามารถอยู่กับลูกได้ ตัวอย่างเช่น เวลาให้นมก็ให้คุณแม่สวมแมสก์ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูก เป็นต้น ในทางทฤษฎีมันดูง่าย แต่ในทางปฏิบัติจริง เราจะให้นมลูกอย่างไม่ให้ลูกติด มันเป็นจริงได้ยาก ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจึงเลือกวิธีแยกลูกออกจากแม่ก่อนเพื่อความปลอดภัยของลูกและแม่

“กังวลที่แยกกับลูก มากกว่ากังวลที่ต้องติดเชื้อโควิด-19”
คุณหมอ เผยว่าไม่ใช่ทุกเคสที่คุณแม่ติด แล้วลูกไม่ติด เพราะในบางครั้งลูกเด็กเล็กแดงแถวบ้านเราก็วิ่งไปรับเชื้อมาโดยที่คุณพ่อคุณแม่ที่บ้านไม่ทราบได้เหมือนกัน แต่จากทุกเคสที่ลูกติดแล้วแม่ไม่ติด คุณแม่ส่วนใหญ่สมัครใจที่จะอยู่กับลูก ขออยู่ดูแลลูกโดยไม่ได้สนใจว่าตัวเองจะติดหรือไม่
แนวทางสำหรับคุณแม่ที่ยังไม่ติดเชื้อโควิด-19
สิ่งที่คุณแม่ส่วนใหญ่สงสัยกันก็คือ คนท้องสามารถเข้ารับวัคซีนได้หรือไม่ เพราะมีข่าวเกี่ยวกับผลค้างเคียงของวัคซีนมากมาย จึงทำให้คุณแม่ส่วนใหญ่เป็นกังวล โดยคุณหมอเผยว่าคุณแม่ที่มีอายุครรภ์เกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไปสามารถเข้ารับวัคซีนได้ และหารู้ว่าตนเองมีการตั้งครรภ์ไม่ควรออกไปข้างนอกบ่อย เพราะภูมิต้านทานต่ำกว่าคนทั่วไป ทำให้สามารถรับเชื้อมาได้โดยง่าย
บทสรุป
แม้แผนกสูติ-นรีเวช จะเป็นแผนกที่สำหรับคุณผู้หญิงโดยเฉพาะ แต่คุณผู้ชายเองก็ต้องรู้เกี่ยวกับการดำเนินการและแนวทางปฏิบัติไว้เหมือนกัน เพราะเราต้องทุกคนต้องช่วยดูแลกันอย่างดีที่สุด
โดยเฉพาะในสถานการณ์เช่นนี้ หากคุณมีคนใกล้ตัวเป็นคุณแม่ที่ติดโควิด-19 อย่าลืมให้กำลังใจเธอเยอะๆ และอย่าลืมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนด้วย พวกเขาคือด่านหน้าที่รับความเสี่ยงเอาไว้อย่างเต็มใจ และหวังว่า
“วิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ เราจะรอดไปด้วยกัน”
….
ติดตามรับชมเรื่องราว เบื้องหลังวิกฤติและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการรับมือกับสถานการณ์โควิด ได้กับรายการ Unmask Story เรื่องเล่าหลังแมสก์ ของ บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
หรือ จะเลือกรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบของ Podcast:
….
บทความ แนะนำ :
ไอซียูทีม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เบื้องหลังการทำงานท่ามกลางวิกฤติโควิด
ติดตามชมรายการ UNMASK STORY
กับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20:00 น.
ทาง Facebook เพจ @มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
และ ช่องทาง Social Media ของ The Practical