หมูทอดกอดคอ ธุรกิจแฟรนไชส์รูปแบบใหม่ จาก บริษัท Food Passion ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยคนตกงาน หรือ ผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
โควิด ถือเป็นวิกฤติที่ ไม่เคยมีใครคาดคิด หรือ ไม่เคยมีใครที่เคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับเรื่องนี้มาก่อน การมาของโควิดสร้างผลกระทบเชิงลบในวงกว้าง กระทบไปทุกธุรกิจ อาชีพ รวมไปถึงการดำเนินชีวิตของคน
หลายคงยังคงจำกันได้ ช่วงล็อกดาวน์ 3 เดือน ในบ้านเราหลายธุรกิจต้องปิดกิจการ หลายธุรกิจต้องเร่งปรับเปลี่ยน Business Model กันใหม่หมด อย่างเช่น ร้านอาหาร หากไม่ทำออนไลน์ หรือ ไม่ Delivery ก็คงไม่รอด
นอกจากนี้ จำนวนคู่แข่งที่เข้ามาในธุรกิจอาหาร สูงขึ้นหลายเท่าตัวในระยะเวลาอันสั้น อ้าว คู่แข่งมาจากไหนล่ะ? ก็มาจาก กลุ่มคนที่ตกงาน และ ผู้ประกอบการ ที่ธุรกิจหลักไปไม่รอดเพราะโควิด หันมาทำอาหารขายกันออนไลน์เต็มไปหมด ด้วยเพราะมันเริ่มต้นไม่ยาก จึงทำให้จำนวนคนขายเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คนในหลากหลายอาชีพ เช่น ลูกเรือ กัปตัน สายการบินต่างๆ ลุกขึ้นมาขายอาหารกับเพียบ หรือ แม้กระทั่งสายการบิน ก็ยังขายเองด้วย
ถึงแม้ว่าตอนนี้สถานการณ์จะดีขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยอดขายของร้านอาหารโดยรวมก็ไม่ได้กลับมาดีเหมือนเดิม เพราะด้วยมาตรการของภาครัฐ จำกัดจำนวนลูกค้าให้นั่งทานน้อยลง ในฝั่งของ Food Delivery ก็มีการแข่งขันสูงมาก ร้านใหม่ๆ เข้ามาทุกวัน โปรโมชั่นก็มีให้เลือกมากมาย แต่ก็ไม่ได้ขายดิบขายดีอย่างที่คิด
หรือว่า คนขายอาหาร มีมากกว่า คนซื้อ? แต่นั่นอาจจะไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ปัญหาที่แท้จริง ก็คือ เรื่องผู้บริโภค ตอนนี้เขามีกำลังซื้อน้อยลง เขาจึงจำเป็นต้องระมัดระวังในการใช้จ่าย และ ในขณะเดียวกันก็มองหาอาชีพที่มั่นคง หรือ รายได้เสริม เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในอนาคตด้วย
ทางเลือกเพื่อทางรอด ช่วยคนไทย ได้มีอาชีพ และมีรายได้อย่างยั่งยืน
บริษัท Food Passion (เจ้าของร้าน Bar BQ Plaza และ จุ่มแซบฮัท ที่เราคุ้นเคย) เขาก็ได้รับผลกระทบไม่น้อยเช่นกันจากการมาของโควิดครั้งนี้ แต่เขาเลือกที่จะลุกขึ้นมาทำในสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม กับ นาโนเเฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ”
นาโนเเฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” คืออะไร? มีที่มาที่ไปอย่างไร? เหมาะกับใครบ้าง?
แอดมินได้มีโอกาส ได้พูดคุยกับ ผู้บริหาร คือ คุณ ชาตยา สุพรรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ คุณ สิริภา ลาภะนาวิน ประธานบริหารสายงานพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท Food Passion
คุณ ชาตยา เล่าให้ฟังว่า “ธุรกิจของเราก็ลำบาก พนักงานของเราก็เดือดร้อน คนทำงานก็เดือดร้อน ทุกคนกำลังโดนโควิด disrupt ทั้งธุรกิจ อาชีพ และ การดำเนินชีวิต”
ด้วยสถานการณ์ที่ไม่เป็นใจ คนทำงานหลายคนถูกลดเงินเดือน หลายคนถูกเลิกจ้าง ทุกคนกำลังกังวลกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ทำให้ทุกๆ การใช้จ่าย ต้องใช้จ่ายแบบระมัดระวัง ต้องประหยัด และคุ้มค่า จำเป็นต้องใช้ชีวิตในแบบที่เรียบง่าย
ในอีกด้านนึง คนทำงานก็อยากหารายได้ในช่วงนี้ เพื่อชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป หรือ เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำรองยากฉุกเฉิน เพราะสถานการณ์โควิด ก็ไม่มีใครรู้ว่าจะหมดไปเมื่อไหร่
แอดมินคิดว่า นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงในบ้านเรา เราจะนั่งรอให้ภาครัฐมาช่วยอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะรัฐเองก็คงมีภาระกิจมากหมายหลายเรื่องที่ต้องรีบบริหารจัดการ โชคดีที่มีผู้ประกอบการอย่าง บริษัท Food Passion ลุกขึ้นมา สร้างโมเดลธุรกิจ ที่สามารถช่วยเหลือคนทำงานตัวเล็กๆ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด ให้สามารถทำเป็นอาชีพ ในแบบที่ยั่งยืนได้จริง
จุดกำเนิดของ “หมูทอดกอดคอ” เกิดขึ้นใน Passion Lab ของเรา
คุณ สิริภา เล่าให้ฟังว่า “หมูทอดกอดคอ” เป็นไอเดียที่เกิดจากทีมงานภายในของเรา เป็น Business Model ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยคนทำงาน ได้มีอาชีพ และมีรายได้อย่างยั่งยืน คือ ทำแล้วมีกำไรดีจนไม่มีวันเลิกทำ
คุณ ชาตยา ยังเสริมอีกว่า “โครงการนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็น CSR แต่เราต้องการสร้างอาชีพ ด้วยการส่งความสุขผ่านมื้ออาหาร ในราคาที่ย่อมเยาว์ให้ถึงมือผู้บริโภคได้จริง”
เราใช้จุดแข็งที่เรามี เพราะ Food Passion เราเชี่ยวชาญเรื่องธุรกิจอาหารมานานมากกว่า 33 ปี มีประสบการณ์ในการทำตลาด มีระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ มีองค์ความรู้ในเรื่องการทำแฟรนไชส์ ในต่างประเทศ นอกจากนี้ Food Passion
มีทีมงานพร้อมซัพพอร์ต และ เรายังมี พันธมิตร ที่มีแนวคิดเดียวกัน ที่อยากลุกขึ้นมาช่วยคนทำงานที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิดในครั้งนี้ โดยในเฟสแรก 6 บริษัท อาทิ เช่น พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (ปั๊มน้ำมัน PT) , บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพลส) , ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) , กรุงศรี คอนซูมเมอร์ , บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTC) และ บริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด (ครีเอทีฟ เอเจนซี่)
“นาโนเเฟรนไชส์” โมเดลธุรกิจ สำหรับคนตัวเล็ก แต่อยากมีธุรกิจของตนเอง
คุณ สิริภา เล่าให้ฟังว่า เราอยากช่วนคนทำงานที่เดือดร้อนให้มีรายได้ และ เราก็อยากช่วยที่คนทำงานถูกลดเงินเดือน ได้มีโอกาสเข้าถึงมื้ออาหารที่กินง่าย รสชาดอร่อย คุ้มค่า ในราคาย่อมเยาว์
“อาหารทำง่าย กินง่าย ขายง่าย คืนทุนเร็ว มีทีมงานให้คำปรึกษาทุกขึ้นตอน”
จึงเป็นที่มาของ “นาโนเเฟรนไชส์” เกิดจากการแนวคิดที่ว่า ต้องเป็น Business Model ที่ช่วยคนไทยฝ่าวิกฤติครั้งนี้ได้ ด้วยการมีรายได้จริง อยู่ได้อย่างยั่งยืน ผ่านการขายสินค้าที่ทำง่าย ขายคล่อง และ ต้องเป็นธุรกิจที่ “แฟรนไชส์ที่ไม่ต้องซื้อ”
ส่ิงที่ เเฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” ทำออกมา แตกต่างจากแฟรนไชส์ทั่วไป ในตลาดนั่นก็คือ
- ไม่มีค่าสมัครแฟรนไชส์ (Franchise Fee)
- ไม่มีค่าสิทธิหรือการหักเปอร์เซ็นต์จากยอดขายรายเดือน (Royalty Fee)
- ไม่มีค่าการตลาด (Marketing Fee/ Advertising Fee) และ
- ไม่มีค่าฝึกอบรม (Training Fee)
นั่นหมายความว่า ผู้สมัคร เเฟรนไชส์นี้ จะจ่ายแค่อุปกรณ์การขายและวัตถุดิบเท่านั้น นี่คือ Business Model ที่ออกแบบมาเพื่อช่วย คนทำงานในยุคนี้ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดจริงๆ ให้สามารถทำเป็นอาชีพอย่างยั่งยืนได้
กว่าจะออกมาเป็น เเฟรนไชส์หมูทอดกอดคอ อย่างที่เราเห็น ทางผู้บริหารเขาเล่าให้ฟังว่า ได้ทำการพัฒนาและทดลองกับครอบครัวของพนักงานบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมาก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าทุกขึ้นตอน และทุกกระบวนการ ตอบโจทย์ คนทำงานที่สนใจมาร่วมเป็นพันธมิตรกับ Food Passion และ สามารถทำเป็นอาชีพได้จริงๆ
หมูทอด ใครๆ ก็ทำได้ แล้ว “หมูทอดกอดคอ” แตกต่างจากหมูทอดทั่วไปอย่างไร?
โมเดลธุรกิจดี สินค้าก็ต้องดีมีคุณภาพด้วย
ในเรื่องของวัตถุดิบ “หมูทอดกอดคอ” คัดสรรวัตถุดิบมาเป็นอย่างดี ปรุงด้วยสูตรลับเฉพาะทุกขั้นตอน ตั้งแต่ส่วนผสม การหมัก การทอด เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและยากต่อการลอกเลียนแบบ และได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และ อย. จากสำนักงานองค์การอาหารและยา
ความแตกต่าง และ คุณภาพของสินค้า ยากที่จะลอกเลียนแบบ
รูปลักษณ์และรสชาติแตกต่างจากหมูทอดเจ้าอื่น มีให้เลือกหลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูเด่นประจำร้านอย่าง หมูสับทอดพริกสด หมูสับทอดกระเทียม หมูสามชั้นทอดกระเทียม และ ไก่ทอดกระเทียม
ราคาเริ่มต้น ที่ 25 บาท หากซื้อเป็นชุด พร้อมข้าวเหนียว ก็ราคาชุดละ 30 บาท และ ยังมีเมนูเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น แจ่วปลาร้า และ น้ำจิ้มแจ่ว รสจัดจ้าน ให้สั่งเพิ่มได้อีก
ถือว่าตอบโจทย์คนไทย สำหรับอาหารจานด่วนที่กินง่าย (Ready to Eat) และ คุ้มค่า ซื้อได้ในราคาสบายกระเป๋า (Value for Money)
เป้าหมายการทำ เเฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” คือ ต้องมีสาขาเยอะๆ ทำกำไรเยอะๆ ใช่ไหม?
แอดมิน ทราบมาว่า หลังจากเปิดรับสมัคร เเฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” ปรากฏว่ามีคนแห่แหนเข้ามาสมัครกันอย่างมากมาย แต่ทาง Food Passion เขาเลือก คนที่ใจสู้ ตั้งใจจริง และ เอาจริง เท่านั้น เขาเอาแค่ 100 รายเท่านั้นเอง สำหรับปีนี้
“เป้าหมายที่สำคัญ คือ คนที่ทำกับเราต้องอยู่รอด พวกเขาต้องสามารถทำเป็นอาชีพได้ มีรายได้ไปหล่อเลี้ยงครอบครัวของพวกเขาต่อไปได้”
คุณ สิริภา ยังเสริมอีกว่า เราไม่ได้มุ่งเน้นกำไรสูงๆ หรือ ต้องมีจำนวนคนที่เข้ามาซื้อ เเฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” เยอะๆ ปีนี้ นั่นไม่ใช่เป้าหมายของเรา เราต้องการแค่ 100 รายเท่านั้น ที่จะมาเริ่มต้น เดินทางไปด้วยกัน รอดและเติบโตไปอย่างยั่งยืนด้วยกัน ซึ่งตอนนี้ ก็ได้ครบ 100 ราย เรียบร้อยแล้ว
ถ้าอยากกิน “หมูทอดกอดคอ” หาซื้อได้ที่ไหน?
ตอนนี้สำหรับ 100 สาขาแรก เขาจะเปิดเฉพาะในกทม.และปริมณฑลก่อน โดยสามารถหาซื้อได้ที่ หลักๆ สถานีบริการน้ำมัน PT และ โลตัส เอ็กซ์เพรส สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/MooTodGordKorFranchise/
ถ้าอยากซื้อ เเฟรนไชส์ “หมูทอดกอดคอ” ต้องทำอย่างไร?
ถึงแม้ว่าปีนี้จะหมดรับสมัครแล้ว แต่แอดมินทราบมาว่า ต้นปี ทาง บริษัท Food Passion เขาอาจจะเปิดรับสมัครอีกครั้ง กดติดตาม เพจหมูทอดกอดคอ เอาไว้นะครับ จะได้ไม่พลาด
บทสรุปของเรื่องนี้
ธุรกิจโมเดลใหม่ ของบริษัท Food Passion ถือเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง เพราะ เป็นวิธีการที่ฉีกรูปแบบขอการทำธุรกิจอาหารในแบบเดิมๆ เพราะด้วยกระแสของ โควิด บวก Disruption ทำให้การทำธุรกิจแบบเดิมๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไปแล้ว
จาก Customer เป็น Business Partner เป็นโมเดลที่น่าสนใจ อาจจะเป็นอีกวิธีการนึงที่ทำให้เกิดความยั่งยืนในอีกมิตินึงของธุรกิจได้
หลังจากนี้ เราคงจะได้เห็นคนทำงานหันมาประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการรายเล็กๆ กันมากขึ้น หรือ อาจจะทำเป็นอาชีพเสริมก็เป็นได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการมีรายได้นอกเหนือจากงานประจำ และ เป็นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับพวกเขาได้อีกด้วย