Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»Work»อย่าถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัว เพราะมันจะทำให้เราไม่มีความสุข
    Work

    อย่าถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัว เพราะมันจะทำให้เราไม่มีความสุข

    mypilottest01By mypilottest01ธันวาคม 7, 2021ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    อย่าถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัว การถือเอาเรื่องไม่เป็นเรื่อง มาเป็นเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะเรื่องที่จริงๆ แล้ว อาจจะไม่เกี่ยวกับเราเลยด้วยซ้ำ มาทำให้เราต้องทุกข์ใจ หรือ เครียดไป โดยปล่าวประโยชน์

    ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในที่ทำงาน เราตั้งใจทำงานอย่างหนักเพื่อเสนองานชิ้นนี้ให้หัวหน้าของเราในวันพรุ่งนี้ แต่สิ่งที่เราได้รับกลับมานั้นมีเพียงแค่คำวิจารณ์ ติเตียน ในสิ่งที่เราทุ่มเททำลงไป อย่างไม่น่าพอใจเสียเท่าไร แถมยังปราศจากการชื่นชมในการทำงานหนักของเรา เรื่องราวแบบนี้คุ้นๆ ไหม?

    เรื่องแบบนี้ หากมันเกิดขึ้นจริงๆ มันกวนใจเรามากใช่ไหม? ทำงานก็หนัก ทุ่มแทก็สุด แต่สิ่งที่ได้รับกลับมากลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สำหรับเราหากเจอเรื่องราวแบบนี้ก็คงอึดอัดไม่ใช่น้อย และก็คงอยากระบายให้ใครสักคนได้ฟัง

    เช่น เมื่อเรากลับมาถึงบ้าน เราก็คงต้องการจะระบายความหนักหนาสาหัสในวันนี้ที่เราเจอให้กับคนที่บ้านฟัง แต่ในระหว่างที่เราเล่าไปได้ครึ่งเรื่อง สมาชิกในครอบครัวที่กำลังฟังอยู่กลับเดินไปปิดทีวีเสียเฉยๆ สถานการณ์แบบนี้ยิ่งทำให้เราอารมณ์เสียมากขึ้น และ คิดว่าเขาไม่สนใจฟังเราใช่ไหม? อาจจะมองสมาชิกในครอบครัวในทางที่ไม่ดีไปด้วยได้ แต่ทำไมเราถึงต้องถือเรื่องพวกนี้มาเป็นเรื่องส่วนตัวกันด้วยล่ะ?

    Frederik Imbo เขาบอกว่า ผู้ตัดสินในการแข่งขันฟุตบอล อาชีพนี้ เป็นอาชีพที่จะต้องไม่ถือเรื่องใดเป็นเรื่องส่วนตัว เขาเผยว่า 2 เหตุผลที่ทำให้เขาเลือกทำอาชีพนี้ก็คือ เขาต้องการจะมีหุ่นที่ดี และเขาต้องการเรียนรู้ถึงการไม่ถือเรื่องใดนำมาเป็นเรื่องส่วนตัว

    “แม้ผู้ชมจะให้กำลังใจทีมของพวกเขาเสียงดัง แต่พวกเขาก็มักตะโกนด่ากรรมการเสียงดังกว่า”

    อาชีพผู้ตัดสินนี้ดูเหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับการเลือกสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ของเขา ในขณะที่การแข่งขันฟุตบอลดำเนินไป ผู้ชมร้องเชียร์กันเสียงดังให้แก่ทีมที่ตนเองชอบ เมื่อเกิดการตัดสินบางอย่างขึ้นจากกรรมการซึ่งแน่นอนว่า ถ้าหากทีมหนึ่งถูก อีกทีมก็ต้องผิด ผู้ตัดสินไม่มีทางหนีคำด่าจากผู้ชมได้พ้นอย่างแน่นอน

    “ในตอนที่เรารู้สึกแย่ เคยคิดบ้างไหมว่า จริงๆ แล้วใครคนที่ผิด ใครที่ทำให้เราคิดมากไปเอง?”

    เราไม่สามารถหนีการกระทำหรือคำพูดจากคนอื่นไม่ได้ ซึ่งความรู้สึกมันน่าเจ็บปวด เหมือนเราโดนมองข้าม โดนทอดทิ้ง มันทำให้เราน่าหงุดหงิด และขุ่นเคืองในใจ หรือ อาการเหมือนเรากำลังโดนทรยศหักหลังจริงๆ

    ยกตัวอย่างเช่น ในระหว่างที่เรากำลังขับรถไปบนท้องถนน รถคันข้างหลังบีบแตรใส่เราเพื่อเร่งให้เราขับไปข้างหน้าเร็วๆ เหตุการณ์แบบนี้มันน่าหงุดหงิดไม่น้อยเลยใช่ไหม? หากเราเลือกถือเรื่องนี้มันเป็นเรื่องส่วนตัว แล้วตัดสินใจเปิดกระจกแล้วตะโกนออกไปว่า “จะรีบไปตายที่ไหนกันล่ะ!” ในเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้ เรามักจะโทษคนที่ทำให้ความรู้สึกแบบนั้นเกิดขึ้นเสมอ “มันเป็นความผิดของเขา” หรือ “เขาต้องรับผิดชอบ” ใครกันที่บอกว่ามันต้องเป็นแบบนี้?

    “อีโก้ มันคือ ตัวตนที่เราสร้างขึ้นมาจากความเชื่อที่เรามีต่อตัวเอง”

    อีโก้ (Ego) คือ ตัวตนที่เราสร้างขึ้นมาจากความเชื่อที่เรามีต่อตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น เราเก่งที่สุดในแผนก หรือ งานของเราสมบูรณ์แบบที่สุด หรือ ไม่มีใครเหมาะสมกับการได้เลื่อนเป็นหัวหน้ามากกว่าตัวเราอีกแล้ว เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลมาจากความเชื่อที่เราสร้างขึ้นเอง คิดเอง และเชื่อเองแทบทั้งนั้น อีโก้ของเรามักต้องการการยอมรับจากคนอื่นๆ โดยปราศจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่ลบ เราต้องการได้ยินแค่ว่า “คุณถูกต้องแล้ว”

    “อยากถูกต้อง หรือ อยากมีความสุข”

    ในการแบกรับอีโก้ เอาไว้ตลอดเวลาไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราถูกอีโก้ครอบงำ เราจะเริ่มเข้าข้างตัวเอง และบอกกับตัวเองว่าเราถูกต้องเสมอ เราพร้อมที่จะต่อสู้กับคำวิจารณ์ลบๆ จากคนอื่นที่ได้รับมา เพราะพร้อมที่เก็บมันเอาไว้ทุกอย่าง และแบกมันไปด้วยกันทุกที่ กลายเป็นการต่อสู้อย่างไม่รู้จบ ทั้งที่จริงแล้ว เราก็แค่โยนมันทิ้งไป แล้วก็มีความสุขได้ แต่ เรามักไม่เลือกที่จะโยนมันทิ้งไป

    “เรื่องนี้ มันไม่ใช่เรื่องของฉัน”

    กลยุทธ์แรกสำหรับการเลิกถือทุกอย่างเป็นเรื่องส่วนตัวแล้วมีความสุขเสียที ก็คือ การคิดให้ได้ว่าเรื่องที่เราเผชิญอยู่นั้นไม่ใช่เรื่องของเรา แต่มันอาจจะดูยากใช่ไหม? แล้วเราจะคิดอย่างไร ให้เรื่องส่วนตัวกลายเป็นเรื่องของคนอื่นล่ะ?

    ตัวอย่างเช่น เมื่อรถคันข้างหลังบีบแตรใส่เรา เขาอาจจะมีคนท้องอยู่ในรถ หรือเขากำลังรีบสำหรับการประชุมครั้งสำคัญอยู่ก็ได้ หรือ ในตอนที่เรากำลังนำเสนองานแต่มีหนึ่งในคนฟังกำลังเล่นมือถือ เขาอาจจะได้รับข้อความด่วนที่น่าตกใจ หรือเขาอาจจะอยากจดบันทึกงานของคุณเอาไว้ในมือถือเพราะงานของเราดีมากก็ได้

    “เริ่มจากการเปลี่ยนเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องส่วนรวม”

    เราจะไม่ถือเรื่องไหนให้เป็นเรื่องส่วนตัว ก็ต่อเมื่อเรามีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ลบความขุ่นเคืองที่เกิดขึ้นส่วนตัว ให้มองว่ามันเป็นเรื่องของส่วนรวม อย่างงานที่เราโดนวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ใช่งานของเราคนเดียว (เพราะทำกันเป็นทีม) แต่เป็นงานของบริษัท ทุกคนก็จะแย่เหมือนกันถ้างานออกมาไม่ดี ดังนั้นมันคือเรื่องส่วนรวม แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ทฤษฎี

    “สมองของเราผลิตความคิดออกมาได้ราว 50,000 ความคิดต่อวัน แต่ความคิดเชิงบวกมีเพียง 10,000 ความคิดเท่านั้น”

    แม้เราจะมีทฤษฎีที่ดี แต่การในทางปฏิบัติไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เมื่อมีใครบางคนมองมาที่เราแล้วหัวเราะ ความคิดของเราต้องไม่ใช่ “เขากำลังตลกขบขันในเรื่องอื่นกัน” หรือ “เขาชอบรองเท้าคู่ใหม่ของเรา” อะไรแบบนี้แน่ๆ แต่เราจะคิดและรู้สึกว่า “เขากำลังนินทาเรา” หรือ “เราแต่งตัวดูไม่ดีหรือเปล่า” ความคิดเชิงลบของเราจะพรั่งพรูออกมามากมายจากสถานการณ์เดียว โดยที่เราอาจจะไม่รู้ความจริงซะด้วยซ้ำ จนกระทั่งเราเริ่มได้สติ เราอาจจะเริ่มคิดได้ว่า “เราไม่มีอะไรให้พวกเขานินทาเลยนะ ทำไมเราต้องคิดแบบนั้นล่ะ” และเราเสียเวลาไปทั้งวันกับการถือเอาเรื่องตรงนี้เป็นเรื่องส่วนตัวไปเรียบร้อยแล้ว

    “การคิดแง่บวกไม่ถือทุกอย่างเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องของการมีวินัยและการฝึกซ้อม”

    นี่คือเหตุผลที่ Frederik เลือกเป็นผู้ตัดสินในกีฬาฟุตบอล เขาฝึกตัวเองทุกวัน คุยกับหุ่นก่อนการแข่งขัน ให้กำลังใจตัวเองในห้องแต่งตัว อาชีพนี้ไม่ได้ต้องการแค่อุ่นเครื่องร่างกายก่อนลงสนามเท่านั้น แต่ยังต้องเตรียมจิตใจให้พร้อมก่อนลงสนามอีกด้วย เพราะเขารู้ว่าเขาจะต้องเจอกับเหตุการณ์อะไรมากมายในสนาม

    “กลยุทธ์แรก ใช้ได้จริง แต่ก็ไม่ตลอดทุกสถาณการณ์”

    แม้เราจะฝึกสมองและจิตใจมาอย่างหนัก แต่บางครั้งมันก็เจ็บปวดเกินกว่าที่เราจะให้เห็นใจคนอื่น แล้วคิดว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องของตัวเอง เหรียญยังมีสองด้าน กลยุทธ์นี้ก็เช่นกัน ในเมื่อเราคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเองแล้วไม่ได้ผล ถ้าอย่างงั้นก็ลองคิดว่ามันเป็นเรื่องของเราดู ก็อาจจะได้ผล

    “เรื่องนี้ มันเป็นเรื่องของฉัน”

    บางครั้งการโยนเรื่องทั้งหมดทิ้งไป ไม่ถือเป็นเรื่องส่วนตัวก็ยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ เพราะในใจลึกๆ เราก็รู้ดีว่า ในบรรดาคำวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นั้น มันมีความจริงปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย กลับไปที่ตัวอย่างในยามที่เราขับรถอยู่บนท้องถนน ในตอนที่เราโดนบีบแตรใส่ รถคันนั้นอาจจะรีบก็จริง แต่หากลองหยุดแล้วตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เราเองหรือเปล่าที่ขับช้าเกินไป?”

    “ทุกอย่างมันเกิดขึ้น เพราะเรารู้ว่ามันมีความจริงในนั้น”

    คำวิพากษ์วิจารณ์มากมายที่เราได้รับในแต่ละวัน บางส่วนอาจสะท้อนความจริงให้เราเห็นอยู่ในนั้น เราอาจจะติดพฤติกรรมมาตั้งแต่เด็กจนเกิดเป็นความเคยชิน ในยามที่มีคนพูดถึงเรื่องของเราในทางที่ไม่ดี เราจะนึกโกรธเขา ไม่พอใจเขา ทั้งๆ ที่บางเรื่องมันเป็นความจริงที่เราเองก็ควรจะต้องปรับปรุง อันที่จริงแล้ว มันง่ายมากเลย เพียงแค่มองตัวเอง ยอมรับ แล้วลองปรับปรุงตัวเองดูสักหน่อย เรื่องส่วนตัวที่น่าหงุดหงิดใจ อาจจะกลายเป็นเปลี่ยนเราไปในทางที่ดีขึ้น โดยที่เราไม่ต้องมาถือเรื่องตรงนี้เป็นเรื่องส่วนตัวอีกต่อไปก็ได้

    “ถึงเวลาต้องเห็นใจตัวเองกันบ้างแล้ว”

    ในกลยุทธ์แรก ให้มองทุกอย่างไม่ใช่เรื่องของตัวเอง และเริ่มเห็นใจคนอื่นบ้าง แต่ในกลยุทธ์ข้อนี้ ให้เริ่มมองมันให้เป็นเรื่องของตัวเอง เพราะฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเห็นใจตัวเองกันบ้าง ในวันแย่ๆ ที่เราเองก็ต้องการใครสักคนเข้าใจ แต่ก็ยังมีเรื่องให้เอามาใส่ใจไม่หยุดจนหนักอึ้งไปหมด แค่เพียงเราลองพูดออกมา ถึงสิ่งที่อยู่ในใจ ความรู้สึกที่แน่นอยู่ข้างใน ในตอนที่มีคนเดินไปทำอย่างอื่นขณะที่คุณกำลังพูด ลองพูดกับเขาบ้างว่าทำแบบนี้ทำให้คุณรู้สึกไม่ดีเลย อย่าทำแบบนี้ได้ไหม? การเปิดกว้างยอมรับความอ่อนแอ แล้วพูดออกไปไม่ใช่เรื่องแย่ มันยังช่วยให้คนอื่นเข้าใจเรามากขึ้นอีกด้วย

    “อย่าถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัว เพราะมันมีแต่ทำให้เราแย่ลง”

    เพราะทุกคนรู้ว่ามันเหนื่อยขนาดไหน ในการวางเรื่องอะไรลงไม่ได้เลย การแบกมันเดินไปไหนต่อไหน มันไม่ได้เกิดผลดีกับตัวเราเองเลยสักนิด ถ้าเราไม่อยากถือสิ่งใดเป็นเรื่องส่วนตัว อย่างแรกเราก็แค่คิดว่ามันไม่ใช่เรื่องของเรา แล้วลองมองในมุมของคนอื่นดู เห็นอกเห็นใจพวกเขาดู แต่ถ้าไม่ได้ผล เราต้องเริ่มคิดแล้วว่ามันเป็นเรื่องของเรา เห็นใจตัวเองให้มากๆ แล้วให้พูดออกมาเลยถึงสิ่งที่อัดอั้นอยู่ข้างใน

    บทสรุป

    อย่าถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัว คงไม่มีใครอยากยึดถือทุกเรื่องมาเป็นเรื่องส่วนตัวอยู่แล้ว แต่ก็แย่ตรงที่เราไม่สามารถควบคุมความคิดและจิตใจตรงนั้นของเราได้ การไม่ยึดถือเรื่องต่างๆ เป็นเรื่องส่วนตัวจึงเป็นเรื่องของการฝึกฝน การปฏิบัติ ที่ต้องการการฝึกซ้อม

    ในครั้งสองครั้งแรกที่เราพยายามขว้างเหล่าคำวิพากษ์วิจารณ์หนักหัวพวกไหนออกไป มันอาจจะออกไปไม่หมด หรือ อาจจะไม่ออกไปเลย แต่ถ้าเราฝึกซ้อม แล้วทำมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ เราก็จะไม่ต้องแบกอะไรหนักๆ เดินไปไหนมาไหนอีกต่อไป และ ในที่สุดมันก็จะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของเราอีกต่อไปแล้ว

    “คนมากมายอาจจะทำร้ายคุณด้วยการวิพากษ์วิจารณ์หรือการเพิกเฉย พวกเขาอาจจะทำให้คุณแย่ด้วยคำพูดของพวกเขา บดขยี้คุณ แล้วเดินผ่านไปเฉยๆ แต่จงจำไว้ว่า ไม่ว่าพวกเขาจะทำหรือพูดอะไร คุณจะยังเป็นคุณ ต้องรักษาคุณค่าในตัวเองเอาไว้เสมอ”

    How not to take things personally? | Frederik Imbo

    บทความแนะนำ : นิสัยที่ไม่ดี ของตัวเรา ส่งผลอย่างไรกับชีวิตของเรา แล้วเราจะแก้ไขอย่างไรดี?

    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleควบคุมโรคติดเชื้อ ด่านแรก…ของด่านหน้า รพ. ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
    Next Article กายภาพบำบัด ภารกิจสำคัญในการฟื้นคืนร่างกายของเรา
    mypilottest01

      Related Posts

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      เคยจำศัพท์ได้ แต่ถึงเวลาเอาออกมาใช้ไม่ได้ แถมลืมง่ายอีกด้วย เคยไหม?

      มกราคม 26, 2025

      รู้วิธีเลือกฝึก ให้ถูกจุด คุณก็สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนมือโปรใน 3 เดือน!

      มกราคม 25, 2025

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?