Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»InMind»เตรียมสอบอย่างไรไม่ให้เครียด – กิจกรรมบำบัดเรียนดี ห่างไกลซึมเศร้า
    InMind

    เตรียมสอบอย่างไรไม่ให้เครียด – กิจกรรมบำบัดเรียนดี ห่างไกลซึมเศร้า

    mypilottest01By mypilottest01พฤษภาคม 16, 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    เตรียมสอบอย่างไรไม่ให้เครียด เป็นประเด็นที่นักเรียน นิสิต นักศึกษาต่างก็อยากรู้ว่าควรทำอย่างไร? เขาจะรับมือกับความเครียดอย่างไร? เพราะการสอบในแต่ละครั้งมีความสำคัญต่ออนาคตของพวกเขา

    การสอบ คือ การแข่งขันประเภทที่สามารถตัดสินชีวิตของนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยและนักเรียนมัธยมที่จะต้องโบกมือลาโรงเรียนแล้วเข้าสู่มหาวิทยาลัยที่ตัวเองหวังเอาไว้ การศึกษาทำให้เราเคยชินกับความเครียด ความวิตกกังวล อาการปวดหัว นอนไม่หลับ หรือข่าวเด็กเครียดเรื่องการสอบจนสุขภาพย่ำแย่ หนักที่สุดคือพวกเขายอมแพ้ให้กับความผิดหวังจากผลลัพธ์ที่ไม่เป็นตามที่หวัง

    เตรียมสอบอย่างไรไม่ให้เครียด - กิจกรรมบำบัดเรียนดี ห่างไกลซึมเศร้า

    พูดอีกทางหนึ่งการสอบก็เหมือนการก่อโศกนาฎกรรมทางการศึกษาเหมือนกัน ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีการหยุดโศกนาฏกรรมนี้ไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก วันนี้แอดมี โครงการเสวนา ในหัวข้อ “เตรียมสอบอย่างไรไม่ให้เครียด : กิจกรรมบำบัดเรียนดี ไม่ซึมเศร้า” ที่ได้ผศ.ดร.ก.บ. ศุภลักษณ์ เข็มทอง และ อ.ดร.ก.บ. วินัย ฉัตรทอง อาจารย์ประจำจากคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลมาให้ความรู้กับเราในครั้งนี้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วิธีการสอบอย่างไรไม่ให้เครียดกันเลย

    สมองอาจจะดูเหมือนเป็นอวัยวะที่ซับซ้อน แต่เมื่อเราลองวัดคลื่นสมองออกมา เราจะได้ข้อมูลออกมาเป็นภาพอย่างชัดเจน ตำแหน่งที่เครื่องวัดคลื่นสมองดูคือสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญ มีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม แก้ปัญหา การวางแผน ควบคุมอารมณ์ การแสดงออกทางอารมณ์ ข่าวดีก็คือ สมองส่วนหน้าเป็นตำแหน่งที่สามารถฝึกได้

    1. ความจำ
    2. ควบคุมอารมณ์
    3. จับจังหวะเวลา

    การเปลี่ยนแปลงสมองเพื่อทำให้ความเครียดที่ส่งผลเสียต่อร่างกายกลายเป็นความเครียดบวกที่ส่งผลดีต่อร่างกายสามารถทำได้โดยการฝึกฝนและการฝึกอารมณ์

    เทคนิคที่จะช่วยฝึกฝนให้สมองส่วนหน้าจดจำได้ดี

    1. การฟัง: ให้ทุกคนลองสังเกตตัวเองดูว่าหูข้างไหนของเราเป็นข้างที่รับฟังได้ดี โดยการเปิดแขนทั้ง 2 ข้างออก ตั้งศอกขึ้น แล้วอังลมเข้ามาที่หู ทำทั้งหมด 3 ครั้ง ลองสังเกตดูว่าหูข้างไหนคือข้างที่เราได้ยินเสียงลมชัดที่สุด

    “เสียงลมข้างขวาชัด หมายความว่าเราจะต้องจัดการตัวเองในเรื่องของอารมณ์ อาจจะเป็นคนเครียดง่าย หรือกำลังตื่นเต้น”

    วิธีฝึก: สำหรับคนที่เครียดง่ายหรือมีอาการตื่นเต้น ให้วางมือทับกันเป็นกากบาททาบอกไว้ ยกขาขวาขึ้น เอียงหูขวาเพื่อให้หูขวาทำงาน แล้วนับเลขโดยออกเสียง 1-30 หากมีอาการเซเหมือนจะล้ม ให้กางแขนออก แต่ยังคงต้องเอียงหูขวาอยู่เช่นเดิม เมื่อทำเสร็จแล้วให้ลองทดสอบหูของเราใหม่อีกครั้งหนึ่ง หากเราได้ยินเสียงเบาลง ไม่ได้ชัดเหมือนในรอบแรกหมายความว่าความเครียดหรือความตื่นเต้นเราลดลงแล้ว

    “เสียงลมข้างซ้ายชัด หมายความว่าเราเป็นคนคิดมาก เพราะหูข้างซ้ายคือหูที่เป็นเหตุเป็นผล”

    วิธีฝึก: ให้เอานิ้วกลางแหย่เข้าไปในรูหู แล้วเอานิ้วไว้หลังหู แล้วดึงหูไปข้างหลัง ทำแบบเดิม 3 ครั้ง การทำแบบนี้จะกระตุ้นประสาทอัตโนมัติของหูชั้นใน หากเราทำแล้วลองแตะที่หัวใจ จะพบว่าหัวใจเราเต้นช้าลงเพราะเราคิดน้อยลงแล้ว

    การจัดการความเครียด สามารถทำได้ทั้งก่อนเข้าห้องเรียน ก่อนอ่านหนังสือ หรือก่อนทำอะไรก็ได้ที่เรารู้สึกว่าจะสร้างความเครียดให้แก่เรา

    2. เห็นภาพ: ในการสอบแต่ละครั้ง เราอาจจะต้องอ่านหนังสือเล่มหนาๆ 200-300 หน้า และอาจจะไม่ใช่แค่เล่มเดียว แถมยังไม่รวมชีทเรียนที่อาจารย์ให้อ่านเพิ่มเติมอีก จึงไม่แปลกเลยถ้าเราจะไม่สามารถจดจำเนื้อหาของหนังสือทุกหน้าเหล่านั้นได้ เทคนิคเห็นภาพในข้อนี้จะแนะนำให้ทุกคนใช้ เทคนิคภาพสี

    เทคนิคภาพสี คือ ให้เราใช้สีที่ชอบเน้นคำที่สำคัญ หรือขีดข้อความที่เราต้องการเอาไว้ สีที่ใช้ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก จริงๆ แล้วสมองเราสามารถรับได้แค่ 2 สีเท่านั้นคือ สีเขียวอ่อนและสีฟ้าอ่อน โดยทั่วไปสมองจะรับรู้ 2 สีนี้ต่างกัน คำสำคัญที่เราเจาะลึกไปเพื่ออ่านต่อหรือนำมาเปลี่ยนเป็นภาษาของเราให้เป็นสีเขียวอ่อน เมื่ออ่านรอบที่ 2 แล้วต้องการเก็งข้อสอบว่าข้อนี้ บทนี้ บรรทัดนี้ อาจารย์เน้นย้ำมาว่าออกข้อสอบแน่นอน ให้ใช้สีฟ้าอ่อน หรือถ้ามีเวลามากพอให้ใช้สีฟ้าอ่อนในการเขียนสิ่งที่อ่านด้วยภาษาของตนเอง แล้วใช้สีเขียวอ่อนเน้นคำสำคัญไว้ด้วย

    “อย่าคิดว่าอ่านรอบเดียวแล้วจำได้ สมองต้องการการอ่านอย่างน้อย 2 รอบขึ้นไป”

    มั่นใจ จำได้ จำแม่น เข้าใจ

    นอกจาก 2 เทคนิคข้างต้นที่จะช่วยเราได้แล้ว บางครั้งเราเองก็ต้องเปลี่ยนวิธีจากการตั้งใจฟังหรือขีดเขียนลงสมุดเป็นสูตรโกงโดยการกระตุ้นให้สมองช่วยเราตัดสินใจว่าส่วนไหนเป็นส่วนที่สำคัญ ให้เราชูสองนิ้วเหมือนสัญลักษณ์สู้ๆ ด้วยมือข้างที่ถนัดขึ้นมา เคาะเบาๆตรงหว่างคิ้วแล้วพูดว่า “มั่นใจ จำได้ จำแม่น เข้าใจ” พูดซ้ำ 3 รอบ การทำแบบนี้เป็นการช่วยปลุกอารมณ์บวก เพราะสมองส่วนที่เราเคาะเป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุม ยับยั้ง และตัดสินใจ ดังนั้นเมื่อเราเคาะลงบนจุดนี้ก่อนอ่านหนังสือ เราจะรู้ว่าเราควรอ่านส่วนไหน บรรทัดไหนที่สำคัญ และบรรทัดที่สามารถออกได้

    “สมองสนใจการอ่านการเขียนในหนังสือหรือสมุด มากกว่า IPad”

    ในปัจจุบัน iPad ได้เข้ามามีบทบาทในการเรียนมาก บางคนใช้ iPad บ่อยกว่าสมุดจดด้วยซ้ำ แต่เมื่อลองวัดคลื่นสมองดูของนักเรียนหรือนักศึกษาตอนจดสิ่งที่เรียนโดยใช้ iPad จะมีความถี่ของคลื่นสมองสูงกว่าเขียนใส่กระดาษ ซึ่งความถี่สูงหมายความว่าเรากำลังเกิดความเครียด และความถี่ต่ำหมายถึงเรากำลังผ่อนคลายและมีความกังวลน้อย

    “มีเวลาอ่าน ก็ต้องมีเวลาพัก”

    เรามักนั่งอ่านหนังสือนานเกินความพอดีโดยไม่รู้ตัว เพราะเราคิดว่ายิ่งอ่านเยอะเท่าไร ก็จะยิ่งทำข้อสอบได้มากเท่านั้น แต่การนั่งนานๆ จะทำให้สมองล้าและสมองเสื่อมเร็วขึ้น จากการศึกษาพบว่าการนั่งนานเกิน 90 นาที สมองจะรับไม่ไหว เกิดอาการอ่อนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการง่วงหรือปวดหัว ยิ่งถ้าหากเราใช้ IPad ในการเรียนจะทำลายสมองของพวกแน่นอน อย่างน้อยควรมีเวลาพักให้นักเรียนหรือนักศึกษาได้ขยับร่างกายทุกๆ 30 นาที

    วิธีการขยับร่างกาย

    วิธีง่ายๆในการขยับร่างกาย คือให้ปล่อยมือทั้ง 2 ข้างทิ้งไว้ข้างลำตัว กำแบมือข้างซ้าย 10 ที แล้วเปลี่ยนกำแบมือข้างขวาอีก 10 ที ทำช้าๆ โดยจดจ่อและมีสมาธิขณะที่ทำ การกำแบเช่นนี้เป็นเทคนิคจากญี่ปุ่นสามารถช่วยลดความดันของเลือดได้ เวลาที่เรานั่งนานเกินไปเลือดจะส่งไปเลี้ยงหัวใจเยอะ แต่ไม่เลี้ยงสมอง แต่เพื่อให้ปลอดภัยต่อหัวใจเราควรกำแบทีละข้าง การทำแบบนี้จะทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

    “นิ้วโป้ง ความกังวล”

    นี่คือวิธีจากประเทศญี่ปุ่น ใช้ก่อนที่เราจะเข้าห้องสอบหรือก่อนอ่านหนังสือ เป็นช่วงเวลาที่อารมณ์เราเองไม่ค่อยนิ่ง เช่น กังวล กลัว เครียด กดดัน เป็นต้น ให้แบมือยื่นไปข้างหน้าทั้ง 2 ข้าง เอามือขวาห่อนิ้วโป้งนิ้วซ้าย วางไว้ตรงไหนก็ได้ประมาณ 1 นาที ให้พูดกับตัวเองว่า “ไม่ต้องกังวล เราจะทำได้ดี” ระหว่างทำจะเดินหรือนั่งก็ได้

    “นิ้วชี้และนิ้วกลาง ความกลัวและความโกรธ”

    สิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวดจากผลลัพธ์ของการสอบก็คือ ความคาดหวัง โดยเฉพาะเด็ก Gen Z ในยุคนี้ พวกเขาจะมีความคาดหวังในตัวเองสูง ทะเยอทะยาน ยอมลงทุนลงแรงอย่างหนักเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เมื่อทุกอย่างไม่เป็นอย่างที่หวัง ความกลัวจึงกลายเป็นความโกรธ ความกลัวและความโกรธของเราคือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ให้เราเอามือห่อนิ้วชี้กับนิ้วกลางไว้ แล้วพูดกับตัวเองว่า “หายกลัว หายโกรธข้อสอบ เราทำได้” ต้องกล้าที่จะพูดกับตนเอง ยิ่งถ้าพูดออกเสียงจะได้ผลดีมาก ใช้เวลาเพียงแค่ 1 นาทีเท่านั้น

    เทคนิคคลายเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ

    ก่อนอาบน้ำหรือล้างหน้า ยืนแยกขาออกทั้ง 2 ข้าง แยกเท้าออก ย่อตัวลงเรื่อยๆ พร้อมยื่นมือไปข้างหน้านับ 1-12 แล้วยืนขึ้น ทำแบบนี้ทั้งหมด 10 ครั้ง การทำแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายของเราสร้างกล้ามเนื้อสีชมพูขึ้นใหม่ นอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังช่วยคลายเครียดอีกด้วย เป็นเทคนิคจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถ้าเป็นคนญี่ปุ่นจะทำทั้งหมด 30 ครั้ง ช่วยทำให้ร่างกายและจิตใจของเราแข็งแรงและคลายเครียดได้จริง

    เตรียมสอบอย่างไรไม่ให้เครียด - กิจกรรมบำบัดเรียนดี ห่างไกลซึมเศร้า

    เมื่อถามว่านักศึกษาหรือนักเรียนต้องเผชิญกับปัญหาอะไรบ้างในช่วงการสอบ คงหนีไม่พ้นปัญหาอย่างอาการนอนไม่หลับ สมาธิหลุดเพราะมีเสียงรบกวน ไม่รู้ว่าควรจะอ่านหนังสือตอนไหนถึงจะจำได้ดีที่สุด หรือควรจะนอนอย่างไรให้อ่านหนังสือทันและพักผ่อนเพียงพอ เป็นต้น วันนี้แอดได้เอาคำตอบจากดร.ป๊อบมาฝากทุกคนแล้ว

    • อาการนอนไม่หลับ: เพราะเมื่อใกล้สอบ เด็กส่วนใหญ่จะเครียดจนนอนไม่หลับหรือรู้สึกว่าไม่ควรนอนเพราะควรเอาเวลามาอ่านหนังสือดีกว่า แต่ความจริงแล้วก็จำให้ได้ดี ทุกคนควรนอนให้ครบ 6 ชั่วโมง หากเรานอนประมาณ 15 นาทีหรือนอนน้อย เราจะเกิดอาการนอนไม่เต็มอิ่ม ไม่สามารถจดจำข้อมูลอะไรได้เลย และการนอนน้อยจะกระตุ้นให้เกิดอาการวิตกกังวลอีกด้วย
    • อ่านหนังสือมีเสียงรบกวนแล้วสมาธิหลุด: การที่ได้ยินเสียงรบกวนแล้วสมาธิหลุด อย่างแรกเลยคือเราต้องเช็กก่อนว่าข้างที่เราได้ยินคือหูซ้ายหรือหูขวา โดยใช้วิธีเอามือดันลมเข้ามาหาหูอย่างที่ได้สอนไปข้างต้น ถ้าเป็นหูขวาแสดงว่าเราอยู่ในอารมณ์หาเรื่อง เราก็ต้องใช้วิธีการจัดการอารมณ์ แต่หากเป็นหูซ้ายแปลว่าเรากำลังคิดมาก ให้ใช้วิธีจัดการความคิดมากและความวิตกกังวลของเรา เพื่อให้เรากลับมามีสมาธิอ่านหนังสือได้ดังเดิม
    • ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการอ่านหนังสือมากที่สุด: จริงๆแล้วทุกช่วงเวลาเราสามารถอ่านหนังสือได้ ลองหามุมเงียบๆ การอ่านหนังสือขึ้นอยู่กับสมาธิของเรา แต่ถ้าดีที่สุดคือช่วงเช้า ทานอาหารเช้า 7 โมงถึง 9 โมงเช้า อาหารกำลังไปเลี้ยงสมองสามารถอ่านหนังสือต่อโดยที่สมองยังแอคทีฟได้เลย หรือถ้าใครเป็นคนที่สามารถตื่นเช้ามากได้ ช่วงเวลาตี 4 ถึง 6 โมงเช้าเป็นช่วงเวลาที่สมองพร้อมที่จะเปิดรับมาก แต่ต้องนอนเร็วให้ครบ 6 ชั่วโมงก่อนอ่านด้วย
    • เวลานอนที่ดีที่สุด: เนื่องจาก Gen Z มักตั้งความหวังไว้กับการสอบสูง จึงทำให้หลายคนฝืนตัวเองในการอ่านหนังสือถึงดึก บางคนก็อ่านหนังสือจนถึงเช้า และบางคนก็เลือกที่จะไม่นอนเลย แต่เวลานอนที่ดีที่สุดสำหรับการเตรียมตัวก่อนสอบก็คือ 4-5 ทุ่ม แต่หากหัวถึงหมอนแล้วเรายังกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ให้ทำตามเทคนิคของญี่ปุ่นที่ช่วยลดความเครียดทั้งร่างกายและจิตใจก่อนนอน

    บทสรุป

    การสอบไม่ได้หมายความว่าเราจะผิดพลาดไม่ได้ อย่ามองว่าการสอบเป็นการแข่งขันที่ต้องเอาชนะคนอื่น ให้มองว่าการสอบเป็นเหมือนการแข่งกับตัวเอง วันนี้เราผิดพลาดได้ พรุ่งนี้เราจะดีขึ้น อย่าเปรียบเทียบกับคนอื่น อย่าเปรียบเทียบคะแนนตัวเองกับคะแนนที่อาจารย์พูด อย่าเปรียบเทียบสิ่งที่ตัวเองเป็นกับความคาดหวังของครอบครัว สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราแบกความคาดหวังมากเกินจนเราเกิดความวิตกกังวลขึ้น

    เมื่อเราคาดหวังสูงเราจะเกิดความโกรธตัวเองขึ้น เราต้องคลายความกลัวและความโกรธของเราให้ได้ สิ่งที่ต้องทำคือล้มแล้วลุกให้เร็ว อะไรที่เราผิดพลาด เปิดใจยอมรับแล้วแก้ไขมัน พัฒนาตัวเองต่อไป ชีวิตทุกคนยังมีเส้นทางเดินต่อไปเสมอ

    “เราจะเรียนรู้และแข็งแกร่งขึ้นจากความกลัวและความวิตกกังวล”

    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleSolving Hunger by Solving Food Waste – หนทางแก้ปัญหาสู่ความยั่งยืน
    Next Article How great leaders inspire action – ผู้นำสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ตามได้อย่างไร?
    mypilottest01

      Related Posts

      Imposter Syndrome: วิธีจัดการและสร้างความมั่นใจด้วย Self-Coaching

      มกราคม 5, 2025

      นอนหลับเพียงพอ เพื่อความเป็นผู้นำที่ดี เคล็ดลับเพื่อประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

      มิถุนายน 17, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?