Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»Technology»Mobiles»เมื่อความเบื่อหน่าย นำพาไปสู่ความคิดอันยอดเยี่ยมได้
    Mobiles

    เมื่อความเบื่อหน่าย นำพาไปสู่ความคิดอันยอดเยี่ยมได้

    ทีมงาน The PracticalBy ทีมงาน The Practicalมกราคม 5, 2023Updated:พฤษภาคม 19, 2025ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    เมื่อความเบื่อหน่าย นำพาเราไปสู่ความคิดอันยอดเยี่ยม จริงหรือที่ความเบื่อหน่ายจะนำพาเราออกไปเจอความคิดดีๆ ได้? วันนี้เรามาลองมาหาคำตอบกัน กับเรื่อง How boredom can lead to you brilliant ideas เป็นอีกหนึ่งตอนที่น่าสนใจจาก TED ที่บรรยายโดย Manoush Zomorodi เชื่อว่าหลังจากที่พวกเราได้อ่านและได้ชมเรื่องนี้ เราคงจะได้วิธีการรับมือ เมื่อความเบื่อหน่าย มาเยือน

    10 ปีที่แล้ว เรามีการเปลี่ยนความคิดในสมองจากสิ่งหนึ่งสู่อีกสิ่งหนึ่งในทุกๆ 3 นาที แต่จากการงานวิจัยล่าสุดทำให้เราพบว่าตอนนี้เรามีการเปลี่ยนแปลงความคิดทุกๆ 45 วินาทีแทน เราเช็คข้อความกันประมาณ 74 ครั้งต่อวัน เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ถึง 566 ครั้งต่อวัน และจากการใช้ชีวิตจนกระทั่งหมดอายุขัย เราใช้เวลารวมกันกว่า 2 ปีในการเล่น Facebook

    “ให้ตายเถอะ คิดว่าฉันไม่เบื่อหรอไง”

    Manoush Zomorodi เธอเคยมีอาชีพเป็นนักข่าวไฟแรง มีความกระฉับกระเฉงว่องไวในการไปถึงที่เกิดเหตุให้ทันก่อนใคร แน่นอนว่าเธอมักเป็นคนแรกเสมอในหลายเหตุการณ์สำคัญในข่าว แต่แล้วทุกอย่างก็ต้องพลิกผันไปเมื่อในวันที่ทุกคนต่อแถวไปซื้อโทรศัพท์ไอโฟน เธอยุ่งมือเป็นระวิงอยู่กับเด็กน้อยที่มีอาการโคลิค ทำให้ความคล่องแคล่วว่องไวของเธอไม่ได้ใช้การเลยนานกว่าสามเดือน จนกระทั่งอาการโคลิคของลูกเธอหายไป

    “ฉันระหกระเหินอยู่กับการลงมือทำ ฉันเป็นแม่ที่สนามเด็กเล่น ขณะที่เป็นนักข่าวในทวิตเตอร์”

    กว่าสามเดือนที่เธอล่องลอยอยู่กับความคิดที่ว่า “ถ้าฉันได้นอนหลับเต็มอิ่มอีกครั้ง ฉันจะทำอะไรดี” ในที่สุดมันก็เกิดขึ้น เมื่อลูกของเธอหายจากอาการโคลิคในที่สุด เธอตัดสินใจสานฝันเดินทางกับอาชีพในฝันของเธอด้วยการจัดวิทยุสาธารณะทางทวิตเตอร์ ซึ่งมันเป็นเรื่องดีมากที่สมาร์ทโฟนสามารถทำให้เธอเป็นทั้งแม่และนักข่าวได้ในเวลาเดียวกัน

    “ช่วงเวลาที่มีความคิดดีๆ ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อไรกัน?”

    ความอิ่มตัวเริ่มครอบงำกับอาชีพในฝันของเธอ ในขณะที่จัดรายการวิทยุอย่างที่เธอต้องการ ความคิดเกี่ยวกับการทำอย่างไรให้มีผู้ฟังเพิ่มขึ้นเริ่มว่างเปล่า การขุดคุ้ยภายในสมองที่ปลายอุโมงค์กลับไม่มีอะไรรออยู่ มันทำให้เธอเริ่มคิดย้อนกลับไปว่าเมื่อไรกันนะ ที่ความคิดสร้างสรรค์ของเธอพรั่งพรูออกมา และคำตอบที่เธอได้ก็คือ “ตอนเข็นรถเข็นเด็กที่แสนน่าเบื่อ”

    “ไม่ใช่คนน่าเบื่อเท่านั้นหรอกเหรอ ที่จะรู้สึกเบื่อได้น่ะ”

    เธอเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเบื่อที่เกิดขึ้น เพราะในตอนที่เธอสามารถคิดอะไรได้สร้างสรรค์ที่สุดๆ ดันเป็นตอนที่เธอคิดว่าชีวิตของเธอน่าเบื่อที่สุดๆ เช่นกัน จากการพูดคุยกับนักประสาทวิทยาและนักจิตวิทยาเพื่อหาคำตอบ เธอพบว่าเมื่อเราเริ่มฝันกลางวัน ปล่อยจิตใจให้ล่องลอยออกจากจิตสำนึก ดำดิ่งลงไปยังจิตใต้สำนึก สมองจะทำการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าหากัน แล้วคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป?

    “การตั้งเป้าหมายส่วนตัวในอนาคต”

    เราเรียกมันว่า “ดีฟอลต์โหมด” มันคือการที่สมองเชื่อมโยงความคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เราจะล่องลอยสู่การหวนคิดถึงเรื่องราวในอดีต ประสบการณ์ที่เราเคยได้รับ เชื่อมโยงกับเรื่องราวในปัจจุบัน และจินตนาการถึงอนาคต เกิดเป็นการตั้งเป้าหมายถึงสิ่งที่เราต้องการ และสมองจะทำการคำนวณวิธีการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นวิธีการในการบรรลุเป้าหมายในอนาคตที่เราได้ตั้งไว้

    “ทำให้มันเสร็จๆไปซะ”

    ดีฟอลต์โหมดของเรามันมีอุปสรรคอยู่เหมือนกัน มันคือชุดการกระทำที่เรียกว่า “การทำให้มันเสร็จๆไปซะ” เช่น การตอบข้อความ การเช็กข้อความ หรือกดเข้าแอปพลิเคชันแล้วไถมันแก้เบื่อ เป็นต้น ในช่วงเวลาที่คุณเปลี่ยนความสนใจจากสิ่งหนึ่งไปหาสิ่งอื่นแทน สมองของเราจะทำการสับสวิตช์สารเคมีในสมองของคุณซึ่งมันต้องใช้สารอาหารทั้งหมดในสมองเพื่อทำแบบนั้น และบางคนก็ไม่ทำแค่หนึ่งอย่างหรือสองอย่างพร้อมกัน แต่มากถึง 4-5 อย่างในเวลาเดียวกันเลยก็มี พอเราเปลี่ยนสิ่งที่ทำอยู่สมองก็จะดึงกลูโคสมาใช้ ที่สำคัญคือกลูโคสของเรามีจำกัดเสียด้วย

    “วัยรุ่นมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่ลดลง”

    จากงานวิจัยพบว่าเทคโนโลยีสมัยนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเมื่อเราเกิดอาการเบื่อหน่ายขึ้นมา โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และแอปพลิเคชันมากมายพร้อมที่จะเป็นตัวกำจัดความเบื่อเหล่านั้นให้หายไป และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมวัยรุ่นถึงมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่ลดลง พวกเขาไม่มีช่วงเวลาที่ล่องลอยออกไปสู่โลกแห่งจินตนาการ ไม่ได้จมดิ่งสู่จิตใต้สำนึกที่ทำให้สามารถตั้งเป้าหมายและหาวิธีการไปให้ถึงได้ด้วยการระดมความคิดในสมอง แต่สมองของพวกเขากำลังถูกปกคลุมไปด้วยเทคโนโลยี

    “ธุรกิจที่เรียกลูกค้าว่าผู้ใช้ มีแค่กลุ่มค้ายาเสพติดกับเทคโนโลยีเท่านั้นแหละ”

    Tristan Harris อดีตนักออกแบบของ Google เล่าว่าการที่ทุกคนไม่สามารถหยุดมอบความสนใจให้แก่แอปพลิเคชั่นต่างๆ ได้ไม่ใช่เรื่องผิดเลย เหล่าแอปพลิเคชั่นที่เป็นที่นิยมล้วนมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่มีวิธีในการเรียกความสนใจจากผู้ใช้ทุกคน พวกเขาจะมีวิธีที่ทำให้ผู้ใช้ทุกคนไม่อาจหยุดท่องเที่ยวบนแอปพลิเคชั่นของพวกเขาได้และจมเข้าสู่การเสพติดในที่สุด CEO ของเน็ตฟลิกซ์เองก็เคยกล่าวไว้ว่า “คู่แข่งใหญ่ของเน็ตฟลิกซ์คือ เฟซบุ๊ก ยูทูป และการนอนหลับ”

    “เมื่อไรก็ตามที่ผลิตภัณฑ์นั้นฟรี คุณนั้นแหละคือผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ความสนใจของพวกคุณคือผลิตภัณฑ์ราคาสูง”

    Antonio Garcia Martínez อดีตผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊กและนักเขียนเล่าว่า การเปิดหน้าเว็บขึ้นของผู้ใช้แต่ละคนทำให้เกิดการประมูลในหลักร้อยล้านพันล้านหลายครั้งต่อวัน ในกลุ่มธุรกิจของเทคโนโลยีทุกคนยอมจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อหาจำนวนครั้งที่ผู้ใช้เห็นโฆษณาที่อยู่ตามหน้าเว็บเหล่านั้น และส่วนใหญ่ของผู้ใช้มีการเปิดหน้าเว็บหลายเว็บต่อการใช้งานในเวลาเดียวกันอีกด้วย ความสนใจเหล่านี้เป็นความสนใจราคาแพงที่เหล่าผู้ใช้ได้จ่ายให้กับธุรกิจเทคโนโลยีเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว

    “ความเบื่อและความฉลาด”

    จากการศึกษามากมายทำให้ Manoush เกิดโครงการขึ้นชื่อว่า “Bored and Brilliant” มันคือโปรเจคที่หาผู้เข้าร่วมมาเพื่อลดการใช้โทรศัพท์ สังเกตพฤติกรรม และดึงให้พวกเขาเกิดความคิดที่สร้างสรรค์ขึ้น ซึ่งการดำเนินการของโครงการนี้จะมีภารกิจให้ทำในแต่ละวัน เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรเจคนี้ และมีการพูดคุยสอบถามความรู้สึกและความคิดของผู้เข้าร่วมอยู่ตลอด

    “ฉันใช้เวลากว่า 150-200 นาทีต่อวันไปกับโทรศัพท์ และฉันหยิบมันไปไหนมาไหน 70-100 ครั้ง มันเป็นเรื่องน่ากังวลมาก เพราะฉันไม่ได้ทำอะไรที่มีประโยชน์จริงๆเลย”

    ก่อนจะถึงสัปดาห์แห่งโครงการ Bored and Brilliant และหนึ่งในผู้วิจัยของเธอเล่าให้ฟังว่าเธอตกใจมากที่พบว่าตัวเองอยู่กับโทรศัพท์มากขนาดนี้ และวันทั้งวันเธอไม่ได้ทำอะไรที่มีประโยชน์หรือสร้างสรรค์ต่อตัวเธอเองเลย เพราะเมื่อเธออยู่กับโทรศัพท์ เธอจมลงไปในมันแบบโงหัวไม่ขึ้น และเธอไม่ทำอะไรอีกเลย

    “ฉันเบื่อมาก จังหวะนั้นฉันเหลือบสายตาไปเห็นขั้นบันไดและเริ่มคิดว่าฉันพอมีเวลาที่จะขึ้น แล้วกลับลงมานั่งตรงนี้ใหม่นะ ในท้ายที่สุดฉันค้นพบว่าตัวเองได้คาร์ดิโอโดยการขึ้นลงบันไดไปกว่า 10 รอบ”

    ภารกิจแรก คือการให้เลิกเล่นโทรศัพท์เป็นเวลาหนึ่งวัน แน่นอนว่าผู้เข้าร่วมโปรเจคนี้ทุกคนยอมรับว่าพวกเขากระวนกระวาย ลุกลี้ลุกลน และอึดอัดมากจากการไม่มีอะไรทำ แถมยังเล่นโทรศัพท์ไม่ได้ด้วย หนึ่งในผู้เข้าร่วมโปรเจคเล่าว่าเธอมาทำงานตามปกติ ซึ่งจะเร็วกว่าเวลาเริ่มงาน เมื่อเล่นโทรศัพท์ไม่ได้

    “สิ่งสำคัญกว่าตัวเลขผลลัพธ์ คือเรื่องราวของผู้เข้าร่วมโปรเจคนี้ต่างหาก”

    ในภารกิจถัดมา ผู้เข้าร่วมทุกคนต้องลบแอปพลิเคชั่นที่รู้สึกว่าพวกมันมีแรงดึงดูดสูงไปให้หมด ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ค อินสตราแกรม หรือเกมที่เล่นประจำตอนเบื่อ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกโหวงในตอนแรกเพราะมันเป็นเหมือนสิ่งที่ยึดติดและมักจะจมเข้าสู่โลกของพวกมันมาตลอด แต่ตอนนี้ต้องกำจัดโลกใบนั้นทิ้งแล้ว แต่สิ่งที่ได้หลังจากนั้นคือพวกเขามีเวลาในการทำอย่างอื่น เช่น กินข้าวกับครอบครัว ไปเดินเล่น มองนอกหน้าต่าง ชมวิว หรือแม้แต่การจมกับความห้วงความคิดแทนการจมกับเกมในโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันดีมากเลย แต่เมื่อเทียบกับผลลัพธ์ทางตัวเลขที่ได้จากโครงการนี้แล้ว พบว่าทุกคนมีการใช้โทรศัพท์ลดลงเพียงแค่ 6 นาทีต่อวันเท่านั้น

    “รู้สึกเหมือนได้ตื่นขึ้นมาจากการภาวะจำศีลทางจิต”

    Manoush ยอมรับว่าในตอนแรกที่ได้รับผลลัพธ์จากโครงการนี้แล้วพบว่าผู้เข้าร่วมกว่า 20,000 คน มีค่าเฉลี่ยการใช้โทรศัพท์ลดลงแค่ 6 นาทีต่อวัน ทำให้เธอรู้สึกแย่เล็กน้อยแต่นักประสาทวิทยาบอกกันเธอว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ในระยะเวลาอันสั้นเป็นเรื่องเพ้อฝัน ผลลัพธ์ที่เธอได้จากผู้เข้าร่วมทั้งหมดเป็นเรื่องมหัศจรรย์มากแล้ว เพราะผู้เข้าร่วมโครงการนี้ส่วนใหญ่มีเรื่องราวและได้รับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมกลับไป พวกเขาได้พบตัวเองในมุมมองใหม่ๆ และพวกเขายังสนใจที่จะค้นหาตัวเองเพิ่มขึ้นอีกด้วย

    “ความเบื่อเล็กน้อยทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น และช่วยเราในการตั้งเป้าหมายอีกด้วย”

    เราต้องมานั่งคิดกันใหม่เกี่ยวกับการเป็นคนออนไลน์ตลอดเวลา เชื่อมต่อตัวเองเข้ากลับเทคโนโลยีเพื่อกำจัดช่วงเวลาว่างหรือป้องกันการเกิดความเบื่อไม่ได้ดีเสมอไป ต่อไปเราจึงควรมีการสอนการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง เพื่อทำให้เด็กและวัยรุ่นกลับมาเป็นวัยที่มากด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์อีกครั้ง เรายังต้องการพวกเขาในการสนใจสิ่งรอบข้างที่อยู่นอกจอโทรศัพท์ และพวกเขายังต้องการการเรียนรู้และฝันกลางวันที่หาไม่ได้จากโทรศัพท์มือถือ

    บทสรุป

    โลกของเรากำลังถูกปกคลุมไปด้วยเทคโนโลยี คนมากมายติดโทรศัพท์ราวกับมันกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 เราต่างกลัวว่าตัวเองจะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้น เพราะมันไม่ใช่ความรู้สึกที่ดีที่ใครจะอยากมีเสียเท่าไร เรากำจัดมันทิ้งและหนีมันให้ห่างโดยที่ผลักตัวเองเข้าสู่โลกของจอโทรศัพท์มากขึ้น จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และฝันกลางวันที่หายไป ทำให้การจมดิ่งสู่จิตใต้สำนึกเพื่อหาเป้าหมายในอนาคตหายไป

    อย่าปล่อยให้ครั้งต่อไปที่คุณเริ่มขุดคุ้ยเข้าไปในความคิดเพื่อหาความปรารถนาในการทำอะไรสักอย่างเป็นความว่างเปล่า วางโทรศัพท์ลง เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ปล่อยให้ตัวเองฝันกลางวัน จินตนาการถึงเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากทำ ปล่อยให้สมองได้ทำหน้าที่ของมันได้การหาวิธีบรรลุเป้าหมาย ความเบื่ออาจจะไม่แย่อย่างที่คุณคิด

    “ตอนที่คุณหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาลองถามตัวเองดูว่าจะทำอะไร? ถ้าไม่มีคำตอบก็วางมันลงซะ อย่าให้โทรศัพท์มันตัดสินใจแทนคุณว่าต้องทำอะไร?”

    How Boredom Can Lead to Your Most Brilliant Ideas | Manoush Zomorodi

    Others
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleRefinance – รีไฟแนนซ์บ้านดีไหม? มาทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน
    Next Article Had a bad day? – ในยามที่เราต้องเจอกับวันที่ไม่ดี? นี่คือสิ่งที่เราควรทำ
    ทีมงาน The Practical

      Related Posts

      Start with Why | 10 บทเรียนสำคัญ ของ Simon Sinek ที่ผู้นำทุกคนต้องรู้

      มิถุนายน 3, 2024

      วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

      พฤษภาคม 25, 2024

      เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

      พฤษภาคม 23, 2024

      The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

      พฤศจิกายน 2, 2023

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?