เรากำลังเบื่องาน อยู่หรือเปล่า? แล้วเรารู้ตัวไหมว่าเราเบื่อเพราะอะไร? เพราะหลายๆ ครั้ง อาการเบื่องาน อาจจะเป็นผลมาจากภาวะอารมณ์ของเรา ที่เกิดจากการเก็บเอาปัญหาเพียงเล็กน้อย หรือ เรื่องจุกจิก กวนใจ เล็กน้อย ที่เกิดจากเพื่อนร่วมงาน มาทำให้เสียอารมณ์
อารมณ์ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความเบื่อ เพราะ ในเรื่องของการทำงาน มันมีความหลากหลายอารมณ์ซ่อนอยู่
ยกตัวอย่างเช่น ในบางวัน เราก็รู้สึกชอบและตื่นเต้นกับงานที่ทำ แต่พอวันถัดมา เรากลับรู็สึกว่าเบื่อมาก จนอยากจะลาออกใจจะขาด
เรากำลังเบื่องาน เกิดจากเหตุใดได้บ้าง?
ความเคยชิน คือ อีกเรื่องนึง ที่ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ดี แต่ความเคยชิน หรือ คุ้นชิน ก็สร้างความน่าเบื่อได้ง่ายเช่นกัน เพราะเมื่อใดก็ตาม ที่คนทำงานอย่างพวกเรา ทำงานที่ใดที่นึงไปสักระยะนึง เช่น ประมาณ สองปี ขึ้นไป เราจะพบว่าอาการเบื่องานของเรา มักจะมาบ่อย มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ เราจะหลุดปากเปรยเรื่องเบื่องานที่ทำออกมาเยอะกว่าในช่วงปีแรกๆ
ด้วยเหตุที่ว่า เราได้เลยช่วง Honeymoon Period หรือ ช่วงทดลองงาน ช่วงปรับตัว ในช่วงแรกไปแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ตื่นเต้นที่สุดของการทำงานในช่วงปีแรก อาการชอบ หรือ อาการตื่นเต้น ที่เคยมีมันก็หมดไป ทำให้อาการเคยชิน และ เฉื่อยชา เข้ามาแทนที่
แต่ปัญหาในเรื่องของความเบื่อหน่าย อาจจะไม่ได้หายไปง่ายๆ เพราะต้นเหตุของความเบื่อ มันไม่ได้มีแค่จากเราเพียงคนเดียว มันยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดจากบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และ คนในที่ทำงาน เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่า เรากำลังเบื่องาน และ จำเป็นต้องมองหาการเปลี่ยนแปลง
เรื่องของอาการเบื่องาน เราสามารถสังเกตตัวเองได้ไม่ยาก โดยดูได้จากอาการดังต่อไปนี้
โรคเบื่อวันจันทร์
อาการเบื่อวันจันทร์ มักจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ยามค่ำคืน ความรู้สึกของเราคือ เรามักจะรู้สึกหดหู่ใจ และไม่อยากให้เวลาผ่านไปเร็ว หรือ ไม่อยากให้ถึงเช้าวันจันทร์ เพราะวันจันทร์ คือ วันต้องไปทำงาน
ภาพในสมอง ชุดประสบการณ์ของเรา ก็มีแต่ภาพเดิมๆ บรรยากาศที่แสนน่าเบื่อ ไร้ความตื่นเต้น บางครั้งเราก็นึกถึงหน้าของกลุ่มคนที่ทำให้เราเบื่อ เราก็ยิ่งรู้สึกเบื่อหนักกว่าเดิม จนอยากจะป่วยเพื่อจะลาป่วย จะได้ไม่ต้องไปทำงานก็เป็นได้ เป็นต้น
โรคคิดถึงวันศุกร์ หรือ วันหยุด
หลังจากที่ได้ไปเริ่มงานวันแรกของสัปดาห์ ยังไม่ทันจบวัน เราก็โหยหาวันหยุดซะแล้ว อาการง่ายๆ ที่เกิดขึ้น คือ เรามักจะบ่นอยู่บ่อยๆ กับตนเอง หรือ กับเพื่อนร่วมงานบางคนว่า เมื่อใหร่จะถึงวันศุกร์เร็วๆ อยากให้เวลาทำงานผ่านไปเร็วๆ
แต่เอาเข้าจริง ควมรู้สึกที่เกิดขึ้นของเราก็คือ ทำไมเวลาในวันทำงานในแต่ละวันมันผ่านไปช้าเหลือเกิน หรือ อาการทำงานไปวันๆ แบบหมดไฟ พร้อมกับบ่นโหยหาวันหยุด โดยเฉพาะถ้าหากเดือนไหนมีวันหยุดยาวหลายวัน ก็จะยิ่งตั้งหน้าตั้งตารอเพื่อจะหยุด เป็นต้น
โรคป่วยการเมือง
เมื่อระดับความเบื่อถึงขีดสุด ด้วยความที่เบื่อ จนไม่อยากมาทำงานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว พอมีอาการ ป่วยนิด ป่วยหน่อย ก็จะถือเป็นโอกาส เป็นข้ออ้าง เพื่อขอลาป่วยเพื่อพักอยู่ที่บ้าน กลายเป็นคนป่วยไป
แต่การทำแบบนี้ หากทำไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นการสร้างความเสี่ยงให้กับหน้าที่การงานหรือ ความก้าวหน้าของตัวเองได้ เพราะ คนที่ป่วยแล้วลาบ่อยๆ มักจะลงเอยด้วยการถูกมองว่าไม่เต็มที่ หรือ ไม่ตั้งใจ ไม่ทุ่เทให้กับองค์กรได้เช่นกัน
สำหรับบางคน กลับรู้สึกว่า ถึงจะลาพัก ไม่ว่าจะเป็นลาป่วย หรือ ลาพักร้อน กลับมีผลดีประการนึง คือ การลาหลายครั้งก็เอางานของที่ทำงานมาทำที่บ้าน พบว่ากลับทำให้ผลงานดีกว่าทำที่ทำงานเสียอีก หรือ อาจจะเป็นไปได้ว่า บรรยากาศในที่ทำงาน ไม่สามารถดึงดูดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ หรือ กระตุ้นให้อยากทำงานก็เป็นได้
ยิ่งตอนนี้ การมาของโควิด ทำให้หลายองค์กรยอมรับเรื่อง Work From Home หรือ Work From Anywhere กันมากขึ้น ดังนั้น หากเงื่อนไขการทำงานเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องป่วยการเมืองก็ได้
โรคเบื่อคน
ในเรื่องของความเบื่อ หนักที่สุดในมุมมองของแอดมิน ก็คือ เบื่อคน ซึ่งเรื่องนี้น่าเป็นห่วงที่สุด ซึ่งเป็นไปได้ว่าความเบื่อ อาจจะเกิดจากการเบื่อเจ้านาย หรือ เบื่อเพื่อนร่วมงานบางคน ก็เป็นได้
โดยปัญหาประเภทนี้ โดยมากเกิดจากแนวคิด วิธีการทำงาน หรือ สไตล์การทำงานที่อาจจะไม่ตรงกัน หรือ เราอาจจะไม่เข้าพวกกับคนส่วนใหญ่ในที่ทำงาน มันก็เลยทำให้เกิดปัญหา มากกว่าที่จะได้ผลงาน
ดังนั้น การเรียนรู้ ในเรื่องวิธีการทำงาน หรือ สไตล์การทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะกับเพื่อนร่วมงาน และ จ้านาย อาจจะช่วยให้เราปรับตัวได้ง่ายมากขึ้น แต่ก็อาจจะไม่ง่ายสำหรับบางคน โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยชอบปรับตัว หรือ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ผลที่ตามมาก็อาจจะต้องทนกับความน่าเบื่อต่อไป
“ความเบื่อหน่าย หรือ ความเบื่อ จะส่งผลกระทบอย่างไรกับเราบ้าง?”
ความเบื่อหน่าย หรือ ความเบื่อ อาจจะทำให้เราหมดไฟในการทำงานได้ง่าย
ความเบื่อหน่าย อาจจะทำให้เราเฉี่อยชา และ ความเบื่อหน่าย อาจจะทำให้เราไม่อยากพัฒนาตนเอง เพราะ คิดไปว่าถึงพัฒนาไป ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่ได้คาดหวังหรือต้องการอะไรที่เติบโตก้าวหน้า เป็นต้น
ความเบื่อหน่าย จึงเป็นสัญญาณอันตราย ที่ทำให้คนเคยมีความสามารถ มีแรงบันดาลใจ มีความตั้งใจ กลับกลายเป็นคนที่หงุดหงิดง่าย เป็นคนที่อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ หรือ ทำให้เป็นคนที่ขาดความมั่นใจในตนเองได้
“การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการดำเนินชีวิต อาจจะเป็นหนทางนึงในการแก้ปัญหา”
แต่อาจจะเป็นแค่วิธีการแก้ปัญหาชั่วคราว เพราะ ถ้าเรายังต้องเผชิญกับปัญหา หรือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายจากเรื่องอื่นๆ
เช่น โรคเบื่อคน เบื่อเพื่อนร่วมงาน เบื่อเจ้านาย หรือ บรรยากาศที่ไม่น่าทำงาน ในที่ทำงานของเรา มันจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมากที่จะนำพาตัวเราเองออกจากวงจรของความน่าเบื่อนี้ได้
ถ้าเราต้องเผชิญกับสารพัดโรคที่ว่ามา และ พยายามแก้พฤติกรรมของตนเองก็แล้ว แต่มันยังไม่หายเบื่อ มันคงถึงเวลาแล้ว ที่เราอาจจะต้องตัดสินใจเปลี่ยนงาน
การเปลี่ยนงาน ช่วยได้ เพราะมันเป็นการยุติวงจรน่าเบื่อวงจรเดิมไป เพื่อไปเริ่มต้นกับสิ่งใหม่ สิ่งที่ตื่นเต้น สิ่งที่ท้าทาย และ โอกาสใหม่ๆ
“แต่ก็อย่าลืมว่า การเปลี่ยนงาน ก็เป็นแค่อีกหนึ่งทางเลือกนึงเท่านั้น”
เพราะพอเราได้ทำงานที่ใหม่ ไปสักพัก เราก็อาจจะกลับเข้าสู่วงจรที่น่าเบื่อหน่าย หรือ เบื่องานอีกก็เป็นได้ ก็อาจจะต้องหางานใหม่ ต้องย้ายอีก
เมื่อถึงจุดนึง เราจะย้ายงานไปตลอดคงไม่ได้ (ในที่สุดการย้ายที่ทำงาน ไม่สามารถแก้ปัญหาความน่าเบื่อได้) เราคงต้องหาวิธีการอื่นๆ ทำแก้เบื่อควบคู่กันไปด้วย เช่น หางานอดิเรกใหม่ๆ ทำ หรือ เรียนในสิ่งที่อยากเรียน หรือ หากิจกรรมใหม่ๆ กับคนกลุ่มใหม่ๆ ทำ หรือ การออกกำลังกาย ก็สามารถช่วยได้ เป็นต้น
ความน่าเบื่อจากการทำงาน ไม่ได้น่ากลัวเท่ากับ เราทำให้ตัวเราเองเป็นคนที่น่าเบื่อ
เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เรายังเป็นคนแบบนี้ เราก็จะไม่สามารถพาตัวเราเองออกจากวงจรน่าเบื่อได้อีกต่อไป เพราะเมื่อใดก็ตามที่ เรากำลังเบื่องาน นี่คือ สัญญาณบอกเหตุว่า เราจำเป็นต้องมองหาการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ขอให้ยุติวงจรที่แสนน่าเบื่อให้ได้ในเร็ววันนี้นะครับ มิฉะนั้น เราจะกลายเป็นคนที่น่าเบื่อถาวรตลอดไป
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ Growth Mindset และ Fixed Mindset สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
Growth Mindset และ Fixed Mindset คือ อะไร? และมีผลต่อตัวเราอย่างไร?