Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»โรคไต และไตเทียม กับโรคที่ไม่ใช่แค่โรคประจำตัวของผู้สูงอายุอีกต่อไป
    People Stories

    โรคไต และไตเทียม กับโรคที่ไม่ใช่แค่โรคประจำตัวของผู้สูงอายุอีกต่อไป

    ทีมงาน The PracticalBy ทีมงาน The Practicalกุมภาพันธ์ 12, 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    โรคไต และไตเทียม กลายเป็นโรคที่ไม่ใช่แค่โรคประจำตัวของผู้สูงอายุอีกต่อไป เพราะในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยโรคไตก็มีในกลุ่มที่มีอายุยังน้อย

    จากตอนที่แล้ว เราได้ไปดูการทำงานของแพทย์ด่านสุดท้าย แพทย์ที่ไม่ได้จ่ายยาหรือรักษาคนเพื่อให้ฟื้น แต่รักษาสิทธิ์ในการเอาสิ่งที่ศพต้องการจะสื่อเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรม สิ่งที่ศพไม่มีโอกาสได้พูด แพทย์นิติเวช จะเป็นคนที่พูดมันแทนให้

    มาถึงตอนนี้แอดจะพาทุกคนกลับสู่กระบวนการทำงานของโรงพยาบาลที่รักษาผู้คนให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นถึงคิวของศูนย์การรักษาที่ทุกคนคงได้ยินชื่อกันบ่อยๆ อยู่แล้วอย่าง ศูนย์ไตเทียมเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ดูแลเรื่องไตที่ใครก็ตามที่เป็นโรคไตอยู่ ถึงกับต้องแวะเวียนกันไปทุกสัปดาห์เลยทีเดียว วันนี้เราจะไปทำความรู้จักกับศูนย์นี้และการทำงานในเชิงลึกกันสักหน่อย จากบทสัมภาษณ์ของ พว.ศศิธร ทัศนศาสตร์ และ พว.ณัฐฐิกา จันทนพันธ์ พยาบาลวิชาชีพงานโรคไตและไตเทียม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    “แม้แต่คนอายุ 20 กว่าก็เข้ามาฟอกไตกันแล้ว”

    โรคไต และไตเทียม กับโรคที่ไม่ใช่แค่โรคประจำตัวของผู้สูงอายุอีกต่อไป

    ในปัจจุบันนี้มีความจริงเกี่ยวกับโรคไตที่หลายคนอาจจะไม่ทราบ ร้อยละ 17.6 ของคนไทยป่วยเป็นโรคไต คิดเป็นผู้ป่วยราว 8 ล้านคน มี 80,000 และคนเป็นไตวายระยะสุดท้าย ที่สำคัญคือมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็นทุกปี ถ้าดูจากจำนวนคนไข้ที่เข้ามาฟอกไต ปกติแล้วจะไม่ค่อยเต็มแต่ละรอบจะเหลือที่ว่างตลอด แต่ตอนนี้วันจันทร์-ศุกร์ มีคนไข้เข้ามาฟอกไตเต็มทุกรอบ นอกจากนี้เมื่อก่อนโรคไตถือเป็นโรคของผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว แต่ตอนนี้จำนวนกลุ่มคนไข้ที่เป็นโรคไตมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ

    “ความท้าทายของเราคือ ต้องทำให้คนไข้รับฟังและเชื่อ”

    โดยส่วนใหญ่แล้วคนไข้จะใช้ชีวิตปกติได้เลย ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงหรือต้องคุมเข้มจนเกินไป หน้าที่ของพยาบาลคือต้องหาวิธีทำอย่างไรให้คนไข้ยอมมาฟอกเลือดตรงตามที่แพทย์สั่ง จะมีบางกรณีที่คนไข้มาฟอกเลือดแค่ 2 ครั้งในสัปดาห์นั้น แต่หมอสั่งให้ฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์ คนไข้หลายคนไม่อยากมาฟอกเลือด นี่จึงเป็นหน้าที่สำคัญและท้าทายมากที่จะพูดอย่างไรให้คนไข้เข้าใจ รับฟัง และยอมทำตาม วิธีแก้ที่ใช้กันก็คือการแนะนำคนไข้เกี่ยวกับผลเสียของการฟอกเลือดไม่เพียงพอ เช่น ซึมลง เหนื่อยง่าย กินไม่ได้ เบื่ออาหาร อาเจียน เป็นต้น

    “หลายคนอาจจะยังยอมรับความจริงไม่ได้ กับการที่เขาเป็นโรคไตเรื้อรัง”

    คนที่เพิ่งเริ่มเข้ามาฟอกเลือดใหม่ๆบางคน ยังทำใจไม่ได้ และเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาที่จะยอมรับความจริงว่าตัวเองเป็นโรคไตเรื้อรัง การต้องเข้ามารับการฟอกเลือด 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจและทำตาม มันกลายเป็นความทุกข์ของพวกเขา พวกเขาจึงแสดงออกในเชิงต่อต้าน ไม่ยอมทำตามในแบบที่ควรจะทำ จึงต้องหาวิธีการคุยอย่างไรให้เขาเข้าใจว่าตอนนี้เขาอยู่ในระยะนี้แล้วควรปฏิบัติตัวแบบไหนเพื่อป้องกันการแทรกซ้อนของโรค เพราะภาวะแทรกซ้อนมีสิทธิ์จะเกิดขึ้นอยู่แล้วหากไม่ได้รับการดูแลที่ดี

    “ผู้ป่วยโรคไตเข้าใจทั้งหมดว่าต้องทำอะไร แต่ไม่ทำ”

    โรคไต และไตเทียม กับโรคที่ไม่ใช่แค่โรคประจำตัวของผู้สูงอายุอีกต่อไป

    นอกจากนี้ยังมีคนไข้อีกประเภทที่ได้รับการฟอกเลือดมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว พวกเขาจะบอกว่าตัวเองเข้าใจแล้ว มีความรู้ เรียนรู้มาจากพยาบาลอย่างดีแล้วว่าต้องทำอะไรบ้าง และควรทำตัวอย่างไร แต่ในความเป็นจริงเขายังไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง พอพยาบาลถามว่าต้องกินยาอะไรบ้าง ก็สามารถตอบได้แต่ไม่ได้ทำจริงตามที่บอกเลย

    ระดับความรุนแรงของ โรคไต

    ระดับความสุนแรงของโรคไต จะแบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังต่อไปนี้

    • ระยะเริ่มต้น หมออาจจะให้คุมอาหารที่สุ่มเสี่ยงการเป็นโรคไต เช่น หวานจัด เค็มจัด และการคุมโรคประจำตัวของตัวเองให้ดี
    • ระยะที่ 3 หมอจะเริ่มมีการพูดคุยเกี่ยวกับการเริ่มให้เตรียมตัวว่าเราเข้าสู่กลุ่มสุ่มเสี่ยงเยอะแล้วนะ ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปอาจจะต้องฟอกเลือด
    • ระยะที่ 5 ต้องได้รับการฟอกเลือดแล้ว ถ้ามาถึงระยะที่ 5 การฟอกเลือดจะอยู่ที่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และในการฟอกเลือดทุก 3 เดือน จะมีการประเมินความเพียงพอในการฟอกเลือดว่า ณ จุดที่คนไข้รับบริการฟอกเลือดอยู่ พวกอุปกรณ์ที่ใช้ น้ำยา ตัวกรอง เพียงพอไหมต่อการเอาของเสียออกไป ถ้ายังไม่เพียงพอก็จำเป็นต้องเพิ่มการนัดมาฟอกเลือดเป็น 3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยในการฟอกเลือดแต่ละครั้งจะใช้เวลา 4 ชั่วโมง

    พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุทำให้เป็นโรคไตได้

    ส่วนมากการเป็นโรคไตมักจะเกิดจากการไม่สามารถคุมโรคประจำตัวของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นโรค โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมัน หรือโรคหัวใจ เมื่อไรก็ตามที่เลือดไปเลี้ยงไตได้ไม่ดี ไตก็จะเสื่อมลงเองตามอายุอยู่แล้วด้วย เพราะฉะนั้นคนไข้บางรายจะมาด้วยอาการเหนื่อย ซึมเศร้า สับสน ตัวบวมขึ้น เมื่อมาตรวจจึงพบว่าตัวเองเป็นโรคไต

    โรคไต และไตเทียม กับโรคที่ไม่ใช่แค่โรคประจำตัวของผู้สูงอายุอีกต่อไป

    “การทำงานของไตเสื่อมไปตามวัยอยู่แล้ว”

    อย่างแรกเลยคือต้องทำความเข้าใจก่อนว่าถ้าเมื่อเราอายุมากขึ้น ไตมันจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาอยู่แล้ว เราห้ามการเสื่อมสภาพของมันไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้คือทำให้มันเสื่อมลงช้าที่สุด

    ถ้ามีโรคประจำตัว ควรควบคุมโรคประจำตัวให้ได้ เช่น โรคเบาหวาน ก็ควบคุมน้ำตาลให้ได้ โรคความดัน ก็ควบคุมความดันให้อยู่ในระบบปกติ ไขมันก็ควบคุมปริมาณอาหารให้ได้ หรืออย่างโรคเก๊าที่อาจจะดูเหมือนมันเป็นเรื่องเล็กๆ ไม่ใช่โรครุนแรงอะไร แต่มันสามารถเป็นสาเหตุทำให้ไตวายได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราควรระวังตั้งแต่เริ่มต้น

    อีกหนึ่งอย่างที่สำคัญคือการตรวจสุขภาพประจำปี ควรทำอย่างสม่ำเสมอ เราจะได้ติดตามผลเลือดของเรา และสามารถรับประทานอาหารได้ถูกต้องตามค่าผลเลือดของเราได้อย่างถูกต้อง

    สังเกตตัวเองอย่างไร?

    ส่วนใหญ่ของคนเป็นโรคไต สัญญาณเตือนเลยคือโรคเบาหวาน ความดัน โรคไขมัน โรคเหล่านี้จะเป็นสัญญาณเตือนอันดับต้นๆ ถ้าคนไข้มีโรคประจำตัวเหล่านี้แล้วยังไม่รับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหารรสจัด เค็มจัด เป็นต้น พวกเขาจะกลายเป็นกลุ่มสุ่มเสี่ยงทันที ลองสังเกตตัวเองดูว่าตัวเองรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติหรือเปล่า ตัวบวมไหม อย่างเช่น การลองกดหน้าแข้งดูว่ามันบวมไหม หรือมีอาการคันตามร่างกายไหม

    การตรวจสุขภาพของโรงพยาบาล

    การตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในตัวโปรแกรมจะมีการดูค่าการทำงานของไต แนวโน้มของเสีย การตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่ามีอะไรที่ออกมากับปัสสาวะบ้าง จะเป็นตัวคัดกรองได้อีกระดับหนึ่ง การตรวจแบบนี้ก็จะช่วยได้ให้เรารู้ตัวก่อน

    “เราจะไม่รู้ตัวเลยจนกระทั่งอาการมันหนักแล้ว”

    โรคไตเป็นจะเป็นโรคที่แทบจะไม่แสดงอาการเลย จะมาเริ่มแสดงอาการให้เรารู้ตัวจริงๆก็ตอนที่อาการหนักแล้ว เราจึงต้องใช้การติดตามจากผลเลือด ดังนั้นหากคนไข้มีโรคประจำตัวอยู่ การคุมโรคประจำตัว การตรวจเลือดประจำเดือน ประจำปี หรือตามที่คุณหมอนัดจะช่วยคัดกรองโรคไตตรงนี้ได้มาก

    บทสรุป

    โรคไต เป็นสิ่งที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาเหมือนร่างกายของเราที่จะมีรอยเหี่ยวย่นเพิ่มมากขึ้นตามตัวเลขของอายุเรา ร่างกายก็สิ่งของทั่วไปที่มีวันหมดอายุ การใช้ชีวิตของเราเป็นเพียงการใช้งานที่เราเป็นคนเลือกเองว่าเราจะถนอมการใช้เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานหรือเราจะใช้อย่างไม่สนใจว่ามันจะผุพังไปวันไหน

    สำหรับคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว และกำลังต้องเผชิญกับการฟอกเลือดทุกสัปดาห์ การยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคไตไม่ใช่เรื่องแย่ เพราะมันจะแย่ก็ต่อเมื่อคุณไม่ยอมรับมัน ต่อต้านการรักษามัน การฟอกเลือดเป็นการรักษาที่ถูกค้นพบขึ้นมาเพื่อใช้ในการทำให้คนไข้ได้กลับไปมีชีวิตที่ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากที่จะกลับไปแข็งแรงเหมือนเดิม ทุกอย่างอยู่ที่ตัวคุณเลยตั้งแต่เริ่มต้น

    “มันขึ้นอยู่กับตนเองตั้งแต่เริ่มต้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตนเอง”


    “โรคไตและไตเทียม” งานที่ต้องใช้หัวใจดูแล
     | โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    หรือ จะเลือกรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมในรูปแบบของ Podcast:

    บทความ แนะนำ :

    สำนักงานนิติเวช ห้องทำงานที่เงียบที่สุดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

    ติดตามชมรายการ UNMASK STORY
    กับ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
    ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20:00 น.
    ทาง Facebook เพจ @มนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่
    และ ช่องทาง Social Media ของ The Practical

    UNMASK STORY
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleโดนลดเงินเดือน ในช่วงโควิด – บริษัทสามารถลดเงินเดือนพนักงานได้หรือไม่?
    Next Article กฎที่ไม่มีกฎ ของ Netflix สร้างองค์กรที่มีแต่คนเก่ง ดึงคนที่เก่งที่สุดมาทำงาน
    ทีมงาน The Practical

      Related Posts

      วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

      พฤษภาคม 25, 2024

      เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

      พฤษภาคม 23, 2024

      The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

      พฤศจิกายน 2, 2023

      คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

      กรกฎาคม 17, 2023

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?