Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»Balance»ATOMIC HABITS – เปลี่ยนแปลงนิสัยของเราวันละนิด ชีวิตดีกว่าเดิมหลายเท่าตัว
    Balance

    ATOMIC HABITS – เปลี่ยนแปลงนิสัยของเราวันละนิด ชีวิตดีกว่าเดิมหลายเท่าตัว

    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลBy รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลพฤศจิกายน 3, 2020ไม่มีความเห็น4 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Atomic Habits - Tiny Changes, Remarkable Results เป็นหนังสือคู่มือ "เปลี่ยนนิสัย"
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    Atomic Habits – Tiny Changes, Remarkable Results เป็นหนังสือคู่มือ “เปลี่ยนนิสัย” หรือ โปรแกรมนิสัยใหม่ๆ ให้กลายเป็นนิสัยถาวรให้กับเรา ซึ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้กับชีวิตเรา ใครที่มองหาการเปลี่ยนแปลง หรือ Personal Transformation ต้องทำตามวิธีการในเล่มนี้ได้เลย

    พวกเราเคยมีพฤติกรรมแบบนี้ไหม?

    คนกลุ่มแรก มีเป้าหมายมากมาย แต่ทำไปสักพักก็เลิก หรือ ทำไปก็ไม่สำเร็จ
    เช่น อยากผอม อยากลดน้ำหนัก วันแรกก็วางเป้าหมายใหญ่โต เริ่มด้วยการออกกำลังกายชุดใหญ่ หลังจากนั้นทำไปได้ไม่กี่วัน ก็ล้มเลิกไป

    หรือ มีเป้าหมายอยากเป็นนักวิ่งมาราธอนแบบพี่ตูน พี่ก้อย วางแผนการซะใหญ่โตว่าจะต้องสามารถวิ่งมาราธอนได้ภายในหนึ่งปี แต่หลังจากนั้น วิ่งไปได้ไม่กี่ครั้ง ก็ต้องเลิกล้มความตั้งใจ เพราะทำไปก็รู้สึกว่าไม่สนุก เหนื่อยเกินไป หรือ ถอดใจเพราะมันยากเกินไปที่จะทำได้จริง

    หรือ อยากพัฒนาตนเอง ก็วางเป้าหมายต้องอ่านหนังสือให้ได้วันละเล่ม เข้าเรียนคลาสสัมมนา Online ต่างๆ ให้มันเยอะๆ ผลปรากฏว่า อ่านหนังสือไปไม่ถึงครึ่งเล่ม ก็ถอดใจซะแล้ว และ เรียน Online ไปไม่ทันถึงครึ่งทาง ก็บอกว่าไม่ไหวซะแล้ว

    “เน้นแต่เป็นนักตั้งเป้าหมาย แต่ไม่ได้ใส่ใจวิธีการให้ไปถึงเป้าหมาย ทำอย่างไรก็ไปไม่ถึง”

    และยังมีตัวอย่างอีกมากมาย ที่มีอาการคล้ายๆ แบบนี้ นี่คือ ปัญหาของคนที่ชอบมีเป้าหมาย และ เน้นแต่การตั้งเป้าหมายให้สวยหรูเป็นที่ตั้ง โดยไม่ได้มุ่งเน้นในเรื่องของกระบวนการปฏิบัติเลย

    ลองไปดูตัวอย่างคนอีกกลุ่มนึง กลุ่มที่ 2

    “ทำทีละน้อย แต่ทำบ่อยๆ ต่อให้เป้าหมายยากแค่ไหน ก็ไปถึงได้”

    เรื่อง อยากผอม หรือ อยากลดน้ำหนัก คนกลุ่มนี้มีเป้าหมายแค่อยากให้ร่างกายแข็งแรง เขาตั้งเป้าง่ายๆ เป็น เป้าเล็กๆ ในแต่ละวันว่าจะต้องออกกำลังกายแบบง่ายๆ ด้วยการวิ่งเยาะๆ สลับเดิน รอบหมู่บ้าน ประมาณ 20 นาที เป็นประจำทุกวัน

    หนึ่งปีให้หลัง คนกลุ่มนี้ กว่าครึ่งกลายเป็นนักวิ่งฮาล์ฟ มาราธอน (21 กิโลเมตร) ไปซะแล้ว พวกเขามีความสุขกับการวิ่ง และ เรื่องการวิ่งได้กลายเป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเขาไปแล้ว ตอนนี้ไม่ใช่แค่ได้ความแข็งแรง แต่สามารถเป็นนักวิ่งแบบ Professional ได้อีกด้วย

    หรือ หากอยากเก่ง อยากพัฒนาตนเอง เพื่อจะได้มีโอกาสในสายอาชีพมากกว่าเดิม คนกลุ่มนี้ก็ตั้งเป้าหมายเล็กๆ ในแต่ละวันว่า จะเลือกหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเอง (ที่เกี่ยวกับสายอาชีพของตน หรือ เรื่องที่ตนสนใจ) มาอ่านวันละ 20 หน้า ทุกวัน

    หนึงปีผ่านไป ปรากฏว่า พวกเขาสามารถอ่านหนังสือจบไปได้โดยเฉลี่ย 14 เล่มต่อปี บางคนได้ถึง 20 เล่ม ผลที่ตามมา หนึ่งในสี่ของคนกลุ่มนี้ เปลี่ยนงานใหม่ ได้งานใหม่ที่มีรายได้ และตำแหน่งที่สูงขึ้นกว่าเดิม และ อีก หนึ่งในสาม ยังคงทำงานที่เดิม แต่สามารถสร้างอาชีพเสริม มีรายได้เสริมจากการพัฒนาตนเองด้วยการอ่านหนังสือ มาโดยตลอดระยะเวลา 1 ปี

    ซึ่งถ้าหากเทียบกันแล้วกับคนกลุ่มแรก ซึ่งมีลักษณะปัญหา ที่คล้ายๆ กับคนส่วนใหญ่ คนกลุ่มหลังมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า และ บรรลุเป้าหมาย มีผลลัพธ์ที่เป็นจริงได้ด้วย

    เพราะอะไร ถึงทำให้คนกลุ่มนึงทำได้ แต่อีกกลุ่มทำไม่ได้?

    “สาเหตุที่ชีวิตของเราไปไม่ถึงไหน ก็ด้วยเพราะนิสัยของเรานี่แหละ”

    นิสัยที่ติดตัวเรา เกิดจากตัวเราที่สร้างนิสัยนั้นขึ้นมา James Clear ผู้เขียน Atomic Habits – Tiny Changes, Remarkable Results เขาบอกว่า “นิสัยคือดาบสองคมที่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ หรือ ให้โทษได้”

    James Clear ผู้เขียน Atomic Habits - Tiny Changes, Remarkable Results
    James Clear ผู้เขียน Atomic Habits – Tiny Changes, Remarkable Results

    เช่นเรื่องการลดน้ำหนัก เราอยากลดน้ำหนัก แต่นิสัยของเรา คือ กินของมัน ของทอด ของหวาน หรือ ของไม่ค่อยมีปประโยชน์ ถึงจะออกกำลังกายมากมายอย่างไร ก็ไม่มีประโยชน์ เราจึงเห็นคนอ้วน ที่พยายามออกกำลังกาย ก็ออกไปเท่าไร ก็ไม่ค่อยได้ผล ก็เพราะคนอ้วนเหล่านี้ ไม่ได้แก้นิ่สัยเดิมที่ไม่ดีของเขานั่นเอง

    James Clear ยังเสริมอีกว่า นิสัย เปรียบเสมือนดอกเบี้ย ที่เกิดจากการสะสมจากการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง การสร้างนิสัยดีๆ ซะใหม่ แค่ 1% ในทุกๆ วัน จะเกิดเป็นผลลัพธ์ ที่ยิ่งใหญ่ในระยะยาว

    เช่น ถ้าเราพัฒนาตนเองวันละ 1% ทุกวันเป็นเวลา หนึ่งปี ผลลัพธ์ที่ได้ คือ เราะก้าวหน้ากว่าเดิมเกือบๆ 38 เท่าเลย ดังนั้น หากเราพัฒนาทักษะใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ทีละเล็ก ทีละน้อย หนึ่งปี เราก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นไปในทันที

    เรามาลองฝึกภาษาอังกฤษแบบจริงจังดูไหม? ในอดีต แอดมินเคยลองทำมาแล้ว ใช้วิธีเดียวกันเลย กับที่ James Clear เขาแนะนำ แค่ เดือนที่ 7 พูดได้คล่อง และ อ่านได้ไวกว่าเดิมเป็นหลายเท่าตัวเลย

    เอาเป็นว่าหากพวกเราต้องการผลลัพธ์ หรือ ต้องการชีวิตที่ดีขึ้น จงให้ความสำคัญกับ กระบวนการ หรือ วิธีการปฏิบัติ ให้มากว่า การกำหนดเป้าหมาย และ รวมไปถึงในเรื่องการปรับพฤติกรรม สร้างนิสัยใหม่

    เพราะนิสัยทำให้เกิดการกระทำหลายสิ่งหลายอย่าง ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของเรา เช่น เราขี้เกียจ ชอบอ่านหนังสือใกล้สอบ ผลที่ตามมาก็คือ คะแนนออกมาไม่ค่อยดี เหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะเราปลูกฝังนิสัยผิดๆ เอาไว้มาตั้งแต่แรก

    หรือ เราต้องหอบเอางานกองโตกลับมาทำที่บ้านแทบทุกวัน ผลที่ตามมาก็คือ พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เหตุก็เกิดมาจาก เรามีพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่ง และ ใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดงานในที่ทำงาน เป็นต้น

    “ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง”

    หากเราไม่พอใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราในตอนนี้ เราก็ต้องแก้ที่นิสัยของตัวเรา ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เราทำ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ ด้วยการให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราอยากจะทำ หรือ อยากจะเป็น ไม่ใช่กับสิ่งที่เราต้องการเท่านั้น

    เพราะนิสัย คือ พฤติกรรมที่แสดงออกมาซ้ำๆ นานพอที่จะกลายเป็นการกระทำโดยอัตโนมัติ
    ดังนั้นเราสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยของเราได้ เพื่อแก้ปัญหา หรือ โจทย์ของชีวิตที่เราเจอ ด้วยการใช้พลังงานและความพยายามในแบบไม่ต้องเยอะในแต่ละวัน ก็จะสามารถทำให้เรามีนิสัยใหม่ กับผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมมหาศาลได้

    ในหนังสือ Atomic Habits – Tiny Changes, Remarkable Results เขาบอกว่า มีกฏ 4 ข้อง่ายๆ ที่เราสามารถนำมาใช้ในการสร้างนิสัยที่ดีได้ คือ

    กฏข้อที่ 1 ทำให้เห็นชัดเจน

    ในเรื่องนี้ พูดถึงการทำความเข้าใจในเรื่องของการเกิดและกระบวนการเปลี่ยนเปลงนิสัย โดยเราจะต้องมีสติรู้ตัวเสมอ และต้องรู้ว่านิสัยเดิมที่ไม่ดีของเราเป็นอย่างไร ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงมัน

    อีกเรื่องที่น่าสนใจ ก็คือ “Habit Stacking” การต่อยอดนิสัย เพราะไม่มีพฤติกรรม หรือ นิสัยใดๆ เกิดขึ้นเดี่ยวๆ จะต้องมีสถานการณ์ หรือ ปัจจัย หรือ กิจกรรมใดๆ เกิดขึ้นก่อนทุกครั้ง เช่น หลังจากตื่นนอน จะหยิบมือถือขึ้นมาดูข้อความทันที หรือ ก่อนที่จะเข้าที่ทำงาน จะต้องแวะซื้อกาแฟก่อน เป็นต้น

    ดังนั้นเราสามารถเอาเทคนิค การต่อยอดนิสัย ด้วยการใส่นิสัยใหม่เข้าไป ต่อยอดจากนิสัย หรือ พฤติกรรมเดิมได้ เช่น หลังจากตื่นนอน ก็ออกกำลังกายง่ายๆ เบาๆ สัก 10-15 นาที จากนั้นค่อยหยิบมือถือมาเช็คข้อความ เป็นต้น

    “พฤติกรรมเป็นฟังก์ชั่นของการโต้ตอบระหว่างบุคคลนั้นๆ กับสภาพแวดล้อมของพวกเขาเอง”

    ในหมู่บ้านแห่งนึง ที่บ้านหลายหลังมีลักษณะเหมือนกันหมด พวกเขามีปัญหาในเรื่องปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นมาก แต่มีอยู่บ้านอยู่หลังนึง ใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่น้อยกว่าเพื่อนบ้านข้างเคียงราว 30% ทั้งๆ ที่บ้านก็มีขนาดเท่ากัน และ มีอุปกรณ์ไฟฟ้าเหมือนๆ กัน
    แต่มีเพียงสิ่งเดียวที่ต่างกันก็คือ ตำแหน่งการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า บ้านที่ประหยัดไฟได้ถึง 30% มิเตอร์ไฟฟ้าติดอยู่หน้าบ้านมองเห็นได้ในระดับสายตา และ บ้านอื่นๆ ติดสูงกว่าระดับสายตา จึงมองไม่เห็นปริมาณการใช้ไฟในแต่ละวัน

    การเห็นตัวเลขมิเตอร์ไฟฟ้าวิ่งทุกวัน ต่อหน้า ถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม นิสัย ที่จะประหยัดไฟ ฟ้า นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างนิสัยใหม่ James Clear ยังเสริมอีกว่า การสร้างพฤติกรรมใหม่ในสิ่งแวดล้อมใหม่จะทำได้ง่ายกว่า เพราะเราไม่ต้องต่อสู้กับปัจจัยเดิมๆ ที่อาจจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสู่การมีนิสัยใหม่

    กฏข้อที่ 2 ทำให้น่าดึงดูดใจ

    เราต้องทำอย่างไรให้พฤติกรรมนั้น ติดเป็นนิสัยจนเลิกไม่ได้?

    เราก็ต้องทำให้น่าดึงดูดใจ ยิ่งโอกาสน่าดึงดูดใจเท่าไร ยิ่งทำให้นิสัยใหม่ที่เราต้องการเกิดขึ้นได้ง่ายอีกด้วย James Clear บอกว่า ความคาดหวังที่เราจะได้รับรางวัล คือ ตัวกระตุ้นที่ทำให้เราลงมือทำอะไรบางอย่าง ไม่ใช่ความสำเร็จปลายทาง ยิ่งคาดหวังในรางวัลมาก โดปามีนก็จะยิ่งหลั่งมาก ตัวอย่างเช่น รางวัลที่อยากได้ (แต่ตอนนี้ยังไม่ได้) ทำให้เราเกิดความคาดหวัง เราจึงต้องลงมือทำพฤติกรรมบางสิ่งบางอย่าง หรือ หลายอย่างเพื่อให้ได้มา

    นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเทคนิคการรวมสิ่งล่อใจที่ทำให้การสร้างนิสัยน่าดึงดูดใจมากยิ่งขึ้น ก็คือ วิธีการจับคู่พฤติกรรมที่เราอยากทำ กับ พฤติกรรมที่เราต้องทำ ตัวอย่างเช่น หลังจากที่เราได้เล่นเกมส์ที่เราชอบแล้วครบ 1 ชั่วโมง (สิ่งที่อยากทำ) เราต้องออกกำลังกายหลังจากนั้นทันที 20 นาที (สิ่งที่ต้องทำ) เป็นต้น

    “อัจฉริยะไม่ได้มีมาแต่กำเนิด แต่เกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝน”

    ครอบครัวของสาสซโล โปลการ์ ทำการทดลองปั้นลูกของเขาทั้ง 3 คน จนประสบความสำเร็จกลายเป็นอัจฉริยะด้านหมากรุก เขาทำให้บ้านเต็มไปด้วยคู่มือการเล่นหมากรุก รูปถ่ายของบรรดานักกีฬาหมากรุกที่มีชื่อเสียง สนับสนุนให้ลูกๆ ได้เล่นและแข่งกันเอง และร่วมการแข่งขันที่สามารถเข้าร่วมได้ ในที่สุดลูกทั้งสามคนก็ประสบความสำเร็จ คนโตเริ่มเล่นตอน 4 ขวบ ภายใน 6 เดือน เธอก็สามารถเอาชนะผู้ใหญ่ได้ คนรอง ได้เป็นแชมป์โลกตอนอายุเพียง 14 ปีเท่านั้น ส่วนคนสุดท้อง เป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุด ในตอนนั้นคือ 12 ปี ที่ติดอันดับสูงสุด 100 คนแรกของโลก

    สภาพแวดล้อม และ การสนับสนุนจากครอบครัว จึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนิสัย และ ความสำเร็จเป็นอย่างมากจริงๆ เพราะมนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะเลียนแบบพฤติกรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะมาจากคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว หรือ เพื่อนฝูง หรือ กลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคม หรือ กลุ่มคนที่มีอำนาจ เป็นต้น

    “เราสามารถทำให้นิสัยดี ที่สร้างได้ยาก น่าดึงดูดใจมากขึ้น หากเรารู้จักที่จะเรียนรู้ เชื่อมโยงกับประสบการณ์ในด้านบวก”

    หากพฤติกรรมใดๆ ที่ทำให้เราได้รับการยอมรับนับถือ และยกย่องชมเชย (ได้รับประสบการณ์ในด้านบวก) เราจะเห็นว่าพฤติกรรมนั้น น่าดึงดูดใจให้กระทำ และ เราควรละเว้นนิสัยที่ไม่ดีที่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อตัวเราเองด้วย

    กฏข้อที่ 3 ทำให้เป็นเรื่องง่าย

    การทำซ้ำ คือ หนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญ ในการเริ่มต้นนิสัยใหม่ๆ และ การสร้างพฤติกรรม และนิสัยใหม่ๆ ทุกอย่างมันมี Learning Curve ของมัน

    เช่น อยากเป็นนักวิ่งฮาล์ฟ มาราธอน (21 กิโลเมตร) แน่นอนในช่วงแรก ช่วงเริ่มสร้างนิสัย เราต้องใช้ความพยายามและความมุ่งมั่นมาก ต้องออกมาวิ่งวันละ 20-30 นาทีทุกวัน อาการท้อมีแน่นอน แต่ด้วยการวิ่งที่ใช้เวลาเพียงไม่นาน ปัญหาการล้มเลิกจึงเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งต่างจากคนที่ตั้งเป้า แล้วเล่นใหญ่ คือ จะวิ่งเยอะๆ ในช่วงแรกๆ ทำได้แค่ไม่กี่วัน เกิดอาการบาดเจ็บก็เลิกล้มความตั้งใจไปเลย หากเราทำทีละเล็ก ทีละน้อย ผ่านไปสัก 15 วัน จะเกิดอาการ เฮ้ย วิ่งสบายไม่เหนื่อยง่ายเหมือนก่อน บางทีเราก็ขยายเวลาวิ่งจาก 20, 30 เป็น 40 หรือ 50 นาที โดยง่าย และ พอวิ่งไปทุกวันเกินหนึ่งเดือน เรื่องการวิ่งทุกวันจะถูกโปรแกรมกลายเป็นนิสัย อัตโนมัติของเราไปในทันที

    “ระยะเวลาที่เราทำพฤติกรรมใดๆ ก็ตาม ไม่สำคัญเท่ากับจำนวนครั้งที่เราได้ทำพฤติกรรมนั้นๆ”

    James Clear บอกว่า ต้องปรับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเกิดพฤติกรรมใหม่ๆ และ ลดอุปสรคที่ขัดขวางพฤติกรรมที่ดี จะช่วยให้พฤติกรรมและนิสัยใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ง่าย

    กฏข้อที่ 4 ทำให้น่าพึงพอใจ

    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คือ การทำให้พฤติกรรมนั้นน่าพึงพอใจ เพราะเรามีแนวโน้มที่จะทำพฤติกรรมเดิมซ้ำๆ หากทำแล้วเราได้รับความพึงพอใจ และ มีความสุข

    สมองของเราจะจัดลำดับความสำคัญโดยให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่มีต่อรางวัลที่ได้รับทันที ก่อนรางวัลที่จะได้ในอนาคต ดังนั้นหากสิ่งใดได้รับรางวัลในทันที ก็จะถูกทำซ้ำเสมอ ในทางกลับกัน หลากสิ่งใดที่ถูกลงโทษทันที ก็จะถุกหลีกเลี่ยง

    ความต่อเนื่องเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น อย่ากแหกกฏ หรือ หยุดกลางคัน เพราะการหยุดกลางคัน อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะกลับมาสร้างนิสัยดีแบบเดิมได้ หรือ ใช้เวลามากขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น บางคน หลังจากที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถกลับมาฟิตหุ่นดีแล้ว ก็เลิกนิสัยออกกำลังกายทุกวันไป จากนั้นไม่นานนัก น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมาเริ่มออกกำลังกายใหม่อีก แต่ครั้งหลังนี้ จะยากกว่าเดิมที่จะโปรแกรมนิสัยใหม่

    “อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของความสำเร็จ ไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นความเบื่อหน่าย”

    เมื่อใดก็ตามที่นิสัยใหม่ เกิดขึ้นเป็นนิสัยประจำแล้ว นิสัยนั้นก็จะน่าสนใจน้อยลง น่าพึงพอใจน้อยลง เฃและเราจะเริ่มรู้สึกเบื่อ เราจึงต้องหากิจกรรม หรือ สร้างแรงจูงใจใหม่ๆ เพิ่มเติมขึ้นไปเสมอ เช่น เคยวิ่งได้ไม่กี่กิโลเมตร พอวิ่งได้ก็ค่อยๆ ขยับไปเป็น 5 กิโลเมตร 7 กิโลเมตร 10 กิโลเมตร ไปเรื่อยๆ จนไปถึงมาราธอน เป็นต้น

    ใครควรอ่านหนังสือเล่มนี้?

    Atomic Habits – Tiny Changes, Remarkable Results มีฉบับภาษาไทย Atomic Habits เพราะชีวิตดีได้กว่าที่เป็น แปลโดย คุณ ประพาฬรัตน์ ยงมานิตชัย ถือว่าเป็นคู่มือเปลี่ยนนิสัย และ จะช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยในหนังสือ มีตัวอย่าง หรือ มีวิธีการก็แสนจะเรียบง่าย ที่เราสามารถเอาไปประยุกต์กับตัวเองได้อย่างสบาย

    ราคา และ หาซื้อได้ที่ไหนบ้าง?

    หนังสือเล่มนี้ ราคา 285 บาท กับ 328 หน้า อ่านได้เรื่อยๆ วันละบท สบายๆ ถือเป็นการโปรแกรมสร้างนิสัยรักการอ่านไปในตัว สำหรับใครที่อยากได้ตัวเองใน Version ที่ดีกว่าเดิม เปิดใจลองอ่าน และ ลองทำตามวิธีการและคำแนะนำจากเล่มนี้นะครับ แล้วชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

    Atomic Habits - Tiny Changes, Remarkable Results

    หนังสือเล่มนี้ สามารถหาซื้อได้จากร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปได้ หรือ สังซื้อทางออนไลน์ได้ที่นี่: ATOMIC HABITS เพราะชีวิตดีได้กว่าที่เป็น

    หนังสืออื่นๆ ที่น่าสนใจ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

    Tim Cook ผู้นำอัจฉริยะ ผู้พาแอปเปิลสู่อนาคตใหม่

    Book Review
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleภาษี ทำไมต้องมี ทำไมต้องจ่าย จ่ายแล้วไปไหน?
    Next Article In what cases will employees not receive severance pay due to termination?
    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล

      Related Posts

      ปลดล็อกศักยภาพ กับ 60 บทเรียนชีวิตจาก Adam Grant

      มกราคม 6, 2025

      การจัดการเวลาแนวใหม่ : กลยุทธ์จาก Deep Work โดย Cal Newport

      กันยายน 4, 2024

      การปฏิวัติความสำเร็จ ในที่ทำงาน: กลยุทธ์จาก Atomic Habits โดย James Clear

      กันยายน 3, 2024

      The SPEED of Trust: ความไว้วางใจ สิ่งเดียวที่เปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้

      มิถุนายน 17, 2024

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?