Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»InMind»Compassion and Empathy Fatigues – อาการเหนื่อยล้าที่พบบ่อยในคนทำงาน
    InMind

    Compassion and Empathy Fatigues – อาการเหนื่อยล้าที่พบบ่อยในคนทำงาน

    mypilottest01By mypilottest01มิถุนายน 8, 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    Compassion and Empathy Fatigues เป็น การเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจ และ จากการเอาใจใส่ที่มากเกินไป และทั้งสองเรื่องนี้เกิดขึ้นได้บ่อยมากในคนทำงาน ในบทความนี้จะพาพวกเราไปทำความเข้าใจในเรื่องนี้ และ หาวิธีในการรับมือและดูแลตัวเองต่อไปได้

    ทุกคนต่างบอกกันว่าการเอาใจใส่และการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นองค์ประกอบหลักของการเป็น “คนดี” แต่การเป็นคนดีกลับไม่ได้สร้างความสุขให้กับเราได้เสมอไป เมื่อเราเลือกที่จะรับผิดชอบความรู้สึกของผู้อื่นจนกระทั่งเราเกิดความทุกข์เสียเอง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “การติดต่อทางอารมณ์” หากเราปล่อยให้การติดต่อทางอารมณ์เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานๆ เราก็จะรู้สึกเหนื่อยล้าจากการรับผิดชอบต่อความเจ็บปวดและปัญหาของผู้อื่นในท้ายที่สุด

    “ในขณะที่เราพยายามรักษาบาดแผลให้คนอื่น แต่มันกลายเป็นบาดแผลของเราเสียเอง”

    หากในแต่ละวัน หากเราต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องมีส่วนข้องเกี่ยวกับความบอบช้ำทางจิตใจของผู้คนรอบข้าง ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาล คลินิกจิตเวช หรือที่พักพิงของคนไร้บ้าน เราอาจจะมีประสบการณ์ได้สัมผัสกับความรู้สึกของความเหน็ดเหนื่อยและสิ้นหวังอย่างยิ่งจากสภาพแวดล้อมเหล่านั้น และหากเราเริ่มรู้สึกว่าตัวเราเองเร่ิมมีอาการที่ไม่สามารถรับฟังหรือดูแลใครได้อีกต่อไป นั่นหมายความว่า ตอนนี้เรากำลังมีอาการเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue) หรือ เหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่ (Empathy Fatigue) ไปเรียบร้อยแล้ว

    ความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue) คืออะไร?

    ความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจ หรือ Compassion Fatigue คือ คำอธิบายอาการทางกายภาพ อารมณ์ และจิตวิทยาซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากการช่วยเหลือผู้อื่น ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเครียดหรือความบอบช้ำทางจิตใจ ซึ่งสาเหตุอาจเกี่ยวกับความเครียดจากสภาพแวดล้อม หรือความรู้สึกเจ็บปวดแทนคนอื่น โดยสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะความเห็นอกเห็นใจที่มีถูกเชื่อมโยงกับความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการทำงานและหน้าที่การงานที่ทำให้คุณต้องอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดเป็นประจำ

    “ความเหนื่อยล้าที่เกิดจากความเห็นอกเห็นใจ จะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น ความคิด อารมณ์ และความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ”

    ยกตัวอย่างในบางอาชีพ เช่น อาชีพนักบำบัดอาจได้รับผลกระทบจากความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจผ่านประสบการณ์และเรื่องราวของผู้ป่วย นี่คือ ตัวอย่างสาเหตุของความเหนื่อยล้าที่เกิดจากความเห็นอกเห็นใจ

    1. ให้การบำบัดผู้ป่วยที่เคยผ่านปัญหาที่รุนแรง หรือ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่รุนแรง
    2. ถูกคุกคามทางร่างกายหรือทางวาจาเมื่อให้การดูแลผู้ป่วย
    3. เมื่อต้องมาเผชิญหน้ากับผู้ป่วยในการฆ่าตัวตายหรือการขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย
    4. ให้การดูแลผู้ป่วยในสภาพแวดล้อมที่อันตราย
    5. ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า
    6. เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย ที่มีประสบการณ์ได้เจอความตาย ความเศร้าโศก หรือโศกนาฏกรรม
    7. ดูแลผู้ป่วยที่เคยประสบกับความเจ็บป่วย หรือผ่านประสบการณ์ได้เจอการเสียชีวิตของเด็ก
    8. ให้การดูแลภายใต้ภาระงานหนัก อันเกิดมาจากผู้ป่วยมีความต้องการที่มากเกินไป
    9. การให้บริการที่ต้องให้ไปเยี่ยมชมที่เกิดเหตุ ดูหลักฐาน จัดการกับหลักฐาน หรือรายงานการบาดเจ็บ

    “สิ่งที่เลวร้ายที่สุด คือ ความเหนื่อยล้าเกินกว่าจะดูแลใครได้อีก”

    เมื่อเรามาถึงจุดที่เหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจคนอื่นอย่างถึงที่สุด หรือ Compassion Fatigue เราจะรู้สึกว่าเราไม่สามารถรับผิดชอบหรือดูแลความรู้สึกของใครๆ ได้อีกต่อไป โดยอาการเช่นนี้เป็นผลเสียจากการอยู่ในเหตุการณ์ที่เครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจซ้ำๆ ซึ่งเราสามารถสังเกตการแสดงออกได้ทั้งทางอารมณ์และทางร่างกาย ได้ดังต่อไปนี้

    1. การแสดงออกทางอารมณ์

    • การแยกตัวเองออกจากผู้อื่น
    • รู้สึกเย็นชาหรือขาดการเชื่อมต่อ
    • ขาดพลังงานไปใส่ใจเรื่องอื่นๆ รอบตัวเรา
    • รู้สึกท้อแท้ หมดหนทาง หรือสิ้นหวัง
    • ไม่สามารถเกี่ยวข้องกับผู้อื่นได้
    • รู้สึกโกรธ เศร้า หรือหดหู่
    • ความคิดครอบงำเกี่ยวกับความทุกข์ของผู้อื่น
    • รู้สึกตึงเครียดหรือกระวนกระวายใจ
    • รู้สึกพูดไม่ออกหรือไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเราได้อย่างเหมาะสม
    • โทษตัวเอง

    2. การแสดงออกทางร่างกาย

    • ไม่สามารถมีสมาธิ มีประสิทธิภาพ หรือทำงานประจำวันให้เสร็จสิ้น
    • มีอาการปวดหัว
    • มีอาการคลื่นไส้หรือปวดท้อง
    • มีอาการนอนหลับยากหรือมีความคิดแข่งกันอย่างต่อเนื่อง
    • การรักษาตนเองด้วยยาหรือแอลกอฮอล์
    • มีความรู้สึกเกิดความขัดแย้งในความสัมพันธ์ของเรา
    • การเปลี่ยนแปลงในความอยากอาหารของเรา
    • รู้สึกหมดแรงตลอดเวลา
    • หลีกเลี่ยงงานหรือกิจกรรมอื่นๆ

    ความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่ (Empathy Fatigue) คืออะไร?

    คำว่า ความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่ หรือ Empathy Fatigue ได้ถูกค้นพบขึ้นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์ Mark Stebnicki ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย East Carolina เขาพบปรากฎการณ์นี้กับกลุ่มที่มีอาชีพให้คำปรึกษา เขาพบว่าความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่นั้นจะแสดงให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสอน การดูแล หรืออาชีพที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น อย่างเช่น บุคลากรทางการแพทย์ โค้ช และครูผู้สอน เป็นต้น

    ความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่ คือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์และร่างกายที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้คน วันแล้ววันเล่า เมื่อเวลาผ่านไปคนกลุ่มนี้จะก็จะเริ่มรู้สึกเฉยชาและค่อยๆ ห่างเหิน หรือมีปัญหาในการดูแลผู้คนต่อไป เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เราลองมาดูกันว่า เรากำลังมีความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่ หรือเปล่า?

    12 สัญญาณ ของความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่

    1. รู้สึกว่าทุกอย่างมันเข้ามาเยอะเกินไป เกิดความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหนทางที่จะช่วยเหลือผู้อื่น
    2. รู้สึกโกรธ หงุดหงิด วิตกกังวล ตึงเครียด
    3. รู้สึกโดดเดี่ยว ทั้งทางอารมณ์ ร่างกาย หรือจิตใจ
    4. มีความเห็นอกเห็นใจลดลง ไม่สามารถตอบสนองต่อข่าวร้าย หรือสนับสนุนผู้อื่นอย่างที่เคยเป็นได้
    5. ครุ่นคิด และจมอยู่กับความรู้สึกด้านลบ
    6. ตำหนิตัวเองในความล้มเหลวที่ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด
    7. ลดความสามารถและความศรัทธาในตัวเองลง
    8. คลื่นไส้ เวียนหัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ และ การอ่อนเพลียทางจิตใจ
    9. ไม่สามารถมีสมาธิกับงาน การสนทนา หรือกิจกรรมประจำวันได้
    10. ขาดความสุขในกิจกรรมที่เคยสนุกและชอบมาก่อน
    11. ขาดการมีส่วนร่วม และพยายามหลีกเลี่ยงงานที่เคยทำ
    12. ความรู้สึกไวมากต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์

    “มีความแตกต่างบางอย่างระหว่างความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue) และความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่ (Empathy Fatigue)”

    ความเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue) เรียกอีกอย่างว่าความเครียดที่กระทบกระเทือนจิตใจ สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเรารู้สึกมีแรงจูงใจในการจะช่วยเหลือผู้อื่น พยายามดิ้นรนกับบาดแผลทั้งทางกายภาพและอารมณ์ แต่จู่ๆ ความสิ้นหวังก็ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยเกินกว่าที่จะดูแลใครๆ ได้ ถึงแม้ว่าเราจะมีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้อื่นก็ตาม แต่สำหรับความเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่ (Empathy Fatigue) คือ การนำตัวเองเข้าไปเป็น “ตัวแทน” ในความคิดและความรู้สึกของบุคคลอื่น ความเจ็บปวดจะเกิดจากการที่พบคนคนหนึ่งประสบกับความเจ็บปวดอย่างรุนแรง

    สัญญาณของความเหนื่อยล้า

    ความเหนื่อยล้าอาจ ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานหรือทำกิจกรรมประจำวันของเรา แต่เราอาจจะยังโชคดีที่มันมีสัญญาณบ่งบอกว่าเราอาจมีอาการเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจหรืออาการเหนื่อยล้าจากการเอาใจใส่อยู่หรือเปล่า ดังต่อไปนี้

    1. มีอารมณ์เเปรปรวน– จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเครียดในระยะยาวสามารถนำไปสู่อารมณ์แปรปรวนในระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ บางครั้งอาการอาจมีสาเหตุมาจากความเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจหรือการเอาใจใส่ที่มากเกินไปจนเกิดเป็นความเครียด
    2. ผ่านประสบการณ์การจากลา – สัญญาณทั่วไปของความเหนื่อยล้าคือการถอนตัวจากการเข้าสังคม เห็นได้ชัดเจนจากมิตรภาพหรือความสัมพันธ์ที่ถูกทอดทิ้ง เราอาจรู้สึกขาดการติดต่อทางอารมณ์จากผู้อื่นหรือรู้สึกชาในชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานของเรา
    3. มีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้า – ความรู้สึกวิตกกังวลหรือซึมเศร้าเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจที่ได้รับมามากจนเกินไป เราจะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับโลกรอบตัวคุณ หดหู่ เสียขวัญหรือเริ่มสงสัยในตัวเอง บางคนมีการระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับความปลอดภัยส่วนบุคคลและครอบครัว
    4. ปัญหาในการมีประสิทธิภาพ – การศึกษาแสดงให้เห็นว่าความเครียดที่เกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้าทางจิตใจและร่างกายของเรา เราอาจประสบปัญหาในการจดจ่อหรือการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตส่วนตัวหรือการทำงานของเรา ความเครียดในระยะยาวอาจส่งผลต่อความจำและทำให้เราจดจ่อกับงานที่ทำได้ยาก
    5. มีอาการนอนไม่หลับ – สัญญาณหนึ่งของความเหนื่อยล้า คือการทุกข์ทรมานจากภาพที่รบกวนจิตใจ จนมันอาจรบกวนความคิดหรือความฝันของเรา และนำไปสู่การนอนไม่หลับและอ่อนเพลีย
    6. มีอาการทางกาย – ความเหนื่อยล้าทำให้เกิดอาการทางร่างกายได้หลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ความเหนื่อยล้า ความเบื่อหน่าย ความอยากอาหารเปลี่ยนไป ปัญหาทางเดินอาหาร ปวดหัว เป็นต้น

    นอกจากนี้ยังมีปัจจัยหลักๆ อีก 4 ประการ ที่เพิ่มความอ่อนแอต่อความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจและการเอาใจใส่ ดังต่อไปนี้

    1. ขาดความตระหนักในตนเอง – เรามักระงับความต้องการพักผ่อนโดยเลือกที่จะให้ความต้องการของผู้อื่นมาก่อนตนเอง แม้ว่าจะฟังดูดีแค่ไหนแต่ทุกคนมีความต้องการส่วนตัว และการละเลยความต้องการส่วนตัวของตนเองมีความเสี่ยงสูงที่จะสร้างความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและอารมณ์ได้
    2. กำหนดขอบเขตการทำงานได้ไม่ดี – การไม่กำหนดขอบเขตในที่ทำงานและในความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าขึ้นในที่สุด แต่เพราะเส้นแบ่งระหว่างที่ทำงานและบ้านไม่ชัดเจนพอ ขอบเขตจึงกลายเป็นสิ่งที่กำหนดได้ยาก
    3. เสียความรู้สึกกะทันหัน – ไม่ว่าจะเป็นงาน บ้าน หรือคนที่คุณรู้จัก การสูญเสียอาจทำให้เรารู้สึกไม่มั่นคง หลายคนหันไปทำงานหรือรับผิดชอบสิ่งอื่นๆ เพื่อดึงให้ตนเองรู้สึกเป็นปกติอีกครั้ง โดยไม่จัดการกับความรู้สึกสูญเสียตรงนั้นให้จบ พวกเขามักจะเสี่ยงต่อสุขภาพทางอารมณ์อย่างมาก
    4. แรงกดดันหลายอย่าง – เราอาจทำได้ดีภายใต้แรงกดดันชุดเดียว และสะดุดเมื่อความท้าทายเหล่านั้นปะทุขึ้น เนื่องจากเราทุกคนมีพลังงานและทรัพยากรอย่างจำกัดเพื่อตอบสนองความรับผิดชอบในแต่ละวัน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นอุปสรรคได้เมื่อมันท่วมท้นจนทำให้เรารู้สึกหมดหนทางแล้วจริงๆ

    10 วิธีป้องกันและลดผลกระทบจากการเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจและจากการเอาใจใส่

    เรามาลองสำรวจสิ่งต่างๆ ในแต่ละวัน ที่เราสามารถทำได้เพื่อป้องกันและรับมือกับความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจและการเอาใจใส่คนอื่นกันเถอะ

    1. รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น – ละเว้นจากการตัดสินจากประสบการณ์ว่าดีหรือไม่ดี รับรู้ว่ามันเป็นเพียงความรู้สึกของเรา ทำงานกับความฉลาดทางอารมณ์ของเราเพื่อให้คุณรับรู้อารมณ์และควบคุมอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
    2. ฝึกสติ – การฝึกสติช่วยพัฒนาทักษะการเผชิญปัญหาในแต่ละวัน
    3. พักผ่อนบ้าง – หลีกหนีจากแรงกดดัน เติมวันของเราด้วยการหยุดพักเติมพลังเสียหน่อย
    4. ขอความช่วยเหลือ – แบ่งเรื่องที่เรากำลังทำ คิด หรือกังวลใจออกไปให้คนอื่นบ้าง ขอการสนับสนุนจากคนรอบตัว ให้โอกาสพวกเขาได้ช่วยเราบ้าง
    5. สร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ – สร้างความสัมพันธ์ใหม่ด้วยการเป็นอาสาสมัคร หาเพื่อนใหม่ หรือศึกษาต่อ การค้นพบอีกครั้งสามารถช่วยจุดประกายความหลงใหลในการทำสิ่งนั้นได้อีกครั้ง
    6. ขอให้สนุก – เป็นไปได้ว่าถ้าเรารู้สึกหมดไฟ แสดงว่าเราขาดเสียงหัวเราะและความเพลิดเพลินอย่างมาก อาจเป็นเรื่องยากที่จะคิดอะไรสนุกๆ ดังนั้นลองทำเรื่องสนุกตามคำขอคนอื่นดูบ้าง
    7. ลองอะไรใหม่ๆ – เรียนรู้สิ่งใหม่ช่วยชะลอความแก่ ข้อดีเพิ่มเติมคือเราอาจจะเจอวิธีคิดใหม่เกี่ยวกับความท้าทายที่กำลังปิดกั้นเราอยู่ตลอด
    8. วางโทรศัพท์ลง – ในโลกที่เชื่อมต่อกันตลอดเวลา การวางอุปกรณ์ของเราลงอาจทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลได้ แต่เมื่อได้ลองทำแล้วคุณจะพบว่าโลกตรงหน้ามันดีกว่าโลกเสมือนในหน้าจอสี่เหลี่ยมแน่นอน
    9. พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ – หากเรารู้สึกว่าอาการของเราส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ให้ลองติดต่อโค้ชหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อให้พวกเขาเยียวยาจิตใจของเรา
    10. กลับไปสู่พื้นฐาน – น้อยคนนักที่จะรู้สึกว่าเราทำดีที่สุดแล้ว หากเรารู้สึกไม่สบาย ให้ลองดูกิจวัตรเพื่อให้แน่ใจว่าเรานอนหลับอย่างดี กินอาหารตามหลักโภชนาการ ดื่มน้ำมากพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

    บทสรุป

    เรื่องของ Compassion and Empathy Fatigues เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทำงานทุกคน โดยเฉพาะหากงานเป็นงานประเภทที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับคน บางครั้งความเหนื่อยล้าจากการเห็นอกเห็นใจหรือเอาใจใส่ผู้อื่นก็ถูกเรียกว่า “ค่ารักษาพยาบาล” เพราะในอดีตความเหนื่อยล้าเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของบุคลากรในแนวหน้าเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างเช่น ลักษณะงานของ แพทย์ พยาบาล นักบำบัด นักเผชิญเหตุ และนักข่าว ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เพราะอาชีพเหล่านี้ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตึงเครียดหรือกระทบกระเทือนจิตใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจจะทำให้พวกเขาอ่อนไหวต่อการบอบช้ำทางจิตใจจากสิ่งที่พวกเขาประสบมาหรือรู้สึกผ่านเรื่องราวของผู้อื่น

    ความเหนื่อยล้าถูกมองว่าเป็นความผิดปกติของความเครียดที่ถูกกระทบกระเทือนจิตใจ เป็นประเภทของความเครียดที่มาจากการช่วยเหลือผู้คนให้ผ่านเรื่องเลวร้ายไปได้ในแต่ละวัน เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสุดความสามารถได้หากตัวเรารู้สึกเหนื่อยล้าเสียเอง ดังนั้นก่อนที่เราจะดูแลหรือรับผิดชอบความรู้สึกของใครได้ เราจำเป็นต้องดูแลและรับผิดชอบความรู้สึกตัวเองให้ได้ดีเสียก่อน

    “จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดการเห็นอกเห็นใจและเอาใจใส่ผู้อื่น คือเห็นอกเห็นใจและเอาใจใส่ตัวเอง”

    References:

    https://www.webmd.com/mental-health/signs-compassion-fatigue
    https://health.clevelandclinic.org/empathy-fatigue-how-stress-and-trauma-can-take-a-toll-on-you/
    https://www.betterup.com/blog/empathy-and-compassion-fatigue

    บทความแนะนำ:

    Resilience skill – ความสามารถในการอึด ฮึด สู้ ทักษะสำคัญที่คนทำงานต้องมี

    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleช่างแม่ง คำพูดที่ช่วยทำให้เราก้าวข้ามอุปสรรค และเดินทางไปสู่ความก้าวหน้าได้
    Next Article แก้ปัญหาชาวบ้าน ด้วยนวัตกรรมชาวบ้าน กับบริษัท นวัตกรรมชาวบ้าน จำกัด
    mypilottest01

      Related Posts

      Imposter Syndrome: วิธีจัดการและสร้างความมั่นใจด้วย Self-Coaching

      มกราคม 5, 2025

      นอนหลับเพียงพอ เพื่อความเป็นผู้นำที่ดี เคล็ดลับเพื่อประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

      มิถุนายน 17, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?