Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»InMind»Fixed Mindset คือตัวการที่แท้จริง ที่ทำให้ลูกของเราแย่ลง
    InMind

    Fixed Mindset คือตัวการที่แท้จริง ที่ทำให้ลูกของเราแย่ลง

    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลBy รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลธันวาคม 15, 2020ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    ปัญหาของ-fixed mindset
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    Fixed Mindset คือความเชื่อ ที่เกิดขึ้นจากความคิดลบๆ ที่มีกับตัวเองที่ว่า ฉันมันไม่มีความสามารถ ฉันมันไม่เก่ง ฉันทำไม่ได้ ลงลึกไปในจิตใต้สำนึก ทำให้เกิดอาการหมดความมั่นใจได้ง่ายๆ หรือ ไม่กล้าทำในสิ่งใหม่

    “พรุ่งนี้ต้องสอบเลขอีกแล้ว อ่านเท่าไหร่ก็ไม่เข้าใจสักที”
    “เรียนมาก็ตั้งหลายคาบแล้ว ทำไมอาจารย์สอนไม่เข้าใจเลย”

    “สอบครั้งที่ผ่านๆ มา คะแนนที่ได้ก็ท้ายแถวมาโดยตลอด”

    “หวังว่า พรุ่งนี้อาจารย์จะออกข้อสอบง่ายๆ บ้าง”
    “วิชานี้ เราขอแค่ไม่ต้องสอบซ่อมก็พอ”

    เอก เด็กนักเรียน ม.6 บ่นพึมพำกับตนเอง ในคืนวันก่อนสอบเก็บคะแนนครั้งสุดท้ายของวิชานี้ สถานการณ์ของเขายังล่อแร่ เนื่องจากคะแนนเก็บที่ผ่านมาน้อยมาก จึงมีความสุ่มเสี่ยงที่จะตกวิชานี้สูงมาก

    เอก เป็นเด็กที่มีปัญหาในเรื่องวิชาเลขและวิชาที่ต้องใช้การคำนวณมาโดยตลอด เรียกได้ว่าเป็นนักเรียนดีเด่น ในสายนี้ นั่นก็คือ ได้เกรด 1 แถมบางช่วงบางตอนมีสอบตกและต้องสอบซ่อมอีกด้วย

    ทำไมเอก ถึงไม่ขอความช่วยเหลือ หรือ คำแนะนำจากคุณครู?

    “ผมอายครับ อายเพื่อน กลัวว่าคำถามง่ายๆ ของผม เพื่อนๆ จะหาว่าผมโง่เรื่องนี้”

    “ผมยอมไปลุ้นตอนสอบเอาดีกว่า ดีกว่าเสียหน้า หรือ โดนล้อว่าไม่เอาไหนหรือโง่หน้าคนอื่น”

    เอก มองว่าการถามครูในห้องเรียน ในสิ่งที่เขาไม่เข้าใจ จะเป็นเรื่องน่าอาย และ จะดูเหมือนว่าเขาเป็นคนโง่ ไม่ใช่แค่ในสายตาของครู แต่รวมไปถึงในสายตาของเพื่อนๆ ในห้องด้วย

    เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงตัวเองในวัยเด็ก ผมก็เคยเป็นเช่นเดียวกับเอก เรียนหนังสือไม่เข้าใจ ก็ไม่กล้าถามครู หรือไม่กล้าถามเพื่อนๆ เพราะอดีตเคยถามไปแล้ว ปรากฏว่า เพื่อนๆและที่แย่กว่านั้นครูก็ดันเป็นไปกับเขาด้วย มาล้อเราบวกเชิงดูถูกเราด้วยว่า “เรื่องง่ายๆ แค่นี่ทำไมไม่รู้ ทำไมยังไม่เข้าใจอีก เด็กประถมยังเก่งกว่าเราเลย”

    เจอประจานแบบนี้ไปก็เสียเซลฟ์สิครับ เรียกว่าหมดความมั่นใจไปเลย และไม่ใช่โดนแค่ครั้งสองครั้ง แต่มันโดนซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง ก็เลยทำให้หลังจากนั้นผมก็เลยเลือกที่จะไม่ถามใครอีกเลย เก็บความไม่เข้าใจเอาไว้กับตนเอง แล้วก็พาลเกลียดการเรียนและเกลียดวิชานั้นไปเลย

    ผลที่ตามมาแน่นอน ก็สอบตกสิครับ แต่ผมก็ไม่แคร์ แถมในตอนนั้น ยังบอกกับตัวเองอีกว่า ไม่สนใจหรอกเรื่องนี้ อนาคตยังไงก็คงไม่ได้ใช้แน่นอน แต่… มันกลับตรงข้าม ยิ่งเกลียดยิ่งเจอ ยิ่งหนี มันยิ่งเจอ วิชาที่ว่านั้นก็คือ “ภาษาอังกฤษ” กว่าผมจะแก้เรื่องปมด้อยที่เกิดจากความคิดที่ว่าผมไม่มีทางเก่งภาษาอังกฤษได้ ก็เสียเวลาหาหนทางแก้ไขอยู่หลายปีเลย ซึ่งถ้ารู้ทริคในท้ายบทความนี้ คงแก้ไขเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้นเยอะเลย

    “จริงๆ เราก็พยายามแล้ว แต่มันไม่เก็ทจริงๆ หรือ เป็นเพราะเราอันที่จริงยังไม่ได้พยายามเต็มที่”

    “ก็เราไม่เก่ง เรามันไม่ถนัดในเรื่องเลข (หรือเรื่องวิชาอื่นๆ) นี่นา”

    จริงๆ มันใช่เหตุผลที่แท้จริงหรือไม่?

    ปัญหาแบบนี้มีให้เห็นบ่อยๆ กับนักเรียนในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นประถม มัธยม หรือ มหาวิยาลัย และยาวมาถึงตอนทำงาน เราจึงเห็นหลายๆ คน ไม่กล้า หรือ กลัวที่จะเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ หรือ ไม่กล้าทำอะไรยากๆ เพราะกลัวจะผิดพลาด กลัวจะตกเป็นเป้าสายตา หรือ กลัวโดนดูถูก หรือ กลัวโดนเอาไปล้อ หรือ เอาไปนินทา เป็นต้น

    ผลที่ตามมา ก็ทำให้เราเชื่อว่าตัวเราเองไม่เก่ง ไม่ได้เรื่องในเรื่องนั้นไปในที่สุด

    แล้วเราไม่เก่งจริงหรือเปล่า?

    เพราะมันคือความเชื่อ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่ดี ทำให้เราโปรแกรมความคิดลบๆ กับตัวเองที่ว่า ฉันมันไม่มีความสามารถ ฉันมันไม่เก่ง ฉันทำไม่ได้ แบบนี้ฝังลงไปในสมองแล้ว เกิดเป็นทัศนคติฝังรากลงลึกไปในจิตใต้สำนึก ที่เรียกว่า Fixed Mindset

    เป็นเพราะคนส่วนใหญ่ มีประสบการณ์ในเรื่องการเรียนรู้ ที่ผิดๆ คือ มองว่า ถ้าเรียนไปแล้ว เกิดทำผิดพลาด นั่นหมายความว่า ตนเองไม่เก่ง หรือ ตนเองอาจจะดูโง่ (ทั้งในสายตาตนเอง หรือ สายตาคนอื่น) ส่งผลทำให้เกิดความกลัว และจะไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ หรือ อะไรที่ไม่คุ้นชินไปในที่สุด

    จุดเริ่มต้นของปัญหาอยู่ที่ไหน?

    มันเริ่มต้นที่ระดับครอบครัว พ่อและแม่ มีส่วนเป็นอย่างมากในการสร้างและโปรแกรม Fixed Mindset ให้กับลูก ยกตัวอย่างพฤติกรรม ที่เป็นต้นกำเนิดของการสร้าง Fixed Mindset ให้กับลูก เช่น

    ลูกเก่งมากเลย” หรือ “ลูกยอดเยี่ยมมาก” หรือ “ลูกฉลาดมากเลย”

    พ่อแม่ชอบชมเชยลูกแบบไม่มีเหตุผล การพูดชมแบบนี้ จะทำให้ลูกคิดว่า ความเก่ง ความฉลาด เป็นคุณสมบัติที่ต้องมีติดตัวมาแต่กำเนิด ลูกก็จะเลือกทำแต่สิ่งที่จะได้รับคำชมจากพ่อและแม่ นั่นก็จะเป็นสิ่งที่ทำแล้วมันง่ายสำหรับเขา ผลที่ตามมาก็คือ ลูกจะไม่กล้าลงมือทำอะไรในสิ่งที่ไม่เคยทำ ไม่กล้าทำอะไรที่ท้าทาย หรือ ในยามที่เจออะไรที่ดูยากๆ จะหลีกเลี่ยงไม่ทำเลย และ เขาก็จะกลายเป็นคนที่มี Fixed Mindset ไปในที่สุด

    “พ่อและแม่ คือ ตัวอย่าง และ เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของลูก”
    ผลพวงของการเลี้ยงดูเด็ก การปลูกฝังเรื่องการเรียนรู้จากครอบครัว มีผลต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา การชมลูกโดยไม่มีเหตุผลรองรับ การดุด่าลูก หรือ การห้ามปราบลูกในยามที่เขาทำผิดพลาด ล้วนส่งผลลบกับเขาทั้งสิ้น

    เพราะสิ่งเหล่านี้ จะเป็นการปลูกฝังทัศนคติที่ไม่ดี และ ประสบกาณณ์ที่ไม่ดี จะส่งผลร้ายต่อพวกเขาในอนาคต ทำให้ในวันที่พวกเขาเติบใหญ่ จะมีแนวคิดที่เป็นลบต่อทุกสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ต่อทุกสิ่งที่ดูแล้วยาก ต่อทุกสิ่งที่ดูแล้วเขาไม่มั่นใจ กลายเป็นคนที่ขาดความสุข และขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิต

    ดังนั้น พ่อและแม่ ยังมีทางเลือก ว่าจะสร้าง Mindset แบบไหนให้กับลูก เลือกให้ถุก้อง ตั้งแต่เขายังเด็ก เขาจะได้เติบโตต่อไปด้วยตนเองได้อย่างแข็งแรง และ มั่นคง

    “ปลูกเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้กับลูกด้วย Growth Mindset”

    Growth Mindset คือ ทัศนคติและความเชื่อที่ว่า “ความเก่ง” หรือ “ยอดเยี่ยม” หรือ “ความฉลาด” มันสร้างกันได้ ผ่านการเรียนรู้ ความพยายาม และ การฝึกฝน

    ยกตัวอย่างเช่น การยกน้ำหนัก นำ้หนักที่เพิ่มขึ้นเปรียบเสมือนความสำเร็จในแต่ละขั้น ถ้าเราอยากจะยกให้ได้น้ำหนักมากขึ้น ก็ต้องพัฒนากล้ามเนื้อ ด้วยการควบคุมอาหาร ด้วยการฝึกฝน พัฒนาเทคนิค และ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

    “ความผิดพลาด คือ เรื่องที่ดี”

    คือ อีกจุดนึงที่พ่อและแม่ต้องส่งเสริมลูก ก็คือ สอนให้ลูกเข้าใจและมองว่าความผิดหวังหรือความผิดพลาด คือ โอกาสในการเรียนรู้ ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำผิด โดยไม่ต้องไปดุ หรือ ด่า แต่ต้องสอนให้เขาเข้าใจว่าความผิดพลาดเป็นส่วนนึงกระบวนการของการเรียนรู้ และ สนับสนุนลูกให้กล้าลองทำอีก

    “อารมณ์ มีผลต่อการเรียนรู้”

    ถ้าพ่อและแม่ไปตวาด ดุ โวยวาย กับลูกในยามที่เขาทำผิดพลาด และพยายามไปสอนเขาหลังจากนั้น คิดว่าลูกจะฟังไหม? คิดว่าลูกจะเชื่อเราไหม? คิดว่าเขาจะเข้าใจเราไหม?

    ขอตอบเลยว่าไม่ และ การทำแบบที่ว่ามายิ่งส่งเสริมทำให้ลูกกลายไปเป็นคนที่มี Fixed Mindset มากขึ้น และด้วยอารมณ์ที่ขุ่นมัวของลูกที่เกิดจากการที่พ่อแม่ไปดุ หรือ ว่าเขาแรงๆ จะทำให้เขาปิดกั้นการเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ไปเลย และจะหลีกเลี่ยงที่จะทำเรื่องนั้นๆ ไปเลยก็ได้

    ลูกเราก็จะกลายเป็นคนขี้กลัว ขี้ระแวง และ ขาดความมั่นใจไปในที่สุด

    เห็นไหมครับ ต้นเหตุที่ทำให้ลูกเราเปลี่ยนไป คือ พวกเรานี่แหละ

    ถ้าจะแก้ คงต้องแก้ที่เราก่อนเราเองก็ต้องมี Growth Mindset เช่นกัน

    เพราะ เรื่องของ Growth Mindset เป็นเรื่องสำคัญ

    เป็นสิ่งที่ควรต้องเริ่มปลูกฝังกันตั้งแต่อายุน้อยๆ

    เพราะจะได้เป็นภูมิต้านทานให้กับพวกเขาในวันที่เป็นผู้ใหญ่

    ข้อมูลเพิ่มเติม :

    เรื่องของ Mindset มาจาก หนังสือ Mindset: The New Psychology of Success (2007) ผู้แต่งคือ Carol Dweck มี Version ที่เป็นภาษาไทยด้วย สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำครับ

    บทความอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

    Growth Mindset และ Fixed Mindset คือ อะไร? และมีผลต่อตัวเราอย่างไร?

    Fixed Mindset Growth Mindset
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous Articleข้อควรระวังในการลงทุนในหุ้นกู้ อย่าเสี่ยงลงทุนหากยังไม่เข้าใจอย่างแท้จริง
    Next Article ทัศนคติลบ คือ จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ ที่ทำลายทั้งความสุขและอนาคต
    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล

      Related Posts

      Imposter Syndrome: วิธีจัดการและสร้างความมั่นใจด้วย Self-Coaching

      มกราคม 5, 2025

      นอนหลับเพียงพอ เพื่อความเป็นผู้นำที่ดี เคล็ดลับเพื่อประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด

      มิถุนายน 17, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Building Your Resilience | 8 วิธีในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในตัวคุณ

      มิถุนายน 3, 2024

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?