Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»Others»Forgiveness – การให้อภัย คือ หนทางของการปล่อยวางเพื่อนำไปสู่ความสุข
    Others

    Forgiveness – การให้อภัย คือ หนทางของการปล่อยวางเพื่อนำไปสู่ความสุข

    Chantisar KBy Chantisar Kกรกฎาคม 3, 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    Forgiveness – การให้อภัย หรือ การยกโทษให้ใครสักคนเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว แต่บางครั้งการให้อภัยกับคนบางคนก็เป็นเรื่องยากจริงๆ

    เพราะการกระทำบางอย่าง ที่ส่งผลทำให้มีใครบางคนได้รับความเจ็บปวด ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ การกระทำเช่นนั้นนับเป็นความผิดที่ยากต่อการให้อภัย ต่อให้เรื่องนี้อาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็จะมีคนในสังคมคอยตัดสินว่าการกระทำนั้นๆ มันผิดหรือไม่อยู่ดี ก็เพราะคนเราชอบตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้คนอื่นๆ ปฏิบัติตาม ถึงจะไม่ต้องถูกต้องมาก แต่ก็ต้องถูกใจ เหมือนหลายๆ เรื่องในสังคมไทยของเรา ทำให้เรื่องของการให้อภัยกลายเป็นเรื่องยาก

    Sarah Montana นักเขียนและนักแสดง ผู้เป็นที่รู้จักจากภาพยนตร์เรื่อง Love to the Rescue, A New Year’s Resolution และ If I Only Had Christmas เธอได้บรรยายใน TEDxLincolnSquare เกี่ยวกับเรื่องคุณค่าของให้อภัย ซึ่งถึงแม้มันทำได้ยากในชีวิตจริง แต่ก็ไม่ใช่ว่ามันจะทำไม่ได้ และแน่นอนว่าหากเราสามารถให้อภัยกันได้ชีวิตตัวเราเองจะมีความสุขมากขึ้นอีกเยอะ สำหรับการบรรยายของเธอในครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการเผยแผ่ศาสนา หรือเป็นการชวนเข้าลัทธิ แต่เป็นการชวนมาทำความเข้าใจในเรื่องของการให้อภัย

    “ฉันกำลังแสวงหาวิสัยทัศน์ของจิตวิญญาณของตัวเอง”

    ในปี 2016 Sarah เธอลาออกจากงานสบายๆ ของเธอ ออกมาเขียนบทละครเกี่ยวกับ การฆาตรกรรมของครอบครัวเธอ ฟังดูดีมากใช่ไหมกับการทิ้งงานสบายๆ แบบนั้นออกมาทำอะไรที่ดูแล้วเสี่ยงมากที่จะอดตาย เธอบอกทุกคนว่าเรื่องที่เธอเขียน มันเป็นเพียงแค่งานศิลปะเท่านั้น แต่ความจริงก็คือ เธอต้องการจะตัดเส้นความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับเด็กชายฆาตกรคนนั้นให้ขาดเสียที

    “เขาผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากมา แม่อยากให้เขารู้ว่าแม่อยู่ตรงนี้นะ ยังคอยมองเขาอยู่”

    คำพูดของแม่ยังคอยวนอยู่ในหัว Sarah ความห่วงใยของแม่ที่มีให้เด็กคนนั้นมันมากเกินกว่าที่เขาจะคิดทรยศมันได้ แต่แล้วคืนหนึ่งเด็กคนนั้นก็บุกเข้ามาในบ้าน ขโมยสิ่งของในบ้านของเธอหวังจะเอาไปขายเพื่อหาเงิน เด็กคนนั้นเดินผ่านน้องชายของเธอที่นอนหลับอยู่ที่โซฟา แล้วเขาก็ยิงน้องชายของเธอด้วยความกลัวว่าน้องชายของเธอจะตื่นขึ้นมาเห็น ในขณะที่เขากำลังจะก้าวพ้นบ้านเธอออกไป เขานึกขึ้นได้ว่าลืมเสื้อคลุมเอาไว้ ซึ่งหากเขาทิ้งเอาไว้ในที่เกิดเหตุมันต้องสามารถสาวถึงตัวเขาได้แน่ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้เขาต้องวนกลับเข้ามาในบ้านอีกครั้ง และก็พบกับแม่ของ Sarahเข้า เธอกรีดร้องเสียงดังด้วยความตกใจ และใช่ เด็กคนนั้นทรยศแม่ได้จริงๆ

    “ฉันพยายามจะไม่เกลียดเขา แต่ความโศกเศร้าของฉันมันทำให้ฉันมองเขาเป็นคนไม่ได้อีก เขาเป็นปีศาจ”

    เมื่อเข้าสู่ปีที่ 7 Sarah ยังคงนึกถึงหน้าปีศาจที่ฉีกบ้านเธอจนเหลวแหลกไม่มีชิ้นดี เธอตัดสินใจเขียนบทละครที่มีเขาเป็นจอมวายร้ายของเรื่องขึ้นมา เธอหาข้อมูลเกี่ยวกับเขาใน Google มันดึงดูดเธอให้จมไปกับเรื่องของเขาโดยที่เธอไม่รู้ตัว 23 ชั่วโมงต่อวันกับการอยู่ในห้องขังอย่างโดดเดี่ยวมืดๆ มีเพียงแสงเล็กน้อยที่ลอดผ่านไม้ระแนงเข้ามาเท่านั้น

    “เขากลับมาเป็นคนอีกครั้งอย่างช่วยไม่ได้”

    ในปี 2012 ความหิวโหย การขาดแคลนอาหาร เกิดขึ้นภายในเรือนจำนั้น สภาพของเขาแย่มาก เธอเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลภายในเรือนจำ เขาทรมาน เจ็บปวดอย่างแสนสาหัสอยู่ภายในเรือนจำนั้น ในงานศพของแม่และน้องชายของ Sarah ทำให้เธอรู้สึกว่าตัวเล็กนิดเดียว ความสยดสยองของระเบิดที่เขาทิ้งไว้ มันทำลายเธอจนไม่เหลือชิ้นดี กระสุนที่ยิงเข้าด้านหลังหัวของน้องชายของเธอ ร่างที่มีเพียงเนื้อหุ้มกระดูกสวมชุดสีดำที่เพิ่งซื้อเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว สาบานเลยว่ามันไม่เหมือนแม่เลยสักนิด เธอคิดว่าบางทีความเจ็บปวดของเธอในตอนนั้น เขาอาจจะชดใช้มันอยู่ในเรือนจำตอนนี้

    “ทางเดียวที่จะทำให้หลุดพ้นจากเด็กคนนั้นได้ ก็คือ การยกโทษให้เขา”

    จริงๆ แล้วมันเป็นประโยคที่เราได้ยินในหนังบ่อยๆ ซึ่งมันเหลวไหลสิ้นดี เมื่อเทียบกับสิ่งที่คนไม่ดีอย่างฆาตกรที่เขาทำเอาไว้ Sarah บอกทุกคนว่าเธอยกโทษให้เขาแล้ว รวมถึงบอกเขาด้วยเช่นกันว่าเธอยกโทษให้ การยกโทษให้เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าเหยื่ออย่างเธอจะทำได้ แต่ไม่มีใครบอกวิธียกโทษที่ทำได้จริงสักคน เธอไม่ได้ปล่อยเขาไป เธอยังคงดึงแม่ ดึงน้อง ดึงเขาเข้ามาในการดำเนินชีวิตของเธอ พวกเขายังติดอยู่ในหัวของเธอตลอดเวลา

    “รู้ไหม มี 62 ข้อความในไบเบิลที่มีคำว่ายกโทษ และมี 27 ข้อความที่มีคำว่าการยกโทษ !”

    สามีของ Sarah กลับมาที่บ้านและต้องมาเจอกับภรรยาที่นั่งเป็นบ้า มีอาการคลุ้มคลั่ง และดุร้ายราวสัตว์ป่าอยู่ในบ้าน แต่ความตลกก็คือ เขาไปอ่านคัมภีร์ไบเบิล เขาช่วยเธอหาวิธียกโทษและเก็บเรื่องราวที่เจอมาเล่าให้เธอฟังอย่างดีอกดีใจ เขาบอกว่าอย่างน้อยมันก็ไม่ได้วิธีเดียวให้ลองนะ มีหลายข้อความที่บอกเล่าเกี่ยวกับการยกโทษ มันต้องมีสักวิธีที่ใช้ได้กับในกรณีของ Sarah

    “การยกโทษให้ใครสักคน เราแค่ต้องปล่อยมันไปและทำตัวเหมือนน้ำ”

    คุณหมอคนหนึ่งบอกกับ Sarah เอาไว้ เธอพยายามทำตามที่เขาบอก ทำตัวให้เหมือนน้ำ แม้ในหัวของเธอจะสงสัยอยู่เหมือนกันว่ามันหมายความว่าอะไร? สามีของเธอกลับมาบ้านมองดูภรรยาที่พยายามทำตัวเหมือนน้ำและเข้ามาหาเธออย่างระมัดระวัง “ที่รัก คุณกำลังทำอะไร?” นั้นน่ะสิ เธอกำลังทำอะไรอยู่เนี่ย

    “เหมือนฉันจะเลือกคำถามผิด ไม่ใช่ยกโทษทำอย่างไร แต่ทำไมต้องยกโทษต่างหาก”

    เหยี่อหลายคนที่ต้องเจอเหตุการณ์แบบเธอ คิดว่าต้องยกโทษให้ได้เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มันเป็นสิ่งที่ควรทำ ซึ่งเธอค้นพบว่ามันผิดไปหมดเลย การที่เราจะยกโทษให้ใครสักคนด้วยตัวเองได้นั้น จะเกิดจาก 3 เหตุผลด้วยกัน ดังต่อไปนี้

    1. คิดว่าการยกโทษให้สักคนอย่างรวดเร็วทำให้คุณเป็นคนดี

    เพราะว่าการยกโทษให้ใครสักคน ไม่ว่าเขาจะทำเรื่องแย่ๆ กับเราไว้ขนาดนั้น ดูเป็นเรื่องที่ดีมาก หากทำได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากเป็นคนดีก็ต้องยกโทษให้แก่เขาสิ ความคิดแบบนี้เป็นความคิดที่ผิดไปมากเลย เพราะจากการทำวิจัยของ Sarah เธอยังไม่เจอไทม์ไลน์เวลาการยกโทษของใครแบบทำได้จริงสักคน คนส่วนใหญ่ทำได้แค่หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นความทรงจำเลวร้ายเหล่านั้น แล้วหลงคิดไปว่าตนเองยกโทษให้กับคนคนนั้นได้แล้ว

    2. เหยื่อรู้สึกกดดันจากคนรอบข้าง

    บางครั้งคนรอบข้างที่พยายามจะให้คำปรึกษา เป็นห่วง หรืออยากดึงเราขึ้นจากความทรงจำที่เลวร้าย ก็กลายเป็นคนที่กดดันเราให้ต่ำลงโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ความกดดันจากคนรอบข้างที่พยายามให้เรายกโทษให้แก่ใครก็ตามที่ทำเรื่องแย่ๆ กับเรา เพื่อให้เรารู้สึกอิสระและสบายใจ แม้จะมีเจตนาดีแต่ความคิดนี้มันแย่ต่อเหยื่ออย่างเรามากจริงๆ

    3. คิดว่าการยกโทษให้ เป็นทางลัดของการรักษาความเจ็บปวด

    การยกโทษเหมือนการกดข้ามความทรมาน ความเจ็บปวด ข้ามไปตอนที่เรารักษาตัวเองจนหายได้เลย ไม่ต้องเจอความเจ็บปวดเหล่านั้น แต่มันดูไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเท่าไร เพราะสุดท้ายความเจ็บปวดมันจะไล่ตามคุณมาจนทันอยู่ดี

    สำหรับ Sarah แล้ว 3 เหตุผลนี้ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้ใครยกโทษได้โดยง่ายและรวดเร็วหรอก มันคือ 3 เหตุผลที่ทำให้คนเราเป็นดูเป็นคนดีมากกว่า

    “แม้จะเป็นเหตุผลที่ดี แต่มันไม่ทรงพลังพอที่จะทำให้คนติดอยู่กับเหตุผลเหล่านี้แทนความทรงจำที่เลวร้ายได้”

    การแบ่งส่วนความเจ็บปวดออกเป็นข้อย่อยๆ

    ความทรงจำอันเลวร้ายบางทีก็เปรียบเหมือนกับเค้ก 1 ก้อน จะให้ยกโทษแก่การทำเค้กทั้งก้อนให้ไม่อร่อยเลยก็คงไม่ได้ แต่เราสามารถให้อภัยแก่ความหวานไปของครีม ความแข็งไปของแป้ง หรือหน้าตาเละๆ ของมันได้ Sarah ได้ไอเดียเหล่านี้มาจากศาสนายิว

    “ในศาสนายิว ครอบครัวที่ถูกฆาตรกรรม คนที่รอดไม่สามารถยกโทษให้แก่ฆาตกรในเรื่องการฆ่าได้ เพราะไม่ได้ถูกฆ่า คนที่รอดสามารถยกโทษให้ได้แค่เรื่องความเจ็บปวดและความสูญเสีย ที่เกิดจากฆาตกรเท่านั้น”

    เธออาจจะไม่สามารถยกโทษให้เด็กคนนั้นได้ในเรื่องที่เขาฆ่าแม่และน้องชายของเธอ แต่เธอให้อภัยเขาในเรื่องความเจ็บปวด ความเศร้า ความโกรธที่เขาทำให้มันเกิดขึ้นได้ เพราะตอนนี้เธอก็ยังอยู่ และมีชีวิตที่ดีกับสามีที่ดีได้

    “วันหนึ่ง ฉันพบว่าฉันสูญเสียตัวเองไปกับเรื่องของเขา และการต้องรู้สึกว่าสองชีวิตที่หายไปยังอยู่ข้างตลอดเป็นความรู้สึกที่หนักเกินจะแบกไว้ได้”

    การยกโทษจะมาในตอนที่คุณรู้สึกว่าคุณแบกความรู้สึกหนักอึ้งนี้ต่อไปไม่ไหวแล้ว ความโกรธหายไปทั้งหมด แผลสดกลายเป็นแผลเป็น ตอนที่คุณควรคิดถึงการเดินไปข้างหน้า แต่ขากลับก้าวต่อไปไม่ไหวเพราะคุณแบกความทรงจำเลวร้ายไปด้วยตลอด

    Sarah ตัดสินใจเขียนจดหมายหาเด็กคนนั้นผู้สร้างบาดแผลใหญ่ให้กับเธอ เธอเขียนเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในคืนแห่งความทรงจำอันเลวร้ายนั้นในมุมมองของเธอ เธอบอกเขาว่าเธอไม่โอเคและจะไม่มีวันโอเคกับการที่เขาฆ่าแม่และน้องชายของเธอ แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาจะต้องมาติดหนี้เธอกับการทำลายชีวิตเธอครั้งนั้น เธอเขียนถึงเขา ขอให้เขามีชีวิตที่เต็มไปด้วยการรักษา การเยียวยาบาดแผลจากเรื่องราวทั้งหมด และเธอยกโทษให้

    “ฉันพบตัวเองยืนอยู่คนเดียวกลางเวทีใหญ่ ภายใต้แสงไฟสปอร์ตไลท์ที่ส่องลงมาถึงฉัน”

    มันเคยเป็นเรื่องยากในการยกโทษให้กับเขา ในตอนที่เธอเดินไปที่ตู้จดหมายเพื่อส่งจดหมายฉบับนี้ถึงเขา เธอรู้สึกตัวเบา เหมือนมีแสงไฟจากสักทีส่องมาทีเธอ ในการก้าวเดินแต่ละก้าว เธอไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดที่บาดแผลอีกแล้ว
    ในตอนที่ยืนอยู่คนเดียวเธอเหมือนได้เจอเด็กสาวคนหนึ่งซึ่งเธอไม่ได้คุยกับเขามานานกว่า 7 ปีแล้ว เด็กสาวคนนั้นไม่ได้มีบาดแผลหรือความเจ็บปวดเหมือนกับเธอ ไม่ได้แบกสองตัวละครซึ่งเธอพยายามดึงพวกเขาไว้ และเธอก็ไม่ได้แบกอีกหนึ่งตัวร้ายไปไหนมาไหนด้วยตลอด มันถึงตอนจบของบทละครนี้แล้ว เธอจะต้องปล่อยตัวละครทุกตัวไป แล้วกลับไปเป็นเด็กสาวคนนั้นได้แล้ว เป็นสิ่งที่เธอเป็นจริงๆสักที

    “เรื่องราวของฉัน มักเกี่ยวกับพวกเขาสามคนเสมอ มันถึงเวลาที่ฉันต้องปล่อยทุกคนไป เพื่อปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระเสียที”

    บทสรุป

    การยกโทษให้กับใครสักคน ที่สร้างบาดแผลไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ไว้กับเรา ดูเป็นเรื่องเหลวไหลที่พบได้ตามละครเท่านั้นใช่ไหม? ตอนดูละครพวกนั้นเราเองก็ยังเคยสงสัยเลยว่าไปยกโทษให้เขาทำไม?

    แต่การแบกความเจ็บปวดและความโกรธเอาไว้ มันก็หนักเกินกว่าที่ใครจะรับไหว มองย้อนกลับไปบาดแผลพวกนั้นมันเปลี่ยนเราไปขนาดไหน? มันทำร้ายเราขนาดไหน? แล้วตอนนี้เราเป็นใคร ใช่คนที่เราเคยเป็นและต้องการเป็นจริงๆหรือรึเปล่า?

    ถ้าตอนนี้คุณยังมีเลือดไหลจากแผล มันอาจจะเร็วไปสำหรับการยกโทษ แต่ถ้าคุณสามารถถกแขนเสื้อโชว์แผลเป็น และเล่าให้ฟังได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง มันอาจจะยังคงเร็วไปสำหรับการยกโทษเหมือนกัน แต่มันไม่ช้าไปที่จะปล่อยตัวร้ายในเรื่องราวของคุณทิ้งไปซะ แล้วเรียกตัวคุณคนเดิมกลับมา

    The Real Risk of Forgiveness – And Why It’s Worth It | Sarah Montana

    Others
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleGood Life – ความสุขที่แท้จริงคืออะไร? จากงานวิจัยความสุขที่ยาวนานที่สุดในโลก
    Next Article Microfinance เงินทุนพัฒนศักยภาพของสตรียากจน สู่การเป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
    Chantisar K

      Related Posts

      วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

      พฤษภาคม 25, 2024

      เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

      พฤษภาคม 23, 2024

      The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

      พฤศจิกายน 2, 2023

      คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

      กรกฎาคม 17, 2023

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?