
Gen Z กำลังมองว่า มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน อาจจะไม่ตอบโจทย์พวกเขา เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปไวมาก แต่ระบบการศึกษายังปรับตัวตามไม่ทัน และมีเหตุผลอะไรที่ทำให้ Gen Z กำลังมองว่า มหาวิทยาลัยอาจจะเป็นแค่ทางเลือก ไม่ใช่ทางหลักอีกต่อไปแล้ว มาหาคำตอบได้จากบทความนี้กัน
หากย้อนกลับไปยังอดีต อาจจะรุ่นคุณพ่อคุณแม่ หรือคุณตาคุณยายของคุณ จะพบว่ามหาวิทยาลัยไม่ใช่เส้นชัยหรือสถานีที่ทุกคนต้องผ่าน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ประชากรเพิ่มมากขึ้น แรงงานก็มีล้นตลาด การแข่งขันในโลกของการทำงานที่สูงขึ้น ทำให้แต่ละคนต้องเพิ่มสิ่งที่เรียกว่าดีกรีหรือใบปริญญาให้กับตัวเอง เพื่อให้ตัวเองจะได้กลายเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าคนอื่นๆ หรือดูโดดเด่นมากกว่าคนอื่นนั่นเอง
“มหาวิทยาลัย อาจเป็นสถานที่ให้คุณได้ค้นพบตัวเอง”
ก่อนขาของคุณจะก้าวเข้ามาเหยียบในรั้วมหาวิทยาลัย ครั้งหนึ่งคุณเองก็เคยเป็นเด็กที่วาดฝันถึงช่วงเวลาแสนสดใสที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของชีวิต เร่ิมต้นเป็นน้องใหม่ในรั้วมหาวิทบาลัยที่ออกมาใช้ชีวิตได้อย่างอิสระและมีโอกาสได้ค้นพบตัวเอง แต่แล้วสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างไม่เป็นดั่งฝันที่วาดเอาไว้ก็เข้ามา นั่นก็คือ “โควิด-19”
Rushil Srivastava คือ เด็กมหาวิทยาลัยคนหนึ่งที่ถูกบังคับให้เรียนออนไลน์แทนเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 และต้องเผชิญกับสังคมในรั้วมหาวิทยาลัยออนไลน์ที่บูดเบี้ยว เขาตระหนักได้ว่ามหาวิทยาลัยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาหวังไว้เลยสักนิด และแล้วเขาก็ไม่ปล่อยให้เวลาเดินไปอย่างเปล่าประโยชน์ Srivastava ตัดสินใจลาออกจาก UC Berkeley วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ หลังจากลงทะเบียนเรียนได้ไม่นานทันที
“โลกกําลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยก็เช่นกัน”
ไม่นานหลังจากนั้น Srivastava ก็ตัดสินใจเปิดตัวสตาร์ทอัพที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้คนหางานทำได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันเพื่อนของเขาส่วนใหญ่กำลังเริ่มต้นปีสุดท้ายในมหาวิทยาลัยอยู่ บางคนก็ยังปรับตัวให้พร้อมสำหรับการหางาน และบางคนก็ดูจะทำได้ดีกว่าคนอื่นๆ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือโลกพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ทำให้ผู้คนต้องพยายามขวนขวายวิ่งไล่ตามให้ทันเพื่อไม่ให้ตัวเองโดนทิ้งไว้ข้างหลัง ประสบการณในรั้วมหาวิทยาลัยเช่นกัน ที่เปลี่ยนผันไปรวดเร็วตามกาลเวลา
“ตัวเลขค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนวิ่งเร็วกว่าเงินเดือนที่ได้รับตอนเรียนจบ”
Srivastava เป็นหนึ่งใน Gen Z จำนวนมากที่ตัดสินใจข้ามมหาวิทยาลัยไปอย่างไม่นึกเสียดาย จากการสำรวจพบว่าวัยรุ่นมีการลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยในปี 2022 น้อยกว่าในปี 2012 อยู่ 4 ล้านคน หลายคนติดขัดในเรื่องค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2022 ค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัยเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 12% ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.6% ต่อปี วันนี้ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐ 4 ปีอยู่ที่ 104,108 บาท และ 7,927,046.75 สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชน ในขณะที่รายได้ของคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงตลอด 50 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ส่วนใหญ่ของผู้สำเร็จการศึกษายังต้องแบกภาระหนี้หลังจากพวกเขาเรียนจบอีกด้วย หลุมทางการเงินนี้ทำให้คนรุ่นใหม่มีมูลค่าต่ำกว่าคนรุ่นก่อนๆ
“ท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยถูกใช้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการไปถึงเป้าหมายเดียวที่สามารถทำได้ ซึ่งก็คือการได้งานที่ดี”
ช่องว่างที่กว้างขึ้นระหว่างสิ่งที่ต้องลงทุนกับผลตอบแทนที่ได้ในอนาคต ลบความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ทัศนคติของ Gen Z เริ่มเปลี่ยนไป พวกเขามีแนวโน้มการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ Gen อื่นๆ โดยจากการสำรวจของ Pew Research พบว่าในปี 2014 63% ของ Gen มิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและวางแผนที่จะได้รับการศึกษาต่อไป และในบรรดาผู้ที่จบการศึกษากว่า 41% พวกเขาคิดว่าการศึกษามีประโยชน์มากในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน และเมื่อเราสำรวจไปถึง Gen X และ Boomers ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกัน
“การเปลี่ยนครั้งนี้เป็นหนทางที่ดีกว่าในการนำไปสู่งานในอนาคต”
Nora Taets เธอลงทะเบียนเรียนที่ Lowa State University เธอเริ่มต้นด้วยวิชาเอกการเป็นผู้ประกอบการและวิชาโทด้านจิตวิทยา เพราะฟังดูเหมือนเป็นการเรียนที่ได้ใช้ความคิดให้สนุก แต่เมื่อเธอได้ลงเรียนตามรายวิชาเหล่านั้น เธอกลับพบว่าการเรียนเรื่องพวกนี้ทำให้เธออาจจะสนใจนายจ้างในอนาคตของเธอน้อยลง และพวกเขาอาจคิดว่าหากจ้างเธอ เธออาจจะเข้ามายึดความคิดตัวเองเป็นใหญ่ในบริษัทของเขาก็ได้ เมื่อคิดได้ดังนั้นเธอจึงเปลี่ยนไปเลือกเรียนการตลาดแทน เพื่อง่ายต่อการหางานในอนาคตของเธอ การมุ่งเน้นไปที่งานเพียงอย่างเดียวกำลังเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มหาวิทยาลัยสอนมาทั้งหมด
“การระบาดใหญ่ทำให้นักเรียนต้องคิดกว้างเกี่ยวกับชีวิตและอาชีพของพวกเขา”
นอกจากการเรียนตามรายวิชาปกติแล้ว วัยรุ่นส่วนใหญ่ก็ยังอุทิศเวลาว่างให้กับการเพิ่มโอกาสในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นอีกด้วย พวกเขาตัดสินใจเข้าร่วมการประชุม การอบรม หรือการเรียนเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มความเข้าใจทางเศรษฐกิจในปัจจุบันให้ดีขึ้น บ่อยครั้งที่พวกเขามักจะลงทะเบียนในหลักสูตรเพิ่มเติมทางออนไลน์เพื่อสำเร็จการศึกษาให้เร็วขึ้น หรือทักษะของตัวเองให้พิเศษกว่าคนอื่น แม้การวางแผนจะดูห่างและดูเป็นคำถามที่เร็วเกินไปสำหรับนักเรียนมัธยมปลายที่กำลังจะต่อมหาวิทยาลัย แต่ตอนนี้มันกลายเป็นคำถามพื้นฐานที่คนมักถามกัน และยังรวมถึงชีวิตที่อาจต้องเจอการระบาดใหญ่แบบนี้อีกด้วย
“คุณค่าของมนุษยศาสตร์ที่ถูกเจือจาง”
จากการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 ทำให้คุณค่าของมนุษยศาสตร์ในวัฒนธรรมที่กว้างขึ้นถูกเจือจางเนื่องจากความห่างเหินที่เกิดจากการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ Richard Saller ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเล่าว่าการศึกษาวรรณกรรมและมนุษยศาสตร์กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักเรียนที่ไม่จำเป็นต้องสร้างรายได้ทันทีหลังจากสำเร็จการศึกษา ที่ต้องกล่าวเช่นนี้เป็นเพราะนักเรียนส่วนใหญ่ที่ตัดสินใจต่อเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มจำนวนเงินเดือนที่คาดว่าจะได้รับเมื่อจบการศึกษา พวกเขามักมุ่งไปยังรายวิชาที่สามารถหางานได้ง่าย กว้าง และเป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่ารายวิชาที่ตัวเองชอบ แต่สายงานเฉพาะทาง
“ฉันรู้สึกเหนื่อยมากจากการพยายามเรียนจบมหาวิทยาลัย”
การเรียนออนไลน์กำลังทำลายประสบการณ์ในมหาวิทยัลยสำหรับนักเรียนหลายคน บางคนเลือกใช้การเรียนรู้ทางไกลตลอดชีวิตในมหาวิทยาลัยเพื่อประหยัดเงินด้วย ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 หนึ่งในสามของการสอนในมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นทางออนไลน์ไ ม่ว่าจะผ่านการบรรยายที่บันทึกไว้ล่วงหน้าวิดีโอสอนหรือสื่อการอ่านแบบดิจิทัล และตอนนี้โรงเรียนบางแห่งก็ใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าวในการเปลี่ยนไปใช้ออนไลน์เท่านั้น เพราะพวกเขาต้องการทำให้มันเร็วขึ้นและถูกกว่าในแง่ของต้นทุน
บทสรุป
สำหรับ Gen Z หรือวัยรุ่นหลายคน แม้ว่ามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจนคุณสัมผัสได้ พยายามมองหาเส้นทางที่ทำให้คุณมั่นใจว่าจะไปถึงเป้าหมายที่คุณต้องการ ในการเรียนบางครั้งคุณอาจจะเบื่ออาจารย์ของคุณจนทนไม่ไหว หรืออาจจะรู้สึกว่ารายวิชาที่เรียนอยู่นั้นไม่ใช่เอาเสียเลย หากคุณลองถามตัวเองว่าทำไมคุณถึงต้องเริ่มเรียนปริญญา ทำไมต้องการพบผู้คนใหม่ๆ
ลองพิจารณาไปที่สาระสำคัญของมหาวิทยาลัยอย่างหนัก ลองคิดว่ามหาวิทยาลัยเป็นโอกาสที่จะทำให้คุณค้นพบสิ่งที่คุณตามหา การตั้งทัศนคติแบบนี้จะดึงดูด Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขึ้นชื่อเรื่องการท้าทายสถานะที่เป็นอยู่ได้ มุมมองที่เปลี่ยนไปจะกระตุ้นการขับเคลื่อนทางเลือกเพื่อเป้าหมายในชีวิตและการทำงานมากขึ้น
“เปิดโอกาสให้ตัวเองได้สำรวจเส้นทางใหม่ แล้วคุณจะพบว่าแก่นแท้ของประสบการณ์ในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีประโยชน์มากมายกับชีวิตของคุณในอนาคต”
Reference:
‘The world is rapidly evolving’: How Gen Z is rethinking the idea of college
บทความแนะนำ:
หางานอดิเรกที่คุณรัก เพราะมันดีต่อชีวิตและอาชีพของคุณ