
Introverts – พลังที่ซ่อนเร้นของกลุ่มคนที่มีโลกส่วนตัวค่อนข้างสูง ดูเหมือนจะเป็นกลุ่มคนที่ทำงานกับคนอื่นๆ ยาก แต่คนกลุ่มนี้ก็มีความสามารถและข้อดีหลายอย่างเช่นกัน หากเราเข้าใจพวกเขาการทำงานร่วมกันก็ไม่ยากเช่นกัน
The Power of Introverts พอเห็นชื่อหัวข้อนี้ใน TED2012 แล้วอดไม่ได้ที่จะสงสัยในความรู้สึกขัดแย้งในใจเล็กๆเกี่ยวกับชื่อหัวข้อเลยใช่ไหม เพราะพลัง แรงกระตุ้น หรือความกระตือรือร้น น่าจะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการเป็นคนเก็บตัวเลย แต่เพราะคนส่วนใหญ่มีความคิดเช่นนี้ คนที่มีลักษณะเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม เลยถูกมองเป็นแปลกแยก ไม่ให้ความร่วมมือไป ทั้งที่ลักษณะนิสัยเช่นนี้ไม่สามารถเป็นความผิดของใครได้เลยด้วยซ้ำ
Susan Cain ได้เล่าเรื่องราวความชอบเก็บตัวของเธอใน TED2012 ในหัวข้อ The power of introverts ซึ่งเชื่อได้เลยว่าหลังจากที่พวกเราได้ฟังแล้ว ความขัดแย้งในใจที่เรามีต่อชื่อหัวข้อนี้ก็อาจะหายไปเลยในทันที เพราะคนเก็บตัวเขา มีพลังเยอะจริงๆ

“ในครอบครัวฉัน การอ่านหนังสือถือเป็นกิจกรรมหลัก อาจจะฟังดูเหมือนเป็นกิจกรรมต่อต้านสังคมสำหรับคุณ แต่มันเป็นการเข้าสังคมในอีกรูปแบบนึงสำหรับเรา”
ซูซานเติบโตมาในครอบครัวของนักอ่าน พ่อแม่ของเธอชอบอ่านหนังสือมาก ราวกับมันถูกส่งผ่านกรรมพันธุ์ เพราะเธอก็ชอบอ่านหนังสือมากเช่นกัน และคุณปู่ของเธอก็ชอบอ่านหนังสือมากเช่นกัน บ้านของคุณปู่เป็นสถานที่ที่เธอชอบมากที่สุด เพราะนอกจากจะมีโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่ง วางของแล้ว เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นยังมีไว้เพื่อวางหนังสือเป็นกองๆ ไว้เช่นกัน
“ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องเกเรด้วย”
ในตอนที่เป็นเด็ก ครอบครัวของเธอส่งเธอไปเข้าค่ายฤดูร้อน ทุกคนจะต้องท่องคำว่า “เกเร” ซ้ำไปซ้ำมาราวกับกำลังทำพิธีกรรมอะไรสักอย่าง ในครั้งแรกที่เธอหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน มีเพื่อนถามเธอว่า “ทำไมดูสุขุมจัง” มันฟังดูดีใช่ไหม? แต่สำหรับคนอื่นๆ มันไม่ใช่เลย ประโยคนี้มันทำให้เธอกลายเป็นคนที่ดูแปลกแยกจากพวกเพื่อนๆ เพียงเพราะเธอชอบกิจกรรมที่ไม่เหมือนกันเท่านั้นเอง แต่หลังจากนั้นอาจารย์ก็เข้ามาหาเธอแล้วบอกให้เธอพยายามเข้าสังคมให้มากกว่านี้ เพราะมันเป็นจุดประสงค์หลักของค่ายฤดูร้อน
“ฉันเลือกทำในสิ่งที่ตรงข้าม กับความต้องการเพื่อพิสูจน์ตัวเอง ใช่ ฉันทำตัวเอง”
เธอเล่าว่าเธอเริ่มโกหกตัวเอง ด้วยการปฏิเสธข้อดีของการเป็นคนเก็บตัว ทั้งที่จริงแล้วคนเก็บตัวหลายคนก็ประสบความสำเร็จอย่างที่พวกเขาเป็น เธอเลือกไปเป็นทนายในสำนักงานที่มีชื่อเสียง แทนที่จะเป็นนักเขียนอย่างที่เธออยากจะเป็น เธอเลือกที่จะไปเที่ยวบาร์ที่มีคนเยอะๆ แทนที่จะไปร้านอาหารเงียบๆ กับเพื่อนสนิทไม่กี่คน ทุกอย่างที่เธอเลือกสิ่งที่เธอเลือกไม่ใช่สิ่งที่เธอเป็นสักอย่าง
“การเป็นคนเก็บตัว แตกต่างจากการเป็นคนเขินอาย”
เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การเป็นคนเขินอ่าน คือการกลัวการตัดสินจากสังคม กลัวความคิดของผู้คนที่เพ่งเล็งมาที่เรา แล้ววิพากษ์วิจารณ์ คิดกันไปต่างๆนาๆ การเก็บตัวเป็นเรื่องของการตอบสนองต่อการกระตุ้น คนที่ไม่ชอบเก็บตัวและชอบเข้าสังคม จะชอบสภาพแวดล้อมที่ได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้ารอบข้าง ถึงจะมาสามารถทำงานได้ดี แต่คนเก็บตัวจะชอบทำงานในที่เงียบสงบ สถานที่ที่ทำให้รู้สึกสบาย ซึ่งจะทำให้สามารถดึงศักยภาพสูงสุดออกมาได้
“อคติที่เกิดจากการคิดเป็นกลุ่ม”
ที่บ้านหลังที่สองของเราอย่างที่คนชอบพูดกัน อาทิเช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานศึกษาที่เด็กทุกคนถูกส่งไปเพื่อร่ำเรียน สถานที่ดังกล่าวไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเด็กที่ชอบเก็บตัวเลยสักนิด ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงครูผู้สอนบางท่าน ครูส่วนใหญ่จะชอบเด็กกล้าแสดงออก เด็กที่ชอบเข้าสังคมและตัดสินว่านิสัยแบบนี้คือนิสัยที่ถูกต้อง เด็กพวกนี้ได้รับการยกย่องเชิดชู ในขณะที่เด็กเก็บตัวจะถูกมองว่าเป็นคนแปลกแยก บางครั้งคนกลุ่มนี้ก็จะถูกเรียกไปคุยหลังเลิกเรียนเพื่อให้เข้าสังคมมากขึ้น ทั้งๆ ที่จากงานวิจัยพบว่าเด็กที่ชอบเก็บตัวมีผลการเรียนดีกว่าเด็กที่ไม่ชอบเก็บตัวซะด้วยซ้ำ
“คนเก็บตัว มักพลาดตำแหน่งผู้นำเสมอ”
เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นภายในสถานศึกษาเท่านั้น แต่ก็ยังเกิดขึ้นที่ออฟฟิศ หรือ ที่ทำงานของเราด้วยเช่นกัน ตำแหน่งผู้นำ มักจะเป็นของคนที่ไม่เก็บตัว แต่เป็นคนกล้าแสดงออก ทั้งๆ ที่พวกเขามักจะตื่นเต้นกับการใส่ความคิดของตัวเองลงไปจนลืมฟังความคิดผู้อื่น และคนเก็บตัวส่วนใหญ่มักจะมีการระมัดระวังสูง และไม่ทำอะไรเสี่ยงๆ ซึ่งน่าจะเป็นที่ต้องการของธุรกิจในปัจจุบันมากกว่า
“ไม่มีใครเก็บตัวสุดขั้ว และไม่มีใครเปิดเผยสุดขั้ว”
Carl Jung นักจิตวิทยากล่าวว่าในสังคมปัจจุบันไม่มีใครที่จะเป็นคนเก็บตัวอย่างสุดขั้วได้ และไม่มีใครเป็นคนเปิดเผยอย่างสุดขั้วได้เช่นกัน เพราะหากเป็นเช่นนั้น พวกเขาคงต้องอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชสักแห่งแล้ว การที่เรามีคนสองประเภทนี้ชัดเจนว่าเราเป็นเหมือนหยินและหยางของโลก ที่คอยช่วยเหลือเติมเต็มกันในสิ่งที่แต่ละคนขาด ดังนั้นก่อนที่เราจะเติมใครสักคนให้เต็มได้เราต้องเข้าใจถึงสิ่งที่เขาขาด และสิ่งที่เขาต้องการด้วย มิฉะนั้นจากการเติมให้เต็ม จะกลายเป็นล้นจนเกินพอดี
“ไม่มีความลำบาก ไม่มีการค้นพบ”
เรื่องนี้อาจจะดูไม่เกี่ยวกับศาสนาเลย แต่ถ้าเราลองเปรียบกับศาสนาดู โมเสส พระเยซู พระพุทธเจ้า มูฮัมหมัด ทุกคนล้วนเป็นนักค้นหาที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งพอเรามองไปที่วิธีการแล้ว ทุกคนล้วนเลือกที่จะแยกตัวออกไป เผชิญความลำบาก ก่อนที่จะกลับมาพร้อมกับปรัชญาชีวิตที่ได้รับการยอมรับอย่างมากมาย ที่คนสมัยนี้เรียกว่า “ศาสนา”
“เราอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการเลียนแบบทางความคิดและสัญชาตญาณ”
คนในสังคมส่วนใหญ่มักจะเลือกใครคนใดคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในรูปแบบที่ชอบ แล้วทำตามเขาโดยที่ไม่รู้ตัว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราอยากเป็นคนพูดเก่ง พูดดี เหมือนกับใครสักคนที่เราชื่นชม เราจึงเริ่มอ่านหนังสือเล่มเดียวกับเขา ไปเที่ยวที่เดียวกับเขา เริ่มกินเหมือนเขา นอนเหมือนเขา เพราะหวังว่าเราจะได้ค้นพบความสามารถพิเศษนั้นแบบเขา แย่หน่อย สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราไม่ได้ค้นพบสิ่งพิเศษที่ตัวเรามีด้วยตัวเอง เพราะเรากำลังเดินตามรอยเท้าคนอื่น และความคิดจะถูกบิดเบือนโดยที่เราไม่รู้ตัว
“แทนที่จะทำงานกับคนที่เรารู้จักมาตั้งแต่เกิด เรากลับมุ่งพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำงานกับคนไม่รู้จัก”
โลกของเราเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เมื่อก่อนคนยกย่องชื่นชมคนที่ลงมือทำมากกว่าคนที่ชอบครุ่นคิด คนจึงยกย่องคนจากภายใน ความถูกต้องทางศีลธรรม บุคลิกภาพ และการวางตัวที่ดี ทุกคนล้วนเน้นการกระทำเป็นหลัก แต่ในศตวรรษที่ 20 เราก้าวเข้าสู่วัฒนธรรมใหม่ๆ ซึ่งยกย่องเชิดชูการพูดเจรจา การเข้าสังคมเพื่อแสวงหาการประสบความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้คนในสังคมต้องปรับตัวตามเพื่อจะได้ถูกยกย่องเชิดชูด้วยเช่นกัน
“การชอบเก็บตัวของฉัน ทำให้ฉันรู้สึกเหมือนทรงตัวอยู่บนอิฐก้อน”
ในวันที่มีการเปลี่ยนแปลงของชีวิต การชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆ ของซูซาน ทำให้เธอรู้สึกเหมือนกำลังทำบางอย่างซึ่งเสี่ยงเหลือเกิน ในบางครั้งเหมือนเธอพร้อมที่จะล้มลงไปทุกเมื่อเลยด้วยซ้ำ อย่างเช่นการที่คนเก็บตัวอย่างเธอต้องใช้เวลาฝึกซ้อมมาเป็นปีเพื่อที่จะออกมาพูดในที่สาธารณะที่มีสายตามากมายจับจ้องมาที่เธอเช่นนี้
ซูซานอธิบายว่าการเป็นคนเก็บตัวก็จะมีลักษณะเช่นนี้ ดังนั้นเพื่อความเข้าใจมากขึ้น เธอจึงแนะนำ 3 สิ่ง ที่อยากให้ทุกคนทำเพื่อเข้าใจความเป็นคนเก็บตัวที่ไม่ใช่แค่ของเธอ แต่อาจจะเป็นของใครสักคนข้างตัวคุณ ซึ่งเขาอาจจะอึดอัดจากการรู้สึกแปลกแยกอยู่ในตอนนี้
1. หยุดความบ้าคลั่งการทำงานกลุ่มลงเสียหน่อย
ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย อาจารย์ผู้สอนมักป้อนงานในลักษณะงานกลุ่มให้เด็กเป็นจำนวนมาก แม้แต่งานในบริษัทก็มีงานจำนวนมากที่ระบุความต้องการว่าต้องการให้ทุกคนทำร่วมกัน แม้การแลกเปลี่ยนความคิดจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกคน แต่เราก็ยังต้องการอิสระในการทำงาน และต้องมีการสอนให้ทุกคนทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหมายถึงงานทั้งชิ้น ไม่ใช่แค่เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานชิ้นนั้นเท่านั้น
2. ไปในที่ที่ลำบาก เหมือนกับพระพุทธเจ้า
ไม่ได้หมายถึงแนะนำให้เราเดินเข้าไปในป่าตัวคนเดียว โดยไม่พูดไม่จากับใคร แต่หมายถึงแนะนำให้เข้าไปในจิตใจตัวเองบ่อยขึ้น สำรวจความคิดภายในจิตใจตัวเองให้บ่อยขึ้นนั่นเอง
3. ดูสิ่งในกระเป๋าที่คุณสะพายอยู่ แล้วคิดว่าคุณพกมันมาทำไม
สำหรับคนที่ไม่ชอบเก็บตัว ภายในกระเป๋าคงมีสิ่งของอำนวยความสะดวกมากมายที่แสดงถึงตัวเรา และขอให้เราใช้มันแสดงความเป็นตัวเราอย่างมีความสุขที่สุด สำหรับคนที่ชอบเก็บตัว ขอให้บางครั้งคุณกล้าที่จะเปิดกระเป๋าของเราออกมาแล้วโชว์ให้คนอื่นดูบ้าง ว่าเราพกพาอะไรมา
“ไม่ว่าคุณจะเป็นคนประเภทไหน โลกต้องการคุณ และโลกต้องการสิ่งที่คุณมี”
บทสรุป
ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเปิดเผย หรือจะเป็นคนชอบเก็บตัว คุณทุกคนล้วนอยู่บนโลกนี้เหมือนกัน การยอมรับเป็นสิ่งสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคม หากคุณต้องการให้คนอื่นยอมรับในตัวคุณ คุณต้องยอมรับตัวเองให้ได้ก่อน และคุณก็ต้องยอมรับในตัวคนอื่นด้วยเช่นกัน
เพราะทุกคนบนโลกไม่ได้เกิดมาเหมือนกัน ทุกคนล้วนมีความแตกต่างตามแบบฉบับของตัวเอง สิ่งนี้จึงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ทุกคนบนโลกช่วยเติมเต็มกันและกันได้
“ขอให้คุณได้ในสิ่งที่ดีที่สุด ในการเดินทางของคุณ และมีความกล้าที่จะเริ่มออกมาพูดเบาๆ”
The power of introverts | Susan Cain
บทความแนะนำ :
Smash fear and Learn anything – ก้าวข้ามความกลัว ด้วยการเรียนรู้