Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»People Stories»Others»James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวกับความล้มเหลว
    Others

    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวกับความล้มเหลว

    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลBy รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุลตุลาคม 22, 2020ไม่มีความเห็น4 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวกับความล้มเหลว
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ชาวอังกฤษ เจ้าของบริษัท Dyson ที่โด่งดังและประสบความสำเร็จอย่างมากมายในตอนนี้ แต่กว่าจะถึงจุดนี้ได้ เขาต้องแลกและผ่านด่านโหดๆ อะไรมาบ้าง? มาติดตามเรื่องราวของเขากัน กับบทความนี้ได้เลยครับ

    ในเรื่องของความสำเร็จ เชื่อว่าใครๆ ก็อยากประสบความสำเร็จ แต่หากบอกว่าถ้าอยากจะสำเร็จต้องรอนานถึง 15 ปี เราจะรอไหม? ซึ่งก่อนที่จะถึงจุดที่ประสบความสำเร็จ จะต้องลงมือทำ แต่อาจจะล้มเหลวก่อนอย่างน้อยสัก พันครั้ง เราจะยังทำไหม?

    สำหรับหลายคน แค่ล้มเหลวไม่กี่ครั้ง หรือ ต้องให้รอถึง 4-5 ปี กว่าจะสำเร็จ ก็ไม่ไหวแล้ว คงจะท้อแท้ และล้มเลิกไปก่อนกลางคันอย่างแน่นอน

    แต่ก็มีบางคน ที่เขามีความมุ่งมั่น มีความเชื่อและมีทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับเรื่องความล้มเหลวหรือความผิดพลาดในแบบที่แตกต่างจากคนทั่วไป

    เขาคือ Sir James Dyson (ในบทความนี้ ขอเรียกว่า James Dyson) เขาเป็นใคร?
    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์
    Figure 1: Sir James Dyson

    เขาคือเจ้าของและผู้ก่อตั้งบริษัท Dyson Ltd บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติอังกฤษ เป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมเครื่องดูดฝุ่นหน้าตาล้ำสมัย ไร้สาย และไม่ต้องมีถุงเก็บฝุ่น บวกกับสินค้าที่มีนวัตกรรมอีกมากมาย อาทิเช่น Air Purifier Hair Dryer และ อื่นๆ ส่งผลทำให้ บริษัท Dyson กลายเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการถึง 4.4 Billion GBP และ มีกำไรสุทธิสูงถึง 656 Million GBP ในปี 2018

    Figure 2: Dyson’s Financial Result 2016 – 2018

    James Dyson ในวัย 73 ปี ตอนนี้ เขาได้ถูกจัดอันดับเป็นมหาเศรษฐีโลกในอันดับที่ 268 โดยเขามีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิในปัจจุบันอยู่ที่ 6.5 Billion US แต่กว่าที่เขาจะมาได้ถึงจุดนี้ เขาก็ได้ผ่านบทเรียนและบททดสอบที่หนักหนาสาหัสมาอย่างมากมาย และในบางบทเรียนก็หนักถึงขนาดเกือบทำเขาล้มละลายเลยทีเดียว

    เรื่องราวของเส้นทางความล้มเหลว จนนำพาไปสู่ความสำเร็จของ James Dyson เป็นอย่างไร? และ เราสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเรื่องนี้? เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน

    “Anyone can be an innovator”

    การมีความคิดสร้างสรรค์ หรือ การเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม ไม่ใช้ทักษะที่ต้องมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด ทักษะเรื่องนี้สามารถสร้างได้และฝึกกันได้ และไม่จำเป็นด้วยซ้ำที่จะต้องจบด้านเหล่านี้ ถึงจะมาเป็น Innovator หรือ นักประดิษฐ์ ได้ หากเรารู้ตัวเอง และ อยากเป็น Innovator จริงๆ เส้นทางบนถนนด้านนี้ยังคงมีช่องทางให้เราเสมอ

    ตัวอย่างเช่น James Dyson เขาเป็นถึงเจ้าของบริษัทนวัตกรรมสุดล้ำ แต่ก็ไม่ได้จบปริญญาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จุดเริ่มต้นของเขาในวัยเด็ก เขาเรียนที่โรงเรียนศิลปะ เรียนไปสักพักเขาก็ค้นพบว่า ตัวเองว่าชอบการออกแบบ มากกว่าการเรียนศิลปะทั่วไป จึงเบนเข็มไปเรียนในด้านการออกแบบอุตสาหกรรมที่ Royal College of Art และที่นี่เอง คือ จุดเริ่มต้นของเส้นทางของการเป็นนักประดิษฐ์ของ James Dyson

    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวกับความล้มเหลว
    Figure 3: Rotork Sea Truck

    ในช่วงที่เรียนอยู่ ในปี 1970 James Dyson ในวัย 23 ปี เขาได้มีโอกาสได้งานออกแบบเรือบรรทุก Rotork Sea Truck ซึ่งเป็นเรือบรรทุกความเร็วสูง ที่สามารถเดินทางได้ 50 ไมล์ต่อชั่วโมง สามารถจอดเรือได้โดยต้องไม่มีท่าจอดเรือ เรือลำนี้ได้ถูกนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน และการก่อสร้าง รวมทั้งใช้ในงานของกองทัพของอังกฤษ

    “Mistakes as an Important Part of the Learning Process”

    การเป็น Innovator หรือ นักประดิษฐ์ บางทีก็มองแต่ในเรื่องของการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ โดยอาจจะลืมในเรื่องที่สำคัญด้านอื่นๆ ไป ตัวอย่างเช่น เรื่องของสิทธิบัตร หรือ Patent เรื่องสิทธิบัตรสำคัญอย่างไร?

    การที่สินค้าของเราได้รับสิทธิบัตร รัฐก็จะให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เรา โดยเราจะมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

    Figure 4: Ballbarrow

    James Dyson ก็เจอกับเรื่องปัญหาของสิทธิบัตรเช่นกัน ในปี 1974 เขาได้คิดค้น Ballbarrow รถเข็นพลาสติก ที่มีล้อเป็นลูกบอลแทนที่จะเป็นล้อแบบปกติขึ้น ซึ่งนอกจากไม่ทำให้เกิดสนิมแล้ว ยังไม่จมไปกับดินอ่อน หรือติดกับคอนกรีตในเวลาเข็นอีกด้วย แต่ด้วยความผิดพลาดในเรื่องของการจดสิทธิบัตร ทำให้เขาถูกบีบให้ต้องขาย Ballbarrow ให้กับนักลงทุนไป นี่จึงเป็นบทเรียนที่เขาตั้งใจว่าจะไม่พลาดซ้ำกับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นต่อไป

    “Be an innovator not an imitator”

    เป็นนักประดิษฐ์ ไม่ใช่นักลอกเลียนแบบ ทำไมเครื่องดูดฝุ่นของ Dyson ถึงแตกต่างจากคนอื่นได้อย่างชัดเจน? ก็เพราะ James Dyson เขาคิดค้นผลิตภัณฑ์ในแบบของนักประดิษฐ์ ที่มองถึง Pain Points ของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ซึ่งต่างจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่เราเห็นได้ทั่วไป ที่พอเห็นใครออกสินค้าใหม่ๆ ก็รีบทำสินค้าคล้ายๆ กันออกมาอย่างรวดเร็ว และ สร้างความแตกต่างด้วยการใช้ราคาที่ถูกกว่า

    กว่าจะเป็นเครื่องดูดฝุ่น Dyson จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นในตอนที่ James Dyson ได้ทำความสะอาดบ้าน และเขาก็พบว่า ทำไมเครื่องดูดฝุ่น (ในสมัยนั้น) เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ ประสิทธิภาพยิ่งต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากถุงเก็บฝุ่นอุดตันได้ง่าย จึงทำให้แรงลมดูดน้อยลง และต้องเอาไส้กรองไปเป่าอยู่บ่อยๆ ครั้ง และ ยิ่งใช้ไปนานๆ ก็ต้องคอยเปลี่ยนไส้กรองอีก ด้วยความรำคาญ เขาจึงลุกขึ้นมาคิดประดิษฐ์เครื่องดูดฝุ่นที่ไม่ต้องมีไส้กรองมันซะเลย และ นี่ก็คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของธุรกิจ Dyson

    “Inspiration can come from anywhere”

    แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สามารถเกิดได้ทุกที่ James Dyson นำความรู้ทางด้านวิศวกรรมที่เขาคุ้นเคย คือเครื่อง Cyclone Particle Collector มาประยุกต์ใช้ กับเครื่องดูดฝุ่นที่ไม่ต้องมีถุงเก็บฝุ่นในแบบที่เขาต้องการ

    หลักการคือ เขาเอาวิธีการของ Cyclone Particle Collector คือ การใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางเพื่อแยกอนุภาคเล็กๆ ออกจากอากาศ มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ประสิทธิภาพของเครื่องดูดฝุ่นดีขึ้น และ เรื่องถุงเก็บฝุ่นก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า สิ่งที่เรียนมา หรือ ประสบการณ์ที่เคยผ่านมา สามารถนำมาประยุกต์และต่อยอดได้เสมอ แอดมินพบว่า หลายๆ ครั้ง Cross Industry Case Studies ก็มีประโยชน์เหมือนกัน

    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวกับความล้มเหลว
    Figure 5: James Dyson with his prototype
    “Failure is part of learning and innovation”

    ต่อให้มีแนวคิดที่ดี แต่ถ้าไม่ลงมือทำมันก็ไร้ประโยชน์ แต่บางครั้งก็ต้องเจอกับสถานการณ์วัดใจ ดังเช่น กรณีของ James Dyson เรื่องคิดดูเหมือนจะง่าย แต่เรื่องที่จะทำออกมาให้ได้ดังใจคิดกลับยากมาก เพราะ Cyclone Particle Collector เป็นเครื่องมือในระดับสเกลที่ใช้กันโรงงานหรือในภาคอุตสาหกรรม และ ผู้นำเรื่องเครื่องดูดฝุ่นในสมัยนั้น อย่าง Electrolux และ Hoover ก็ยังไม่สามารถทำได้เลย

    แต่ James Dyson ก็ไม่ท้อ ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำเครื่องดูดฝุ่นในแบบที่เขาต้องการให้สำเร็จออกมาให้ได้ เขาใช้เวลาทุ่มเทกับเครื่องดูดฝุ่นมานานกว่า 5 ปี และ ผลิตต้นแบบที่ยังใช้งานไม่ได้ออกมากว่า 5,126 ครั้ง (นั่นหมายความว่า โดยเฉลี่ยแล้ว เขาจะผิดพลาด หรือ ล้มเหลว ประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน)

    “ความผิดพลาด ถือเป็นเรื่องที่ดี เป็นส่วนหนึ่งของความคืบหน้าในสิ่งที่เราทำ”

    และในที่สุด เขาก็ทำสำเร็จในตัวที่ 5,127 และกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ต้นแบบเครื่องดูดฝุ่นไร้ถุง ชิ้นแรก ของโลก

    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวกับความล้มเหลว
    Figure 6: James Dyson and his prototype
    “Never Give up”

    เส้นทางแห่งความสำเร็จที่แท้จริง ยังอีกยาวไกล ถึงแม้ว่า ตัวต้นแบบจะสำเร็จแล้ว แต่ปัญหาที่ตามมาคือ จะต้องหาคนผลิตให้ ซึ่งแน่นอนต้องถูกกีดกันจากเจ้าตลาดในตอนนั้นอย่าง Hoover อย่างแน่นอน กว่า James Dyson ก็ใช้เวลาพอสมควร ในที่สุดก็สามารถขาย License ในการผลิตให้กับ Amway ได้สำเร็จ

    ในเวลาไม่นาน James Dyson ก็ถูก Amway หักหลัง Amway ออกสินค้าเครื่องดูดฝุ่นไร้ถุงออกมาใหม่ ซึ่งมีหน้าตาเหมือนกับเครื่องดูดฝุ่นของ Dyson ออกมาขายคู่กัน แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ James Dyson ท้อแท้ (หากเป็นเราเจอแบบนี้ คงยอมแพ้ไปแล้ว) เขาก็ยังเดินหน้าต่อไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาให้ได้ ระหว่างทางก็ต้องเจอกับหนี้สินมหาศาล แทบจะหมดตัวเลยทีเดียว

    Figure 7: James Dyson’s first bagless cleaner – the DC01

    จนในที่สุดในปี 1993 เขาก็ได้มาเจอกับ Apex Inc. บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่สนใจและตัดสินใจซื้อ License ของ Dyson เพื่อนำมาพัฒนาเป็นเครื่องดูดฝุ่นรุ่น G-Force และ ด้วยยอดขายถล่มทลายของ เครื่องดูดฝุ่นรุ่น G-Force ในญี่ปุ่น ส่งผลทำให้ James Dyson สามารถก่อตั้งบริษัท Dyson ของตนเองขึ้นมาได้

    “รู้หรือไม่ Dyson digital motor ในเครื่องดูดฝุ่น ทำงานเร็วกว่ารถฟอร์มูล่าวัน ถึง 5 เท่า”

    จนสามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน Dyson มีพนักงานมากกว่า 12,000 คนทั่วโลก สินค้าของ Dyson ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จใอย่างมากมาย ส่งผลทำให้ ผลประกอบการในปี 2018 บริษัทฯ มีรายได้ 4.4 Billion GBP และ มีกำไรสุทธิสูงถึง 656 Million GBP โตกว่าปี 2017 ถึง 26%

    James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ผู้ที่ไม่เกรงกลัวกับความล้มเหลว
    Figure 8: James Dyson with several blade-less fan prototypes
    จากเรื่องราวของ Sir James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ยังมีอีกหลายแง่มุม ที่เรายังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้อีก ดังนี้
    “Build Resilience to Criticism”

    การรู้จักบริหารจัดการตนเองและการรับมือกับคำวิพากษ์วิจารณ์ จากเรื่องราวของ James Dyson เราจะพบว่าตลอดเส้นทางกว่าที่เขาจะประสบความสำเร็จ เขาต้องผ่านการถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบมาเยอะ แต่เขาไม่ได้เก็บเอาเรื่องเหล่านั้นมาทำลายความตั้งใจของเขา ขาเลือกที่จะรับและเลือกที่จะมองเฉพาะคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีประโยชน์

    การถูกปฏิเสธ สำหรับเขาก็มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเจอ หากเรายังมั่นใจและเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำ เดี๋ยวเราก็จะเจอคนที่ใช่เองในท้ายที่สุด

    “Never be afraid to fail”

    อย่ากลัวความผิดพลาด และ อย่ากลัวที่จะทำพลาด สำหรับ James Dyson เขาใช้เวลาถึง 5 ปี และทำผิดพลาดมามากกว่า 5 พันครั้ง แต่เขาไม่ได้มองว่านั่นคือสิ่งที่ผิดพลาด เขากลับเลือกที่จะมองเรื่องนี้ในอีกด้านว่า เป็นความคืบหน้าในเรื่องของสิ่งที่เขาทำมากกว่า

    “Believe in your purpose and fight hard for your dreams”

    จงเชื่อมั่นในสิ่งที่เราจะทำ และ จงทำให้เต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายและความฝันของตนเอง เพราะไม่มีอะไรได้มาแบบง่ายๆ ทุกอย่างจะต้องผ่านการลงมือทำ ผ่านการลองผิดลองถูกมาไม่น้อยอย่างแน่นอน ดังนั้นหากคิดอยากที่จะประสบความสำเร็จในเรื่องใดก็ตาม หากเราล้มเหลว หรือ ผิดพลาดเพียงไม่กี่ครั้ง ก็ขอให้ดูแบบอย่างของ Sir James Dyson เอาไว้ เพื่อเป็นแนวทาง และ เป็นกำลังใจให้เราต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ได้ต่อไป

    และทั้งหมด ก็คือ เรื่องราวของ Sir James Dyson อัจฉริยะนักประดิษฐ์ ที่ทำให้เครื่องดูดฝุ่นธรรมดากลายเป็นเครื่องดูดฝุ่นที่หลายบ้านอยากมี

    “เราจะไม่ได้เรียนรู้อะไรมากมายในวันที่เราประสบความสำเร็จ แต่เราจะได้เรียนรู้มากมายหลายอย่างจากวันที่เราผิดพลาด” – Sir James Dyson

    Source:

    https://www.forbes.com/profile/james-dyson/#749e2e802b38

    https://craft.co/dyson/metrics

    https://www.cbsnews.com/pictures/10-awesome-inventions-from-james-dyson/8/

    https://www.sciencedaily.com/releases/2018/04/180419100151.htm)

    บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ของ Dyson สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

    รีวิว Dyson V8 Slim Fluffy+ เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย ราคาถูกที่สุด ของ Dyson ที่จะทำให้การทำความสะอาดบ้าน เป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่อ

    Others
    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleTim Cook ผู้นำอัจฉริยะ ผู้พาแอปเปิลสู่อนาคตใหม่
    Next Article Top 10 Skills of 2025: Key Skills that Workers Must Have Before 2025
    รพีรัฐ ธัญวัฒน์พรกุล

      Related Posts

      วิธีฟื้นตัวทางจิตใจ : ยอมรับความทุกข์ มุ่งเน้นแง่บวก และการประเมินตนเอง

      พฤษภาคม 25, 2024

      เคล็ดลับการสร้างสมาธิ และเพิ่มผลิตภาพในยุคดิจิทัล | Chris Bailey

      พฤษภาคม 23, 2024

      The neurons that shaped civilization – เซลล์ประสาทที่หล่อหลอมอารยธรรม

      พฤศจิกายน 2, 2023

      คุณประสิทธิ์ เกียรติวัชรวิทย์ – ทุกคนมีความฝัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อม

      กรกฎาคม 17, 2023

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?