![](https://thepractical.co/wp-content/uploads/2022/11/Screen-Shot-2022-11-24-at-12.26.32-610x610.png)
Low Carbon Society หรือ สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นสังคมที่คนส่วนใหญ่หันมาร่วมมือกันในการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการดำรงชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม
การใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้ ตั้งแต่ตื่นเช้ามาทำอาหาร ขับรถไปทำงาน พักผ่อนดูโทรทัศน์หรือเล่นอินเตอร์เน็ต แทบทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนอาศัยพลังงานในการขับเคลื่อน และยิ่งนวัตกรรมต่างๆ ล้ำหน้า การใช้พลังงานของคนทั้งโลกก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ปัญหา คือ วันนี้แหล่งพลังงานส่วนใหญ่ที่เราใช้มาจากการพลังงานดั้งเดิม เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งแม้จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและทำให้โลกต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างในปัจจุบัน แต่พลังงานฟอสซิลก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน รองรับการเติบโตฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างสมดุลด้านพลังงานอย่างเหมาะสมระหว่างความมั่นคงด้านพลังงานและการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น
จากธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันของคนไทยที่ก่อตั้งเมื่อ 38 ปีก่อน วันนี้บางจากเดินหน้าเต็มกำลังสู่เป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ การดำเนินงานและแผนปฏิบัติการเพื่อสังคมคาร์บอนต่ำของพวกเขาเป็นอย่างไร อะไรทำให้บางจากก้าวขึ้นเป็นกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมสีเขียวชั้นนำของเอเชีย
The Practical ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ คุณกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานสื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อความยั่งยืน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถึงการลงมือทำและวิสัยทัศน์สุดล้ำของบริษัทแห่งนี้ที่ไม่เคยหยุดปรับเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่โลกที่ยั่งยืน
![Low Carbon Society - สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสีเขียว](https://thepractical.co/wp-content/uploads/2022/11/820606-1024x684.jpg)
ทำไมโลกจึงต้องเปลี่ยนผ่านพลังงาน
กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์สร้างก๊าซเรือนกระจกที่ขึ้นไปสะสมบนชั้นบรรยากาศมากจนทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง และจะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงต่อโลกสิ่งมีชีวิตทุกชนิด นานาชาติจึงสร้างข้อตกลงร่วมกันในการประชุมผู้นำโลก COP26 เมื่อปลายปีที่แล้ว ว่าจะทำทุกวิถีทาง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหล่านั้นลงมาเรื่อย ๆ จนถึงศูนย์ หรือที่เรียกกันว่า Net Zero Emission นั่นเอง รวมถึง การลงนามความเข้าใจในการจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยความสูญเสียและความเสียหาย Loss and Damage Fund จากการประชุม COP27 ที่เพิ่งจบลงไปเร็ว ๆ นี้
คุณกลอยตาอธิบายว่า “เป้าหมายระดับประเทศส่งต่อมายังอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าในห่วงโซ่การผลิตและส่งมอบสินค้าเกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นมากมาย สำหรับบางจากเอง แม้เราจะเริ่มจากการทำธุรกิจโรงกลั่นและปั๊มน้ำมัน แต่ปัจจุบันไม่ใช่อีกต่อไป เราตระหนักถึงผลกระทบที่พลังงานดั้งเดิมมีต่อโลก จึงปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจสู่นวัตกรรมสีเขียวมาตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา”
คุณกลอยตาเล่าถึงธุรกิจนวัตกรรมใหม่ๆ อันน่าตื่นตาตื่นใจของบางจากที่เราน่าจะได้เห็นกันนับจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตน้ำมันเครื่องบินจากน้ำมันใช้แล้วจากการทำอาหาร (Sustainable Aviation Fuel) การผลิตพลังงานไฮโดรเจน หรือเทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CCUS (Carbon Capture and Utilize Storage) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้เองที่จะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้ประเทศไทย
![Low Carbon Society - สังคมคาร์บอนต่ำ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสีเขียว](https://thepractical.co/wp-content/uploads/2022/11/Logo-BCPNET-New-icon-1024x1024.png)
ความยั่งยืนที่ประกอบขึ้นจากหลากเป้าหมาย
คุณกลอยตาบอกว่า บางจากตั้งเป้าหมายที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2030 และเป็น Net Zero ภายในปี 2050 เพื่อผลักดันเป้าหมายทั้งสองข้อนี้ พวกเขาจึงวางโครงสร้างการดำเนินงานที่ทำได้จริงขึ้นมา ภายใต้ชื่อ BCP 316 NET
“B ย่อมาจาก Breakthrough Performance โดยเราจะปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานให้เป็นระบบคาร์บอนต่ำ จะมีการนำเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงใหม่ๆ มาใช้ เพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากกระบวนการผลิตและการทำงานต่างๆ ในส่วนนี้จะเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณคาร์บอนที่ลดลง“
อีก 10 เปอร์เซ็นต์จะลดลงที่ตัว C หรือ Conserving Nature and Society เน้นการปลูกต้นไม้ เพิ่มที่สีเขียว ซึ่งมีสมรรถภาพในการดูดซับคาร์บอนโดยธรรมชาติ ที่ผ่านมาบางจากสนับสนุนทั้งเรื่องของการปลูกป่าบก ป่าชายเลน ไปจนถึงการดูแลหญ้าทะเล ซึ่งตอนนี้เรากำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แหล่งหญ้าทะเล เพื่อช่วยในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในแนวปะการังบริเวณเกาะหมากและเกาะกระดาด จังหวัดตราด ร่วมกับคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“ส่วนตัว P ก็คือ Proactive Business Growth and Transition หรือการเปลี่ยนผ่านธุรกิจในกลุ่มของเราไปสู่พลังงานสะอาด เพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจสีเขียว เน้นขยายการลงทุนใหม่ๆ ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่ได้อธิบายไปข้างต้น โดยส่วนนี้จะช่วยลดคาร์บอนลงถึง 60 เปอร์เซ็นต์”
และสุดท้ายคือ NET ซึ่งย่อมาจาก Net Zero Ecosystem หรือการสร้างระบบนิเวศที่ยิ่งส่งเสริมการไปสู่เป้าหมาย Net Zero “การที่เราก่อตั้ง Carbon Markets เมื่อปีที่แล้ว เพื่อส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย หรือจัดทำแพลตฟอร์มให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Winnonie ขึ้นมา ทั้งหมดก็เพื่อทำให้การใช้ชีวิตแบบคาร์บอนต่ำเป็นเรื่อง
ที่ง่ายและใกล้ตัวทุกคนมากขึ้น”
![](https://thepractical.co/wp-content/uploads/2022/11/Winnonie.jpg)
สร้างวัฒนธรรมคาร์บอนต่ำในสังคม
คุณกลอยตาเล่าว่า บางจากให้ความสำคัญกับการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก โดยเชื่อว่าคนในองค์กรต้องตระหนักและลงมือทำก่อนจึงจะสามารถสื่อสารกับคนภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาว่าทำไมบางจากจึงมีโครงการรณรงค์เพื่อสร้างวัฒนธรรมคาร์บอนต่ำในองค์กรมากมาย
“อย่างโครงการ ‘Bangchak100x Climate Action ทุกคนช่วยได้’ ที่เราตั้งเป้าจะเป็นบริษัทยั่งยืนอายุมากกว่าร้อยปี และทุกคนมีส่วนช่วยผลักดันให้องค์กรของเราไปถึงจุดนั้นได้ โดยเฉพาะการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 13 ที่เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
อีกโครงการหนึ่ง คือ แคมเปญลด ละ เริ่ม ที่รณรงค์ให้พนักงานทุกคนร่วมกันลดรอยเท้าคาร์บอน ละการรบกวนโลก และเริ่มลงมือทำเลยตั้งแต่วันนี้
“พอพูดความยั่งยืน หลายคนมองเป็นเรื่องไกลตัว มันต้องเป็นภาครัฐหรือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือเปล่า จริงๆ ไม่ใช่ พวกเราทุกคนต้องมีส่วนร่วม เราเลยมีการตั้ง KPI ด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้พนักงานด้วย เพื่อให้พฤติกรรมเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นการแยกขยะหรือการประหยัดไฟฟ้า กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้สึกว่าต้องทำ”
![](https://thepractical.co/wp-content/uploads/2022/11/GTN-scaled.jpg)
![](https://thepractical.co/wp-content/uploads/2022/11/20220325-1.jpg)
หยิบยืมมาใช้ ก็ต้องรักษาให้ดี
“ต้องบอกว่าทุกวันนี้ ถนนทุกสายมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero และดิฉันรู้สึกโชคดีมากที่ได้ทำงานในองค์กรอย่างบางจาก ซึ่งมีพันธมิตรดีๆ มากมายกำลังมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายเดียวกัน”
คุณกลอยตา บอกว่าบางจากร่วมกับพันธมิตร ได้จัดตั้ง Carbon Markets Club เพื่อสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต สำหรับคนทั่วไปหรือองค์กรใดๆ ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะลดรอยเท้าคาร์บอน หรือชดเชยการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมต่างๆ ของตัวเองยังไง ลองเข้ามาเป็นสมาชิกหรือศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์เลย
“ชาวอเมริกันอินเดียนคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ไม่ใช่มรดกตกทอดที่เราได้รับมาจากบรรพบุรุษรุ่นก่อน แต่เป็นของลูกหลานในอนาคตที่เราหยิบยืมมาใช้ต่างหาก เมื่อหยิบยืมมา เราก็ต้องดูแลโลกใบนี้ให้ดีที่สุด” คุณกลอยตากล่าว
ทิ้งท้าย
เราปรับ โลกเปลี่ยน The Next Generation: ร่วมสร้าง Low Carbon Society เพื่อโลกที่ยั่งยืน
หรือ จะเลือกรับฟังรายการ ในรูปแบบของ Podcast ได้ที่:
เราปรับ โลกเปลี่ยน The Next Generation เพราะเราทุกคน “เปลี่ยน” โลกให้ดีขึ้นได้ พบหลาก idea หลาย action ของคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมา “ปรับ” คิดแล้วลงมือทำ เพื่อร่วมกันสร้างโลกให้ยั่งยืน
ปรับโลกเปลี่ยน #ทุกคนเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้