Office Syndrome (ออฟฟิศซินโดรม) เป็นโรคที่เกิดจากที่คนเรามีลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม อาทิเช่น การนั่งโต๊ะทำงานและทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง โดยไม่ได้ขยับหรือลุกไปไหน โรคนี้เกิดขึ้นได้บ่อยกับคนทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือ เกือบตลอดเวลา ซึ่งหากมีพฤติกรรมลักษณะเช่นนี้ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายหลายระบบได้
ในยุคที่ข่าวเสนอตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ก่อนข่าวอื่นๆ และตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งขึ้นสูงแข่งกับราคาน้ำมันเช่นนี้ มนุษย์เงินเดือนที่ไม่ว่าจะเดินทางไปทำงานหรือทำงานที่บ้านต้องมีประสบการณ์ได้พบกับมัน มาบ้างล่ะ ถ้าลองคิดดูอาจจะเจอมันบ่อยกว่าหน้าหัวหน้าด้วยซ้ำ วันนี้แอดจะพาทุกคนไปรู้จักกับมันให้มากขึ้นกัน ยิ่งรู้จักมันมากเท่าไรก็ยิ่งไม่ต้องเจอกับมันอีกไงล่ะ เราเกลียดมันกันจะตายใช่ไหมล่ะ?
ออฟฟิศซินโดรม มันคืออะไร?
เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เหยื่อของอาการเหล่านี้มักเป็นกลุ่มคนที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งในท่าทางเดิมโดยที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถเลยต่อเนื่องเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ยังรวมถึงการอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมในการทำงานด้วย
“เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักร หากเราใช้ร่างกายเราหนักๆ มันก็จะมีผลกระทบตามมาได้”
เคยเห็นหุ่นยนต์ในหนังทำงานกันใช่ไหม มันสามารถอยู่ในท่าทางเดิมและทำงานได้ทั้งวันโดยที่ไม่ปวดหลังหรือคอเลยสักนิด แต่กับคนน่ะไม่ใช่เลย การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป การนั่งหรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือยกไหล่ ก้มคอมากเกินไป เป็นเหมือนการเปิดทางให้ออฟฟิศซินโดรมเข้ามาหาคุณอย่างง่ายดาย และถ้าคุณคิดว่ามันไม่ได้ร้ายแรง คุณกำลังพลาดครั้งใหญ่เลย
“มันอาจจะไม่ได้จัดการคุณด้วยออฟฟิศซินโดรม แต่มันสามารถดึงโรคอื่นมาจัดการคุณได้”
อาการหรือโรคภัยไข้เจ็บทุกอย่าง คิดเสียว่ามันเป็นเพื่อนกันก็ได้ อย่าได้ประมาทอาการเล็กน้อยของออฟฟิศซินโดรมเด็ดขาด เพราะมันสามารถส่งผลให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ นอกจากนี้ยังรวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบนัยน์ตาและระบบการย่อยอาหารอีกด้วย
สาเหตุของ Office Syndrome
ก่อนอื่นเลยถ้าให้ตอบอย่างตรงไปตรงมา แอดจะต้องบอกว่าสาเหตุของมันเกิดจากตัวเราเองนี่แหละ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ เป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวันหรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมันเป็นพฤติกรรมที่เราสร้างขึ้นมาเอง
“สาเหตุจากจิตใจ ที่ส่งผลกระทบถึงร่างกาย”
นอกจากพฤติกรรมการทำงานซ้ำๆหรือไม่เหมาะสมข้างต้นแล้ว ยังมีสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเราอย่างอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมกับผู้ทำงาน เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป เป็นต้น แต่ไม่ใช่แค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้นที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้ แต่ปัจจัยภายในอย่างความเครียดจากการทำงาน การวิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารไม่ครบ สภาพจิตใจเองก็สร้างออฟฟิศโดรมได้เก่งพอๆกับสภาพร่างกายเลย
ออฟฟิศซินโดรม มันมีอาการอย่างไร?
ออฟฟิศซินโดรมจะมีลักษณะอาการปวดล้าเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น บ่า ไหล่ คอ สะบัก เป็นต้น อาการปวดจะเป็นการปวดบริเวณกว้าง โดยความรุนแรงจะสามารถเป็นได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดรุนแรงและทรมาน หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไปจะมีอาการอ่อนแรงที่อวัยวะนั้นร่วมด้วย หากรุนแรงมากจะมีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น วูบ เย็น เหน็บ ขนลุก และเหงื่อออกตามบริเวณที่ปวดร้าว หรือหากเป็นบริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่ามัว
3 ระดับความรุนแรงของ Office Syndrome
- Early stage อาการแรกเริ่ม ปวดและล้าขณะที่กำลังทำงานหรือหลังจากทำงานเสร็จ เมื่อได้รับการพักผ่อนที่ถูกต้อง อาการปวดดีขึ้น ไม่เรื้อรัง ระยะเวลาที่เป็นประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นสามารถหายเป็นปกติได้
- Intermediate stage อาการปวดปานกลาง มีจุดที่กดแล้วเจ็บ กล้ามเนื้อเกร็งตลอดเวลาที่ทำงาน และจะปวดมากขึ้นตอนทำงาน บางครั้งจะมีอาการปวดต่อเนื่องจนถึงตอนกลางคืน ความสามารถในการทำงานลดลง ระยะเวลาที่เป็น 1-2 เดือน
- Late stage อาการปวดรุนแรง ปวดล้าขณะทำงานตลอดเวลา แม้จะพักแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น มีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาที่มือและแขน ไม่สามารถนอนหลับหรือพักได้ ระยะเวลาที่เป็นนานหลายเดือนหรือบางคนเป็นจนถึงปี
การรักษา Office Syndrome
สำหรับมนุษย์เงินเดือนคนใดที่พบว่าตัวเองก็เจอกับมันโดยที่ไม่รู้ตัวเหมือนกัน เพิ่งรู้ว่าเลยว่าอาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือปวดร้าวศีรษะมันคือออฟฟิศซินโดรม จากเนื้อหาข้างต้นที่แอดได้บอกไปแล้วคงเห็นแล้วว่ามันทำอะไรกับเราได้บ้าง เพราะฉะนั้นนี่คือ 8 วิธีรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่ทุกคนต้องการกัน
1. เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
เรารู้อยู่แล้วว่าการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์โดยไม่เปลี่ยนท่าทางเลยคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมเลย งั้นเราก็แก้ไขที่ต้นเหตุเลยคือไม่นั่งทำงานท่าเดิมนานๆ หากรู้สึกปวดเมื่อยให้ผ่อนคลายร่างกายและสมองบ้าง ขยับตัว ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง
2. ปรับท่านั่ง
การนั่งทำงานหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือเอนหลังจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการล้าและเสียบุคลิก ดังนั้นเราจึงควรปรับท่านั่งในการทำงานให้ถูกเพื่อสุขภาพและบุคลิกภาพของเรา
- นั่งก้นชิดพนักพิงหลังตรง ช่วยทำให้เราไม่ปวดก้น ลดความตึงของกล้ามเนื้อช่วงกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานอีกด้วย และที่สำคัญการนั่งหลังตรงจะช่วยป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เพราะการนั่งหลังค่อมเป็นการเพิ่มโหลดให้กับแนวกระดูกสันหลัง แรงที่กระทำต่อเนื้อเยื่อและวัตถุคงที่ทำให้เกิดจุดแตกหัก ซึ่งจุดแตกหักก็คือตัวหมอนรองกระดูกสันหลังของเรานั่นเอง
- ความสูงของที่วางแขน ควรอยู่ในระดับเดียวกันกับคีย์บอร์ด/เมาส์ ตอนยืนก็ต้องวางให้ขนานเช่นกัน
- ระดับความสูงของหน้าจอต้องเหมาะสม ต้องเจอขอบด้านบนของจอพอดี ทำให้ระยะของศีรษะไม่ต้องก้มหรือเงย
- ระยะห่างของหน้าจอประมาณ 1 ช่วงแขน
- ความยาวของเบาะห่างจากข้อพับเข่า 2-3 นิ้วมือ
- ข้อสะโพกและเข่างอ 90 องศา
- เท้าวางราบกับพื้น ตอนยืนก็ควรวางเท้าให้ราบกับพื้น
3. ไม่เพ่งคอมเป็นเวลานาน
ร่างกายต้องการการพักผ่อน สายตาเองก็เช่นกัน ควรพักสายตาทุกๆ 1 ชั่วโมง เพราะหากเราเพ่งสายตากับจอคอมนานเกินไป อาจส่งผลทำให้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตาและปวดศีรษะได้
4. ปรับสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่และน่าทำงาน
บรรยากาศในห้องทำงานไม่ควรแออัดเกินไป มีอากาศถ่ายเทที่ดี แสงไฟในห้องควรจะมีความเหมาะสม ไม่จ้าหรือมืดเกินไป และที่สำคัญในห้องทำงานควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดดหรือแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาในห้องโดยตรง เพราะแสงที่สว่างเกินไปจะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึก ไม่สบายตาได้
5. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นการช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกีฬาที่ช่วยในเรื่องของการยืดเส้นและสร้างความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น
6. รักษาด้วยยา
สำหรับคนที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมที่เริ่มรุนแรงขึ้นแล้ว อาจต้องได้รับยาในการรักษา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด โดยยาเหล่านี้ควรผ่านการพิจารณาและสั่งโดยแพทย์ผู้วินิจฉัยเท่านั้น
7. เวชศาสตร์ฟื้นฟู
การรักษาด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น Ultrasound เครื่องดึงคอ การฝังเข็มแบบตะวันตก หรือการสอนท่าบริหาร เหมาะสำหรับคนที่เป็นมานานหรือกลายเป็นอาการเรื้อรัง
8. การ Shock Wave
คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดระยะเรื้อรังที่ผ่านการรักษาต่างๆ มาแล้วไม่ดีขึ้น เช่น มีอาการปวดข้อศอก เอ็นข้อศอกอักเสบ พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา ปวดฝ่าเท้าเรื้อรัง โรครองช้ำ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดเข่า บาดเจ็บจากกีฬา เป็นต้น
การป้องกันการเกิด Office Syndrome
หากเริ่มเป็นแล้วมันเป็นเรื่องยากที่จะหาย เพราะฉะนั้นทางที่ดีคือไม่ควรเริ่มเป็นตั้งแต่แรกจะดีกว่า การออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่นและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นวิธีการป้องกันที่ดี นอกจากนี้ยังรวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมการทำงานอย่าง การปรับระดับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ความสูงโต๊ะทำงานและเก้าอี้ที่เรานั่งทำงานเป็นต้น
“หลักการ 10 – 20 – 60”
หนึ่งในวิธีป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมทั้งหมด แอดมีวิธีการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานโดยยึดหลัก “10-20-60” ที่จะช่วยให้คนทำงานทุกคนไม่ต้องเจอกับตัวร้ายอย่างออฟฟิศซินโดรมอีก วิธีการก็ง่ายนิดเดียวคือ พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถเมื่อทำงานครบ 20 นาที และยืดเหยียดกล้ามเนื้อและแขน บริหารต้นคอ สะบัก ไหล่ แขนมือ เอวหลัง และขา เมื่อทำงานครบ 60 นาที หากใครสงสัยว่าช่วยจริงไหมก็ต้องลองดูกันแล้วล่ะ
เคล็ดไม่ลับ ฉบับใช้ได้จริง
อีกหนึ่งเคล็ดไม่ลับที่แอดมินอยากจะเสนอให้มนุษย์เงินเดือนที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างเรา บางคนที่พออ่านวิธีการนั่งทำงานที่ถูกต้องแล้ว อาจจะรู้สึกว่ามันยากเหลือเกินที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่งของตัวเอง เพราะบางครั้งร่างกายเราก็ทำไปอย่างอัตโนมัติด้วยความเคยชิน แอดเลยคิดว่านี่เป็นตัวช่วยที่ดีเลยทีเดียว
เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพบีเวล Bewell Ergonomic Chair รุ่น EMBRACE และ CUDDLE ซึ่ง Bewell ใส่ใจในการปรับพฤติกรรมการทำงานของคุณอย่างแท้จริง คุณสามารถนั่งทำงานได้อย่างสะดวกสบายตามที่คุณต้องการโดยที่ยังมีสุขภาพที่ดีได้ด้วย เพราะเก้าอี้ของ Bewell ถูกออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ ช่วยให้คุณนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้องเหมาะสม ด้วย โหมดพนักพิงหลังตั้งตรง 90 องศา ที่วางแขนแบบ 4Dรองรับการนั่งทุกอิริยาบถ ปรับตั้งค่าแรงต้านของพนักพิงหลังได้ รับประกันคุณภาพนานสูงสุดถึง 3 ปีเต็ม มีการจัดส่งฟรีทั่วประเทศพร้อมคลิปวิดีโอสอนประกอบ และยังรวมถึงมีคำแนะนำการใช้งานโดยนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย
ช่องทางการจัดจำหน่าย
Shopee : https://bit.ly/3B0yWaX
Lazada : https://bit.ly/3AWTpgN
Web : https://bit.ly/3sbFT6m
Nocnoc : https://bit.ly/30a2khc
Source:
Work-related Musculoskeletal Disorders (WMSDs)
ออฟฟิศซินโดรม อันตรายหรือไม่ และรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไร?
ออฟฟิศซินโดรม โรคที่ชาวออฟฟิศต้องรู้
วิธีรักษา “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน