Resilience skill เป็นทักษะที่แสดงถึงความสามารถในการฟื้นตัวของเรา ในยามที่เราต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่มีความกดดันและยากลำบาก โดยที่เรายังคงสามารถกลับมาเป็นคนที่มีความมั่นใจและยังคงมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับปัญหาหรือสามารถดำเนินชีวิตอย่างเข้มแข็งต่อไปได้
คนทำงานหลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจในเรื่องของ Resilience skill ในบทความนี้จะพาพวกเราไปเข้าในมากขึ้นว่า Resilience คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรสำหรับคนทำงานและองค์กรในยุคนี้ และ เราจะสามารถพัฒนาทักษะนี้ได้อย่างไร?
Resilience skill คืออะไร?
Resilience คือ ความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิมด้วยความคิดยืดหยุ่น หรือ ถ้าให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายๆ ก็คืออาการ “ล้มแล้วลุกให้เร็ว” นั่นเอง ผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำในระดับโลกต่างก็พยายามที่จะปลูกฝังทักษะความคิดยืดหยุ่นให้แก่พนักงานในองค์กรของตน
แต่เส้นทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมนุษย์ย่อมมีกลไกทางสมองแบบผู้นำตามธรรมชาติที่น้อยคนนักจะเข้าใจ เราเรียกกลไกทางสมองนั้นว่า “สมองอึด ฮึด สู้” ซึ่งถือเป็นพลังสุขภาพจิตเพิ่มความเข้มแข็งทางใจจากสมองส่วนหน้าที่สื่อสารวางแผนการรู้คิดก่อนพูด ยับยั้งชั่งใจ และบริหารจัดการให้อารมณ์อึด จิตใจฮึด คิดสู้แก้ปัญหาชีวิต ซึ่งวารสารประสาทวิทยาประจำปี 2022 ย้ำว่า “ในสถานการณ์ COVID-19 ถือเป็นสัญญาณเตือนให้เราค้นพบสัญญาณชีพตัวใหม่ คือ ดัชนีความเข้มแข็งทางใจ ที่จำเป็นต่อการประเมินค่าความสามารถสูงสุดของรายบุคคลเพื่อลดความเสี่ยงต่อตัวกระตุ้นความเครียด การสบประมาท การบาดเจ็บ การเจ็บป่วยจากโรค จนถึง ความพิการ ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย”
ทีม InMind ได้ศึกษาเรื่องนี้ด้วย กระบวนการคิดเชิงออกแบบจนได้นวัตกรรมการตรวจสมองรายบุคคลในระดับปัญญาสุขภาพ และ ศึกษาแอปพลิเคชันจากผลงานวิจัยของนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมมหิดล พบว่าองค์ประกอบสำคัญที่ควรฝึกเป็นทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่วัย 8 ปี จนถึง 80 ปี จนกระทั่งสามารถดึงศักยภาพสมองอึด ฮึด สู้ นำมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพ ความสัมพันธ์ การสื่อสาร และการทำงานจนประสบผลสำเร็จได้ ถึงแม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงบริบทองค์กรอย่างไม่แน่นอนก็ตาม ซึ่งปัญญาสุขภาพที่ทีม InMind ออกแบบสูตรผ่านการคำนวณคลื่นสมองเพื่อสะท้อนศักยภาพแผนที่สมองนี้ ประกอบด้วย 4 ส่วน อ้างอิง Talented Brain Performance ดังต่อไปนี้
- Creativity
- Cognitive Flexibility
- Empathy
- Leadership
How to improve Creativity – ทำอย่างไรจะฝึกจิตให้คิดสร้างสรรค์
1. Grit จิตแข็งแกร่งต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและเทคโนโลยี
โดยอาศัยความรู้สึกเบื้องต้น คือ การทานอาหารเพื่อสุขภาพ นอนหลับลึกให้เต็มอิ่ม ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กำจัดสารพิษกายใจให้ออกจากร่างกาย และประเมินกับรักษาสมดุลสุขภาวะแห่งตนเต็มศักยภาพ จินตนาการเสมอว่าสุขภาพจะเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น มีพลังงานคืนร่างกายที่มีชีวิตชีวาพร้อมด้วยการตระหนักรู้ทดสอบสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอ อันได้แก่ การแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ มีความอดทน มีความเพียร และมีการผ่อนความโหดร้ายภายในใจตน
เรามีความสามารถที่จะรับรู้สาเหตุที่เกิดขึ้นว่า เราไม่สามารถควบคุมผลที่เกิดตามมาได้ทุกปัญหา จะได้ทบทวนความรับผิดชอบต่อใจที่มีจิตสงบภายในตนเองอย่างสม่ำเสมอ เราช่วยทำอะไรได้ในวันนี้ จงเรียนรู้ว่าการที่เราไม่ได้ช่วยทำอะไรเลย คือ การแก้ปัญหาที่ดูถูกตัวเองมากเกินไป ชีวิตไร้สถานการณ์อันท้าทาย ไร้ความปรารถนาแห่งความหวังดี ไร้สัมพันธภาพอันดี
2. Gratitude ความกตัญญูต่อสภาพสังคม
สุขที่คาดหวังจากคนอื่นถือเป็นตัวกระตุ้นความผิดหวังและความอิจฉาริษยาในใจเรา เราลองขบคิดดูเมื่อคนหนึ่งดีใจต่อเรา เราจะจดจำความรู้สึกสัมผัสใจในตอนนั้นได้แค่ไหน? การรับรู้สึกประสบผลสำเร็จทีละนิดทุกๆ วัน จะชวนให้เราเพลิดเพลินรักในสิ่งที่ทำ เกิดไอเดียอันน่าหลงใหล มีเวลาดีๆ กับคนอื่น
ดังนั้นจงลดความคิดลบที่จะเห็นเพียงตัวเองเป็นคนสำคัญแล้วคอยกำกับสั่งการคนอื่น เรากำลังรู้สึกดีขึ้นในอนาคต แต่บ่อยครั้งที่เรากำลังมีอารมณ์ตึงเครียดกับปัจจุบันขณะ เพราะการยึดติดคาดหวังคำขอบคุณจากคนอื่น การแสดงคำขอบคุณในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มิได้ป้องกันความอคติหรือยึดติดเป้าหมายด้วยความลำเอียงภายในใจตน
หากแต่เรากำลังต่อสู้กับสิ่งท้าทายและยังคงมีอีกหลายร้อยเป้าหมายที่เราจะก้าวข้ามไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง ถ้าเราสามารถแสดงความสุขเมื่อคนอื่นมีความสุขได้ด้วยนั้น เราจะพบความสุขที่ยั้งยืน ความสุขทางใจนี้จะคลายความเครียดด้วยความเพลิดเพลินใจ ไร้ความอิจฉาตาร้อน ทำให้เราไม่พบกับความเศร้าอย่างแน่นอน
3. Confidence ความมั่นใจ
เรากำลังรู้ว่าเราเป็นคนดีคนหนึ่ง ทบทวนชีวิตที่ปรับปรุงได้ดีขึ้น ตำหนิผู้อื่นน้อยลง คบเพื่อนด้วยความเป็นกัลยาณมิตรคิดบวก แสดงความเมตตาจริงใจ มีความรักความเข้าใจด้วยโลกแห่งความยุติธรรมแก่เพื่อนมนุษย์ เมื่อต้องพบเจอสิ่งที่ยากลำบาก พยายามตั้งสติและวิจารณ์ตนเองถึง จุดแข็งแห่งตน จุดที่บำรุงจิตใจภายในร่างกายของเราให้เติบโต มีพื้นที่ปลอดภัยและเป็นพวกพ้องสามัคคี
เรามีพัฒนาการตั้งแต่วัยเด็กที่สมองจดจำเล่าเรื่องราวของการได้รับการดูแลเอาใจใส่และทำให้เราพึ่งพิงผู้อื่นด้วยความเห็นอกเห็นใจกัน พยายามลงทะเบียนคำพูดคิดบวกในสมองของเราอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามองเห็นอ่านใจตนและคนอื่นด้วยการกระทำที่สุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ใช้ความสามารถสูงสุด แรงพยายาม ความเอาใจเขามาใส่ใจเรา วันที่เรากำลังทำงานหนัก กำลังสร้างมิตรภาพ กำลังทำสิ่งที่ผิดพลาดไปบ้าง กำลังเรียนรู้จนเกิดความชำนาญทักษะชีวิตที่ช่วยเหลือคนอื่นได้ดี มีความอดทนอดกลั่นและอดออม และเป็นผู้ให้ความรักแก่ตนเองกับผู้อื่นอยู่เสมอ
How to improve Flexibility – ทำอย่างไรจะเพิ่มความยืดหยุ่น
1. Courage กล้าทำงานเป็นทีม
เราจำเป็นที่มีความกล้าขณะพูดกับคนอื่นอย่างเปิดใจจริงจัง แยกประสบการณ์ส่วนตัวกับการระดมความคิดแก้ปัญหา โดยเน้นผลลัพธ์ วัตถุประสงค์ของการแก้ปัญหา คือ ถอดถอนคำชวนเชื่อ คุณคือใคร? มีอะไรพูดคุยตรงประเด็นบ้าง? การพูดที่ฉลาดคือ ตั้งใจคิดบวก เป็นความจริง ได้ประโยชน์ในเวลาอันสั้น ไม่เร่งรีบ และเป็นที่ต้องการตอบโจทย์ เมื่อเราต้องการปรับปรุง ให้ตรวจสอบสองรอบว่าเราคิดอะไร จะพูดทำให้คนอื่นเสียกำลังใจ เจ็บใจ ข่มเหงน้ำใจหรือไม่?
และจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ถ้าเราขอร้องด้วยคำพูดสุภาพและง่ายต่อความเข้าใจของคนอื่นว่า เราหวังที่จะทำอะไรให้แตกต่างหรือเปลี่ยนแปลงไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฉันรู้สึก ฉันคือใคร? กระบวนการเป็นอย่างไรที่ฉันจะช่วยทำ? ความจริงที่ยังเก็บไว้คาใจตัวเองคืออะไร? เข้าร่วมเมื่อมั่นใจในความเชี่ยวชาญของเราและความรู้สึกอยากช่วยเหลือส่วนบุคคล
2. Aspiration ความทะเยอทะยานที่ควบคุมได้อย่างยืดหยุ่น
มีจิตที่เติบโตได้ด้วยการใส่ใจในแรงพยายามเรียนรู้และเติบโตมากกว่าคิดคาดหวังความสำเร็จอย่างเดียว ไม่เป็นไรเลยที่เราจะผิดพลาดบ้าง โปรดระลึกรู้ว่า เรากำลังให้อะไรเต็มความสามารถของเราแล้ว และรู้ว่าจะเกิดผลอย่างไรเมื่อพ้นมือเราออกไป ไม่ต้องใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นหลัก เพราะเราไม่สามารถที่จะทำให้ทุกคนมีความสุขได้แม้แต่ลูกๆ ของเราเอง จงค้นหาจุดสมดุลอันหวานชื่นในความรัก การทำงาน และการเล่น คิดคำนึกถึงเวลาหนึ่งในชีวิตของเราที่มีจิตเบิกบาน หลีกเลี่ยงระลึกถึงประสบการณ์อันน่าหวาดกลัว เพราะเวลาที่เราเกิดความทรงจำแย่ๆ นั้น ยิ่งเราครุ่นคิดก็ยิ่งใช้เวลานานเป็นวัน พอเปลี่ยนมาเป็นปีที่เหลือเวลาอยู่นั้น วันเวลาผ่านไปเร็วนัก
3. Generosity ความเอื้ออาทร
กระบวนการฝึกให้อภัยเกิดขึ้นหลังจาก ปฏิเสธ ไม่ใช่ความผิดของตนเอง เปลี่ยนเป็น ความโกรธต่อตนเองและผู้อื่น เริ่มมีการเจรจาต่อรองให้ผู้อื่นคิดว่าตนเองไม่ผิด เกิดความละอายใจใจความผิดของตนเองจนซึมเศร้า และใช้เวลาสื่อสารกับตนเองนานจนกว่าจิตจะเปิดใจยอมรับความผิดแห่งตน
จงใช้สติให้กำลังรู้ว่า เราจะทำอะไรและจะปล่อยจิตที่ฟุ้งซ่านให้คลายใจได้อย่างไร? ให้จิตสงบเป็นรางวัลแห่งชีวิต จงขอโทษทันที เพื่อคงคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่มีการกระทำความดีงามต่อกัน มองเปิดใจกว้าง โดยเฉพาะให้อภัยตัวเองที่คิดลบ ความเอื้ออาทรส่วนใหญ่ไม่ข้องเกี่ยวกับการใช้เงินใดๆ ขึ้นอยู่กับความซาบซึ้งใจในตนเองเพื่อแสดงความเป็นคนดีมีน้ำใจช่วยเหลือด้วยความเมตตาที่จะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกสันติสุข
How to improve Empathy- เราจะฝึกความเห็นอกเห็นใจได้อย่างไร
1. Calm จิตสงบ
กระตุ้นสมองระบบพักกับย่อยอาหาร ยับยั้งสมองระบบสู้หรือหนีด้วยวิธีการผ่อนคลายหรือทำสมาธิ และการคิดใคร่ครวญด้วยการเขียน “ภาพมโน – จินตนาการพลังโกรธแบบเสือในตัวเรา” ให้เลือกระหว่าง มโนว่ามีเสือโกรธภายในตัวเราเพราะคิดคาดเดาไปเอง หรือ มีเสือโกรธภายนอกตัวเรา แต่เราหลีกเลี่ยงที่จะยอมรับความผิดพลาดจากฝีมือของเรา จิตจะสงบได้ เมื่อใจเราให้อภัยตัวเองและผู้อื่น ด้วยพลังแห่งคำพูดยืนยันเปิดใจยอมรับความผิดพลาดและจะปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ เพื่อป้องกัน โจรปล้นใจในสมองอารมณ์ส่วนอะมิคดาลา โดยไม่ยึดติดกับการตัดสินถูกผิดและการตำหนิจับผิดคนอื่นไปเรื่อยด้วยความคิดลบ
2. Motivation แรงจูงใจให้ชีวิตมีเป้าหมาย
แนะนำตัวเราเองในทุกๆ วันว่า มีเรามีเป้าหมายอะไร? (ถูกต้อง ใจดี มีเมตตา พัฒนาอย่างไร?) ไม่ด่วนตัดสินใครผิดจนทำให้เสียน้ำตาแบบตกใน หรือร้องไห้ออกมาทันทีมีการเรียนรู้ว่าเราจะควบคุมความชอบโดยปราศจากความต้องการในแบบเคร่งเครียดได้อย่างไร? การมีสุขภาพดีมีพลังใจนั้นจะใช้พลังงานกระตุ้นให้ระวังอารมณ์ลบอันเป็นสาเหตุแห่งความสุขกับความรักที่เต็มไปด้วยความเครียดลบ ซึ่งสารสื่อสมองโดปามีนไม่จำเป็นที่จะสร้างแรงจูงใจให้คาดหวังรางวัลอยู่ตลอดเวลา นั่นคือ เราน่าจะฝึกเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับอยู่ตลอดเวลา
3. Intimacy ความใกล้ชิดคิดเรื่องคนและสัมพันธภาพ
ขึ้นอยู่กับความคิดแต่เรื่องตัวเอง ซ่อนอยู่ภายในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเรามากน้อยแค่ไหน การคงไว้ซึ่งความเห็นอกเห็นใจ ความเมตตากรุณาต่อกัน มิใช่การแสดงความรักโรแมนติด – พูดจาหวานชื่นเพียงเปลือกนอก การฝึกทำความดีแก่คนรอบข้าง ตำหนิน้อยลง ขัดแย้งลดลง รับผิดชอบต่อความประพฤติของตนเอง ไม่รบกวน คุมอารมณ์ได้ ไม่ทำให้คนอื่นยุ่งยาก ไม่คอยจับผิดพิสูจน์ราวกับคนร้าย ไม่โต้เถียงในสิ่งที่จบไปแล้ว ไม่วิพากษ์วิจารณ์จนเกินเหตุอันควร โปรดระลึกเสมอว่าพวกเขาทั้งหลายเคยมีวันที่ไม่สบายใจ ลองเริ่มพูดเห็นด้วยกันพวกเขาบ้าง บอกได้ถ้าเราไปประชุมสาย ออกก่อนเวลาและไปถึงตรงเวลาเสมอ กล้าถกแถลงในส่วนที่ตนเองสร้างปัญหาแล้วพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาต้องการจริงจัง
How to improve Leadership – ทำอย่างไรจะเพิ่มภาวะผู้นำตามธรรมชาติในตัวเราทุกคน
1. Compassion จิตเติบโตด้วยใจเมตตาให้เป็นรางวัลแห่งชีวิต
แสดงการให้ความรักต่อตัวเองและพร้อมช่วยเหลือผู้อื่นอย่างพอดี มีความเครียดลดลง ร่างกายมีจิตสงบ ยิ่งให้ความดี ยิ่งได้รับความดี ในหนึ่งลมหายใจ หรือสอง หรือสิบ รอบลมหายใจ ให้เรียนรู้ความรักต่อตัวเอง เราจำเป็นที่จะยอมรับตัวตนที่แท้จริง คือ คิดลบ คิดบวก ไม่คิดอะไรเลย ในปมประสาทฐานของสมองจะสร้างสารโดปามัน ที่ทำหน้าที่จัดลำดับรางวัลให้กับการกระทำของเรา เช่น เราสนุกกับชีวิตคือพลังความห่วงใยที่สำคัญที่สุดในทุกนาทีแห่งการดำเนินชีวิต
2. Mindfulness จิตมีสติ
สมองทำงานคล้ายแถบยึดกับประสบการณ์อันเลวร้าย แต่คล้ายแถบลื่นกับประสบการณ์อันดีงาม เราจะตอบสนองความต้องการที่แท้จริงอย่างไรให้พลังใจรับรู้สึกเป็นสีเขียว (สันติ พอใจ และไม่คาดหวังสิ่งใด) และคอยเตือนจิตฝึกสติรับรู้สีแดงให้จางลง คือ ความกลัว คับข้องใจ และเจ็บปวดกายใจ ลบจิตสีแดงให้เร็วที่สุด เราเอ่ยคำออกมาได้เลยว่า กำลังเกิดประสบการณ์ใดที่แย่อยู่ กำลังรู้สึกอะไรบ้างให้ดำเนินต่อไป สุดท้ายกำลังคิดที่จะช่วยอะไรเพื่อตอบสนองความรู้สึกของเราให้ได้ความจำเป็นที่แท้จริง
3. Learning กำลังเรียนรู้ทำงานอย่างเป็นระบบ
กระตุ้นและใส่ใจในการเปลี่ยนแปลงระบบประสาทตามธรรมชาติของ “กำลังเรียนรู้ว่าตัวเราเรียนอย่างไรให้เกิดการเยียวยาชีวิต” ด้วยหลักการ HEAL โดยแยกเป็นเทคนิค คือ
- H – Have a positive experience: มีประสบการณ์อันดีงาม
- E – Enrich it: เสริมสร้างความรู้สึกดีต่อใจ
- A – Absorb it: ซึบซับรับรู้คิดบวก
- L – Link positive and negative material: เชื่อมโยงแทนที่สิ่งที่เคยปวดใจ ลองกำลังคิดถึงความเป็นจริง
เช่น เรื่องจริงที่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ไว้ใจและนับได้เป็นรูปธรรม และประสบการณ์ชีวิตคิดบวกที่ผ่านเข้ามาในชีวิต มิใช่เงื่อนไขหรือปัญหาที่เข้ามารุมเร้าตัวเรา เราทุกคนรู้ว่า กระบวนการปิ๊งแว้ปตามธรรมชาติเป็นอย่างไร?
วิธีที่ส่งเสริมหนึ่งประสบการณ์คิดบวก ได้แก่
- ยืดภาพความทรงจำที่ดีแล้วพูดออกมาสัก 5-10 วินาที
- เปิดใจทำความคิดบวกให้สั้นกระชับได้จับใจความสำคัญ
- จินตนาการต่อได้ว่าความทรงจำนี้เกิดครั้งแรกในชีวิตเมื่อใด และ
- คุณให้คุณค่าอย่างไร?
นอกจากนี้เรายังสามารถลองได้อีก 3 วิธี ที่จะเพิ่มการซับซับความคิดบวกสู่สมองของเรา คือ
- ตั้งใจคิดดี
- สื่อสารความคิดดีด้วยหัวใจที่งดงามดุจอัญมณี และ
- ให้รางวัลกับตัวเองบ้าง
เราต้องทำการแจกแจงรายละเอียดสิ่งท้าทายรอบตัวเรา แล้วต้องกล้าเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายภายในใจเรา เช่น การตำหนิตนเอง การรับรู้สึกไม่ต้องการสิ่งใดๆ แล้วค่อยๆ แยกแยะจิตดีงามที่เป็นตัวเรา เช่น ปลอดภัย พอใจ เป็นมิตร ด้วยความรักและแก้ปัญหาได้เร็วด้วยการคิดบวกแล้วมุ่งมั่นคิดพูดทำออกมาอย่างสร้างสรรค์
ทั้งหมดก็เป็นหลักการที่พวกเราสามารถฝึกฝนตัวเองกันได้ เพื่อสุขภาพสมองที่ดีและส่งผลไปถึงการใช้งานศักยภาพสมองได้ดีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั้ง 4 องค์ประกอบนั้น ยังส่งผลต่อการมีทักษะ Resilience skill ได้อีกด้วย
Source:
เนื้อหาบางส่วนอ้างอิงจาก Hanson, R., & Hanson, F. Resilient: Find you inner strength. London: Ebury Publishing; 2018 และ กระบวนการคิดเชิงออกแบบจนได้นวัตกรรมการตรวจสมองรายบุคคลในระดับปัญญาสุขภาพของ InMind