THE POWER OF WHEN – พลังแห่ง “เมื่อไหร่” เราเป็นคนแบบไหนใน 4 แบบ ดังต่อไปนี้ ปลาโลมา สิงโต หมี และหมาป่า? แล้วจะใช้เวลาอย่างไรให้ส่งผลต่อตัวเราได้มากที่สุด?
แม้ทุกคนบนโลกนี้จะมีเวลา 24 ชั่วโมงต่อวันเท่ากัน แต่สิ่งที่ต้องยอมรับนั่นก็คือ ทุกคนไม่สามารถทำงานเท่ากันได้ อาจจะด้วยสภาพแวดล้อม อุปนิสัย หรือ แม้แต่ในเรื่องของภาระที่แต่ละคนต้องแบกรับเอาไว้ จึงทำให้แม้เราจะพูดว่าทุกคนมีเวลาเท่ากัน ในเชิงทฤษฎีน่ะใช่ แต่ในทางปฏิบัติน่ะไม่เลย
เราต่างเคยนั่งสงสัยว่าทำไมเพื่อนคนนั้นถึงทำงานได้วันละ 4-5 งาน ในขณะที่เราทำเสร็จได้ 1-2 งานก็หมดวันแล้ว หรือ แม้กระทั่งตอนอ่านหนังสือสอบ 1 วิชา เราใช้เวลาแค่ 2-3 วันเท่านั้น แต่เพื่อนที่เรียนด้วยกันกลับใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในการอ่านหนังสือ 1 วิชา ถึงแม้เวลา 24 ชั่วโมงต่อวันในบางครั้งจะเดินช้าไม่ได้ดั่งใจ แต่ผู้คนมักต้องการให้ 1 วันมีมากกว่า 24 ชั่วโมงเสมอ เมื่อผลประโยชน์ที่คุณเฝ้ารอมีความสำคัญมากกว่าเวลา จึงทำให้คุณรู้สึกว่าเวลาที่มีมันไม่พอเอาเสียเลย
ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงที่เหมือนกันของพวกเรามีสิ่งที่เรียกว่า “นาฬิกาชีวภาพ” ที่แตกต่างกัน จากหนังสือ THE POWER OF WHEN ของ Michael Breus นักจิตวิทยาชื่อดัง เขาได้แบ่งการใช้เวลาใน 24 ชั่วโมงของคนเราออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน ซึ่งประกอบไปด้วย ปลาโลมา สิงโต หมี และหมาป่า
“ทุกสิ่งที่คุณทำได้หรือต้องทำ ถูกควบคุมโดยจังหวะทางสรีรวิทยา แม้ว่าคุณจะไม่ได้ตระหนักถึงข้อนี้เลยก็ตาม”
นาฬิกาชีวภาพ หรืออาจเรียกได้ว่าการจัดการรร่างกายของสิ่งมีชีวิต เป็นเกณฑ์ที่ใช้แยกประเภทรูปแบบการใช้เวลา 24 ชั่วโมงนั้นที่แตกต่างกันไป การตื่นเช้าตรู่ที่คนเราพูดถึงอาจไม่ได้แปลว่าดี แต่สังคมหล่อหลอมให้เข้าใจว่าดี แม้การตื่นเช้าอาจทำให้คุณง่วงตอนบ่าย และนอนตั้งแต่หัวค่ำ ช่วงเวลาที่คุณเลือกใช้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดี ประสิทธิภาพในการใช้ร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ในแต่ละวัน โดยประเภทนาฬิกาชีวภาพของแต่ละคนสามารถแบ่งออกเป็นสัตว์ 4 ชนิดดังนี้
1. ปลาโลมา: นอนไม่หลับ หลับไม่ลึก ตื่นง่าย รู้สึกไม่สดชื่นตอนตื่น ต้องพึ่งพากาแฟอยู่เสมอ มี 10% ของ
ประชากรบนโลก
2. สิงโต: ตื่นเช้า กระฉับกระเฉงมาก กระตือรือร้นและทำงานตอนเช้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องเข้า
นอนเร็ว มีประมาณ 15-20% ของประชากรบนโลก
3. หมี: ทำไมตัวไหลไปตามสถานการณ์ ทำงานระหว่างวันได้ แต่ไม่ปฏิเสธโอกาสที่จะได้งีบหลับบ้างระหว่างวัน
เช่นกัน มีประมาณ 50% ของประชากรบนโลก
4. หมาป่า: นักล่ายามราตรี ตอนกลางคืนตาสว่าง ตอนกลางวันหลับ ยิ่งดึกยิ่งคึกคัก มีประมาณ 15-20% ของประชากรบนโลก
“ขอบคุณช่างทำนาฬิกา พระอาทิตย์”
ตั้งแต่คุณเกิด คุณจะได้เจอช่างทำนาฬิกาหรือผู้คุมกฎกติการในการหลับนอนมาตลอดชีวิต ที่กำลังพูดนี้ไม่ได้หมายถึงคุณแม่ที่บอกให้คุณเข้านอนแต่หัวค่ำตอนเป็นเด็ก หรือคุณพ่อที่นั่งดูบอลยาวเกือบเช้ากับคุณ ผู้คุมกติกาการหลับนอนได้อย่างสมบูรณ์แบบเสมอมาของมนุษย์ทุกคนนั่นก็คือ พระอาทิตย์ แสงแดดช่วยกระตุ้นการหลั่งคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดให้ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เมื่อระดับของมันสูงขึ้น ร่างกายจะได้รับสัญญาให้ตื่นโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้เมื่อหมดแสงแดด ร่างกายจะสังเคราะห์เมลาโทนินหรือฮอร์โมนการนอนหลับออกมา และคุณจะเริ่มคิดถึงหมอนกับเตียงนุ่มๆ ของคุณ
“ทุกอย่างเปลี่ยนไป เมื่อ Thomas Edison คิดค้นหลอดไฟในปี 1879”
จากผู้คนที่อาศัยโดยการพึ่งพาแสงแดดจากพระอาทิตย์ เมื่อหลอดไฟเข้ามา การรับรู้กลางวันและกลางคืนของเราหลายคนก็เปลี่ยนไป ผู้คนเลิกนอนตอนพระอาทิตย์ตก แต่เลือกที่จะออกไปท่องราตรีให้แสงจันทร์อาบ สนุกสนาน ปาร์ตี้อย่างสุดเหวี่ยง หลายคนอาจจะจำความรู้สึกเฉื่อยๆ ปวดหัวนิดๆ ตอนที่ยกแก้วเหล้าชนกับเพื่อนแก้วสุดท้ายตอน 7.00 น. ผู้คนมีชีวิตที่เปลี่ยนไป หลายคนมีตารางเวลาที่ต้องการใช้ชีวิตเป็นของตัวเองโดยไม่คำนึงถึงพระอาทิตย์อีกต่อไป
“การแก้ไขระดับคอร์ติซอลช่วยให้ปลาโลมาหลายตัวรับมืออาการนอนไม่หลับได้ดีขึ้น”
ผู้คนที่อยู่ใน Time zone ประเภทปลาโลมา มักมีอาการนอนไม่หลับ แม้มีเสียงเพียงเล็กน้อยก็มักจะได้ยินและตื่นขึ้นมาอยู่เสมอ การทำงานอย่างต่อเนื่องและการพักผ่อนที่น้อยเกินรับได้ทำให้การหลั่งคอร์ติซอลผิดปกติ ในเวลากลางคืนกลับมีระดับคอร์ติซอลที่สูงเกินจะข่มตานอน แต่สมองกับสดใสพร้อมทำงาน จิตใจอาจเกิดหลงทางในตอนเช้า มีความขุ่นมัวและความวิตกกังวลในตอนเย็นวนลูปไปในลักษณะนี้
“ระหว่างวัน ให้ลองคิดถึงความคิดทั้งหมดที่มักรบกวนคุณในตอนค่ำคืน และเป็นสาเหตุให้คุณนอนไม่หลับ”
หลังจากตื่นนอนในตอนเช้าคุณสามารถอาบน้ำเย็นหรือออกกำลังกายเพื่อเพิ่มระดับคอร์ติซอลและอุณหภูมิในร่างกายของคุณได้ คุณอาจเติมคาเฟอีนด้วยกาแฟตอนกลางวัน ทานอาหารกลางวันให้พอดีเพื่อเอาชนะความเหนื่อยล้า หลังจากนั้นจนถึง 16.00 น. จะเป็นช่วงเวลาที่คุณตื่นตัวสูงสุด นี่คือช่วงเวลาที่สมบูรณ์แบบในการทำงานให้เกิดประสิทธิผล สำหรับมื้อเย็นคุณสามารถทานคาร์โบไฮเดรตเพื่อเพิ่มเซโรโทนินฮอร์โมนและลดคอร์ติซอลได้ หลังเวลา 20.00 น. จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการมีเซ็กส์ ออกซิโตซินฮอร์โมนความรักช่วยสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับเตียงและขจัดความวิตกกังวล ในเวลา 23.30 น. คือช่วงเวลาที่คุณควรอยู่บนเตียงเพื่อผ่อนคลายและเตรียมตัวนอน
“สิงโตจำเป็นต้องกระจายพลังงานระหว่างวัน”
สิงโตเป็นคนประเภทกระตือรือร้นที่จะประสบความสำเร็จ ความง่วงนอนของสิงโตระเหยและหายไปกับอากาศก่อนรุ่งสางและคอร์ติซอลสูงขึ้นเมื่อพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า กล่าวคือพวกเขาตื่นเช้ามาทำงานและเข้านอนเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พลังงานของสิงโตจะอยู่แค่ช่วงครึ่งแรกของวันเท่านั้น ตอนเย็นพวกเขาจะหมดแรงและพลาดสิ่งที่น่าตื่นเต้นหลายต่อหลายอย่างไป สิ่งที่พวกเขาลองทำได้คือการกินโปรตีนให้เยอะเป็นอาหารเช้า เซ็กส์ในตอนเช้าจะทำให้คุณจิตใจสงบและพร้อมออกไปรับสิ่งต่างๆ มาขึ้น ช่วงเวลาก่อนเที่ยงวันคือเวลาสำคัญที่เหมาะแก่การทำงานให้เกิดประสิทธิผลที่สุด ในช่วงบ่ายพยายามหากิจกรรมที่ผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และลองออกกำลังกายในตอนเย็นก่อนเข้าสู่ช่วงเวลาค่ำ อาบน้ำเย็นและหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตสำหรับมื้อเย็นจะช่วยให้คุณสนุกสนานในช่วงเวลาหลัง 19.00 น. ไปได้อีก 2-3 ชั่วโมง
“หมีสามารถหาเวลาทำงานในวันธรรมดาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหนื่อยหน่ายช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์”
ประเภทหมี มีแนวโน้มที่จะทำงานระหว่างวัน ทานอาหาร และเข้านอนอย่างไม่เป็นระบบ พวกเขามักเหนื่อยล้าเกินกว่าจะเข้าสังคมในวันหยุด ความง่วงหลังจากลุกขึ้นจากเตียงจะผลักคุณให้ล้มลงบนโซฟาอีกครั้ง การทำงานดึก การนอนหลับที่ยาวนาน และการนอนไม่หลับในหยุด จะทำให้คุณเริ่มวันจันทร์ด้วยความเหนื่อยหน่ายตั้งแต่เช้า พวกเขาต้องใช้เวลาฟื้นฟูความเหนื่อยล้าอยู่หลายวันเลยด้วยซ้ำ หากใครคิดว่าตัวเองเป็นประเภทนี้ควรเริ่มต้นจากการตั้งนาฬิกาปลุกให้เป็นเวลา อาจจะตื่นตอน 7.00 น. มีเซ็กส์หรือออกกำลังกายหลังจากตื่นเพื่อเพิ่มพลังบวกระหว่างวัน กินโปรตีนเป็นอาหารเช้า และในมื้อกลางวันให้คุณเดินเล่นก่อนที่จะกิน และเมื่อกินเสร็จให้เดินเล่นอีกครั้ง คุณอาจจะเพิ่มความเข้มข้นระหว่างวันด้วยกาแฟ หรืองีบหลับหลังอาหารกลางวันสัก 10-15 นาที หลังจากเลิกงานคุณจะยังคงสดชื่นอยู่ ให้ใช้เวลานี้ทำในเรื่องที่คุณอยากทำแทนช่วงเวลาวันหยุดสุดสัปดาห์ที่คุณไร้เรี่ยวแรง หลังจาก 22.00 น. คุณอาจจะอาบน้ำ นั่งสมาธิ หรือยืดเส้นยืดสายก่อนนอน
“หมาป่าต้องใช้ประโยชน์จากตอนเช้าเมื่อร่างกายของพวกเขาเพิ่งตื่นนอน”
โดยธรรมชาติแล้วหมาป่าจะกระฉับกระเฉงในที่มืด เป็นเรื่องลำบากมากเมื่อต้องใช้ชีวิตในโหมดนี้ หมาป่ามักจะมีระดับเมลาโทนินลดลงในตอนเช้าและหายไปตอนเที่ยงในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่หมาป่าทำได้คือลองใช้เวลาอย่างอิสระบนเตียงช่วง 7.00 น. เพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมอง จากนั้นบังคับตัวเองให้ลุกขึ้น กินโปรตีนเป็นอาหารเช้า จะขอสูตรจากสิงโตก็ได้ จากนั้นให้ลองไปเดินเล่น ออกกำลังกาย รับแสงแดดเมื่อให้พระอาทิตย์ ขับเมลาโทนินออกไปและการเคลื่อนไหวจะเร่งการไหลเวียนของคอร์ติซอล ก่อน 11:00 น. หลังจากนั้นคุณสามารถพึ่งพากาแฟได้สักถ้วย ตอนบ่ายลองกินอาหารกลางวันและกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอนเย็นลองหาของว่างทานและพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานสักนิด และต่อด้วยการออกกำลังกายหรือเดินเล่นเล็กน้อยตอนเย็น ก่อนจจะจบด้วยรับประทานอาหารตอน 20.00 น.
“หากคุณทำสิ่งต่างๆในเวลาที่เหมาะสม คุณจะประสบความสำเร็จ”
ทุกคนต้องเผชิญหน้ากับการขาดพลังงาน แม้แต่เจ้าป่าอย่างสิงโต สัตว์น่าอย่างโลมา สัตว์ตัวใหญ่อย่างหมี หรือแม้แต่ตัวร้ายในนิทานอย่างหมาป่า ข่าวดีคือคุณสามารถทำสิ่งต่างๆให้ลุล่วงไปได้แม้พลังงานคุณจะหมด แม้เวลาจะมีแค่ 24 ชั่วโมงเท่าเดิม ใช้สถานการณ์ทำงานของสมองที่แตกต่างกันให้เป็นประโยชน์ เมื่อระดับคอร์ติซอล ของคุณสูง คุณควรให้ความสําคัญกับสิ่งที่ต้องการความสามารถในการวิเคราะห์ของคุณเช่นการสร้างกลยุทธ์ การเจรจา การสัมภาษณ์ หรือการทำงานที่ต้องใช้สมองอย่างหนัก เมื่อคอร์ติซอลต่ำและสมองช้าลงการมุ่งเน้นไปที่งานประจําความคิดสร้างสรรค์การสนทนาแบบสบา ๆ และการพักผ่อนจะดีที่สุด
บทสรุป
ผู้คนมักบอกว่าเวลาที่ไม่เคยพอเป็นปัญหาสำหรับทุกคน เพื่อใช้เวลา 24 ชั่วโมงให้เพียงพอ คุณควรกำหนดความต้องการของร่างกายและสมอง ทำความรู้จักรูปแบบที่เหมาะสมกับคุณทั้งในทางที่คุณต้องการและร่างกายคุณต้องการ พยายามปฏิบัติต่อร่างกายของคุณราวกับเป็นคนรักกัน เพราะร่างกายคุณต้องอยู่กับคุณไปจนวันท้าย เริ่มฟัง เรียนรู้ความต้องการ และพยายามตอบสนองสิ่งที่ร่างกายพยายามบอก แม้แต่การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยอย่างการเลือกอาหารเย็น การเปลี่ยนเวลาตื่นหรือนอน หรือการมีเซ็กส์ ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในแต่ละชั่วโมงของคุณในวันนั้นๆ ได้
“ผู้ที่มีเหตุผลให้มีชีวิตอยู่ จะใช้เวลา 24 ชั่วโมงนั้นไปกับการเป็นโลมา สิงโต หมี และหมาป่าได้เกือบทั้งหมด”
จากหนังสือ THE POWER OF WHEN – พลังแห่ง “เมื่อไหร่”

รายละเอียดเพิ่มเติม https://shope.ee/VhPLps2M4
บทความแนะนำ
The 15 Invaluable Laws of Growth – กฎทองแห่งการพัฒนาตนเอง 15 ข้อ