Close Menu
The Practical

    Subscribe to Updates

    Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

    What's Hot

    ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

    พฤษภาคม 19, 2025

    ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

    พฤษภาคม 19, 2025

    Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

    กุมภาพันธ์ 7, 2025
    Facebook YouTube Spotify Pinterest
    Facebook YouTube Spotify
    The Practical
    Login
    • Home
    • Work
    • Life
      • Finance and Investment
      • Guarantee
      • Labor Law
      • Real Estate
    • Balance
      • Book Reviews
      • Movie Reviews
      • Product Reviews
    • Sustainability
      • DJSI
      • SDGs
    • People Stories
      • Happy Growth
      • Others
      • Transformative Learning
      • UNMASK STORY
      • Vision Mission
    • InMind
    • Podcast
    The Practical
    • Home
    • Work
    • Life
    • Balance
    • Sustainability
    • People Stories
    • InMind
    • Podcast
    Home»Work»Work-Life Balance หรือ Work ไร้ Balance – เมื่องานกำลังกระทบกับชีวิตส่วนตัว
    Work

    Work-Life Balance หรือ Work ไร้ Balance – เมื่องานกำลังกระทบกับชีวิตส่วนตัว

    mypilottest01By mypilottest01สิงหาคม 30, 2022ไม่มีความเห็น2 Mins Read
    Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp VKontakte Email
    Woman sitting at table at home office and works with computer. Freelancer remotely working late. Emotional stress and burnout
    Share
    Facebook Twitter LinkedIn Pinterest Email

    Work-Life Balance เป็น แนวคิดที่เกี่ยวกับการปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อลดผลกระทบจากการที่ต้องทำงานหนักจนเกินไป

    ในสังคมการทำงานเราประกอบไปด้วยคนหลากหลายประเภท ในงานเดียวกันบางคนใช้เวลาเพียงชั่วโมงเดียว และบางคนใช้เวลาเป็นวันเพื่อให้ได้งานที่มีผลลัพธ์เหมือนกันออกมา หนึ่งในวัฒนธรรมการทำงานที่เกิดขึ้นจริงก็คือบางบริษัทหรือหัวหน้าบางประเภทใช้ “เวลาทำงาน” ของพนักงานเป็นตัวชี้วัดความขยัน ความตั้งใจ และความทุ่มเทที่พนักงานมีต่อบริษัท นั่นก็หมายความว่า คนที่ทำงานได้เสร็จเรียบร้อยในหนึ่งชั่วโมงก็ไม่ใช่พนักงานที่ควรค่ากับการเก็บไว้ใช่ไหม?

    พนักงานมากมายกำลังใช้ชีวิตในโลกที่แสนวุ่นวายและยังต้องดิ้นรนในการรักษาสมดุลชีวิตและการทำงานให้ตัวเองสามารถรอดไปได้ในแต่ละวัน แต่รู้ไหมว่า สิ่งที่เราเข้าใจกันในทุกวันนี้เกี่ยวกับการทำงานมันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดพลาดกันไปหมด เพราะคนที่เป็นมืออาชีพเขาไม่ใช่คนที่ทำงานตลอดเวลา และเราได้รวบรวม 10 ความเชื่อผิดๆ ที่หลอกให้พวกเราทำงานให้เยอะเข้าไว้ แล้วปล่อยให้เราล้มเหลวจากการไม่รู้จักการรักษาสมดุลชีวิตและการทำงานให้เป็นดังนี้

    1. เรื่องของการรักษาสมดุลชีวิตและมันไม่ใช่การหาร 2 ให้ลงตัว

    นี่คือเรื่องเข้าใจผิดที่ใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน เพราะความจริงคือไม่มีความสมดุลที่แท้จริงระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่แล้ว คงจะดีถ้าเราแบ่งเวลางานและใช้ชีวิตให้เท่ากันได้อย่างเป๊ะๆ ในบทบาทของคนทำงาน ต่อให้คุณจะว่างแค่ไหน เราก็จะใช้เวลาตรงนั้นแอบคิดถึงงานของเราหรือปัญหาที่เกี่ยวกับงานอยู่ดี

    “มันไม่เกี่ยวกับการแบ่งส่วนในชีวิตของเรา แต่เป็นการพิจารณาในแง่ของทั้งงานและการใช้ชีวิต”

    Meeta Vengapally ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Garnysh ได้อธิบายเอาไว่ว่า เรื่องของการรักษาสมดุลชีวิตและการทำงาน มันคือการรวมเข้าด้วยกันโดยอาศัยการบูรณาการ ความสมดุลเป็นเหมือนการแลกเปลี่ยนที่เข้มงวด หากเราได้มีความสุขในการใช้ชีวิตนอกเวลางาน เราจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพลังในการทำงานมากขึ้น และถ้าเราทำงานได้สำเร็จ หลังเลิกงานเราก็จะอยู่บ้านได้อย่างพึงพอใจในตัวเองมากขึ้น

    2. เราจะหั่นเวลาสำหรับเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวให้เท่ากันเหมือนพิซซ่าไม่ได้หรอก

    การแบ่งสัดส่วนเวลาในการใช้ชีวิตเป็นความเชื่อที่ผิดที่คนเรามักจะเรียกกันว่า “เคล็ดลับ” ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งเวลาชีวิตของเราให้กับการทำงาน 50% และอีก 50% คือเวลาสำหรับการใช้ชีวิตในรูปแบบที่ชอบ หรือการใช้เคล็ดลับ 8 8 8 ซึ่งก็คือการทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับ 8 ชั่วโมงและเข้าสู่โหมดพักผ่อน ทำกิจกรรมที่ชอบ มีส่วนรวมกับสังคมอีก 8 ชั่วโมง เป็นต้น

    “การจัดสรรเวลาที่มีคุณภาพ เกิดจากการจัดลำดับความสำคัญ ไม่ใช่การจัดสรรตามตารางเวลา”

    เรื่องของเรื่องก็คือ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะแบ่งชีวิตได้เป็นเวลาที่เท่ากันเป๊ะๆ แบบนั้น เราจะได้พบกับวันที่ต้องทำงาน 10 ชั่วโมง หรือ วันที่เราต้องมีเรื่องอื่นแทรกเข้ามาในวันที่เราทำงานไม่ถึง 8 ชั่วโมง แทนที่จะเราจะบังคับให้ตัวเองจัดสรรเวลาตามตารางอย่างเข้มงวด เราควรเลือกใช้ชีวิตตามลำดับความสำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน บางวันเราอาจจะยอมสละเวลาที่จะได้ใช้ร่วมกับครอบครัวเพื่อทำงาน แต่เราได้มีวันหยุดที่จะสามารถใช้เวลาร่วมกับพวกเขาได้ทั้งวันเป็นการชดเชย โดยที่เราใช้เวลาร่วมกับพวกเขาได้โดยไม่ต้องมานั่งกังวลหรือเป็นห่วงกับเรื่องงาน

    3. คนฉลาดไม่ได้คว้าทุกอย่าง แต่พวกเขาคว้าแค่สิ่งที่จำเป็น

    แม้เราจะสร้างตารางเวลาในหนึ่งวันที่ช่วยให้เราได้ออกกำลังกายในตอนเช้า ใช้เวลากับครอบครัว ต่อด้วยการปั่นงานให้เสร็จลุล่วงไปแล้วจึงพักผ่อน เราก็ยังสามารถสูญเสียสิ่งที่ต้องทำบางอย่างในรายการของสิ่งที่ต้องทำไปได้อยู่ดี

    “ความจริงก็คือ การสร้างสมดุลระหว่างงานกับครอบครัวไม่ใช่เรื่องง่าย ฉันเดินทางเป็นกลุ่ม ฉันกลับบ้านไม่ทันอาหารเย็นเป็นประจำ วันเสาร์เป็นสิ่งที่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุด”

    Chris O’Neill อดีต CEO ของ Evernote ได้เล่าวิธีการทำงานของเขาไว้ใน New York Times ว่าอย่าหลงคิดไปว่าเราจะสามารถมีทุกอย่างที่เราต้องการได้ หากเราพยายามหรือทำทุกอย่างตามที่เราจดรายการไว้ได้ บางครั้งเราต้องละทิ้งบางสิ่งในขณะที่ไล่ตามเป้าหมายและความฝันของเราเอง ยิ่งเราตระหนักเรื่องนี้ได้เร็วมากเท่าไร เราก็จะสามารถตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากชีวิตของเราได้เร็วขึ้นเท่านั้น

    4. การบริหารเวลาคงเป็นเรื่องง่ายถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ต

    หากทั้งหมดที่ต้องทำก็คือการบริหารเวลาให้ดี เราก็ต้องอย่าลืมว่าเทคนิคการบริหารเวลาให้สำเร็จส่วนใหญ่ถูกคิดค้นขึ้นมาก่อนที่โลกจะเริ่มต้นการออนไลน์ 24 ชั่วโมงอย่างทุกวันนี้ ความจริงเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจก็คือ เราไม่สามารถออกจากตารางงานได้อย่างสมบูรณ์หรอก แต่เรายังสามารถเลือกวิธีที่เราจะสามารถใช้พลังไปกับการทำงานที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมได้

    5. เทคโนโลยีไม่ได้ทำให้ 1 วันมี 25 ชั่วโมง

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีช่วยอำนวยความสะดวกสบายในชีวิต แต่ไม่ได้หมายความว่ามันช่วยเพิ่มเวลาให้กับเราได้ 1 วันยังคงมี 24 ชั่วโมง แม้เราจะสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจัดการกับคำถามเกี่ยวกับการบริการลูกค้าด้วย AI ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปถึงบริษัท แต่เราก็ยังคงต้องโต้ตอบคำถามเหล่านั้นเป็นการส่วนตัวและทำงานให้มีประสิทธิผลด้วยตัวของเราเองแม้จะอยู่ที่บ้านก็ตาม พูดได้ว่าเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยแต่มันจะไม่ทำทุกอย่างอย่างแท้จริง เรายังคงต้องใช้ความพยายามเล็กน้อยเพื่อทำมันให้สำเร็จอยู่ดี

    6. รายการของสิ่งที่ต้องทำ ไม่ใช่รายการที่สำคัญที่สุดเสมอไป

    แม้ว่าพนักงานจะมีเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งสำคัญที่สุดจะอยู่อันดับต้นๆ ของรายการสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันของพวกเขาอยู่ดี

    “การได้รับการยอมรับในการทำงานหนัก และเข้าใจความต้องการของคนในทีมอย่างแท้จริง คือสิ่งที่สำคัญกว่าความสมดุล”

    สำหรับคนส่วนใหญ่พวกเขาจะทุ่มเทให้กับงานที่มีความหมายต่อพวกเขา หรือทำให้พวกเขารู้สึกมีความหมาย พวกเขาต้องการการยอมรับและต้องการทำงานเพื่อวัฒนธรรมที่เอาใจใส่ ความสมดุลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานเป็นทีมแต่ค้นหาว่าทีมของเรารู้ตัวว่าพวกเขาเหมาะที่จะทำอะไรเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า

    7. คนตื่นเช้าไม่ใช่คนขยันเสมอไป

    เราอาจจะเลือกที่จะตื่นนอนในเวลาตี 5 เพราะคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ทำกัน แนวคิดนี้เริ่มจากการตื่นเช้าและสดใส เราจะมีเวลาในการทำสิ่งต่างๆให้เสร็จ และผลลัพธ์คือเรายังเหลือเวลาที่จะไปพักผ่อนหรือเพลิดเพลินกับงานอดิเรกที่คุณพอใจด้วย

    “หากเราตื่นตัวและมีสมาธิจดจ่อช่วงเวลา 10.00 น. มากเป็นพิเศษ การตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 4 ก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้จำเป็นกับเราเลย”

    แนวคิดการตื่นตี 5 ใช้ไม่ได้กับทุกคน บางคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในตอนกลางคืน นอกจากนี้ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เรากำลังเพิ่มชั่วโมงทำงานให้กับแต่ละวันของเรา แม้อาจจะไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่นั่นก็ไม่ดีสำหรับการทำงานในระยะยาวที่เราจะเผาผลาญพลังงานออกไปเกินความจำเป็น กุญแจสำคัญคือ ค้นหาช่วงเวลาที่เราสามารถทำงานได้ดีให้เจอดีกว่า

    8. ทำงานนอกเวลางาน ไม่ได้แปลว่าทำงานในเวลางานไม่เสร็จ

    บางทีเรื่องนี้ก็กลายเป็นเรื่องที่เราถกเถียงกันเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน เรื่องนี้ก็คือเราต้องไม่ทำงานนอกเวลางาน แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจแล้ว บางครั้งเราก็ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจของเราในช่วงวันหยุดหรือสละเวลาที่จะได้อยู่กับครอบครัวทิ้งไปเพื่อออกไปทำงาน และพนักงานบางคนก็เพลิดเพลินไปกับการทำงานให้เสร็จในที่ทำงานโดยไม่สามารถปิดคอมพิวเตอร์ของพวกเขาลงได้จนกว่ามันจะเสร็จ การมีชีวิตที่สมบูรณ์แบบไม่ได้หมายถึงการยึดติดกับขอบเขตที่เข้มงวดเสมอไป เมื่อไม่มีอะไรที่เราอยากทำมากกว่าเล่นเกมกระดานกับครอบครัว ก็อย่ารู้สึกผิดกับการทำงานในช่วงเวลานั้น

    9. ทำงานน้อยไม่ได้ช่วยเพิ่มความสุข

    เพียงเพราะเราสามารถทำงานทั้งหมดของเราให้เสร็จได้ภายใน 20 ชั่วโมง ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีความสุข กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มันไม่เกี่ยวกับว่าเราทำงานหรือทำสิ่งที่เรารักกี่ชั่วโมง แต่มันเกี่ยวกับคุณภาพของการใช้เวลาของเราต่างหาก

    10. ถ้าทุกอย่างมีกำหนดการ เราจะพบกับความสุขตามธรรมชาติได้อย่างไร?

    งานและการนัดหมายที่สำคัญมักจะอยู่ในรายการสิ่งที่ต้องทำเสมอ ซึ่งนั่นก็หมายความว่าเราไม่ได้จัดสิ่งที่สำคัญกับชีวิตเราทั้งหมดลงในรายการ เพราะรายการที่มีแต่งานและการนัดหมายมันไม่สมจริงและเพิ่มความเครียดให้กับชีวิตที่วุ่นวายอยู่แล้ว

    “เราจะพบว่าผู้คนมีความสุขมากขึ้น เมื่อมีกิจกรรมยามว่างเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ”

    ดังนั้นในขณะที่เราควรใช้ปฏิทินเพื่อจัดระเบียบชีวิต อย่าหักโหมจนเกินไป เว้นที่ว่างไว้เพื่อให้คุณสามารถดื่มกาแฟกับเพื่อนหรือนั่งพักผ่อนและทำกิจกรรมในแต่ละวันบ้าง

    ในโลกนี้ไม่มีสูตรสำเร็จของ Work-Life Balance และ ไม่มีใครสามารถบอกได้ด้วยว่าเราต้องทำงานกี่ชั่วโมง? พักผ่อนกี่ชั่วโมง? หรือมีเวลาให้ครอบครัวกี่ชั่วโมง? เราถึงจะสามารถรักษาสมดุลชีวิตและการทำงานที่ดีเยี่ยมได้ คนที่รู้สูตรการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่เหมาะสมกับเราดีที่สุดก็คือ ตัวเราเอง และขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนการหาสูตร Work-Life Balance ในแบบฉบับของเราเอง

    สูตรการหา Work-Life Balance ในแบบฉบับของเราเอง

    1. ลองหยุดชั่วคราวและทำแบบเดิมซ้ำๆ จนมันกลายเป็นกิจวัตร

    ถอยหลังมาสักก้าวแล้วลองถามตัวเองดูว่า…

    • อะไรทำให้เรากำลังเครียด สูญเสียการควบคุม หรือทำให้รู้สึกแย่?
    • สิ่งที่เกิดขึ้นกับเราส่งผลต่อการทำงานหรือการมีส่วนร่วมในการทำงานของเราอย่างไรบ้าง?
    • มันส่งผลขนาดไหนต่อชีวิตนอกเวลางานของเรา? เราจัดลำดับความสำคัญอย่างไร?
    • เราสูญเสียอะไรไปบ้าง?
    • มีอะไรหายไปจากชีวิตของแล้วบ้าง?

    หลังจากที่เราได้หยุดแล้วลองถามตัวเองด้วยความถามพวกนี้ เราจะเริ่มจัดการกับมันได้เอง แน่นอนว่าเหล่ามืออาชีพทั้งหลายต้องเคยพาตัวเองเข้าสู่ชีวิตที่ยุ่งเหยิง หลายคนในพวกเขาอธิบายว่าพวกเขาไม่มีเวลาหรือไม่มีแม้แต่เวลาที่จะทบทวนตัวเองด้วยซ้ำ พวกเขามักถูกกระตุ้นความตระหนักด้วยเหตุกาณ์สำคัญของชีวิต อย่างเช่น การคลอดบุตร การพบว่าตัวเองไม่มีเวลาให้ลูกหรือครอบครัว การสูญเสียชีวิตของผู้เป็นที่รัก เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกและทำให้พวกเขาสามารถหยุดพักและคิดใหม่เกี่ยวกับการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานเสียใหม่

    2.ให้ความสนใจอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง

    เมื่อเกิดสถานการณ์ที่เพิ่มระดับความความตระหนักในตัวเราให้สูงขึ้น เราจะเริ่มถามตัวเองถึงความรู้สึกที่แท้จริงภายใน

    “ฉันรู้สึกมีพลัง สุขสมหวัง พอใจในชีวิตหรือไม่? หรือ ฉันกำลังรู้สึกโกรธ ขุ่นเคือง หรือเศร้าหมองอยู่หรือเปล่า?”

    การตัดสินใจลำดับความสำคัญสิ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตของเราไปข้างหน้าเป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือสิ่งที่ถูกสะท้อนออกมาทางอารมณ์ มันคือความสามารถในการรับรู้สถานการณ์ที่แท้จริง ซึ่งการตระหนักรู้ในอารมณ์นี้เองที่จะช่วยให้เราหาทางเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อมาสู่สมดุลชีวิตและการทำงานได้

    3. จัดลำดับความสำคัญใหม่

    การเพิ่มการรับรู้ทางปัญญาและอารมณ์ช่วยให้เรามีเครื่องมือที่จำเป็นในการนำสิ่งต่างๆ มาสู่มุมมองและวิธีการในการจัดลำดับความสำคัญสิ่งต่างๆของเรา ด้วยการเริ่มต้นลองถามตัวเองว่า

    “เราเต็มใจจะโยนอะไรทิ้งไป และเราสามารถทิ้งมันได้นานแค่ไหน?

    • ถ้าเราให้ความสำคัญกับงานมากกว่าครอบครัว ทำไมเราถึงจัดลำดับความสำคัญในชีวิตไว้แบบนั้น?
    • หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงหรือเปล่า?
    • เคยเสียใจอะไรจากการจัดลำดับความสำคัญแบบเดิมๆ บ้าง?
    • และหากยังเดินต่อไปในรูปแบบเดิมๆ เราจะเสียใจไหม?

    4. พิจารณาทางเลือกของคุณ

    ก่อนที่จะเข้าสู่การแก้ปัญหา เราต้องไตร่ตรองถึงแง่มุมต่างๆ ของงานและชีวิตที่อาจแตกต่างออกไปเสียก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับลำดับความสำคัญของเรามากขึ้น ด้วยการเริ่มต้นลองถามตัวเองว่า

    • มีองค์ประกอบของงานที่เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?
    • คุณต้องการใช้เวลากับครอบครัวหรืองานอดิเรกมากแค่ไหน?

    5. เริ่มการเปลี่ยนแปลง

    สุดท้าย จากการลำดับความสำคัญอย่างรอบคอบก็ถึงเวลาลงมือทำ หรือเรียกได้ว่าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง เช่น เริ่มต้นบทบาทใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อใช้เวลากับงานน้อยลง เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน กำหนดขอบเขตในการทำงาน กล้าที่จะปฏิเสธงานบางงาน แม้เราจะกดดันจากการทำแบบนั้นมากก็ตาม มีชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เป็นต้น

    บทสรุป

    แม้จะมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการทำงานเป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายต่อทั้งพนักงานและนายจ้าง แต่ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากยังคงพยายามเอาชนะความจริงข้อนี้และส่งเสริมทัศนคติที่ฝังรากลึกของพวกเขาเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน เราต้องปลดปล่อยตัวเองจากรูปแบบการทำงานที่ไม่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้ เข้าถึงสมดุลชีวิตและการทำงานที่ยั่งยืนและคุ้มค่ามากขึ้น

    สิ่งสำคัญที่เราอาจจะต้องจำเอาไว้เลยก็คือ 5 ขั้นตอนด้านบนที่ช่วยให้เรามี Work-Life Balance ที่ดี ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำเพียงครั้งเดียวก็สำเร็จ แต่เป็นวัฏจักรที่เราต้องทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเราต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมการทำงานที่ยาวนาน หรือยึดติดกับการวัดประสิทธิภาพการทำงานจากชั่วโมงงาน จากงานวิจัยสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลย คือผู้คนสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตได้อย่างแท้จริง พวกเขาสำรวจอารมณ์ของตัวเอง เริ่มลำดับความสำคัญเสียใหม่ ประเมินทางเลือก และทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดชีวิตของพวกเขาและการทำงานเพื่อให้เกิดสมดุลขึ้นในท้ายที่สุด

    References:

    Work-Life Balance Is a Cycle, Not an Achievement

    10 Myths About Work-Life Balance and What to Do Instead

    บทความแนะนำ: 

    Burnout Syndrome สัญญาณที่กำลังบอกกับเราว่า เรากำลังเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงานไปเรียบร้อยแล้ว

    Burnout ปัญหาใหญ่ องค์กรต้องทำอย่างไรเมื่อพนักงานหมดไฟในการทำงาน?

    Share. Facebook Twitter Pinterest LinkedIn Tumblr WhatsApp Email
    Previous ArticleThe Making of a Manager – วิธีการและแนวทางสู่การเป็นหัวหน้าที่ยอดเยี่ยม
    Next Article Finance Basic – พื้นฐานเรื่องการเงินที่สำคัญผู้จัดการควรรู้
    mypilottest01

      Related Posts

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      เคยจำศัพท์ได้ แต่ถึงเวลาเอาออกมาใช้ไม่ได้ แถมลืมง่ายอีกด้วย เคยไหม?

      มกราคม 26, 2025

      รู้วิธีเลือกฝึก ให้ถูกจุด คุณก็สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนมือโปรใน 3 เดือน!

      มกราคม 25, 2025

      Comments are closed.

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023

      7 เหตุผลที่ทำให้คนฉลาดหรือคนที่ทำงานหนักไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

      พฤษภาคม 30, 2023
      • Facebook
      • Pinterest
      • Instagram
      • YouTube
      Don't Miss

      ประกันสุขภาพจำเป็นหรือไม่? และส่งผลดีต่อคนทำงานในยุคนี้อย่างไร?

      By willskillพฤษภาคม 19, 20250

      ประกันสุขภาพ หร…

      ประกันสุขภาพของบริษัทใช้ร่วมกับประกันสังคมแต่ยังต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า?

      พฤษภาคม 19, 2025

      Flashcards สมัยใหม่ ทำให้คุณใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นทันทีได้อย่างไร?

      กุมภาพันธ์ 7, 2025

      จำไม่ให้ลืม | ทำไมคนที่พูดได้หลายภาษาจำคำศัพท์แล้วไม่ลืม?

      กุมภาพันธ์ 3, 2025

      Subscribe to Updates

      Get the latest creative news from SmartMag about art & design.

      About Us
      About Us

      Your source for the lifestyle news. This demo is crafted specifically to exhibit the use of the theme as a lifestyle site. Visit our main page for more demos.

      We're accepting new partnerships right now.

      Email Us: admin_thepractical@thepractical.co

      Our Picks

      ตั้งเป้าหมายการเงินให้สำเร็จ – วิธีการและเคล็ดลับจากประสบการณ์จริง

      มิถุนายน 22, 2024

      ลาเพื่อพาพ่อแม่ไปหาหมอ หรือ ลาเพื่อไปดูใจพ่อแม่เป็นครั้งสุดท้าย ใช้ลากิจได้

      สิงหาคม 18, 2023

      แผนการเกษียณ ของคน Gen Z ควรเป็นอย่างไร? และต้องเริ่มต้นอย่างไร?

      มิถุนายน 6, 2023
      New Comments
        Facebook YouTube Spotify Pinterest
        • Home
        • Work
        • Life
        • Balance
        • Sustainability
        • People Stories
        • InMind
        • Podcast
        © 2025 Willskill. Designed by Exaalgia.

        Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.

        Sign In or Register

        Welcome Back!

        Login to your account below.

        Lost password?