Social Responsibility คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม ที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ เพราะในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงมีจริยธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
ตอนนี้บริษัทเล็กใหญ่ต่างๆในตลาดกำลังหันมาให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนสิทธิสตรี การปกป้องสิ่งแวดล้อม หรือความพยายามขจัดความยากจนในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับโลก ซึ่งไม่ว่าความตระหนักด้านความผิดชอบนี้จะเกิดจากอะไร แต่สิ่งที่บริษัทได้อย่างแน่นอนคือ ภาพที่น่าดึงดูดยิ่งขึ้นสำหรับทั้งผู้บริโภคและผู้ถือหุ้น ซึ่งส่งผลในเชิงบวกต่อผลกำไรของพวกเขาอย่างแน่นอน
“ความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลต่อความสำเร็จในระยะยาว”
การน้อมรับนโยบายที่รับผิดชอบต่อสังคมมีส่วนช่วยในการดึงดูด รักษาลูกค้า และสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อความสำเร็จในระยะยาวของบริษัท นอกจากนี้คนจำนวนมากที่รู้ว่าผลกำไรส่วนหนึ่งของบริษัทจะถูกส่งไปยังกิจกรรมเพื่อสังคมที่ใกล้ตัวและเป็นที่รักของพวกเขาจะทำให้พวกเขายินดีที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านั้น
ตัวอย่างกิจกรรมหรือโครงการที่ขับเคลื่อน Social Responsibility ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน อาทิเช่น
- Reducing carbon footprints
- Improving labor policies
- Participating in fairtrade
- Diversity, equity and inclusion
- Charitable global giving
- Community and virtual volunteering
- Corporate policies that benefit the environment
- Socially and environmentally conscious investments
“ความรับผิดชอบเป็นเครื่องมือเพิ่มความผูกพันให้กับคนในบริษัท”
นี่อาจไม่ใช่ประโยชน์โดยตรงของการมีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความผูกพันของพนักงาน บริษัทสามารถดึงดูดพนักงานให้กระตือรือร้นที่จะสร้างความแตกต่างให้กับโลกซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือจากการทำงานเพื่อรับเงินเดือนในแต่ละเดือนเพียงอย่างเดียว บริษัทขนาดใหญ่มีความแข็งแกร่งในด้านจำนวน และความพยายามร่วมกันของพนักงานสามารถบรรลุผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเพิ่มขวัญกำลังใจในที่ทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
“เป้าหมายที่ชัดเจนสามารถแปลงเป็นแรงจูงใจให้พนักงานได้”
จากข้อมูลของ Harvard Business School พบว่าพนักงานเกือบ 70% กล่าวว่าพวกเขาจะไม่ทำงานให้กับบริษัทที่มีเป้าหมายในการทำงานไม่ชัดเจน พนักงานร้อยละ 90 ทำงานในบริษัทที่มีเป้าหมายในการทำงานชัดเจน และกล่าวว่าพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจ แรงจูงใจ และมีความภักดีต่อบริษัทมากขึ้น และพนักงาน 92% ที่ทำงานในบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคมกล่าวว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะแนะนำนายจ้างของพวกเขาให้เป็นที่รู้สึกในวงกว้างและคนรอบตัวของพวกเขาที่กำลังมองหางานอยู่ การมีส่วนร่วมของพนักงานส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของบริษัท และในด้านการทำกำไร นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของพนักงานมีส่วนช่วยในการทำกำไรได้มากถึง 21% และมีโอกาสขาดงานน้อยลงถึง 41% อีกด้วย
“ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแพลตฟอร์มหลักของบริษัทในการติดต่อกับผู้บริโภค”
ความรับผิดชอบต่อสังคมทำงานเสมือนแพลตฟอร์มหรือพื้นที่สหรับบริษัทและผู้บริโภคในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนท้องถิ่นและทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ให้บริษัทและผู้บริโภคได้สื่อสารกันอีกด้วย
ดังนั้นธุรกิจที่ใช้ความคิดริเริ่มด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับค่านิยมมีโอกาสที่จะเพิ่มการรักษาลูกค้าและความภักดี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 87% ของผู้บริโภคชาวอเมริกันมีแนวโน้มที่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทที่สนับสนุนประเด็นที่พวกเขาสนใจ และ 76% จะปฏิเสธที่จะซื้อผลิตภัณฑ์หากพบว่าบริษัทสนับสนุนประเด็นที่ขัดแย้งกับความเชื่อของพวกเขา ตัวอย่างเช่น Elon Musk ซีอีโอของ Tesla Inc. (TSLA) ประสบความสำเร็จในการดึงดูดผู้บริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยรถยนต์ไฟฟ้าล้ำสมัยและผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บริษัทจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้นได้อย่างไร?
แม้แต่ความคิดริเริ่มที่เล็กที่สุดก็สามารถส่งผลกระทบต่อชุมชนได้ การบริจาคเงินหรือทรัพยากรให้กับองค์กรการกุศลสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก บริษัทสามารถเริ่มต้นด้วยการจัดกิจกรรมระดมทุนเล็กๆ น้อยๆ ส่งเสริมการเป็นอาสาสมัคร ตั้งพันธกิจเพื่อสังคมและเป้าหมายที่ชัดเจน ดำเนินโครงการการศึกษาสำหรับพนักงาน หรือเข้าร่วมกับธุรกิจที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน
บทสรุป
บริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคมจะสามารถปลูกฝังการจดจำแบรนด์ในเชิงบวก เพิ่มความภักดีของลูกค้า และดึงดูดพนักงานระดับสูง องค์ประกอบเหล่านี้เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการบรรลุผลกำไรที่เพิ่มขึ้นและความสำเร็จทางการเงินในระยะยาว
คุณสามารถเริ่มต้นความสำเร็จระยะยาวของคุณได้ง่ายๆจากการเริ่มต้นตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมที่บริษัทควรมี ช่วยให้พนักงานใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ของบริษัทเพื่อทำความดีให้กับสังคมและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งเป้าหมายให้ชัดว่าบริษัทมีความต้องการจะช่วยเหลือสังคมเพื่อดึงดูดพนักงาน คู่ค้าทางธุรกิจ หรือบริษัทอื่นที่มีแนวคิดเดียวกันมาช่วยกันส่งเสริมเป้าหมายนี้
ไม่เพียงแต่บริษัทของคุณจะได้ช่วยเหลือสังคมเท่านั้น แต่ความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถเพิ่มขวัญและกำลังใจของพนักงานในที่ทำงานและนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทอีกด้วย
“การลงทุนเพียงเล็กน้อยในโครงการริเริ่มด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร สามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานและส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทได้”
Reference:
Why Social Responsibility Matters to Businesses
บทความแนะนำ:
ESG – Environmental, Social, and Governance คืออะไร? เกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างไร?