ESG – Environmental, Social, and Governance คืออะไร? เกี่ยวข้องกับการลงทุนอย่างไร? การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ทำไมถึงมีบทบาทและมีความสำคัญมากในยุคนี้
หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่กำลังสนใจในเรื่องการลงทุน หรือกำลังสงสัยว่าบริษัทที่คุณทำงานให้ทำไมถึงมีการปรับเปลี่ยนเกี่ยวกับแนวทางการบริหาร มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนมากขึ้นโดยแบ่งความสนใจไปหาสิ่งแวดล้อมด้วยแทนที่จะสนใจแค่รายได้ กำไร หรือลูกค้าที่ต้องเพิ่มขึ้นในแต่ละปี คุณจำเป็นต้องทำความรู้จักกับ ESG โดยด่วน ถ้าไม่อยากตกเทรนด์
ESG (Environmental, Social and Governance) คือ การลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นแนวคิดด้านการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ เพราะไม่ใช่แค่เพียงใส่ใจในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากที่อุตสาหกรรมรุกล้ำสิ่งแวดล้อมจนเกินพอดี แต่หมายถึงการปรับปรุงรูปแบบธุรกิจให้โดดเด่นเหนือคู่แข่งโดยใช้การบริหารความเสี่ยงที่ได้มาตรฐานอีกด้วย
“ESG วิธีคัดกรองการลงทุนที่มีศักยภาพ”
ESG กลายเป็นรูปแบบพฤติกรรมที่แสดงถึงความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและสังคมของเหล่านักลงทุน หากการลงทุนใดดำเนินการตามแนวคิด ESG จะถือว่าเป็นการลงทุนที่มีศักยภาพ เนื่องจาก ESG จะมีเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ช่วยพิจารณาว่าบริษัทมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างไร รวมถึงนโยบายขององค์กรจำเป็นต้องมีการให้ความร่วมมือในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันด้วย นอกจากนี้ยังมีเกณฑ์ด้านสังคมที่ตรวจสอบวิธีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับพนักงาน ลูกค้า และชุมชนที่ดำเนินงาน และส่วนสุดท้ายคือเกณฑ์ด้านการกำกับดูแล ที่จะดูแลความเกี่ยงข้องกับความเป็นผู้นำของบริษัท ค่าจ้างผู้บริหาร การตรวจสอบ การควบคุมภายใน และอำนาจของผู้ถือหุ้น
ESG ทำงานอย่างไร?
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีนักลงทุนจำนวนมากแสดงความสนใจในการจัดสรรเงินลงทุนไปกับองค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ด้วยเหตุนี้เองบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และบริษัทกองทุนรวมจึงเริ่มให้บริการกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETFs) และผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ที่เป็นไปตามกลยุทธ์การลงทุน ESG นอกจากนี้ที่ปรึกษา Robo Betterment และ Wealthfront ได้เริ่มส่งเสริมข้อเสนอที่มีแนวคิด ESG ให้แก่นักลงทุนอายุน้อยอีกด้วย
“การลงทุน ESG คือการลงทุนที่ยั่งยืน”
บางครั้งเราก็สามารถเรียกการลงทุน ESG ว่าการลงทุนที่ยั่งยืน การลงทุนที่มีความรับผิดชอบ การลงทุนที่มีผลกระทบหรือการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคมได้ โดยนักลงทุน ESG มีการให้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับตัวเลือกทางการลงทุนของนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ อย่างกองทุนบำเหน็จบำนาญสาธารณะ ซึ่งตามรายงานอุตสาหกรรมจาก US SIF Foundation พบว่านักลงทุนที่ถือครองสินทรัพย์อยู่กว่า 17.1 ล้านล้านดอลลาร์ เลือกลงทุนตามแนวคิด ESG นอกจากนี้ในปี 2563 ยังมีการลงทุนในธุรกิจ ESG เพิ่มขึ้นถึง 12 ล้านล้านดอลลาร์จากเมื่อ 2 ปีก่อนหน้า และในปี 2564 กองทุนรวมเฉพาะ ESG และ ETFs มีมูลค่าสูงถึง 400 พันล้านดอลลาร์ นับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 33% และคาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วในปีต่อไป
“สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล”
นักลงทุน ESG พยายามทำให้แน่ใจว่าบริษัทที่พวกเขาให้เงินสนับสนุนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเพียง เป็นองค์กรที่ดี และมีทีมบริหารที่มีความรับผิดชอบและมีความเป็นผู้นำมากพอ โดยการประเมินความตระหนักที่ผู้นำมีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นอาจดูได้นโยบายด้านสภาพอากาศ การใช้พลังงาน ของเสีย มลภาวะ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการปฏิบัติต่อสัตว์ การประเมินนี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่บริษัทอาจต้องเผชิญและวิธีที่บริษัทจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นอีกด้วย
“อิทธิพลของมนุษย์เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น”
จากรายงานคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ (UN. Intergovernmental Panel on Climate Change) ชี้ให้เห็นว่าอิทธิพลของมนุษย์เป็นสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น และการหยุดชะงักของสภาพภูมิอากาศบางรูปแบบถูกกักขังมานานหลายศตวรรษแล้ว โดยรายงานนี้กำลังบอกถึงสัญญาณความตายซึ่งหากเราไม่ทำให้การเผาเชื้อเพลิงประเภทถ่ายหินและเชื้อเพลิงฟอสซิลตายไปจากเรา มันก็จะทำให้เราตายไปและทำลายโลกของเราให้ตายตามแน่นอน
การลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม
การลงทุนในด้านสังคมหมายถึงการมองไปที่ความสัมพันธ์ของบริษัททั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกรปฏิบัติตามมาตรฐาน ESG ของผู้ผลิต เปอร์เซ็นต์ของกำไรที่บริษัทให้กับชุมชนท้องถิ่น การสนับสนุนพนักงานที่ทำงานอาสาสมัคร นอกจากนี้สถานที่ทำงานยังสะท้อนถึงการคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานอีกด้วย ดังนั้นส่วนนี้จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกว่าบริษัทใส่ใจในพนักงานแค่ไหน
“นักลงทุนแสวงหาบริษัทที่ส่งเสริมประเด็นด้านจริยธรรมและสำนึกต่อสังคม”
การลงทุนในการกำกับดูแล
มาตรฐานในการกำกับดูแลของ ESG จะเป็นการรับรองว่าบริษัทใช้วิธีการทางบัญชีที่ถูกต้องและโปร่งใสหรือไม่ เพราะการดำเนินธุรกิจรูปแบบ ESG หมายถึงการดำเนินธุรกิจที่แสวงหาความซื่อสัตย์และความหลากหลายในการเลือกผู้นำของบริษัท และความรับผิดชอบที่บริษัทมีต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะต้องการการรับประกันว่าบริษัทต่างๆหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการเลือกสมาชิกคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ไม่ใช้การสนับสนุนทางการเมืองเพื่อให้ได้รับการปฏิบัติพิเศษ หรือมีส่วนร่วมในพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย
“สิ่งที่นักลงทุนต้องการคือการรับประกันว่าบริษัทของคุณดำเนินการไปอย่างโปร่งใส”
เกณฑ์ ESG
บริษัทการลงทุนที่ติดตามการลงทุน ESG มักจะกำหนดลำดับความสำคัญของตนเอง ตัวอย่างเช่น Trillium Asset Management ในบอสตัน ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนธันวาคม 2564 โดยใช้ปัจจัย ESG ที่หลากหลายเพื่อช่วยระบุบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในระยะยาว โดยเกณฑ์ที่กำหนดโดยนักวิเคราะห์มีการระบุประเด็นที่ภาคอุตสาหกรรมและบริษัทบางประเภทต้องทำดังต่อไปนี้
ด้านสิ่งแวดล้อม
- เผยแพร่รายงานคาร์บอนหรือความยั่งยืน
- จำกัดมลพิษและสารเคมีที่เป็นอันตราย
- พยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรอยเท้า CO2
- ใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน
- ลดของเสีย
ด้านสังคม
- ดำเนินการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีจริยธรรม
- หลีกเลี่ยงแรงงานข้ามชาติที่อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงานหรือจ้างแรงงานเด็ก
- สนับสนุนสิทธิของ LGBTQ+ และส่งเสริมความหลากหลายทุกรูปแบบ
- มีนโยบายป้องกันการประพฤติผิดในกาม
- จ่ายค่าจ้างที่ยุติธรรม
ด้านการกำกับดูแล
- ส่งเสริมความหลากหลายของคณะกรรมการ
- ยอมรับความโปร่งใสขององค์กร
- มีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ CEO เป็นประธานคณะกรรมการ
- การเลือกตั้งคณะกรรมการที่เข้ามาดูแลในด้านนี้
ข้อดีของการลงทุน ESG
เกณฑ์ ESG ช่วยให้นักลงทุนหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทมีการดำเนินกิจการในลักษณะที่เสี่ยงหรือผิดจริยธรรมแล้วต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาในท้ายที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การรั่วไหลของน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกในปี 2010 ของ BP และเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษของ Volkswagen ซึ่งทำให้ราคาหุ้นของบริษัทต่างๆ พุ่งสูงขึ้นและมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
“มูลค่าของแนวคิดการลงทุน ESG ขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนผลักดันการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนมากน้อยแค่ไหน”
การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการลงทุนของบริษัทให้เป็นไปตามแนวคิด ESG จะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับรูปแบบการดำเนินการทางธุรกิจได้ เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุนจำนวนมากมีการสนับสนุนให้บริษัทต่างๆที่พวกเขาเคยลงทุนหรือบริษัทที่พวกเขาสนใจจะลงทุนเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินการให้เน้นในเรื่องของความมั่นคงอย่างยั่งยืนมากขึ้น อย่างไรก็ตามกระแสการลงทุนยังคงเป็นไปตามหลักการที่เป็นจริง สามารถวัดผลสำเร็จได้ และนำไปปฏิบัติได้จริง
ข้อเสียของการลงทุน ESG
ข้อเสียของการลงทุน ESG คือคุณจะไม่สามารถถือหุ้นทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาดได้ ท้ายที่สุดแล้ว ยาสูบและกลาโหม ซึ่งเป็นสองอุตสาหกรรมที่นักลงทุน ESG หลายคนหลีกเลี่ยงกลับสร้างผลตอบแทนในตลาดที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดในอดีต และสามารถรองรับแนวโน้มภาวะถดถอยได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง นักลงทุนสหรัฐอาจเสียสละผลตอบแทนจำนวนเล็กน้อยเพื่อแลกกับการลงทุนที่เหมาะสมกับมูลค่าของพวกเขา
“นักลงทุนส่วนใหญ่ยอมเสียผลประโยชน์เพียงเล็กน้อยเพื่อเลือกลงทุนในธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวคิด ESG”
จากการสำรวจผู้อ่าน Investopedia และ Treehugger พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของนักลงทุน ESG พวกเขายินดีที่จะยอมขาดทุน 10% ในระยะเวลา 5 ปีเพื่อลงทุนในบริษัทที่รับประกันว่าตัวเองดำเนินการตามแนวคิด ESG แต่ 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าว่าการประเมินมูลค่าหรือราคาของธุรกิจนั้นๆสำคัญมากสำหรับพวกเขา กล่าวคือพวกเขายังคงมองในเรื่องของตัวเงินมากกว่าการยอมขาดทุนเพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้บ่งชี้ว่าการลงทุนที่ยั่งยืนอย่าง ESG กลายเป็นการซื้อขายระดับพรีเมี่ยม ซึ่งทำให้รูปแบบการลงทุนอยู่ในหมวดการลงทุนที่มีราคาแพง
จะรู้ได้อย่างไรว่าการลงทุนใดเป็น ESG?
บริษัทการเงินหลายแห่งได้ออกการจัดอันดับและระบบการให้คะแนน ESG ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น MSCI ได้ออกแผนการให้คะแนนที่ครอบคลุมบริษัทมากกว่า 8,500 แห่งทั่วโลก โดยให้คะแนนและเกรดตามตัวอักษรเพื่อพิจารณาจากการปฏิบัติตามมาตรฐานและความคิดริเริ่มของ ESG นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นอีกมากมายที่นำเสนอคะแนน ESG ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย
บทสรุป
การลงทุน ESG มุ่งเน้นไปที่บริษัทที่ปฏิบัติตามหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลในเชิงบวก ทุกวันนี้นักลงทุนมีความกระตือรือร้นมากขึ้นในการจัดข้อมูลการลงทุนของตนเองให้สอดคล้องกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ ESG และผู้ให้บริการกองทุน การเปลี่ยนแปลงของนักลงทุนทำให้การลงทุนกลายเป็นพื้นที่แห่งการเติบโตที่น่าตื่นเต้นซึ่งส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
Reference:
What Is Environmental, Social, and Governance (ESG) Investing?